จรรยาบรรณครู


ใครคือครูครูคือใครในวันนี้ ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล ใช่อยู่ที่เรียกว่าครูอาจารย์ ใช่อยู่ที่สอนนานในโรงเรียน
ครูของแผ่นดิน

                                 

                                                        ครู

ก.เอ๋ย ก.ไก่ ใครสอนเราเมื่อเยาว์อยู่                   ก็คือครูสอนสั่งทั้งอ่านเขียน

ชี้ถูกผิดสอนให้ได้เล่าเรียน                                สอนให้เพียรพากไปจะได้ดี

สอนแนวทางคติธรรมนำชีวิต                              ยกนิทานมาสอนศิษย์ไม่หน่ายหนี 

สอนวาดรูปเล่นกีฬาสามัคคี                                วิชาการมากมีทุกบทตอน

ครูคือโคมส่องสว่างชี้ทางศิษย์                            เป็นผู้นำทางจิตด้วยคำสอน

ครูคือมิตรชิดใกล้ใจอาทร                                  ศิษย์เดือดร้อนครูห่วงใยใจกังวล 

ครูคือช่างผู้เชี่ยวชาญในการปั้น                           เป็นผู้สรรค์สร้างศิษย์ให้ไม่สับสน 

ศิษย์คือผลแห่งงานการสร้างคน                          ให้ครองตนดีงามตามครรลอง

หากขาดครูของเราเฝ้าสอนสั่ง                           ประดุจคลังขาดทรัพย์คงหม่นหมอง 

เป็นคนป่าบ้าใบ้ไม่ควรครอง                                จงตรึกตรองวันนี้ดีเพราะใคร

หากวันนี้เห็นครูเป็นเช่นผู้สอน                              ไม่อาวรณ์ผูกจิตคิดไฉน

ดอกเข็มดอกมะเขือสิ้นเยื่อใย                              โรยราไปไร้ศิษย์มาบูชาครู

  สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผมนำเรื่องด้วยบทกลอนที่มีความหมายดีๆ เกี่ยวกับครูมาให้ท่านผู้อ่านได้ลองติดตามดู โดยบทกลอนนี้เป็นบทกลอนที่ลงในหนังสือ วารสารวงการครู ฉบับปฐมฤกษ์ พออ่านแล้วทำให้ผมตระหนักในหน้าที่ของคนที่จะมาเป็นครูว่ามีความสำคัญมากแค่ไหน โดยเฉพาะว่าที่คุณครูในอนาคตอย่างเราๆ ท่านๆ ควรจะเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของครูให้ดี ด้วยเหตุนี้ผมจึงหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับคุณธรรมในวิชาชีพครู หรือที่เรียกกันว่า จรรยาบรรณครู มาบอกเล่าให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน

จรรยาบรรณครู

1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

3. ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ

4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์

5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และ ไม่ใช้ศิษย์ให้กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์แก่ตนเองโดยมิชอบ

6. ครูย่อมพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ และการเมืองอยู่เสมอ

7. ครูย่อมรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์

9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย 

 

คำสำคัญ (Tags): #คุณครู
หมายเลขบันทึก: 63095เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณมากเลยครับน้องวิทยา
  • ถ้าในอนาคตน้องได้เป็นครูพี่ขอให้น้องเป็นครูที่ดีและทำให้ได้หมดทั้ง 9 ขอนะครับ
  • เป็นกำลังใจให้เสมอครับ

ทำให้ได้นะว่าที่คุณครูคนใหม่

เพื่อนเป็นกำลังใจให้เสมอ

Hi, you

I study at Bansomdejchaopraya Rajabhat University in Bangkok, am English Teacher and new seed generation teacher.

How r u?

Ek

ขอบคุณนะดื้อที่ช่วยให้ตอบข้อสอบ อ.อุบลวรรณได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท