มีสิทธ์เป็นได้เพียงนักแสดงแค่นั้นใช่ไหม : 1


ในการแก้ไขปัญหา วิถี หรือ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น จะในฐานะรักษ์บ้านเกิด หรือว่าตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน หรืออุดมการณ์ หรือเพราะหน้าที่อะไรก็ตามแต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ถือว่าเป็นฐานะของ “ผู้กระทำ”

ในภาวะปัญหารบเร้าท้องถิ่น ชุมชนมากมาย ที่ก่อตัวหมุนวน ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านเศรษฐกิจตกต่ำ สังคมเสื่อม สุขภาพอ่อนแอ สิ่งแวดล้อมอากาศแปรปรวน และอื่นๆอีกมากมาย ที่คงไม่จำเป็นต้องหยิบยกสถิติตัวเลขงานวิจัยอะไรมาอ้างก็พอจะอธิบายได้ในเชิงพรรณนา เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นล้วนประจักษ์ให้เห็นใกล้ตัวถี่ขึ้น ชัดเจนมากขึ้น

ที่น่าเป็นห่วงเห็นจะเป็นความเดือดร้อนที่ส่งผลแก่คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ท้องถิ่น ซึ่งจะรุนแรงสักเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการของชุมชนว่าจะรับมือกับปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร  หากย้อนรอยตั้งคำถามว่าแล้วปัญหาที่ก่อตัวขึ้นมานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร นั่นคงเป็นปัญหาเชิงระบบที่เกาะเกี่ยวโยงถึงกันไปหมด ที่เห็นได้ชัดและมีผลกระทบมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง นโยบาย ทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวของทิศทางการวางแผน โครงการ การทำงานของบุคลากรองค์กร/ หน่วยงาน ไปสู่การปฏิบัติการในพื้นที่ชุมชน ท้องถิ่น  ถึงแม้ว่านโยบายจะวางกรอบกฎเกณฑ์ไว้ดีสักเพียงใด หากบุคลากรผู้นำไปใช้บิดเบี้ยวเบี่ยงเบนประเด็นไป หรือไม่เข้าใจเนื้อแท้ของงาน หรือไม่ชัดเจนตั้งแต่ต้น ก็อาจจะทำให้ผลการดำเนินงานที่คาดหวังไว้นั้น ไม่เป็นอย่างที่ตั้งใจ หรือส่งผลเสียมากกว่าจะเกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง

กระบวนการทำงานพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น เป็นสิ่งชี้วัดความสำเร็จขององค์กร/ หน่วยงาน  ทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน หรือแม้แต่องค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ชุมชนเองก็ตาม ต่างมุ่งหวังเพื่อแบ่งปันทรัพยากร คุณค่า คุณประโยชน์แก่ชุมชน ท้องถิ่น   ซึ่งกระบวนการวิธีการทำงานล้วนแตกต่างกันไป บ้างก็ทำเพราะเป็นนโยบาย แผนงาน  บ้างก็ทำด้วยจิตใจจริงๆ ในการแก้ไขปัญหา วิถี หรือ คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น จะในฐานะรักษ์บ้านเกิด หรือว่าตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน หรืออุดมการณ์ หรือเพราะหน้าที่อะไรก็ตามแต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ถือว่าเป็นฐานะของ ผู้กระทำ 

ในการทำงานในพื้นที่ท้องถิ่น ชุมชน  สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นถือว่าเป็นบทเรียนการทำงานที่อาจจะมีทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลว  สิ่งที่ทำได้ดี และสิ่งที่ยังทำได้ไม่ดี  เป็นสิ่งที่ควบคู่กันไปเป็นธรรมดาของการทำงาน ไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์  ไม่มีอะไรดีที่สุดและเลวร้ายที่สุด ในความล้มเหลวนั้นก็อาจจะมีสิ่งดีดีเกิดขึ้นอย่างเกินความคาดหมายก็ได้   ขึ้นอยู่กับมุมมองและการเก็บเกี่ยวเบี้ยใบ้รายทางในสิ่งดีดีนั้นได้อย่างไร  จะนำมาใช้ต่อยอดแบบไหน  อย่างไร  นั่นคืออีกโจทย์หนึ่งของผู้กระทำ ที่จะดำเนินการต่อไป
หมายเลขบันทึก: 105417เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คนทำงานต้องมีวิธีคิดที่สร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองแบบนี้ครับ

"ไม่มีอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์  ไม่มีอะไรดีที่สุดและเลวร้ายที่สุด ในความล้มเหลวนั้นก็อาจจะมีสิ่งดีดีเกิดขึ้นอย่างเกินความคาดหมายก็ได้   ขึ้นอยู่กับมุมมองและการเก็บเกี่ยวเบี้ยใบ้รายทางในสิ่งดีดีนั้นได้อย่างไร  จะนำมาใช้ต่อยอดแบบไหน  อย่างไร  นั่นคืออีกโจทย์หนึ่งของผู้กระทำ ที่จะดำเนินการต่อไป "

พี่เอกครับ

บางครั้งยังงงๆตัวเองอยู่เหมือนกันนะครับ ว่าพักหลังส่วนใหญ่จะเขียนอะไรๆออกมาค่อนข้างจะออกแนวบ่นๆเล็กน้อย แต่ก็เข้าใจมันดีนะครับว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เลือกไม่ได้ว่าจะเจอแบบไหน อย่างไร  อยู่กับมันต่อไปอย่างนี้แหล่ะครับ

จริงจริงๆเป็นการวิพากษ์สิ่งที่เห็น ผ่านการทำงานของคนทำงานเล็กๆคนหนึ่ง ซึ่งผมก็มองว่ามันมีคุณค่าที่จะนำเสนอออกไป

หากเป็นนักวิจัยที่เน้นเหตุและผลอาจจะดูเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมยาก เพราะเขาอยู่ห่างจากสภาพความเป็นจริง มองในกรอบของตัวแปรต้น-ตาม ซึ่งก็มีส่วนถูกแต่ไม่ใช่ทั้งหมด

ผมอ่านหนังสือ โยงใยที่ซ่อนเร้น เราก็เห็นว่า สิ่งหลายๆสิ่งที่เกิดขึ้น มีปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน บางทีเหตุผลก็อธิบายอยาก

นักวิทยาศาสตร์ทำให้วิทยาศาสตร์ ไม่น่าสนใจ

นักโปรแกรมเมอร์ ก็พูดกับเครื่อง จนลืมไปว่าต้องผูกพันกับสังคมข้างนอก หลายคนบ่นว่า คุยกับโปรแกรมเมอร์ไม่รู้เรื่อง

ในขณะเดียวกันนักพัฒนาสังคม ทางสังคมศาสตร์ก็พูดไม่รู้เรื่องเหมือนกัน (ฮา)

ดังนั้นแล้ว เขียนออกมาครับ เขียนแล้วจุดประกายให้แก่สังคมได้มากน้อย ก็เป็นเรื่องที่ควรทำ

พี่เอกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท