ทำอย่างไร??? ให้..."คนดีดี"...มาพบเจอกัน


....ผู้นำจะต้องจัดการกับตัวเองได้ เช่น หนี้สิน ครอบครัว ทำตัวเองให้สมาชิกยอมรับ มีความรู้ มีคุณธรรม เกิดการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็ง สามารถเป็นวิทยากร ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ได้ ตรงนี้ทางเพื่อนๆในเครือข่ายจะคัดกรองกันเอง อยู่ที่การจัดการ พื้นที่เหมาะจะทำอะไรได้บ้าง เข้าใจธรรมชาติ หาจุดแข็ง หาพลังด้านบวกนำมาบูรณาการ ทำงานร่วมกัน วางบทบาทหน้าที่กันไปทำงาน ...

วิธีการฝึกคน สร้างคน ได้อย่างไร?

ทำอย่างไรให้คนดีดีมาพบเจอกัน?

ทำอย่างไรให้ฐานสมาชิกเครือข่ายเข้มแข็ง?

ทำอย่างไรให้ลดความขัดแย้ง?

คนดีดีตกลงมีจริงๆอยู่เท่าไรกันแน่!!!?

นี่คือโจทย์คำถามมากมาย ที่มุ่งเป้าไปยัง "ผู้นำ"  ในเครือข่ายเกษตรธรรมชาติจังหวัดพิจิตร เป็นข้อสงสัยมานาน แม้กระทั่งทีมงานขับเคลื่อนยังตั้งแง่กันเองว่าที่เราคุยๆกันมา "ของจริง" หรือ "ของปลอม" ผมว่ามันก็มีทั้งสองกรณี เพราะเราไม่ได้กำหนดคุณสมบัติว่าแบบไหนคือของจริง แบบไหนคือของปลอม มันไม่มีการกำหนดตายตัวชัดเจน ซึ่งถ้าจะกำหนดมันก็ได้นะ แต่ว่ากำหนดไปเพื่อใครกัน? เพื่อการทำงานของทีมงานให้ชัดเจนขึ้นหรือเปล่า? ฉะนั้นงานส่วนใหญ่จะเป็นของกลุ่มคนทำงานไม่กี่คน ทำไปแล้วเลิก!!!ทุกอย่างก็จบ งั้นหรือ?  ผมว่าการกำหนดน่าจะเป็นที่กลุ่มเป้าหมายมากกว่า แต่ก็ลองแล้วนะ ปรากฎว่า........ติดเกรงใจ ไม่กล้าพูดเสนอแนะ.......  อ้าว ทำไมมันไม่ลงตัวซักกะทีเนี้ยะ  หรือว่าบทสรุปจะเป็นความชัดเจน และไม่ชัดเจน เบลอๆเหมือนอย่างที่ผ่านมา ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้มีเป้าหมายปลายทางนะ แต่ว่าเป้าหมายรายทางมีบ้างหรือเปล่า??? ตรงนี้ไม่มีใครกำหนดได้ อย่างมากก็แค่พยากรณ์ได้ ส่วนของจริงอยู่ที่ "การลงมือปฏิบัติ"  ซึ่งเป้าหมายรายทางที่ว่า ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครมอง มักจะมองว่า จุดเริ่มต้นที่สัญญาไว้กับผลที่เกิดขึ้นปลายทางเป็นอย่างไร? เท่านั้น!!!   อ่ะอะอย่าเพิ่งคิดว่าผมกำลังใส่อารมณ์มากไปนะครับ เพราะนี่เป็นแค่ความรู้สึกส่วนตัวเท่านั้นเอง มาว่ากันตรงแผนงานขับเคลื่อนภาพใหญ่ของเครือข่ายเกษตรธรรมชาติพิจิตรกันดีกว่า ตอนนี้ไม่ว่าแผนงานจะชัดเจนสักเพียงใด แต่ถ้ากำลังคนทำงานไม่พร้อมก็ไม่รู้จะทำแผนไปให้ใครทำกัน  มีปัจจัยที่ฉุดกระชากความเป็นผู้นำชาวบ้าน/เกษตรกรออกไปจนฉีกขาดไม่เหลือเยื่อใย นั่นคือ "เงิน"  ใครว่าเงินไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าจะใช้มันยังไงมากกว่าที่ว่าจะมีเงินเท่าไรถึงจะพอ  เงินทุนต่างๆที่เข้ามาในชุมชนหลากหลายโครงการ หลากหลายองค์กรสนับสนุน ตอนนี้กลายเป็นว่าทำให้ชุมชนเกิดความขัดแย้ง ขาดศีลธรรม มุ่งแต่จะเอาไขว่คว้าเอาเงินอย่างเดียว จนทำให้ การพึ่งพากันเอง ช่วยเหลือแบ่งปันกัน เริ่มเจือจางไป เอ๊ะ!!!! มันยังไงกันแน่?  ดังนั้นจึงย้อนมาสู่คำถามที่ว่าเราจะพัฒนา ฟื้นฟู ศักยภาพของผู้นำได้อย่างไร?  จะติดตามได้อย่างไร?  จะทำอย่างไรให้คนดีดีมาพบเจอกัน?   ส่วนหนึ่งมองว่า ....ผู้นำจะต้องจัดการกับตัวเองได้ เช่น หนี้สิน ครอบครัว  ทำตัวเองให้สมาชิกยอมรับ มีความรู้ มีคุณธรรม เกิดการสร้างกลุ่มที่เข้มแข็ง สามารถเป็นวิทยากร ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ได้ ตรงนี้ทางเพื่อนๆในเครือข่ายจะคัดกรองกันเอง อยู่ที่การจัดการ พื้นที่เหมาะจะทำอะไรได้บ้าง เข้าใจธรรมชาติ หาจุดแข็ง หาพลังด้านบวกนำมาบูรณาการ ทำงานร่วมกัน วางบทบาทหน้าที่กันไปทำงาน ... ถามว่าที่ผ่านมามีผู้นำอย่างนี้มั้ย? ตอบได้เลยว่ามีครับ  เช่น ลุงณรงค์  ครูจำรัส  ที่มีวิธีการสร้างคน ฝึกคน ให้สามารถมีแรงบันดาลใจกลับไปทำงานเพื่อครอบครัวเพื่อชุมชนได้ ที่แน่ๆมีผู้นำเช่นนี้ประมาณ 26 คนในเครือข่ายฯ (ปราชญ์ชาวบ้านรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2)  แนวทางต่อไปจึงน่าจะนำปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 26 คน มาร่วมหาแนวทางสกัดความรู้ แลกเปลี่ยนกับผู้นำรุ่นหลังๆ ตรงนี้ก็จะเป็นองค์ความรู้ชุดหนึ่งที่สามารถเรียนลัดได้    ดังนั้นในช่วงนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมของทีมงานขับเคลื่อน คือ "จับประเด็นสำคัญๆ ที่จำเป็นกับพื้นฐานในพื้นที่ ลำดับความสำคัญ ตั้งโจทย์ให้ชัด มีหลายฝ่ายร่วม เป็นหุ้นส่วนทำงาน ค้นหาแกนนำ สมาชิกในเครือข่าย ตัวจริงที่พร้อมอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่จริงๆ ไม่ใช่มาหวังเพียงกอบโกยผลประโยชน์เท่านั้น!!!"

หมายเลขบันทึก: 77387เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมแวะมาให้กำลังใจ..มีพลังขับเคลื่อนเยอะ นะครับ
  • การสกัดความรู้ออกจากปราชญ์ชาวบ้านเป็นหัวใจหลักของการนำไปสู่การสร้างให้ชุมชนได้ร่วมเรียนรู้ตนเองด้วยตนเอง 
  • และง่ายต่อการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในเชิงวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี
  • ดูเหมือนการทำงานกับชุมชนคงยุ่งยาก ซับซ้อนไม่น้อย  โดยเพาะพื้นที่ที่ยังไม่เปิดรับและเปิดกว้าง  รวมถึงพื้นที่มีปัญหาการเมืองท้องถิ่น
  • หรือแม้แต่เรื่องของ "เงิน"  ที่รัฐส่งให้กับชุมชน แทนที่จะนำไปสู่การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็ง หลายที่กลับก่อเกิดปัญหาอย่างมหาศาล
  • ผมเป็นที่ปรึกษาติดตามโครงการหลายโครงการ..พบเห็นแล้วสะท้อนใจ  แต่ไม่อยากวิพากษ์นัก  เพราะกลัวว่าจะกลายเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว
  • จึงพอเข้าใจว่างานของท่านเป็นงานที่หนักหนาอยู่มาก
  • เป็นกำลังใจให้นะครับ

มันยากนะครับที่จะให้คนดีมาเจอกันเยอะ ๆ ...

จากที่ได้อ่านในกลุ่มก็มีคนดีตั้งหลายท่าน คงต้องใช้คนดี ๆ เหล่านั้นรณรงค์ให้คนในกลุ่มเห็นด้วยและสนับสนุน...

แต่ที่สำคัญคนดีต้องเข้มแข็งและอดทน ความล้มเหลวหลาย ๆ ครั้งมักเกิดจากคนดีอ่อนแอ...

การทำงานเพื่อสังคมต้องใช้ความอดทนและเข้มแข็งอย่างมาก...

เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ...

เมื่อไหร่ที่สำเร็จความภูมิใจและกำลังใจก็ตามมาเองครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท