kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

การส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 8 (4) : การศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน


          หลังจากการบรรยายความรู้จาก หมอนน เรียบร้อยแล้ว ในตอนบ่ายทีมงานได้จัดให้ไปศึกษาดูงานชมรมผู้สูงอายุอำเภอบ้านหลวง จ.น่าน ซึ่งต้องเดินทางผ่าโค้งซ้าย และขวา ประมาณ 45 กิโลเมตร

         สำหรับชมรมผู้สูงอายุอำเภอบ้านหลวง ประกอบด้วยเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุระดับตำบล  4  ตำบล และระดับหมู่บ้าน 26 แห่ง  เป็นชมรมผู้สูงอายุดีเด่น และชมรมผู้สูงอายุตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นของสาขาสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ฯ ประจำจังหวัดน่าน มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 2978 คน โดยวัตถุประสงค์ของชมรมคือ

  1. เป็นจุดประสานงานของสมาชิกผู้สูงอายุ และเพื่อการประสานงานกับภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์ และส่งเสริมสวัสดิการต่าง ๆ
  3. ช่วยเหลือ และเผยแพร่ข่าวสารให้สมาชิก
  4. ส่งเสริมให้สมาชิกมีสุขภาพจิต สุขภาพกายที่พึงประสงค์ สามารถดูแลตนเองได้
  5. ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตและมีหลักประกัน
  6. เพื่อเป็นแกนหลัก และมีบทบาทร่วมในการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น 

        สำหรับการประชุมของชมรมจะหมุนเวียนกันไปประชุมในตำบลต่าง ๆ  ที่อำเภอท่าหลวงถึงแม้จะอยู่คนละฝากเขากับตัวจังหวัดน่าน แต่ภายในตัวอำเภอเป็นที่ราบสามารถไปมาหาสู่กันได้ง่าย สำหรับคณะกรรมการชมรมประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีความสามารถและเคยเป็นอดีตตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอื่น ๆ มากมาย

         กิจกรรมและผลงานของชมรมได้แก่

  • การทำบุญประจำปี ในราวต้นเดือนมกราคม เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับสมาชิกที่ล่วงลับไปแล้ว
  • ประชุมประจำเดือน ทุกวันที่ 8 ของเดือน
  • กองทุนสงเคราะห์ศพ
  • การร่วมงานทำบุญผู้เสียชีวิต และมอบเงินแก่ทายาท
  • กิจกรรมตามประเพณี
  • การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในวันสงกรานต์
  • การเยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้าน/ที่ป่วย
  • การรักษาโรคแผนโบราณ
  • การอบรมอาชีพ เช่นการจักสาน  ยาสมุนไพร ย่ำขาง
  • การประชุมสัญจรและเยี่ยมเครือข่าย
  • กิจกรรมการดูแลสุขภาพ มีการตรวจร่างกายประจำปี
  • ส่วนเรื่องการส่งเสริมทันตสุขภาพ เพิ่งจะเริ่มดำเนินงาน โดยเริ่มมีการตรวจสุขภาพช่องปากไปบ้างแล้ว

        สำหรับการศึกษาดูงานครั้งนี้ ทีมงานได้แบ่งกลุ่มผู้ดูงานเพื่อค้นหาสิ่งที่ดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง และถอดบทเรียนออกมาเป็นแผนที่ความคิด (Mind map) โดยมีหัวข้อในการถอดบทเรียน 4 เรื่องคือสิ่งดี ๆ ที่ได้พบ , ปัจจัยสู่ความสำเร็จ , องค์ความรู้และความสามารถที่มี ,และประโยชน์ที่ชุมชนและคนในองค์กรได้รับ ซึ่งผู้ศึกษาดูงานแต่ละคนก็ตั้งใจในการศึกษา และซักถามผู้สูงอายุ

      ในช่วงสุดท้ายทางชมรมผู้สูงอายุก็ได้พาไปดูงานที่ชมรมผู้สูงอายุเครือข่ายในระดับตำบลคือที่ตำบลบ้านฟ้า ซึ่งมีกิจกรรมเด่นในเรื่องสมุนไพร โดยเฉพาะการย่ำข่าง ซึ่งเป็นการรักษาอาการปวดเมื่อย ตามร่างกาย โดยใช้เท้าเหยียบน้ำยาสมุนไพรให้เปียก แล้วเหยีบยบนขาง หรือผาล ที่ตั้งไฟให้ร้อน เวลาเหยียบคนไข้จะได้รับทั้งความร้อน น้ำยาสมุนไพรและแรงกดของเท้า  

           ที่ตำบลนี้ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์ที่สำคัญคือพระเจ้าทันใจ ซึ่งมีประวัติว่าสร้างโดยชาวบ้านซึ่งทำเสร็จภายในวันเดียว

         หลังจากกลับจากการดูงาน ผู้ดูงานได้กลับมาสรุปผลการดูงาน โดยเขียนเป็น mind map ซึ่งลายละเอียดจะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป

 

 

      

หมายเลขบันทึก: 343053เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2010 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รออ่านครับคุณหมอก้อง โอโหทีมงานเข้มแข็งมาก ที่อำเภอบ้านหลวงมีกิจกรรมหลากหลายมากเลยครับ...

  • ขอบคุณอาจารย์ขจิตครับ
  • คงมีโอกาสได้เรียนรู้จากอาจารย์บ้างในอนาคตนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท