แม่ชีอาจารย์ในวัดปากน้ำ (ตอนที่ 4)


แม่ชีอาจารย์ในวัดปากน้ำ (ตอนที่ 4)

อาจารย์แม่ชีญาณี ศิริโวหาร

ประวัติของอาจารย์แม่ชีญาณี ศิริโวหาร
อดีตประธานสถาบันแม่ชีไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

     แม่ชีญาณี เกิดที่ตำบลโสธร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันอังคารที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ ปีมะโรง เป็นบุตรคนที่สามของนายจ้อย และนางเจียม ศิริโวหาร เมื่อเยาว์วัย ท่านได้อยู่ในความอุปการะของ คุณยายบุญมี ซึ่ง เป็นคหบดีของจังหวัด และ ต่อมาคุณยายทิพย์ ผู้บวชเป็น แม่ชีอยู่ที่วัดปากน้ำได้ขอท่านไปอุปการะต่อ

     ครั้นท่านอายุได้ ๒๐ ปีแล้ว ก็ได้ขออนุญาตแม่ชีทิพย์ผู้มี อุปการคุณแก่ท่านว่า มีความประสงค์จะบวชเป็นแม่ชี แม่ชีทิพย์ก็อนุโมทนาในกุศลจิตนั้น และได้พาท่านไปกราบ ขออนุญาตกับพระเดชกระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อจึง ได้จัดการบวชให้เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗ และได้ ให้ชื่อแม่ชีบวชใหม่นี้ว่า

     “ญาณี” แทนชื่อเดิมว่า “สงวน”

     ท่านได้ปฏิบัติตามโอวาทคำแนะนำของผู้ใหญ่ และเคารพใน การปกครองเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งตั้งใจปฏิบัติธรรมโดยเคร่งครัด และขยันหมั่นเพียรไม่ทอดธุระ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของหลวง พ่อ ด้วยบุญญาบารมีของท่านในอดีต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอีก ประการหนึ่ง ช่วยเกื้อกูลให้ แม่ชีญาณีได้บรรลุถึงธรรมกาย ไม่นานนัก ภายหลังจากการบวช และสามารถเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง ขึ้นเป็นลำดับไป

     ท่านได้รับมอบหมายจาก พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัด ปากน้ำให้เป็นผู้สอนวิชชาธรรมกายแก่แม่ชี และผู้สนใจ ปรารถนาจะปฏิบัติสมถวิปัสสนากรรมฐานที่วัดปากน้ำนั้น ท่าน เป็นผู้มีความสามารถในการสอน อีกทั้งมีกังวานเสียงไพเราะ พูดชัดเจน เป็นที่ชื่นชมของสาธุชนทั่วไป ตลอดระยะเวลา ประมาณ ๔๐ ปี ที่ท่านสอนอยู่นั้น นอกจากนี้แล้ว ท่านยังเป็น ผู้หนึ่งที่ได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ได้รับมอบหมายจาก หลวงพ่อ เป็นหัวหน้าเวรคุมการทำวิชชาธรรมกาย ที่ภาย ในโรงงานทำวิชชาของแม่ชี ช่วยเหลือรักษาทุกข์ทางกายและ ใจแก่ผู้มาขอความอนุเคราะห์ให้หายหรือผ่อนคลายลงเป็นบุญ กุศลแก่ทุกฝ่าย

     แม่ชีญาณีเป็นผู้ที่มีความมานะ พากเพียร สนใจศึกษาพระ ปริยัติธรรม ได้เข้าสอบ หลักสูตรธรรมศึกษา โดยการศึกษา ด้วยตนเอง ซึ่งในสมัยนั้นทั้งครูผู้สอนและเวลาเพื่อการศึกษา ตำราก็หาได้ยาก ท่านจึงต้องใช้เวลานานถึง ๙ ปี จึงสอบได้ ธรรมศึกษาชั้นเอก อันเป็นชั้นสูงสุดด้านธรรมศึกษา ซึ่งหากทุกอย่างอำนวยก็อาจสอบได้ภายในเวลา ๓ ปี ซึ่งความเพียรพยายามไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคของแม่ชีญาณีนี้ เป็นที่พอใจของหลวงพ่อและยกท่านเป็น ตัวอย่างชม ให้บรรดาแม่ชีที่เรียนธรรมศึกษารุ่นหลังๆ ฟังเสมอมา

     ท่านเป็นผู้ใหญ่ ที่มีคุณธรรม อันเป็นเครื่องอยู่ของผู้ใหญ่ สมบูรณ์ เช่น มีพรหมวิหาร ๔ และเว้นจากอคติ ๔ ประการ พร้อมทั้งเป็นนักปกครองเก่ง มีความสามารถอย่างยิ่งดังจะเห็น ได้จากผู้ที่เคยอยู่ในอุปการะดูแลของท่าน เช่น อาจารย์กัลยา สหชาติโกสีย์ เป็นอาทิ ได้ยกย่องและระลึกถึงคุณความดีของ ท่านอยู่มิรู้ลืม ความใกล้ชิด ความเอาใจใส่ ทั้งในด้าน ความ ประพฤติ การศึกษา และการอบรมเพื่อฝึกจิตที่ท่านให้ต่อผู้อยู่ ในความปกครองของท่าน สามารถเปลี่ยนอุปนิสัยที่ไม่ถูกไม่ ควร เช่น ความเป็นคนเจ้าอารมณ์ หยิ่ง ใจน้อย ท้อถอย ให้ เปลี่ยนเป็นคนมีใจสุขุมเยือกเย็นองอาจ แต่รู้จักอ่อนน้อมถ่อม ตน อดทน มีมานะ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้

     ด้วยความเป็นผู้นำมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้วยกำลังใจและ แรงกาย ความจริงจังต่อหน้าที่การงานของท่าน เป็นผู้ทรงคุณ งามความดี เกียรติของท่านจึงปรากฏจนเป็นที่เคารพนับถือและ รู้จักของบุคคลทั่วไป ตลอดจนแรงสนับสนุนที่แม่ชีญาณีได้รับ ท่านก็สามารถ ตั้งสถาบันแม่ชีไทยขึ้นเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และในปีต่อมา ท่านก็ได้รับเลือกให้เป็นประธาน ของสถาบันแม่ชีไทยติดต่อกันถึง ๒ สมัย ซึ่งท่านได้ ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจปฏิบัติงาน ให้แก่สถาบันนั้นอย่าง เต็มความสามารถตามปณิธานที่ตั้งไว้

     ต่อมาสุขภาพของท่านทรุดโทรมลงตามอายุขัย ท่านได้เข้ารับ การรักษา และผ่าตัดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในกลางปี พ.ศ. ๒๕๑๘ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรง ทราบ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับท่านเป็นคนไข้ในพระ บรมราชินูปถัมภ์ จากนั้นแม่ชีญาณีได้กลับมาอยู่วัดปากน้ำอีก ตามปกติ อาการป่วยนั้น มีแต่ทรงกับทรุด ต่อมามีโรคเกี่ยวกับ ระบบประสาท จึงได้เข้ารับการรักษาที่ร.พ.พญาไท 

     จนถึงวาระสุดท้าย เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ แม่ชี ญาณีก็ถึงแก่กรรม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุเคราะห์ สวดพระอภิธรรมเป็นการส่วนพระองค์ และพระราชทานเพลิงศพแม่ชีญาณี ซึ่งนับเป็นพระมหา กรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ แก่อาจารย์แม่ชี ญาณี ศิริโวหารผู้จากไปแต่กาย และยังคงมีความดีตลอดจนผล งานไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมกันโดยทั่วไป

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

พัฒนะ ภวะนันท์ และ สุดเสงี่ยม เพ็ชร์สกุล

 

     เท่าที่ทราบแม่ชีอาจารย์คุมวิชชาที่เป็นหัวหน้าเวรในยุคนั้น มี 6 ท่าน ดูแลผลัดละ 4 ชั่วโมงในการทำวิชชาในโรงงาน ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีหยุดพักเลย รายชื่อมีดังนี้

1.อาจารย์แม่ชีปุก มุ้ยประเสริฐ

2.อาจารย์แม่ชีถนอม อาสไวย์

3.อาจารย์แม่ชีญาณี ศิริโวหาร

4.อาจารย์แม่ชีชั้น จอมทอง

5.คุณครูฉลวย สมบัติสุข

6.คุณครูตรีธา เนียมขำ

     หัวหน้าเวรมีเงินเดือนให้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ ตั้งให้ หัวหน้าเวรเดือนละ 300 บาท รองหัวหน้าเวร 150 ลูกเวร 70 หลวงพ่อของเราเลี้ยงได้หมด นี่เป็นครูฝ่ายแม่ชีอุบาสิกา

******

สมถะ

------------------------------------------------



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท