เรื่องกายสาม


พิจารณาคำว่าธรรมกายในคัมภีร์ศาสนา

ข้อความบางตอนจากปาฐกถาเรื่องกายสาม  โดยพระเดชพระคุณ พระพรหมมุนี  (สุวจเถร)   วัดบวรนิเวศวิหาร  จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย ฯ  พ.ศ.  ๒๕๒๗



เรื่องกายสาม  ฯลฯ  มีพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรบทหนึ่งว่า  “กาเย  กายานุปสฺสี”  “พิจารณาเห็นกายในกาย”  พระบาลีบทนี้  แม้แปลเป็นภาษาไทยแล้วก็ยังเข้าใจความยาก   มีผู้อธิบายกันเป็นหลายนัย  ฝ่ายที่เป็นนักเรียน   อธิบายว่า  “พิจารณาอย่างหนึ่งในกายทั้งหลาย”  หมายความว่าให้แยกกายที่รวมกันหลาย ๆ  อย่าง   ยกขึ้นพิจารณาทีละอย่าง ๆ  เช่น  พิจารณาหมู่ขนอย่างหนึ่ง  ผมอย่างหนึ่ง   เล็บอย่างหนึ่ง  เป็นต้น   ส่วนนักธรรม   อธิบายและความหมายความไปอีกอย่างหนึ่ง  คือ  หมายความว่า   ให้พิจารณากายธรรมในกายทิพย์  ให้พิจารณากายทิพย์ในกายมนุษย์  เป็นชั้น ๆ  กันออกมา  หรือให้พิจารณากายมนุษย์ในกายทิพย์  ให้พิจารณากายทิพย์ในกายธรรม  เป็นชั้น ๆกันเข้าไป  กายมนุษย์อยู่ชั้นนอก  กายทิพย์อยู่ชั้นกลาง   กายธรรมอยู่ชั้นใน


จะว่าของใครผิดก็ว่ายาก   น่าจะถูกด้วยกันทั้งสองฝ่าย  คือ  ฝ่ายนักเรียนก็แปลถูกด้วยแบบแผนและไวยากรณ์   หรือข้อปฏิบัติในเบื้องต้น  ฝ่ายนักธรรม  หรือ นักปฏิบัติก็ถูกด้วยอาคตสถาน  มีที่มาเหมือนกัน   และในทางปฏิบัติชั้นกลางและชั้นสูงก็มีได้.   โดยอาคตสถานคือที่มา  กายมนุษย์และกายทิพย์  มีที่มา เช่น  ในมหาสมัยสูตรว่า


เย  เกจิ  พุทฺธํ  สรณํ  คตา  เส   น  เต  คมิสฺสนฺติ  อปายภูมึ
ปหาย  มานุสํ  เทหํ   เทวกายํ   ปริปูเรสฺสนฺติ  ฯ


แปลความว่า   “บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ  บุคคลเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ   ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว   จักยังเทวกายให้เต็มรอบ”  ดังนี้


พระคาถานี้  เรียกกายมนุษย์ว่า   “มานุสเทหะ”  ซึ่งแปลว่า   “กายอันเป็นของมีอยู่แห่งมนุษย์”  เรียกทิพยกายว่า    “เทวกาย”  โดยความก็เหมือนกัน.



ธรรมกายนั้น เช่น  พระบาลีในอัคคัญญสูตรแห่งสุตตันตปิฎก ปาฏิกวรรค  ทีฆนิกาย   (หน้า  ๙๒) ว่า   “ตถาคตสฺส   เหตํ  วาเสฏฺฐา   อธิวจนํ  ธมฺมกาโย  อิติปิ  พฺรหฺมกาโย  อิติปิ  ธมฺมภูโต  อิติปิ  พฺรหฺมภูโต   อิติปิ”  แปลว่า  “ดูก่อนวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย  คำว่า  ธรรมกาย  ก็ดี  พรหมกายก็ดี  ธรรมภูตก็ดี  พรหมภูตก็ดี  เป็นชื่อของตถาคต  ดังนี้.....”


ธรรมกาย   คือกายธรรม   นี้เป็นชั้นละเอียด  เมื่อกล่าวด้วยเรื่องกายธรรม  จำเป็นต้องจะต้องอธิบายคำว่า   “ธรรม”   ในศัพท์นี้ให้เข้าใจก่อน  ธรรมหรือธาตุนั้น   ตามพยัญชนะแปลว่า   “ทรง”  เมื่อถือเอาคำว่า  “ทรง”   เป็นประมาณ  ก็ไม่อธรรม    แม้ในสภาพที่เป็นธรรม   ซึ่งแปลว่า     “ทรง”   นั้นเมื่อเพ่งตามอาการแล้ว   ก็มีทรงอยู่  ๒  อย่างคือ     ทรงอยู่อย่างนั้น   ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น  ซึ่งเรียกว่า  อสังขตธรรม   ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง  หรืออมตธรรม  ธรรมที่ไม่ตาย  อย่างหนึ่ง   ทรงอยู่ชั่วครู่ชั่วคราว  แล้วก็เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่นไป  เช่น  ร่างกายของคนของสัตว์   หรือสิ่งประดิษฐ์ทุก ๆ ชนิดอย่างหนึ่ง   อย่างหลังนี้ท่านเรียกว่าสังขตธรรมบ้าง   สังขารธรรมบ้าง   เพราะเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งขึ้น   เรียกว่ามตธรรม   ธรรมที่ตายสลายไปบ้าง



คำว่า   ธรรมกาย  ในที่นี้เข้าใจว่า  หมายเอาอสังขตธรรมหรืออมตธรรมที่เป็นส่วนโลกุตตรธาตุหรือโลกุตตรธรรม  ไม่ใช่โลกียธาตุหรือโลกียธรรม**


คำว่า ธรรมกาย  ได้แก่อะไร  ธรรมที่เรียกว่า  ธรรมกาย  นี้  เข้าใจว่า  หมายเอาอสังขตธรรมทั้งที่เป็นวิราคะ***  ทั้งที่เป็นสราคะ**** ถ้าเป็นวิราคธรรมก็เป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์   ถ้ายังไม่เป็นวิราคธรรม  ก็ยังไม่เป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์  แต่   ธรรมกาย  ที่มาในอัคคัญญสูตร   คำว่า   ธรรมกาย   ก็ดี   พรหมกาย  ก็ดี   เป็นชื่อ หรือคำร้องเรียกซึ่ง   “ตถาคต”  นั้น  มีปรากฏที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในที่อื่นอีกหลายแห่ง   เช่น ใน  อัคคิเวสสนวัจฉโคตรสูตรเป็นต้น  เล่าว่า   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงแก่วัจฉโคตรปริพาชก  ปฏิเสธขันธ์ว่า   เขาบัญญัติตถาคตด้วยรูป   เวทนา  สัญญา  สังขาร   วิญญาณ   อันใด   รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร   วิญญาณ   อันนั้น  ตถาคตละเสียได้แล้ว  ทำให้เหมือนตาลมีรากขาด   มียอดด้วน  ไม่เจริญอีกแล้วดังนี้  นี่ก็ได้ความว่า   ตถาคตไม่ใช่นาม  ไม่ใช่รูป   ไม่ใช่ขันธ์  ๕  ไม่ใช่อายตนะ  ๖   ไม่ใช่ธาตุดิน  ธาตุน้ำ  ธาตุไฟ  ธาตุลม   ไม่ใช่โลกิยธาตุ  ตถาคตนั้นเป็นธรรมซึ่งบางครั้งหรือบางแห่งก็เรียกว่า  “เรา”   เช่นใน  วักกลิสูตร ทรงแสดงแก่พระวักกลิว่า   “ประโยชน์อันใดด้วยการมานั่งแลดูร่างกายซึ่งเป็นของเน่านี้   ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา   ผู้ใดเห็นเรา  ผู้นั้นเห็นธรรม”  ดังนี้   แต่คำว่า เรา ๆ  นี้มีที่ใช้หลายแห่งเราแก่  เราเจ็บ  เราตายก็มี   เราเป็นผู้พลัดพรากจากนามรูป   ที่แก่  ที่เจ็บ  ที่ตาย  ซึ่งเป็นของรักยิ่งนั้นก็มี  เราเป็นผู้เป็นไปตามกรรมก็มี  อันมาในอภิณหปัจจเวกขันธ์  เราไม่แก่  ไม่เจ็บ  ไม่ตาย  ก็มี  เราที่แสดงไว้ในวักกลิสูตรนั้น  ไม่ใช่เรา    ๓  ข้อ  ข้างต้น  ในอภิณหปัจจเวกขณ์นั้น     “เรา”   ในพระสูตรนี้  เป็นเรา    “ตถาคต”   เราใช้ใน  “ธรรมกาย”  ที่บริสุทธิ์  

หมายเลขบันทึก: 215265เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2008 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สีซอให้ฟังเหรอคับ

คนส่วนมากเขาไม่ค่อยจะฟังหรอกคับ

ทำไมนะเหรอ

ก็เขาไม่ใช่ควายไงอิอิ

แต่ผมจะฟังให้แล้วกาน

หว่า แล้วเล่นเพลงอาไรเหรอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท