BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๖


เล่าเรื่องสิงคาลกสูตร ๖

ความเป็นเหตุเป็นผล หรือความเชื่อมโยงกันของ กรรมกิเลส กับ อคติิ นี้ ผู้เขียนเห็นว่าอาจขยายแนวคิดออกเป็นกรอบความคิดเชิงปรัชญาสังคมได้รูปแบบหนึ่ง... แต่เพื่อมิให้เรื่องราวนอกหัวข้อจนเกินไป จะเล่าสั้นๆ พอเป็นแนวทางให้ผู้สนใจนำไปคิดต่อ คล้ายๆ แวะพักข้างทาง ก่อนที่จะดำเนินเรื่องราวในสิงคาลกสูตรต่อไป....

ประการแรก กรรมกิเลสก็คือ การกระทำชั่วพื้นฐานของคนนั่นเอง ส่วนสาเหตุของการกระทำชั่วพื้นฐานก็คืออคติหรือความลำเอียงนี้เอง....

และเมื่อใช้ภาษาทั่วไป ความลำเอียงหรือความอคติ ก็คือความไม่ยุติธรรมนั่นเอง นั่นก็คือ การกระทำชั่วพื้นฐานเกิดจากความไม่ยุติธรรม...

......

ในอัคคัญญสูตร ตอนหนึ่งบอกว่า... แรกเริ่มเดิมทีนั้น มีข้าวสาลีเกิดเอง ใครหิวเมื่อไหร่ก็ไปเก็บกินได้.... ต่อมาเริ่มมีการสั่งสมข้าวสาลี ทำนองว่า เก็บเย็นเผื่อเช้่าด้วยและขยายไปจนเก็บไว้กินครั้งละหลายๆ วัน... เมื่อคนเก็บสะสมกันมาก ข้าวสาลีก็เกิดไม่ทัน จึงมีการแบ่งปั่นพื้นที่หรือเขตกันขึ้นมา.... ต่อมาก็เริ่มมีผู้ลักขโมยของคนอื่น เริ่มมีการดุด่า ทำร้าย ทุบตีผู้ลักขโมย และเริ่มมีการโกหกมดเท็จเกิดขึ้น.....เมื่อเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นซ้ำซาก จึงมีการประชุมและตั้งผู้ปกครองเพื่อดูแลนาข้าวสาลี เรียกกันว่า กษัตริย์ (ผู้เฝ้านา).... เริ่มมีผู้ปกครอง เริ่มมีกฎหมาย เริ่มมีการลงโทษ....

(อัคคัญญสูตร อยู่ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๑ เล่มเดียวกับสิงคาลกสูตร ผู้สนใจลองค้นหาอ่านในเน็ตได้ไม่ยาก)

เฉพาะเนื้อหาที่ยกมาโดยย่อ เพื่อแสดงให้เห็นได้ว่า กรรมกิเลสพื้นฐานเริ่มจากอคติหรือความลำเอียงของคนนี้เอง เช่น...

  • พอใจสะสมข้าวสาลีเพิ่มขึ้น จัดเป็นฉันทาคต
  • ลักขโมยข้าวสาลีผู้อื่น จัดเป็นฉันทาคติ
  • เกิดการดุด่า และทำร้ายทุบตีโจร จัดเป็นโทสาคติ 
  • พูดโกหกหลอกลวงว่าไม่ได้ลักขโมย จัดเป็นภยาคติ
  • ฯลฯ

นั่นคือ ความลำเอียงของคนก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น เมื่อความไม่ยุติธรรมเกิดขึ้น ก็ต้องสร้างนักปกครองขึ้นมาเพื่อจะได้เป็นผู้ธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม โดยคนในสังคมยินดีจะแบ่งข้าวสาลีบางส่วนให้แก่ผู้ปกครอง (คล้ายภาษี) เพื่อแลกกับควาไม่ลำเอียงหรือความไม่ยุติธรรม... ประมาณนี้

.......

ปัญหาโลกร้อนปัจจุบัน ก็อาจมองสาเหตุพื้นฐานว่ามาจากกรรมกิเลสและอคติได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ประเทศมหาอำนาจปล่อยก๊าซมีเทนเป็นต้นจำนวนมาก บริโภคทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าประเทศด้อยอำนาจ จัดเป็นความลำเอียงของประเทศมหาอำนาจ....

และเพราะความลำเอียงทำนองนี้เอง ทำให้เกิดมีสงครามสั่งสอนประเทศด้อยอำนาจ (ปาณาติบาต)... มีการเข้าไปกอบโกยทรัพยากรธรรมชาติในแนวทางที่ไม่ชอบจากประเทศด้อยอำนาจ (อทินนาทาน)... และมีการแถลงข่าวปกปิดความจริง (มุสาวาท).... ซึ่งเหล่านี้ จัดเป็นกรรมกิเลส

องค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ การค้าโลก ฯลฯ ก็คือสิ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความลำเอียงหรือความไม่ยุติธรรมในสังคมโลกนั่นเอง.....

ผู้เขียนจะทิ้งประเด็นนี้ไว้ แสดงให้เห็นแต่เพียงว่า ปํญหาสังคมจริงๆ มีพื้นฐานมาจาก อคติที่เป็นสาเหตุแห่งกรรมกิเลสพื้นฐานนี้เอง...

.......

อนึ่ง สำหรับวินัยของพระภิกษุี อาบัติปาราชิก ซึ่งภิกษุใดต้องอาบัติปาราชิกก็จะขาดจากความเป็นพระภิกษุ มี ๔ ข้อ กล่าวคือ...

  • การเสพเมถุน
  • ลักทรัพย์
  • ฆ่ามนุษย์
  • อวดอุตริมนุษยธรรม

มื่อพิจารณาแล้ว ปาราชิก ๔ เหล่านี้ก็คือ กรรมกิเลส ๔ นั่นเอง... เพียงมีกรอบความหมายแคบกว้างแตกต่างกันเท่านั้น กล่าวคือ การเสพเมถุน (กาเมสุมิจฉาจาร) ลักทรัพย์ (อทินนาทาน) ฆ่ามนุษย์ (ปาณาติบาต) และ อวดอุตริมนุษยธรรม (มุสาวาท)...ประมาณนี้

............

ผู้เขียนจะพักเรื่อง กรรมกิเลส และ อคติ ไว้เพียงแค่นี้ เพื่อขึ้นสู่แนวทางแล้วดำเนินเรื่องสิงคาลกสูตรต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 133364เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 01:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

กราบนมัสการหลวงพี่มหาชัยวุธ

เคยสังเกตเห็นดังที่หลวงพี่เล่าย่อๆ เกี่ยวกับอัคคัญญสูตร ไว้ ว่าที่คนเราทะเลาะกัน(สร้างกรรมกิเลสกัน)ในทุกวันนี้นั้นเป็นเพราะมนุษย์มีกิเลสสูง มีของเขา ของเรา มีทิฏฐิ มานะ ชอบสะสม(เกินพอดี)ไว้เป็นของตน แต่ทรัพยากรบนโลกนี้มีน้อย (มีเท่าเดิมและลดลงเมื่อใช้หมดไป) ดังนั้นการสะสมกิเลสจึงทำให้เกิดกรรมกิเลสต่อยอดไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด หนทางของมนุษย์ส่วนใหญ่จึงดิ่งลงในทางต่ำไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีพอแบ่งกัน และไม่คิดจะแบ่งกัน มีความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของมากเกินไป ไม่เห็นสภาวะธรรมของสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง

พออ่านเรื่องย่อของพระสูตร ก็ทำใ้ห้ภาพที่เคยคิดเอาไว้ ชัดเจนสมบูรณ์มากขึ้นค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ 

P

กมลวัลย์

เราก็คงจะคิดแก้ปัญหา หรือบ่นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตาย...

รู้สึกว่า ประเด็นปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ นักปรัชญาหรือศาสดาในโลกนี้ก็คิดค้นไว้จนเกินกว่าจะพอแล้ว ถ้าจะนำมาใช้....

อาตมาคิดว่า เพราะปัญหาคนและสังคมส่วนใหญ่ไม่สิ้นสุด คำสอนของพระพุทธศาสนาจึงมีผู้มองเห็นว่า เน้นปัจจกนิยม มากกว่าสังคมนิยม... ประมาณนี้

เจริญพร 

  • นมัสการพระคุณเจ้า
  • เข้ามาอ่านแล้วครับกระผม :)

 

P

กวิน

 

ก็เงื้อง่าจะเขียนวิจารณ์การเมืองอยู่หลายเพลาแล้ว แต่คิดว่า่ เขียนไปก็มิใช่การแก้ปัญหา...

เจริญพร

 

นมัสการค่ะ เข้ามาอ่านแล้วค่ะ

PSasinand

 

ดูข่าวแล้วเกิดสลดใจ ซึ่งปัญหาพื้นฐานก็คือ อคติ ได้แก่ความลำเอียงที่เริ่มต้นด้วยการกอบโกยเกินกว่าความจำเป็น (ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะพอใจ) แล้วต่อมาปัญหาต่างๆ ก็ตามมา...

แม้พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นและเสนอแนวทางแก้ไขไว้แล้ว แต่สาเหตุของปัญหาจาก อคติ และ กรรมกิเลส ก็ยังไม่ผ่อนคลาย แต่กลับพัฒนาอย่างน่ากลัวยิ่งๆ ขึ้น ซึ่งลุกลามไปทั่วโลก....

เมื่อนำเรื่องนี้มามองการพัฒนาของคน จะเห็นได้ว่า คนมิได้พัฒนาขึ้นเลย กลับทว่าเสื่อมลงๆ ตลอด....

เจริญพร

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท