ทุกข์เพราะไม่พร้อม ฯขอเชิญคุยต่อยอด(บันทึกวงปี)


ทุกข์เพราะไม่พร้อม ไม่เคยซ้อม ไม่เคยตระหนักว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ไปอ่านบันทึกของน้องมัทใหม่
นั่งจ้องเลือกจากสารบัญ มาลงเรื่องเดิมที่เคยอ่านและยังอยากคุยต่อ
จึงขอเชิญทั้งเจ้าของบันทึกและใคร ๆ ที่สนใจคุยกันต่อค่ะ เรื่องนี้ค่ะ

อะไร ๆ ก็เหมือนกัน ไม่ดูก็ไม่เห็น ไม่เห็นก็ไม่เข้าใจ
เราไม่ยอมมองด้านในก็ไม่เห็นตัวเอง ไม่เห็นก็ไม่เข้าใจ
คนจำนวนไม่น้อยจึงชอบพูดว่า เขาไม่เห็นว่าศาสนามีความจำเป็นอะไรแก่ชีวิต เขามีความสุขพอสมควรแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรนักหนา และไม่เคยสร้างความเดือดร้อนแก่ใคร ๆ (พอกล่าวคำนี้ ผู้ใกล้ชิดมักจะต้องอมยิ้มหรือส่ายหัวนิด ๆ)

คนที่มองอย่างนี้ มักขอให้หาความสุขแบบชาวบ้านก่อน คือ เขามองธรรมะเป็นยาสมุนไพรขม ๆ ที่ควรเอาไว้ในอนาคตโน้น ตอนจวนหมดบุญ รักษาทางอื่นไม่ได้ผล ไม่มีทางเลือกแล้วจึงค่อยลอง นี่คือความประมาท ทำไม เพราะมองไม่เห็นเนื้อร้ายที่เกิดที่หัวใจเสียแล้ว ซึ่งธรรมะเท่านั้นที่ขจัดได้ เป็นความคิดที่เกิดจากการไม่มองด้นใน ไม่ดูก็ไม่เห็นปัญหาที่ซ่อนเร้นอยู่แล้ว และคอยบั่นทอนคุณภาพชีวิตตลอดเวลา

...

ความยึดติดเกิดที่ไหน ความเครียดและความกลัวเกิดที่นั้น ผู้อยู่ในโลกไม่รู้เท่าทันโลก ไม่ศึกษาและปฏิบัติธรรมคือไม่สนใจธรรมชาติของตัวเอง ไม่สนใจธรรมชาติของตัวเองย่อมเป็นเหยื่อนของมันอยู่เรื่อย
อย่างเช่นกลัวตาย เป็นต้น และกลัวการพลัดพรากจากสิ่งที่ให้ความสุขแก่ชีวิต

...

ตราบใดที่เขาสามารถสัมผัสหรือเก็บสิ่งที่เขาสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นความสุขหรืออำนวยความสุข เราก็ประมาทและหมกมุ่นในสิ่งนั้น แต่เมื่อมีเหตุการณ์ใดที่ทำให้เขาต้องพลัดพราก หรือแค่คุกคามว่าจะต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น เขาจะเป็นทุกข์เป็นร้อน ไม่มีที่พึ่ง
เพราะไม่พร้อม ไม่เคยซ้อม ไม่เคยตระหนักว่าเป็นเรื่องธรรมดา
ว่า ความสุขที่เกิดจากสิ่งที่ไม่แน่นอน ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนเหมือนกัน

ความสุขที่อาศัยการกระตุ้นจากข้างนอกเป็นของเปราะ ขาดความมั่นคง เป็นความสุขที่หลอกให้เราหลง และผู้ที่จะเอาจริงเอาจังกับความสุขอย่างนี้มาก ก็ย่อมตาบอดต่อความจริงของธรรมชาติ ที่ท่านเรียกว่าไตรลักษณ์ (Anicca อนิจจัง, Dukkha ทุกขัง, Anatta อนัตตา)จึงไม่ฉลาดในการบริหารอารมณ์ตัวเองเท่าที่ควร

ผู้ที่ปฏิบัติธรรมคือผู้ที่ไม่ยอมหนีจากความทุกข์ ไม่หลับหูหลับตาต่อความจริง

การภาวนา คือ การสร้างความคุ้นเคยกับตัวเอง นักภาวนาต้องดูตัวเองอยู่เสมอว่าในขณะนี้มีอะไรอยู่บ้าง โดยไม่หลวงว่าสิ่งที่เห็นเป็นของตัวเป็นของตน คือไม่มองด้านในผ่านแว่นสี คือความรู้สึกว่าเรา หรือของเรา มนุษย์ส่วนมากมักห่างไกลจากตัวเอง ไม่รู้จักเลย บางคนชอบบ่นว่าคนอื่นไม่รู้จักเขาหรือไม่เข้าใจเขา แต่ตัวเขาเองก็ไม่เข้าใจตัวเองเท่าไร แล้วทำไมคนอื่นจะต้องเข้าใจ น่าจะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา

นักปฏิบัติผู้เฝ้าสังเกตจิตใจ จะต้องเห็นว่าอารมณ์ใดเกิดบ่อย อารมณ์ใดเกิดไม่ค่อยบ่อย จะต้องเห็นความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ต่าง ๆ

...

นักวิชาการชาวตะวันตกบางคน เคยตำหนิพระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสนาที่มองชีวิตในแง่ร้าย แต่ผู้ใดลงมือปฏิบัติธรรมย่อมเห็นว่าความเป็นจริงแล้ว พระพุทธศาสนามองชีวิตของมนุษย์ในแง่ดี มองในแง่สร้างสรรค์ ต่างจากศาสนาอื่นด้วยซ้ำไป คือเราเชื่อในความสามารถของมนุษย์ ศาสนาอื่นนั้นมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญแก่ชาติปัจจุบัน หากมองเป็นแค่อารัมภบทก่อนขึ้นสวรรค์นิรันดรหรือตกนรกนิรันดร ไม่เชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่จะพ้นจากความทุกข์ในชาตินี้ แต่ทางพระพุทธศาสนาเห็นว่า ชาตินี้สำคัญ การที่เราเกิดเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ประเสริฐ เพราะว่าเรามีความสามารถพิเศษบางอย่าง คือเรามีความสามารถในการละความชั่ว บำเพ็ญกุศลความดี และการชำระจิตใจของตน

พระธรรมเทศนา: พระอาจารย์ ชยสาโร ภิกขุ

หมวดหมู่: เรื่องทั่วไป
คำสำคัญ: ธรรมะ  ชีวิต
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ Copyright
สร้าง: พ. 07 ก.พ. 2550 @ 13:45   แก้ไข: พ. 08 ส.ค. 2550 @ 02:50   ขนาด: 9129 ไบต์
หมายเลขบันทึก: 253702เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
P
4. ภูสุภา
เมื่อ อา. 08 มิ.ย. 2551 @ 08:32
691231 [ลบ] [แจ้งลบ]

**นักวิชาการชาวตะวันตกบางคน เคยตำหนิพระพุทธศาสนาว่า เป็นศาสนาที่มองชีวิตในแง่ร้าย แต่ผู้ใดลงมือปฏิบัติธรรมย่อมเห็นว่าความเป็นจริงแล้ว พระพุทธศาสนามองชีวิตของมนุษย์ในแง่ดี มองในแง่สร้างสรรค์ ต่างจากศาสนาอื่นด้วยซ้ำไป ...**

ตรงนี้เป็นหัวข้อที่พี่ "ถก" กันกับลูก(เก้าขวบนี่แหละ) เค้าเคยเรียนโรงเรียนคริสเตียน จึงมีความเชื่อในทางคริสเตียน เราไม่ห้าม ไม่ชักจูง เคารพความคิดเขา ถือเป็นโอกาสดี เอามาพูดคุยกัน

ล่าสุด...หลายเดือนแล้วค่ะ เขาถามเองตอบเองว่า "น้อง คิดว่าเรื่องอภินิหาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คงเป็นสิ่งที่ประกอบการสอนของศาสนา..."

แม่ อึ้ง..และสบายใจ

เขาเข้าใจแม้อายุแค่นี้ ศาสนาอะไรก็สอนทุกคนเป็นคนดี หรือไงคะ น้องมัท

 

ข้างบนคือ สิ่งที่คุยค้างไว้ เจ้าบ้านยังไม่ตอบ เราก็ตื๊อต่อค่ะ

ขอคัดลอกมาคุยสองเรื่องเลยค่ะ
เผื่อคุณแม่นักผจญภัยและเจ้าหนูเจ จอมเดินทาง ยังไม่อุ้ยอ้ายอึดอัด ถ้าไม่สะดวกรอนะคะ..ขอเปลี่ยนเป็นว่า นานเท่าไรก็รอ แบบรอ

ขอบคุณอ. ธวัชชัย นะคะ ที่ tag มา

เริ่มกันเลยละกันนะคะ

5 สิ่งที่ชาว gotoknow ไม่(น่าจะ)เคยรู้คือ

1. มัทนาเป็นคนใจแข็งที่ใจอ่อนมาก (เอ๊ะ ยังไง) เรื่องงานเรื่องชีวิตสำคัญๆจะใจเด็ดมาก แต่ดูหนัง ดูการ์ตูน disney แล้วร้องไห้เกือบทุกเรื่อง กลับไปเมืองไทยครั้งล่าสุด ไปดูหนังที่เมเจอร์ ดู MV เพลงสรรเสริญพระบารมีก็ร้องไห้แล้วค่ะ!

2. ตอนเด็กๆเคย กระโดดเล่นห้อยโหน โดยใช้นั่งร้านของช่างทาสีที่ีบ้านเป็นราว/บาร์ ซนมาก ตกลงมาท่าไหนก็ยังไม่ทราบจนทุกวันนี้ค่ะ เพราะจำไม่ได้ ทราบแต่หัวฟาดพื้นสลบ ตื่นมาก็มีพ่อกับแม่ดูอยู่ จำได้ว่าสิ่งแรกที่คิดในใจคือ สองหนึ่งสอง สองสองสี่ สองสามหก สองสี่แปด!

3. ข้อนี้เป็นหลักฐานทางนิติเวชได้เลยนะคะ มัทมีแผลเป็นที่มุมปาก เพราะตอนเด็กๆกระโดดกระต่ายขาเดียวขึ้นบันได (ฉลาดมาก) ทำบ่อยค่ะ แต่วันนึงก็พลาดจนได้ มุมปากเจาะกับขอบบันได ฉีก (อู๊ียยยยย) เย็บไป 20 เข็ม เพื่อนคุณพ่อเย็บให้ ในปาก 10 เข็ม นอกปากอีก 10 ถ้ามองดีๆก็จะเห็นค่ะ หลักฐานความซนยังอยู่

4. อ่านสองข้อล่าสุดแล้ว เชื่อไม๊ค่ะว่า มัทได้รับรางวัล นร.ประพฤติดี หลายปีมากช่วงอยู่โรงเรียนประถม ได้เป็นตัวแทนไปประกวด การไหว้ การกราบ การอาราธณาศีล/อาราธณาธรรม เป็นตัวแทนนร.ตอนถวายตนเป็นพุทธมามะกะ โฮะๆ พูดแล้วอาย

5. ข้อสุดท้าย เขียนอะไรดี ..... เอาเป็นประวัติชีวิตอีกข้อละกันนะคะ มัทเคยต้องหายใจทางปากตลอด หายใจทางจมูกไม่ได้ จนกระทั่งต้องผ่าตัดตอนอายุ 7 ขวบ (เอาต่อมอะดีนอยด์ที่มันบวมออก) จริงๆจนถึงทุกวันนี้ถ้าเผลอๆก็ยังหายใจทางปากอยู่บ้าง มีสติก็จะหายใจทางจมูก เป็นอาการที่ช่วยให้ฝึกสมาธิไปได้ในตัวทุกวันทุกวันค่ะ : )

-------------------------------------------------------------------------------แทบไม่น่าเชื่อ แต่พี่เชื้อเชื่อค่ะ

ก่อนแวบไปนอน ข้อเขียนของคน(ซน) เดียวกันหรือนี่ !!! ???

มาแว้ว......

มาแล้วค่ะพี่เล็ก

ทวนคำถามนะคะ "ศาสนาอะไรก็สอนทุกคนเป็นคนดี หรือไงคะ น้องมัท"

อันนี้คุยได้ยาวเลยค่ะ

มัทคิดว่าคำตอบคือ ใช่ค่ะ แต่ว่ามันจะใช่ก็ต่อเมื่อ

1. คนคนนั้นเข้าใจศาสนาเค้าได้ลึกซึ้งถึงขั้นปฎิบัติ ไม่ใช่แค่ระดับ"จำมา"

2. เข้าใจว่าคำสอนในตำราก็เป็นผลของการคัดลอก สังคยนา ผ่านกลุ่มคนต่างอำนาจ ผ่านการตกลงของที่ประชุมในแต่ละสมัยมาเรื่อยๆ

จริงๆมีข้อ 3 ที่มัทเขียนไว้ แต่ตัดสินใจลบไป เช่น ต้องเคยศึกษาหรือรู้เรื่องศาสนาอื่นมาบ้าง ขอเปลี่ยนใจเพราะคิดว่าไม่ได้เป็น prerequisite : )

หรือจริงๆ คนดีคือ คนที่มีประสบการณ์ชีวิตมากพอที่จะทำให้เข้าใจชีวิต ไม่ต้องนับถือศาสนาอะไรก็ได้ แต่เข้าใจ "ธรรมชาติ"

ถ้ามองกันจริงๆแล้ว ศาสนาพุทธที่เป็นวิทยาศาสตร์ก็มีเรื่องเหนือการพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์เหมือนกัน จะไปหาว่าศาสนาอื่นงมงาย ก็คงไม่ได้ เพียงแต่ว่า ปลายทางเราต่างกัน ....

ปลายทางนี้ไม่ใช่ การเป็นคนดี

ถ้าปลายทางคือการเป็นคนดีนั้น ทุกศาสนาไปถึงได้หมดค่ะ

แต่พุทธนั้นไปเกินกว่านั้น คือ เราต้องการดับทุกข์ แล้วก็หลุดออกจากวงกรรม

แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าคนที่เค้าศรัทธาในศาสนาเค้ามากๆๆๆๆๆจากเข้าใจอะไรบางอย่างที่มัทขอเรียกว่า "ธรรมชาติ" เค้าก็อาจจะได้ไปถึงปลายทางที่พุทธะไปเหมือนกัน

มัทคิดแบบนี้เพราะได้สัมผัสปราชญ์เหล่านี้ค่ะ  โดยเฉพาะ Rabbi Zalman Schachter-Shalomi และ Archbishop Desmond Tutu


 

 

 

อ่านแล้วว...ทั้งอนุทินด้วย

ชอบใจจัง จนต้องดึงเจ้าตัวใหญ่ แต่อายุยังน้อยมาใกล้ ๆ กอดและอ่านให้ฟัง โดยเฉพาะ ตอนสำคัญที่ว่า

 

ปราการที่สำคัญอยู่ที่ตัวเขาเอง หิริโอตตัปปะ

อืมม....

เดี๋ยวพักเหนื่อย จัดการเรื่องพรุ่งนี้เขามีทัศนศึกษาแล้วคงมาคุย กับน้องมัท..

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะที่มาคุยยาว ตอบแบบพี่ต้องนำไปคิด..ค้นคว้า อ่านหนังสือ หรือคุยกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ อีกเพื่อต่อยอด

 

เพื่อก่อให้เราเกิดความ "รู้"  ทีละนิด ๆ ๆ ๆ....

P  น้องมัท พี่เคยคุยครุ่นคิดเรื่องนี้กันกับเพื่อน

ศาสนา ความเชื่อหรือ ลัทธิ มักมีเนื้อ แก่น คล้าย ๆ กัน

จุดเริ่มต้น หรือ ผู้ที่แต่ละศาสนาเชื่อว่าคือผู้นำ หรือ สิ่งปาฎิหาริย์บางเรื่องที่เป็นจุดกำเนิดของแต่ละศาสนา สินะคะที่ต่างกัน ตามความเชื่อ

แก่นหรือหลักเกือบทับซ้อนกันได้ในบาง(หลาย)เรื่อง เช่น สอนให้คนประพฤติดี มีเมตตา มีหลักธรรม,คำสอนของผู้นำแต่ละศาสนาเป็นหลักยึด

อาจเด่นไปในด้านใดด้านหนึ่งตามแต่ละศาสนา

จุดปลายทางเช่นกัน ศาสนาพุทธ ดั่งที่น้องมัทเขียนไว้ข้างบน

**แต่พุทธนั้นไปเกินกว่านั้น คือ เราต้องการดับทุกข์ แล้วก็หลุดออกจากวงกรรม**

ศาสนาอื่น ไปพบผู้ศักดิ์สิทธิ์ (ถ้าบางครั้งเราแอบตีความว่า คืนกลับไปสู่ธรรมชาติ..มันก็จะคล้ายกัน)

ที่จะแตกต่างกันอยู่บ้าง(เท่าที่ตัวพี่เองลองนึก ๆ ดู)

เช่น กฎ ข้อควรปฎิบัติ ข้อห้าม พิธีกรรม...ซึ่งไม่ใช่แก่น

วิธีพินิจพิจารณา คำสอนที่สอนเพื่อให้คนไม่กล้าทำความไม่ดี

...อืมม..วันนี้คุยแค่นี้ก่อน หุงข้าว ทำกับข้าวก่อนค่ะ ;P

ปราการที่สำคัญอยู่ที่ตัวเขาเอง หิริโอตตัปปะ

ประโยคนี้ เพียงประโยคเดียวของเจ้าของบันทึก คุณหมอมัทนา พี่ว่า เป็น Knowledge divide ได้นะคะ (ขอเสนอค่ะ,ต้นฉบับของน้องมัทนา มีหลายหัวข้อเลยล่ะค่ะ)

เอ้า น้อง ๆ ทีมงาน วานตรวจหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท