เสริมการคัดกรองเบาหวาน oral glucose tolerance test


เรียนรู้ไป..ทำไป...ดีไม่ดีก็ปรับกันไป...ก็เลยอยากนำเรื่องนี้มาเล่าต่อ....เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนจากการทำงาน ไม่ได้จะบอกว่าดี ดีที่สุด ควรทำ ต้องทำ นะคะ

การคัดกรองเบาหวาน 

 oral glucose tolerance test

            ปีนี้การคัดกรองคงดำเนินต่อเนื่อง ต่อไป ตัวเลขที่เราต้องผ่านเกณฑ์ไม่ใช่สิ่งสำคัญเพราะ.....ยังไงก็ต้องทำให้ผ่านเกณฑ์   ....แต่จากข้อมูลปีที่ผ่านมา 2551 ตัวเลขเบาหวานรายใหม่พบน้อยลง  อัตราการเกิดเบาหวานลดลง..... ใจนึงก็ดีใจ.... แต่อีกใจก็ ยังวนเวียนอยู่ว่าจะหาอะไรทำดี ต๊าย...ตาย..พูดเหมือนงานน้อย เปล่านะคะ....งานก็เยอะค่ะ....อย่าพึ่งให้งานเพิ่มนะคะ    วันหนึ่งได้เจอคนไข้มาขยันขยอ  อยากเป็นเบาหวาน คุณลุงอายุ 60 ปี รูปร่างดีเชียวหละ...ไม่อ้วนนะ  มีกรรมพันธุ์ คือ พ่อเป็นเบาหวาน  มาเจาะ FBS ได้ 111 mg%          อีก 2 สัปดาห์นัดมาเจาะใหม่ได้ 115 mg% …. ก็ลุงอยากตรวจอีก เราก็เลยให้ลุงทำ OGTT  2 hrs  ตรวจซะให้วันนั้นเลย ผลได้ 223 mg%... โอโห้..ลุงบอกใช่เลย แล้วลุงก็แปลงร่างกลายเป็นเบาหวาน...... สบายอารมณ์

            อ้อก็เลย ปิ๊ง ปิ๊ง กะลุง ว่าเรามาพัฒนาระบบการคัดกรองดีกว่า....ธรรมชาติของพื้นที่ในการคัดกรองเบาหวาน  มีหลายรูปแบบ  ข้อจำกัดก็มีหลากหลาย   จุดสำคัญของเราในการพัฒนาไม่ใช่...สักแต่อยากจะทำ...คิดไปเรื่อย..ไม่ห่วงคนทำ  ..ไม่คิดถึงต้นทุน.... ไม่ดูให้เหมาะ ดีที่อื่น อาจไม่ดีสำหรับเรา   ต้องบอกว่า....ทุกอย่างมันซึมอยู่ในกระแสเลือด...จนจะ sepsis ตาย...

 

ที่มาของการพัฒนาครั้งนี้

1.       สมาชิกกลุ่ม FBS 100-125 mg% ในพื้นที่ PCU เครือข่ายที่พบจากการคัดกรองมีมากขึ้น

2.      จากการติดตามปี 2551 พบว่าหลายๆคนเปลี่ยนเป็นเบาหวาน เร็วไปหน่อย  ประมาณ หลายสิบคน คิดเป็น% ก็ไม่เท่าไหร่ แต่...เราก็ยอมไม่ด้าย..ไม่ได้  เช่น กลุ่ม diet control บางส่วน มา F/U 6 เดือน พบ  FBS 130 mg% แต่ OGTT 336 mg%  เปลี่ยนเป็นเบาหวานแบบมีระดับน้ำตาลสูงเกินคาด จนอาจารย์วิรัช  แซวว่า “คุมกันยังไงจ๊ะ ตัวเอง ”

3.      ในหลายคนที่พบเป็นเบาหวานมีคำถามมาถามเรา...เช่นว่า... “ก็คุมอาหาร ก็ออกกำลังกายดีแล้ว  ทำไมเป็นเร็วจัง”

4.       ด้วยสถาพ วิถีชีวิตการนอนของคนในชุมชน  ทำให้การ NPO มาเจาะ FBS บางครั้งนานถึง 12-14 ชม. หลัง 2 ทุ่มไปไม่ทานอาหารและรอเจาะเลือด 8-10 โมง แล้วแต่หลายปัจจัย ทำให้หลายคนมีระดับ FBS 100-125 mg% ทั้งที่จริงๆ น่าจะ > 126 mg%

5.      และเราก็.....มาดูที่ตำราว่า...เราควรทำอะไร....ความรู้จากตำราจะ...เอามาปรับใช้ยังไงให้เหมาะ..เพราะเราก็รู้...OGTT   ไม่ง่ายสำหรับ ชายหนุ่ม หญิงสาว  ที่อายุ อานามไม่ใช้น้อย...ที่เป็นเป้าหมายของเรา...ที่ขึ้นทะเบียนไว้.......และผู้วิเศษของอ้อ...เคยบอกไว้ว่า...เฮ้ย... “ทำไม่ได้หรือ..ไม่ได้ทำ.....” ผู้วิเศษของอ้อ คือใครรู้ไหมคะ...  อาจารย์นิพัธ และอาจารย์วิรัชไง....

 

 เริ่มทำยังไง....เริ่มในพื้นที่ที่พร้อม...ใจ มาก่อน ไม่เริ่มแบบสั่งให้ทำ..นะคะ..เพราะเราอยู่กันแบบพี่ๆน้องๆ  ขายไอเดีย ให้พี่ติ๋ว พี่สุ พี่รัตน์ พี่เภา  พี่เพ็ญศรี แล้วก็ร้องเพลง... “เอามะ เอาม้า.....” พี่รัตน์เอาไปลอง...ยังร้องโอ๊ะ...โอ๊ะ..(แซวเล่นนะ)  ครึ่งวันเจาะได้ 6 คน   ไม่รู้เพราะเหตุผล ป้าหิว  ป้าจะกินหมาก  หรืออะไร    แต่ป้าไม่รอ..... แต่ผลงานยอดเยี่ยม..ใน  6 คน   ค่าOGTT มากกว่า 200  mg% ซะ 4 คน... ผลงานรอบแรก เราได้เบาหวานรายใหม่ เกือบ 30 ราย  จากวิธีนี้...

 รูป..ข้อมูลดิบๆ  ที่ได้  น่าสนใจนะ  R2R

            นี่แหละที่มาของการเสริมการคัดกรองโดยการทำ OGTT        การทำ OGTT ได้ถูกนำมาใช้ โดยอ้อได้พยายามจะปรับให้เหมาะสมพื้นที่ เพราะมีข้อควรระมัดระวังมากและะมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการแปลผล  เลือกใช้ OGTT ในกรณี FBS 100-125mg% และเป็นคนที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานสูงโดยเราได้ร่างแนวปฏิบัติคร่าวๆ เพื่อจะให้ทีมพี่ๆ PCU มาร่วมแลกเปลี่ยนและหาแนวปฏิบัติที่เกิดจากการรวมแนวคิดทุกคนในการประชุม เดือน ก.ย. 

 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

1.      เรียนรู้ไป..ทำไป...ดีไม่ดีก็ปรับกันไป...ก็เลยอยากนำเรื่องนี้มาเล่าต่อ....เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนจากการทำงาน  ไม่ได้จะบอกว่าดี ดีที่สุด ควรทำ ต้องทำ    นะคะ 

2.      เรียนรู้และพัฒนางานโดยดูพิจารณาจากข้อมูลที่เรามี

3.      การใช้ OGTT แม้จะมีความไวในการวินิจฉัยเบาหวาน แต่ต้องพิจารณาถึงความสะดวกในการทำงานในพื้นที่ด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่  มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น คือ ค่าน้ำตาล 75 กรัม  ส่วนค่าlab ที่ ร.พ พุทธ คิด 40 บาท เท่า FBS คะ

4.      ในพื้นที่ของ รพ.พุทธชินราช จะพัฒนาใช้ในพื้นที่ PCU นำร่อง 2-3 แห่ง ถ้าผลที่ออกมามีความคุ้มค่า คุมทุน วินิจฉัยเบาหวานได้เร็วขึ้น จะนำข้อมูลมาให้พี่ๆ พิจารณาว่าจะเลือกใช้ OGTT มาร่วมในการคัดกรองหรือไม่

 

การปฏิบัติตัวในการทดสอบ OGTT 75 กรัม เพื่อการวินิจฉัยเบาหวาน

1. ทำกิจกรรม ปกติ

2. กินอาหารมี carbohydrate อย่างน้อย 150 g   3 วันก่อนการทดลอง

3. ไม่อยู่ในภาวะเครียดอย่างรุนแรง

4. งดยาทุกชนิดอย่างน้อย 3 วัน

5. งดอาหาร 8 - 12 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)

6. มาเจาะเลือด

7. หลังเจาะเลือด จึงดื่มสารละลายกลูโคสที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ (ดื่มให้หมดใน 5 นาที)

8. เมื่อครบ 2 ชั่วโมง หลังจากเริ่มกินน้ำตาล ให้ทำการเจาะเลือดมาวิเคราะห์น้ำตาลอีกครั้ง

 ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์ 

รูปตอนไปเที่ยว..เฮ้ย..ม่ายช่าย..ตอนไปประเมิน QRT แวะคลายเครียด.(เครียดอารายนะ..)ที่ ร้านกาแฟสด เก็บเกี่ยวความสุขระหว่างทำงาน

คำสำคัญ (Tags): #ogtt
หมายเลขบันทึก: 211205เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2008 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ้อทำได้แบบนี้อย่างน้อยก็ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานอีกกลุ่มนึงไม่หลุดไป รู้ตัวได้เร็วก็ตั้งหล้กได้ทัน ตลกตรงเจ๊สั่งลุยนี่แหละ ๕๕๕

ทำแล้วเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์นะอ้อ เราอาจได้ความรู้ว่าเวลาคัดกรองแล้วเจอ IFG คนที่มีลักษณะแบบไหนที่ควรต้องทำ OGTT ต่อ

ขอบคุณคะ  ทุกคำแนะนำ  หลังจากผ่านกระบวนการทำงานของเวชศาสตร์ครอบครัวมา 6 ปี เริ่มจัดระบบตัวเองได้  ไม่(ค่อย)ขี้ลืม  คิดอะไรปุ๊บ.. ก็มองหาผลลัพธ์ปั๊บ...พออาจารย์แนะนำ...อะไรมาก็ทำ    ดีจริงๆนะ 

ก็ ...ลุง...สั่งลุยมาอีกทอดนึงน่ะอ้อ อิอิอิ...แต่สรุปแล้วพวกเราทุกคนทั้งทีมข้างในข้างนอกทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดีเลยนะ สามารถเชื่อมโยงกันได้ทุกๆเรื่อง อีกอย่างคิดปุ๊บ..ทำปั๊บ...อย่างนี้แหละก่ะ จะได้ไม่ลืมและไม่หยุดนิ่งที่คำพูด......อย่าลืมเรื่องต่อไปนะ คู่กันฉันแหละเธอลดน้ำหนัก 

เพิ่งมาอ่าน เรื่องนี้ครับ แต่ชอบจังครับ รู้สึกถึงแรงทำงานเสมอ เมื่ออ่านเรื่องของชาวพุทธชินราช

ขอบคุณนะครับ พี่อ้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท