หัวหมู่เบาหวาน


 

  • ท่านสสอ. ให้ความสำคัญกับงานนี้ มาร่วมกิจกรรมและอยู่กับเราทั้งวัน ทำให้เรามีแรงกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณมากๆคะ 

เริ่มงานหัวหมู่เบาหวาน

  • หลังจากที่ลีลา รอรี การทำงาน (แบบเป็นทางการ)มานาน ด้วยหลายๆเหตุ  แต่ขอบอกการทำงานแบบไม่เป็นทางการนั้นเริ่มไปในหลายๆแห่ง โดยพี้เลี้ยงPCU เป็นแมวมอง จีบหัวหมู่มาดำเนินการไปแล้วในหลายพื้นที่  และเพื่อให้รูปแบบที่มีความหลากหลาย มีแก่นของงาน มีเป้าหมายที่ทำ มุ่งไปสู่จุดหมายที่เหมือนๆกัน  เราจึงมาพบกันเพื่อเริ่มต้นการทำงาน โดยเรานำข้อมูล อัตราป่วย ตาย การควบคุมโรคไม่ได้ และพื้นที่ที่มีความพร้อม มาพิจารณา และรับสมัครพื้นที่และคัดเลือก ได้ 8 PCU

การทำงานที่ไม่คิดและไม่ทำคนเดียว  เราร่วมคิด ร่วมทำ นำสู่ความยั่งยืน หัวหมู่ของเราต้องการแค่ให้เราช่วยเหลือสนับสนุนในบางอย่าง ชี้แนะ และเป็นกำลังใจ ส่วนเรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องไม่ยากสำหรับ หัวหมู่ 

  • คุณสมบัติของหัวหมู่เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันเรามีกระบวนการและวิธีคิด  (คลิกอ่านที่นี่) 

  • แล้ววันที่ 5 กุมภาพันธ์ เราก็มาพบกัน   8 PCU นำร่อง 30 หัวหมู่เบาหวาน ครอบคลุม 30 หมู่บ้าน ในเขตอำเภอเมือง  จากข้อมูลหัวหมู่ทุกคนจะมีข้อมูลจำนวนผู้ป่วยเบาหวานในหมู่ของตนเอง ซึ่งรวมได้ใน 30 หมู่บ้าน มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 848 คน   แต่เราไม่โหดร้ายนะคะ จากการโหวดตกลงว่า หัวหมู่  1 คนจะรับผิดชอบ ดูแลประมาณ 5 -10 คน แบบตัวต่อตัว และจะช่วยดูแลเป็นกลุ่ม เท่าจำนวน สมาชิกในชมรมโรคเรื้อรัง  

  • นี่เป็นข้อมูลทั่วไปของหัวหมู่เราคะ  เช่นเดิม ผู้หญิงมีมากกว่า ผู้ชาย

  • ระยะเวลาการเป็นโรคส่วนใหญ่ เป็นมา 5-10 ปี ร้อยละ 66

  • ส่วนใหญ่อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 50

  • A1C น้อยกว่า 7 % ร้อยละ 80  ส่วนที่มากกว่า 8 %   ก็สามารถอธิบายได้ เช่น  ปวดแขน แพทย์ฉีดยาที่มีส่วนผสมของsteroidเป็นต้น

  • ระดับการศึกษาไม่เน้น เพราะเราเน้นความรู้ที่เกิดจากการดูแลตนเอง  จนสามารถควบคุมโรคได้ และ อยากบอกว่า หัวหมู่ที่เอวันซี < 6.5  ทุกคนจบระดับประถม และหัวหมู่เรามี ป.ตรี 6 คน 50% มี เอวันซี ที่มากกว่า 8  ค่า

 

  • รูปนี้เป็น dream to see ว่าถ้าเรามีหัวหมู่ที่ผุดบังเกิด เป็นดอกเห็ด เต็มพื้นที่ ขยาย เติบโต  เราจะช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกันระหว่างคนในชุมชน  ได้มากถึง 1227 คน เชียวนะ

  • ในวันนี้ เรามาพูดคุยกับกลุ่มหัวหมู่เบาหวาน โดยทีมเราเป็นผู้สนับสนุนให้เกิดกลุ่มเครือข่ายแกนนำภาคประชาชน  เราให้ข้อมูลสถานการณ์ของโรคในพื้นที่ 8 PCU และให้ทุกคนรวมกันคิดละตัดสินว่าเราควรจะทำอย่างไร กับแต่ละหมู่บ้าน   ต่อด้วยการเปิด VCD  DM2KM ของอาจารย์แม่ ดร.วัลลา  ก็สปาร์คเชียว ไฟติดกับพรึบพรับ  “ 10 ปากว่า ไม่เท่าตาเห็น 10 ตาเห็นไม่เท่า มือคลำ”    

 

  • กระบวนการแลกเปลี่ยน  “เพื่อนครบุรี ช่วยเพื่อน หัวหมู่เบาหวานพิษณุโลก” จึงเกิดขึ้นในวันที่  18-19 กุมภาพันธ์ 53 โดยเราจะยกทีม 50 คน ไปเรียนรู้ไกลถึงครบุรี

  • และเราก็ให้ทำหัวหมู่ ทำ  Before after review ว่าอยากได้อะไรจากการไปศึกษาดูงาน รพ. ครบุรีบ้าง  ได้รายละเอียดดังข้างล่าง

  • และเพื่อให้กระบวนการแลกเปลี่ยนเกิดผลที่สุด เราต้องรวบรวมและ ส่งสิ่งที่หัวหมู่พิษณุโลกต้องการเรียนรู้ ให้ทีมเพื่อนครบุรีทราบ   อ้อจึง mail บอกหมอฝน และรีบ(เขียนลงblog) เพื่อให้หมอฝน หมอหยาดและหมอฝอย ทราบ รายละเอียดแบบละเอียดจริงๆ  เพื่อให้กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อนของเรา ช่วยได้ตรงประเด็น  ในสิ่งที่อยากรู้ ในสิ่งที่สงสัย  เพราะเราไปเรียนรู้ด้วยเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่อยากกอบโกย มาให้ได้มากที่สุด

 

Before after review อยากได้อะไรจากการไปศึกษาดูงาน รพ. ครบุรีบ้าง

 -  อยากได้ประสบการณ์การเริ่มต้น จุดเริ่มต้นการเกิดกลุ่มดูแลเบาหวานในหมู่บ้านของครบุรี, คำแนะนำของผู้ที่มีประสบการณ์ก่อตั้งกลุ่มมาก่อน ทำอย่างไร เทคนิคต่างๆ ที่  (14  คน)

- เราอยากได้ความรู้ที่ทำได้จริงเกี่ยวกับการดูแลโรคเบาหวาน และคนที่เป็นเบาหวาน(เพื่อนๆ) เราจะนำความรู้ที่ได้มาเพื่อนำมาใช้ให้ได้ผล ให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนของตนเอง  (13 คน)

- เมื่อเกิดกลุ่มแล้วมีการดำเนินงานของเครือข่ายอย่างไร กิจกรรมที่ทำในกลุ่มที่ทำกันอย่างไร แนะนำแบบภาษาชาวบ้าน ไม่ใช่ภาษาหมอ ว่าทำอย่างไร (5 คน)

- การจัดตั้งกลุ่มเบาหวานขึ้นในตำบลของตนเอง  (5 คน)

- อยากได้แนวทางในการทำงานในชุมชน  ( 3 คน)

- เทคนิคในการที่ผู้ป่วยเบาหวานให้ความร่วมมือกับทีมงานหัวหมู่เบาหวาน (3 คน)

- อยากเห็นการดูแลผู้เป็นเบาหวานของกลุ่มที่เขาดูแลกัน เพื่อที่จะนำมาเป็นแนวทางในการดูแลในกลุ่มของตนเอง ที่เราจะดูแลต่อไป พร้อมทั้งอยากเห็นการชักชวนเพื่อนในกลุ่ม ( 2 คน)

 - อยากเห็นและอยากรู้การทำงานร่วมกันของกลุ่มเบาหวานครบุรี (2 คน)

- อยากได้ความคิดเห็นจากคุณหมอว่าถ้าเราจะไปดูแลคนในชุมชน หมอยอมรับได้มากแค่ไหน และ เคยมีข้อผิดพลาดหรือเปล่า (2 คน )

-  การทำงานแบบนี้ไม่มีค่าตอบแทนแล้ว กำลังใจในการทำงานแบบทุ่มเท มาจากไหน (2 คน)

- ข้อมูล, การประเมินผล

- วิธีการทำตัวเองและข่มใจให้เอาชนะใจตัวเองในการคุมโรค

 - อยากให้ รพ.ครบุรี  ให้ความรู้ที่ได้ในชุมชนมากๆ

 - อยากรู้ว่าการทำงาน เขาทำอย่างไร ทางเราอยากเอากลับมาใช้บ้าง

 - อยากรู้ว่าเขาทำงานอย่างไร คนเขาถึงสุขภาพดี  บอกอย่างไรคนในหมู่บ้านถึงเชื่อและทำตาม

 - อยากรู้ถึงปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มเบาหวานครบุรี ว่าทำงานแล้วมีหรือเปล่า

- อยากได้รูปแบบการทำงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

 ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #หัวหมู่เบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 335237เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2010 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 แบบนี้แหละนะอ้อนะ ที่เรียกว่าการทำงานที่มีการต่อยอดความคิดออกไปเรื่อยๆ เกิดวงจรแห่งการเรียนรู้  " คุย คิด คลิก คลำ " ที่ อจ.นิพัธ ได้นำมาให้เราใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางาน ซึ่งต้องฝึกฝนกันไปเรื่อยๆเป็นกำลังใจและชื่นชมมากขอให้สนุกกับงานที่มีคุณค่านะอ้อ......

    คุย (Dialogue )   :   เติมพลังใจให้กัน ฟังเชิงลึก ดูแลตนเอง

    คิด (Mind map)  :   เชื่อมโยงความรู้ต่างๆ รอบคอบ แยกแยะ กุศล อกุศล

    คลิก ( New Project ) : ออกนอกกรอบ คิดใหม่ ทำใหม่ เกิด "ปิ๊งแว๊ป" โครงการ

                                    หัวหมู่เบาหวานน่ะหละ 

    คลำ ( experiment ) : ทำผิดอย่าต่อว่ากัน ปัญญาปฏิบัติ

 

ก้าวใหม่ของเบาหวานด้วยความร่วมมือของชุมชน แค่คิดก็มีความสุขแล้วอ้อ

อ้อ before action review ไม่ใช่ before after review นา

อ้อ ได้ยินว่าพาทีมไป ลปรร. กับชาวครบุรี อย่าลืมเล่าให้รู้ด้วยนะ อาทิตย์ก่อนไปเกาะสมุยกับหมอฝนและน้องๆ ทีมครบุรี พาชาวโคกไปเกาะ ตื่นเต้นกับทะเลกันใหญ่ คิดถึงทีมพุทธฯ จัง ถ่ายรูปมาเผื่อแต่ยังเขียนบันทึกไม่เสร็จเสียที

วัลลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท