เรื่องเล่าของคุณฝอยทอง : เรียนรู้จากค่าย


เมื่อค่ายจบลงความกังวลในตัวของดิฉันก็ไม่มีเลย เพราะการที่ไปเข้าค่ายทำให้ได้รู้ว่าการที่เป็นโรคเบาหวานสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมและครอบครัวอย่างเป็นสุขได้

ดิฉันอายุ 49 ปี เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 ดิฉันเริ่มมีอาการปกติทั้งๆ ที่เคยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดี จนวันหนึ่งดิฉันรู้สึกหวิวๆใจ และอ่อนเพลียเพราะเนื่องจากทำงานบ้านจนดิฉันต้องหยุดพักสักครู่เป็นเวลา 10 นาที

ต่อมาดิฉันเริ่มสังเกตตัวเอง และเริ่มสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคอะไรหรือเปล่า หลังจากที่สังเกตอาการอยู่ประมาณ 2 เดือน จึงตัดสินใจไปตรวจสุขภาพที่สถานีอนามัย โดยบอกอาการต่างๆ กับหมอ ดิฉันมีนิสัยกินจุบกินจิบไม่เป็นเวลา หมอจึงเจาะเลือดดิฉันไปตรวจ และพบว่าดิฉันมีน้ำตาลในเลือด  199 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หมอบอกว่าดิฉันมีน้ำตาลในเลือดสูง จึงจัดยาให้ดิฉันกินหลังอาหารมื้อเช้ามื้อเดียว และนัดให้ไปตรวจอีก 2 เดือนข้างหน้า

หลังจากไปพบหมอตามที่นัด หมอก็เพิ่มจำนวนยาให้เป็น 2 ครั้งหลังอาหาร จากนั้นอาการของดิฉันก็ไม่ดีขึ้น หมอจึงให้ยามารับประทานเป็นเวลา 3 มื้อหลังอาหาร โดยเพิ่มให้รับประทานตอนกลางวันอีก ทำให้ดิฉันวิตกกังวลกลัวและเสียใจว่าทำไมกินยาแล้วไม่ดีขึ้น กลัวว่าจะเสียชีวิต

ต่อมาสถานีอนามัยที่ดิฉันรับยาเป็นประจำ มีแพทย์ที่โรงพยาบาลครบุรีมาตรวจสุขภาพแล้วแนะนำว่าจะมีการเปิดค่ายเบาหวานที่วัดเขาคงคา เมื่อวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2550 ดิฉันก็มีความสนใจทั้งๆ ที่ไม่ค่อยมีเวลาให้ตัวเองเลย

จนมาถึงวันที่เข้าค่าย ดิฉันก็ได้รับความรู้มากมาย เช่น ผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน มีญาติสายตรงที่ป่วยเป็นเบาหวานก็สามารถเป็นเบาหวานได้ แต่เมื่อถึงวันที่ 10 ก่อนที่ดิฉันจะไปเข้าค่ายดิฉันได้สัญญากับเพื่อนๆ ว่าจะบวชชี-พราหมณ์ ให้กับคุณตามาก บัวครบุรี ในวันที่ฌาปนกิจ  ดิฉันมีความวิตกกังวล จึงไปขออนุญาตหมอ แต่หมอก็ขอร้องว่าให้อยู่ก่อนเพราะยังไม่จบหลักสูตรที่ดิฉันไปเข้าค่าย ดิฉันปรึกษาหมอว่าจะทำอย่างไรดี เพราะตัวดิฉันได้สัญญากับเพื่อน ๆ ไว้แล้ว เพราะคุณตามากได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมทำให้คนอื่นมาปฏิบัติธรรมของหมู่บ้าน ซึ่งคุณตาเป็นผู้ที่ดิฉันเคารพมาก ดิฉันจึงรู้สึกเสียใจมากที่ไม่ได้ไปร่วมงานบวชให้คุณตาในวันนั้น

หมอจึงบอกกับดิฉันว่าให้โทรไปบอกญาติของคุณตาได้หรือเปล่าว่าที่ไม่ได้มาเพราะจำเป็นจริงๆ แต่ดิฉันไม่ทราบเบอร์ของญาติคุณตาและไม่มีโทรศัพท์ด้วย หมอจึงให้ใช้โทรศัพท์หมอโทรไป ดิฉันจึงโทรไปให้สามีไปบอกให้ว่าดิฉันไปไม่ได้ เพราะระยะทางจากค่ายไปบ้านก็ไกลพอควร

แต่เมื่อค่ายจบลงความกังวลในตัวของดิฉันก็ไม่มีเลย เพราะการที่ไปเข้าค่ายทำให้ได้รู้ว่าการที่เป็นโรคเบาหวานสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมและครอบครัวอย่างเป็นสุขได้ ดิฉันได้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เช่น การกินอาหารให้พอประมาณ หลีกเลี่ยงการกินหวาน เค็ม มัน ออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 20 – 30 นาที ทำจิตใจผ่องใส ไม่ตึงเครียด และไปพบแพทย์ตามนัด บันทึการกินอาหารในแต่ละมื้อ จนดิฉันมีอาการดีขึ้น มีจิตใจที่ดีขึ้นจนถึงทุกวันนี้ ดิฉันสามารถตรวจเลือดเพื่อนๆ ที่เป็นเบาหวานได้ 20 คน ให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ เรื่องการกิน การออกกำลังกาย เป็นกำลังใจให้เพื่อนได้

ปัจจุบันดิฉันกินยาแค่วันละ 1 มื้อเท่านั้น ต้องขอขอบคุณคุณหมอที่โรงพยาบาลและสถานีอนามัยทุกท่านที่ให้คำแนะนำและปรึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวานให้แก่ดิฉันและเพื่อน ๆ

ผู้เล่าเรื่อง : นางฝอยทอง  สินธุวงศานนท์ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

หมายเลขบันทึก: 192134เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2008 13:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณครับ สำหรับความรู้ เห็นชื่อหัวข้อ นึกว่า ไปเข้า ค่าย ของ อจ ขจิต ฝอยทอง มาครับ

  • แวะมาเยี่ยมครับ
  • ขอบคุณครับ
  • อิอิ... รู้สึกคล้ายๆ พี่P
    คนโรงงาน  เหมือนกันครับ

นึกว่า แซว อ.ขจิต ฝอยทอง

  • โห อาจารย์วัลลาครับ
  • เป็นความรู้ใหม่
  • มีคนชื่อนามสกุลผมด้วย
  • ตื่นเต้นๆๆ
  • ขอให้คุณฝอยทองหายเร็วๆๆนะครับ

ตกใจ นึกว่าอ.วัลลา ไม่สบาย รีบอ่านใหม่อย่างมีสติก็โล่งใจ และยินดีกับอ.วัลลาด้วยที่มีผู้ยืนยันว่าการเข้าค่ายเบาหวานแล้วทำให้เปลี่ยนมุมมองในสุขภาพของตนเอง นับว่าเป็นกุศลอย่างมากที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานคนหนึ่งรู้สึกมีกำลังใจเพิ่มขึ้น ฝากยินดีกับคุณฝอยทองด้วย

คุณแม่เป็นเบาหวานมา 10 ปี จากรับประทานยามาเป็นฉีดยาเช้า-เย็น เคยช็อค 2 ครั้ง เนื่องจากฉีดยาเกินขนาดแล้วนอน ปัจจุบันหลงลืม จำชื่อและรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ได้เรียกชื่ออะไรไม่ถูก อายุ 65 ปี อ้วน และดื้อมาก ๆ จะทำอย่างไรดีคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท