KM-DM-HT : เตรียมแกนนำระดับภูมิภาค (๕)


ตอนที่

๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

เวลา ๐๘.๓๐ น. ผู้เข้าประชุมยังมากันไม่ครบ รออีกประมาณ ๕ นาที อ้อใหญ่และคุณเอนกช่วยกันทำกิจกรรมสนุกสนานด้วยเกม “ปลาโลมา” และ “นับเลข” เรียกเสียงหัวเราะตอนเช้า

ดิฉันและคุณธวัชช่วยกันแนะนำต่อจากเมื่อวานนี้ว่าจากเรื่องเล่าความสำเร็จเล็กๆ ของแต่ละคน เอาไปทำอะไรต่อได้บ้าง ตั้งแต่การสกัด “ขุมความรู้” เอาขุมความรู้มารวบรวม วิเคราะห์ จัดหมวดหมู่ได้เป็น “แก่นความรู้” คุณธวัชขยายลักษณะของขุมความรู้ว่า

- เรื่องเล่าเรื่องนั้นสอนให้รู้ว่า....
- สื่อนัย “การปฏิบัติ”
- เขียนเป็นประโยค สำนวนหรือวลี
- กระชับ ไม่สั้น ไม่ยาวเกินไป
- หลีกเลี่ยงคำที่เคยอ่านเจอในตำรามาก่อนหน้านี้
- หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกว้างเกินไป อาทิ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วม การบูรณาการ ความสามัคคี ฯลฯ
เอามาสร้างเป็นไม้บรรทัด แต่ยังดิ้นได้ เพื่อดูว่าใครควรจับคู่หรือแลกเปลี่ยนกับใคร ไม่ใช่หาดาวเด่น

เราให้ผู้เข้าประชุมเข้ากลุ่มเดิม ลองช่วยกันสกัดความรู้ปฏิบัติจากเรื่องเล่า ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที เขียนลง card กลุ่มละสี ได้ตัวอย่างการเขียน “ขุมความรู้” แบบกว้าง แบบชัด ไม่ชัด บาง card เขียนเหมือนชื่อเรื่องเล่าก็มี

 

ช่วยกันสกัดขุมความรู้จากเรื่องเล่า

ดิฉันใช้ card ขุมความรู้จากตลาดนัดความรู้ของอุบลราชธานี (อ่านที่นี่) และให้น้องๆ ช่วยกันเขียนเพิ่มเติมเมื่อตอนเช้า เป็นตัวอย่างแสดงการจัดหมวดหมู่และสังเคราะห์ขุมความรู้เป็นแก่นความรู้ ใช้ตารางแห่งอิสรภาพของทีมเบาหวานจังหวัดอุบลราชธานีให้ผู้เข้าประชุมแต่ละทีม (รพ.) ประเมินตนเอง จากนั้นคุณธวัช คุณเอนกและหมอนิพัธ ช่วยกัน key ข้อมูลลงโปรแกรมที่เตรียมไว้ ได้ภาพธารปัญญาและบันไดแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คุณธวัชอธิบายภาพต่างๆ เพิ่มเติม จบเนื้อหาเมื่อถึงเวลาพักรับประทานอาหารกลางวันพอดี

 

ทุกทีมกำลังประเมินตนเอง

๑๓ น. คุณหมอสมเกียรติ โพธิสัตย์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้นำเครือข่าย TCEN คุยกับผู้เข้าประชุมเรื่องของโครงการจัดการความรู้แบบบูรณา กรณีเบาหวาน ความดันสูง

ต่อจากนั้นเราให้ผู้เข้าประชุมแยกกลุ่มคุยกันว่าแต่ละภูมิภาคจะไปเดินเครือข่ายต่ออย่างไร จะไปจัดกิจกรรมอะไรกันบ้าง หมอนิพัธบอก ๓ เรื่องหลักที่อยากให้ช่วยกันคิด ให้เวลาประมาณเกือบ ๑ ชม. แล้วให้นำเสนอต่อที่ประชุมว่าแต่ละภาคคุยกันแล้วมีความเห็นร่วมกันอย่างไรบ้าง

 

บนจากซ้าย ทีมภาคตะวันออกและกลาง ภาคอีสาน ล่าง ภาคเหนือ และภาคใต้

ภาคกลางและภาคตะวันออก : มี ๖ รพ. เลือกทีมทำงาน ประธาน ผศ.ดร.ภาวนา กีรติยุตวงศ์ มีคุณน้อยเป็นเลขาฯ และผู้ประสานงานกลาง เพื่อให้การติดต่อกันไม่มั่ว ตั้งเป้าหมายจะจัดตลาดนัดภายใน พค. จะเจอกันในบล็อก ไก่จะไปทำ และจะนัดประชุมกัน แผนจะจัดตลาดนัดวันแรงงาน แต่ละคนจะไปหา คุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต

ภาคอีสาน : คุยกัน ฟังดูเป็นเรื่องใหญ่ คุณเอนกให้มองเป็นเรื่องเล็ก เพราะเงินไม่ต้องหา เอกสารไม่ต้องเตรียม เอา template ไปใช้เลย มี pattern การทำงานอยู่แล้ว ไปดูว่าแต่ละคนอยากทำอะไร ๔ รพ. ไปมองหาคนที่จะมาร่วมตลาดนัด เอาแบบที่อยากมา กำหนดวันว่าจะเอาวันธรรมดา/เสาร์-อาทิตย์ ๑๒-๑๓ พค

ภาคใต้ : จะไปหา Node ในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง ทำ Benchmark ก่อน คาดว่าจะจัดได้ในเดือนกรกฏาคม จะกลับไปดูเวลา ช่องทางที่จะเจอกันยังไม่ได้คุย แต่จะใช้ e-mail และ blog กระบี่จะเป็นหลักในการเชื่อมเครือข่าย

ภาคเหนือ : จะเชื่อมโยงกันด้วยใจ ยังไม่รู้ว่าใครทำอะไรบ้าง จะไปจัดงานที่วิเชียรบุรี ทีมจะไปช่วยทำงาน เช่น เป็นคุณอำนวย ไปช่วยกันทำ KM ไปจัดนิทรรศการโชว์ผลงานเด่น เพื่อประหยัดเวลาในการขุดหา น่าจะจัดเดือนพฤษภาคม วางแผนจะไปเที่ยวเขาค้อ การประสานงานจะขอให้พุทธชินราชช่วยและเป็นพี่เลี้ยง

คุณธวัชบอกว่าไอเดียยังสดอาจต้องเอาไปตกแต่งต่อ

ต่อจากนั้นเราให้ผู้เข้าประชุม AAR มี CD เครือข่ายที่เราฉายวันแรกแจก ๕ แผ่น พร้อมรางวัลจาก พญ.อารยา ทองผิว ๒ รางวัล (ค่าลงทะเบียนงานประชุม AFES2009) หลายคนยกมือขอพูดเยอะกว่ารางวัลที่มี หมอหมี AAR เป็นภาษาเหนือ แรกๆ ฟังพอรู้เรื่อง ท้ายๆ ต้องแปล.......หมอนกขอพูดโดยไม่เอารางวัล น้องมด ปราณี ลัคนาจันทโชติ เภสัชกรจาก รพ.สมุทรสาคร AAR ได้อย่างน่าประทับใจและพูดอย่างตั้งใจมากๆ

 

จากซ้าย หมอหมี หมอนก (ยักษ์) AAR หมออนุวัตรปิดงาน

นพ.อนุวัตร ศุภชุติกุล กล่าวปิดท้าย และเล่าว่ากำลังยุ่งกับการอ่าน paper ที่เสนอมาเพื่อ 10th  HA National Forum ที่มีจำนวนมากกว่า ๑,๕๐๐ เรื่อง กำลังอ่านกันตาแฉะ รู้สึกดีใจที่มีการประชุมครั้งนี้ ขอบคุณวิทยากร งานที่ทำไปข้างหน้าคงเห็นเป็นที่น่าภาคภูมิใจ ให้ทำตามกำลังที่มี

ปิดการประชุมทีมทำงานคุยกันต่ออีกว่าจะต้องทำอะไรต่อไป นัดประชุมกันอีกภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 240268เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2009 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

วิเชียรบุรียินดีครับ สำหรับการเริ่มต้น KM ในภาคเหนือ

แพร่จะไปดูงานที่อุดรธานีค่ะ ตอนแรกก็ตั้งใจไปฉิ่งฉาบทัวร์ แต่หลังจากไปประชุมKM ครั้งนี้แล้ว ก็จะลองทำ peer assist ค่ะ ขอบคุณอ.นิพิธ และน้องเอนกที่post เรื่อง peer assist ไว้ เลยเอามาเป็นตัวอย่างให้ทีมดูได้

ว่าจะลองทำสุนทรียสนทนาตอนไปดูงานด้วยค่ะ แต่ไม่รู้จะติดต่อขอความรู้จากหมอฝนได้ที่ไหน ก็อาจจะลองผิดลองถูกไปก่อน

โอ้โฮ เวคสุดๆเลยวัดโบสถ์ขอไปด้วยนะคะ

สวัสดีคุณหมอนก (ยักษ์) ได้ส่งเบอร์โทรของหมอฝนไปให้ทาง e-mail แล้วนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท