Workshop OM-KM เบาหวาน ความดันโลหิตสูง (๒)


การทำโครงการต้องวางแผนดีๆ ช้าตอนแรก เร็วตอนหลัง

ตอนที่

วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ เช้า (ต่อ)

สรุปการทำ OM คือการวางแผนโครงการ อาจารย์ประพนธ์เปิดให้ถามคำถาม ให้ถามเกี่ยวกับหลักการ ผู้เข้าประชุมหลายคนมีคำถาม มีคำถามเรื่องพันธกิจ คำตอบที่ได้คือฝันต้องฟุ้งนิดๆ แต่พันธกิจคือกิจที่เป็นพันธะของเรา (โครงการ) เราคือผู้ที่จะไปขับเคลื่อน ทำไมต้องมีเรา เราจะไปทำอะไร แต่ไม่ใช่กิจกรรม (จุดที่เรากัด apple)

การเขียนโครงการ ถ้าจะเอา OM ไม่ต้องมีหลักการและเหตุผล แต่จะดูว่า “ฝันคืออะไร” หรืออาจปรับเป็นแบบผสม อาจเขียนหลักการและเหตุผลสั้นๆ ตามด้วยฝันของเราคืออะไร…..ทำอะไรไม่ติดรูปแบบ แต่ “แก่น” ต้องแท้ ประยุกต์ส่วน "กระพี้/เปลือก"

เวลาเขียน mission ต้องแสดงให้เห็นว่ารอยแผล/รอยกัดจะลาม วิธีคิดแบบนี้ดีเพราะเราไม่ใช่เป็นเจ้าของวิสัยทัศน์คนเดียว อาจมีคนอื่น/กระทรวงอื่นทำอยู่ เป็นการ share วิสัยทัศน์ เหมือนการต่อจิ๊กซอว์

คำถามว่า mission จะเป็นตัวบ่งบอกว่าใครจะเป็น partner ใช่หรือไม่ คำตอบ - สมมติว่าคิด mission ไว้อย่าง แล้ว partner เปลี่ยน (เจอตอ) จะกลับไปแก้ mission ได้หรือเปล่า ผู้ให้ทุนมักไม่ให้กลับไปแก้ mission การทำโครงการต้องวางแผนดีๆ ช้าตอนแรก เร็วตอนหลัง โครงการแบบเดิม เร็วตอนแรก ช้าตอนหลังหรือปิดโครงการไม่ลง

วิธีคิดแบบ OM สอนให้บอกเหตุ ปัจจัย แต่ก่อนเข้าใจผิดว่าผลที่เกิดขึ้นมาจากโครงการของเรา จริงๆ มีอะไรโยงใยอีกเยอะ อย่าไปหลงอย่าไปชิงผลงาน จึงอย่าไปคิดผลงานที่มันไกล สนใจ outcome ที่อยู่ใกล้ๆ

Step ๔ โครงการทั่วไปเลือกใช้คำใหญ่ๆ หรือผลลัพธ์ที่อยู่ไกลๆ OM ให้ใส่ใจผลลัพธ์ที่อยู่ใกล้แต่สำคัญ
ให้เขียนออกมาเป็นความท้าทายเชิงผลลัพธ์ (outcome = พฤติกรรม การกระทำ) partner แต่ละคน ไม่เหมือนกัน (ไปดูว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร) ไม่สามารถ copy Outcome challenge (OC) ของแต่ละที่ได้ ต้องร่วมกันร่าง…….OC คล้ายๆ vision ส่วนตัวของคนนั้นๆ สิ่งที่เขาอยากเป็น

มีผู้เข้าประชุมบอกว่าเรื่อง outcome ยาก คำตอบ - เรื่องยากให้ไปเจอที่สนามรบ อย่าคิดตอนนี้ เดี๋ยว (สมอง) จะโปรแกรมไว้หมด ระบบขายตรงมัน work เพราะฝันตรงกัน แล้วทำให้ฝันแรงๆ ยกตัวอย่าง OC ของ อสม. (behavior ที่เปลี่ยนไป) เวลาเขียนๆ ให้เต็มที่ ต้องท้าทาย

OC วัดยาก ให้ดูวิวัฒนาการที่ค่อยๆ ก้าวหน้าเป็นขั้นเป็นตอน = progress markers แบ่งเป็น ๓ ลำดับหลักๆ
Expect to see เช่น อสม.สนใจเข้าร่วมประชุม ลปรร.หรือไม่ สร้างข้อตกลงร่วมกันได้ไหม คล้าย KPI
Like to see ดูแลครอบครัวได้ ถ่ายทอดความรู้ได้ วิเคราะห์ข้อมูลได้ ยากขึ้น
Love to see อสม.จัดเวทีสุขภาพในชุมชนได้
OC เหมือนธงปักอยู่…….

6. Strategy ถ้าอยากให้ ....เป็นจริง (เกิดการก้าวหน้าไปในทิศทางที่เราต้องการ) จะมี strategy อย่างไร (โครงการทั่วไปหยุดแค่นี้ OM ไม่ปล่อยตามยถากรรม) วิธีคิด OM คิดแบบต่อเนื่อง บอกกลวิธี KM จะมาตอน evaluation and monitoring เพื่อเอาไปปรับ strategy หรือปรับ.......(จดไม่ทัน)

7. Required practice (Organizational practice) แนวปฏิบัติหรือ practice อะไรที่เสริมให้มีความยั่งยืน เมื่อมี strategy อย่างนี้ practice ต้อง support เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ strategy เดินไปได้

OM เหมือนเริ่มจากโครงการแต่ไปหยุดที่ภาพใหญ่

โครงการต้องหา DP ให้ได้ แล้ว DP ก็ต้องหา DP ต่อๆ ไป หน้าที่ของเราคือการวางร่างแหเครือข่าย ทั้ง ๗ step เป็นขั้นตอนของการวางแผนเท่านั้น ที่สำคัญตอนท้ายอยู่ที่การ evaluation & monitoring การประเมิน ประเมิน progress markers =ความก้าวหน้า.....เป็นเรื่องของ KM ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และต้องบันทึกไว้ใน performance journal ต้องจัดบ่อยๆ ให้คนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ใกล้เที่ยง อาจารย์ประพนธ์สรุปว่า OM คือเครื่องมือสำหรับ “วางแผน ติดตาม ประเมิน” โครงการ, “วางแผน ขับเคลื่อน พัฒนางาน”, “สร้างการเปลี่ยนแปลง”, “สร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน”

คำถาม เรื่องการประเมินจะวัดอย่างไร...คำตอบ - น่าจะเขียนแบบ diary ถ่ายรูปมาโชว์ ฟังที่ DP เล่าให้ฟัง จะมาช่วยถ่วงดุลการประเมินที่เป็นเชิงปริมาณ

เราไม่รู้ว่ามี DP กี่ layer กว่าจะถึงผู้รับประโยชน์ เตือนว่าเมื่อรู้จักเครื่องมือต้องรู้จักเลือกใช้ ไม่ใช่มีค้อนแล้วเห็นอะไรเป็นตะปูไปหมด

หมอฝนถามถ้า DP คือแกนนำ จะวัดความเปลี่ยนแปลงเป็นตัวเลขอย่างไร คำตอบ - อย่าหาคำตอบตายตัว ไม่มีคำตอบสุดท้ายที่ตายตัว

หมอนก (ยักษ์) เมาคำว่า strategy จากประสบการณ์ strategy มักถูกกำหนดโดยผู้ใหญ่ ตอบ - คนละวิธีคิด แต่ใน OM, strategy มีไว้เพื่อทำให้ขั้น ๔ และ ๕ เกิด (ความก้าวหน้าที่เราเขียนไว้) ผู้สร้าง strategy ช่วยกันคิด อาจเอา DP มาร่วมคิด อย่าหยิบตัวละครไว้ข้างนอก จะต้องทำอะไรกันบ้างที่จะทำให้ ๔ และ ๕ เกิด (แบบเดิมมักหมกเม็ด)

ระบบงานจะไปอยู่ตรง ๗ OM ทำให้เห็นว่าอย่าทิ้งประเด็น practice ที่ส่งเสริม (เติมเต็ม คิดครอบคลุม ต่อเนื่อง) เวลาทำแบบฝึกหัดให้เดินตามกรอบ OM แต่เวลาทำจริงต้องประยุกต์

คำถามองค์กรไหนใช้ OM ที่จะเป็นแบบอย่าง – สสส. พรพ.
คุณหมออนุวัฒน์ช่วยตอบ – รพ. ละงู แต่การเอามาใช้ใช้ตอนมีโครงการแล้ว เอามาใช้ตอนกลางๆ ไม่ได้เริ่มจาก vision, mission การวัดวัดได้หลายวิธี เช่น ประชุมร่วมกัน ดู outcome journal เอาคนอื่นไปประเมิน จะ join กับ R2R ได้อย่างไร

ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน เราถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

 

ภาพถ่ายฝีมือคนถนัดถ่าย VDO

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 267266เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
นายแพทย์วัลลภ พัฒนาโสภณ

เรื่อง : วิถีชีวิตมุสลิม การอดอาหารในเดือนรอมฎอนของผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้เล่า : นายแพทย์วัลลภ พัฒนาโสภณ

แพทย์ชำนาญการด้านต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

มือถือ : 081-6443135

การอดอาหารในเดือนรอมฎอนของผู้ป่วยเบาหวาน

ระหว่างเดือนรอมฎอน

o การทานอาหาร,การนอน และการเครื่องไหวต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม

o ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานอดอาหารในเดือนรอมดอน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโรคอื่นๆร่วมด้วย ,ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือผู้ที่คุมน้ำตาลไม่ดี

o ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วย Insulin หรือยารับทานเบาหวาน ควรจะปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ถ้าต้องการอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน

สำหรับผู้ที่ต้องการอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน

o ดื่มน้ำมากๆ หรือ เครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาล ในระหว่างเวลาที่ให้ทานได้

o ทานยาตามกำหนดเดิม แต่เปลี่ยนเวลาเป็นช่วงที่ทานได้ เช่น ยาตอนเช้า ให้ทานตอนพระอาทิตย์ตกดิน ,ยาตอนเย็น ให้ทานตอนพระอาทิตย์ขึ้น โดยให้งดยากลางวัน โดยควรให้ยาตอนพระอาทิตย์ขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของยาตอนพระอาทิตย์ตก

o ให้งดการอดอาหาร ถ้ามีอาการน้ำตาลต่ำ(hypo)

o ควรจะพกน้ำตาล หรือน้ำหวาน ติดตัวเสมอ

ผู้ป่วยเบาหวานควรมีการตรวจน้ำตาลด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ หรือป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ หรือภาวะน้ำตาลสูงเกินไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท