ทีมพุทธชินราชเยือนนครศรีธรรมราช (๓)


กิจกรรมสร้างพฤติกรรมใหม่ผ่านชมรมโรคเรื้อรัง แรกๆ เอาโรคนำ ออกแบบกิจกรรมให้ดึงดูดสมาชิกเข้ามา

ตอนที่

หลังพัก รับประทานอาหารว่าง เวลา ๑๐.๔๕ น. โต้งเล่าถึงการบริการและกิจกรรมการดูแลกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มป่วย เริ่มจากแบบคัดกรองที่ใช้ นำเรื่องเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพาต มา “ยำ” รวมเป็นชุดเดียว เป็นแบบคัดกรองความเสี่ยงทางหัวใจและหลอดเลือดแบบบูรณาการ คัดกรองแล้วแยกกลุ่มเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่ม pre- และกลุ่มป่วย เพื่อจัดกิจกรรมให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย จะได้เห็นผลได้ชัดเจนขึ้น

การคัดกรองเดิมได้น้อย ต่อมามีการฝึกอบรม อสม. จึงทำได้ตามเป้า เดิมใช้ FBG คัดกรองได้ ๒๓% เพราะคนไปทำงาน ก็ปรับไปใช้ random BG  และมีการทำ OGTT ในกลุ่มแฝง พบว่าในกลุ่มนี้ ๔๒๓ คนพบเบาหวาน ๓๓ คนหรือ ๗.๘%

กลุ่มเสี่ยงแบ่งเป็นเสี่ยงสูง เสี่ยงต่ำ เสี่ยงปานกลาง จัดระบบบริการ เริ่มทำค่าย ตั้งเป้า ๓๐๐ คน การทำงานไม่ง่าย คัดกรองแล้ว ทีมอนามัยคนมาร่วมกิจกรรม เชิญทีมเจ้าหน้าที่อนามัยมาพูดคุย ออกแบบกิจกรรม วิธีการดูแลที่ต่อเนื่อง (หลังเข้าค่าย เดิมไม่มีการต่อยอดทาบกิ่ง)

กิจกรรมในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วย
- การบรรยายด้วยภาษาง่ายๆ
- สุนทรียสนทนาแทรกอยู่ในทุกกิจกรรม
- วาดภาพสร้างจินตนาการทางบวก สุขภาพดีเป็นอย่างไร อธิบายให้กลุ่มฟัง เป็นพลัง เป็นกำลังใจ เป็นเป้าของเขา
- Role play แบ่งชาวค่ายเป็น ๕ กลุ่ม ให้ไปคิดกิจกรรมมาแสดงให้สมาชิกดู สะท้อนการปรับพฤติกรรม สนุกสนาน
- การเรียนรู้ผ่านฐาน อาหาร ออกกำลัง จิตใจ ใช้ยา ไม่ต้องสอน จะได้จำติดตา
การติดตามทำแบบง่ายๆ ดูน้ำหนัก รอบเอว น้ำตาล BMI การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า เป็นการเฝ้ามอง

การบริการในคลินิก ใช้พยาบาลเยอะนิดนึง ให้ซักประวัติอย่างละเอียด จัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเสี่ยงสูง-เสี่ยงปานกลาง มีการให้ผู้ป่วยร่วมบันทึกข้อมูลของเขาเอง ทำ personal record (ไมค์ลอยที่อยู่ด้านล่างถูกเปิดไว้จนถ่านหมด ส่งเสียงดังเป็นจังหวะเหมือนตีกลอง ดิฉันมัวค้นหาที่มาของเสียง จึงไม่ได้บันทึกเนื้อหาช่วงนี้)

ระบบการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่ PCU แรกๆ ส่งทางกระดาษ ต่อมาทำผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเอง ส่งแล้วยังรู้ด้วยว่า PCU ไหนยังไม่ได้เปิดดู จะมีศูนย์ประสานแจ้งเตือน

มีพยาบาลของโรงพยาบาล ๒๐ คนไปอยู่ที่ PCU เป็นเหมือนตัวเชื่อมประสาน จัดคลินิกเบาหวานที่ PCU ด้วย มีแพทย์ประจำโซน ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้คนทำงาน ปรึกษาได้ตลอด ๒๔ ชม. แพทย์ลงไปที่ PCU ด้วย ไปสอนเจ้าหน้าที่ เช่น เรื่องการใช้ยา

กิจกรรมสร้างพฤติกรรมใหม่ผ่านชมรมโรคเรื้อรัง แรกๆ เอาโรคนำ ออกแบบกิจกรรมให้ดึงดูดสมาชิกเข้ามา กลุ่มเล็กๆ ๑๐-๑๕ คน ก็เอามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ทำให้ได้คนต้นแบบ รู้ว่าใครพูดเก่ง เอาไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่น

หัวหน้าหมู่เบาหวาน คนต้นแบบคิดกันเอง เพราะเบาหวานไปแออัดที่ PCU ๑ คน ดูแลคนเป็นเบาหวาน ๑๐ คน ฝึกทักษะของหัวหมู่ เช่น เจาะเลือด กิจกรรมที่ทำมาเกิดผลลัพธ์ที่ดี ได้เรื่องอื่น เช่น บุหรี่ เหล้า ด้วย

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 268928เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2009 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับอาจารย์ กลับมาถึงบ้านก็ได้รับหนังสือเชิญจากอาจารย์

เข้าประชุมที่นคร เรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานสุขภาวะชุมชน

ในนามของโครงการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งชุมชนเทศบาลตำบล ปากพะยูน ยินดีครับ

 แล้วพบกันวันที่ 2-3กค.ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท