ตลาดนัดความรู้ DM-HT ภาคกลาง-ตะวันออก (๑)


หวังว่าโครงการนี้จะเหนี่ยวนำให้เกิดความยั่งยืน

วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๒

วันที่ ๒๙-๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๒ มีการจัดตลาดนัดความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ของเครือข่าย KM ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ห้องอินทรา โรงแรมหลุยส์ แทเวริน์ กรุงเทพ มีทีมสหวิชาชีพจาก ๑๙ โรงพยาบาลมาตลาดนัดครั้งนี้ แม่งานสำคัญคือทีม รพ.เปาโลเมโมเรียล นำโดย พ.ญ.อารยา ทองผิว ทีม จ.ระยอง นำโดยคุณหน่อย รัชนี สมบูรณ์ และทีม รพ.นพรัตน์ราชธานี

ในการประชุม ๒ วันนี้ ทีมงานจัดรายการบรรยายและกิจกรรมอื่นคั่นกระบวนการ KM ไว้ถึง ๓ ช่วง ดิฉันขอจัดเรียงกิจกรรมใหม่เพื่อให้การเรียนรู้เรื่อง KM ลื่นไหลต่อเนื่อง ทีมงานไม่มีใครขัดข้องเพราะทุกคนต้องการให้ผู้เข้าประชุมได้รู้จัก KM และเรียนรู้จากกันและกันให้มากที่สุด การทำงานที่ยืดหยุ่นถ้อยทีถ้อยอาศัยแบบนี้เราพบได้เสมอในเวที KM

 

ได้เวลา ๐๙.๐๐ น. พ.ญ.อารยา ทองผิว (ที่ประชุมเรียกอาจารย์ยาย) แนะนำตัวแขกพิเศษจากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ๔ คน ที่มาขอสังเกตการณ์ วิทยากร และทีมงาน ต่อด้วย น.พ.สมเกียรติ โพธิสัตย์ โต้โผคนสำคัญมากล่าวเปิดการประชุมและเล่าที่มาที่ไปของโครงการว่าเพื่อให้เกิดเครือข่าย/ภาคีของผู้ปฏิบัติงานเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง หวังว่าโครงการนี้จะเหนี่ยวนำให้เกิดความยั่งยืน ได้เอา KM และ TCEN มารวมกันโดยให้ พรพ. เป็นเจ้าภาพ หา node ที่มีกิจกรรมดีๆ ทั่วประเทศ จัดกิจกรรมระดับพื้นที่ แล้วเป็นระดับภาค ต่อไปมารวมเป็นระดับประเทศ ซึ่งหวังว่าจะมีงานของแต่ละพื้นที่มาแลกเปลี่ยนในงานระดับชาติ

คุณหมอสมเกียรติหวังว่าเครือข่ายจะคงอยู่และส่งผลสะท้อนไปสู่ผู้ป่วย งานระดับภาคเป็นการพูดคุยชักชวนกันมา ไม่ได้ออกประชาสัมพันธ์ทั่วไป หวังว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน ๒ วันนี้ จะเป็นสิ่งดีๆ ที่เอาไปต่อยอดได้ อวยพรให้กิจกรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

หลังจากนั้นคุณหมอสมเกียรติจึงบรรยายเรื่อง TCEN เราย้ายเวลาการบรรยายหัวข้อนี้จากช่วง ๑๑ น.กว่ามาเป็นตอนแรกเลย ซึ่งคุณหมอสมเกียรติก็ยินยอมพร้อมใจเป็นอย่างดี คุณหมอสมเกียรติเล่าว่า TCEN คืออะไร ริเริ่มมาจาก น.พ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผอ.พรพ. พยายาม create ในหลายกลุ่ม... ส่วนที่ดำเนินการแล้วยังไม่ขยับเท่าไหร่

เครือข่าย TCEN เป็นความร่วมมือระหว่างกรมการแพทย์ พรพ. และชุมชนนักปฏิบัติ นำเสนอตัวอย่างข้อมูลตัวชี้วัดที่พบเห็น ดูบางตัวแล้วเกิดความสงสัยว่าคนที่กำหนดตัวชี้วัดเข้าใจหรือเปล่า เพราะบางอย่างพิสดาร มีหลายๆ ตัวอย่างที่น่าจะมีอะไรผิดพลาด จึงเห็นว่าน่าจะมีตัวชี้วัดซึ่งเป็นที่ยอมรับ แล้วเอามาปรับใช้ให้ง่ายๆ เพื่อจะได้เปรียบเทียบตัวเอง ให้รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน กำลังจะไปที่ไหน หรือเปรียบเทียบกับคู่เปรียบ ทำให้ทราบสถานะของตัวเอง

กลวิธีคือจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติเพื่อจัดทำบทเรียนวิธีการ... บอกที่มาของคำว่า Benchmark ว่าคือรอยขีดที่โต๊ะ........จะเห็นที่ว่าง เมื่อมาผสมผสานกับ KM สายธารปัญญา ถ้าไม่กำหนดเอง เอาตัวชี้วัดมาทำก็จะเห็น

มีการ set core measure (ตัวชี้วัด) แล้ว standardized data collection, benchmarking, knowledge sharing, เมื่อ sharing แล้วก็ไปตั้งเป้า ทดลองปฏิบัติ เป็นการ CQI

รพ.นำจริงๆ ในเครือข่าย TCEN เมื่อ ๒ ปีที่แล้วมีจำนวน ๘ รพ. มีตัวชี้วัดระดับต้น ๑๗ ตัว พยายามเผยแพร่ให้ไปทดลองเก็บ (กระบวนการ ๑๐) ผลลัพธ์ (๗) อยากให้เอาไปใช้ ไม่ใช่เก็บเพื่อเก็บ อธิบายตัวชี้วัด ๑๗ ตัวทีละตัวว่ามีอะไรบ้าง แต่ละตัวมีเหตุผลอย่างไร มีวิธีการคิดตัวเลขอย่างไร เป้าเป็นอย่างไร บางตัวเช่นอัตราผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ A1C ประจำปีใน รพ.ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นตัวของสำนักตรวจฯ ต่อไปค่าใช้จ่ายในการตรวจ A1C น่าจะต่ำกว่า ๑๐๐ บาท

อัตราการนอน รพ.ก็เป็นปัญหาในบาง รพ. ที่มีปัญหาในวิธีการเก็บข้อมูล บางตัวต่อไปน่าจะปรับ เช่น อัตราผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ซึ่งได้รับคำแนะนำปรึกษาให้เลิกบุหรี่

การดูตัวชี้วัดบอกสมรรถนะของทีมดูแลได้ เช่น อัตราผู้ป่วยอายุ ๔๐ ปีขึ้นไปที่ได้รับยา aspirin เรื่อง lipid มีทั้งโดยรวมและ LDL เรื่องของความดันโลหิต ต้องย้ำว่าเกณฑ์ความดันโลหิตของคนเบาหวานต้องที่ ๑๓๐/๘๐ ต่ำกว่าทั่วไป มีข้อมูลวิชาการสนับสนุนชัดเจน

การตรวจ microalbuminuria รพช.ไม่ค่อยทำกัน จริงๆ ค่าใช้จ่ายถูกกว่า A1C ตอนนี้เป็น strip แล้ว ราคาลงมาเหลือประมาณ ๔๐ ถ้าลดมาประมาณ ๑๐ บาทควรตรวจไปเถอะและมีประโยชน์ ถ้ามี macroalbuminuria แล้วไม่ต้องมาตรวจมีประมาณ ๒๐% การใช้ BUN, Cr ช้าไปแล้ว มีอีกกระแสว่าถ้ามีความเสี่ยงสูงแล้วไม่ต้องตรวจ ให้ยาไปเลย

อัตราผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจ retinal exam ประจำปี หมอตามีน้อย เดี๋ยวนี้มีกล้อง มีข้อมูลชัดเจนว่า จังหวัดหนึ่งมีกล้อง ๑ ตัวพอ วันหนึ่งตรวจได้ ๑๕๐ คน ถ้า turn กล้องดีๆ นัดผู้ป่วยดีๆ กรมการแพทย์ได้ฝึกคนช่วยงานหมอตาได้ ๗๐%

อัตราผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจ complete foot exam ข้อมูลพบว่าจังหวัดหนึ่งๆ มีเบาหวานประมาณ ๕% อุบลฯ มี ๔๐,๐๐๐ คน เป็นตัวเลขรวมๆ ที่ยังมีความซ้ำซ้อน ความจริงน่าจะมีประมาณ ๕๐,๐๐๐

สรุป concept ที่เล่ามาตอนเช้า Conceptual framework ของการทำงาน ถ้าคุมน้ำตาลในเลือดได้จะมีผลในเชิงตัวเลขอย่างไรบ้าง

คุณเฉลาจาก รพ.ระยอง เสนอให้เพิ่มตัวชี้วัดเรื่องสุขภาพช่องปาก คุณหมอสมเกียรติกล่าวว่าสถาบันทันตกรรมก็บอกมาหลายทีแล้ว และกล่าวปิดท้ายว่าเช้านี้มาบรรยายวิชาการก่อนเลยเป็น oneway เสียส่วนใหญ๋ กระบวนการถัดๆ ไปจะเป็นมากกว่า ๒ ways

กิจกรรมการบรรยายจบเมื่อ ๐๙.๕๕ น. เราจึงพักรับประทานอาหารว่าง ๑๕ นาที

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 272329เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2009 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท