ประชุมวิชาการสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ๒๕๕๓ (๑)


คนไทยเสี่ยงต่อเบาหวานเพิ่มขึ้น

ความเดิม

การประชุมวิชาการประจำปี ๒๕๕๓ ของสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานในหัวข้อเรื่อง “Take Effective Control of Diabetes” ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพฯ มีผู้ลงทะเบียน ๔๐๐ กว่าคน

วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓
ช่วงเช้าดิฉันเดินสวนกับผู้ที่ลงทะเบียนแล้วบางคน ได้ยินคำพูดที่คุยกันในกลุ่มเชิงต่อว่าเรื่องที่สมาคมฯ ให้เซนต์ชื่อเฉพาะวัน ไม่ให้เซ็นต์ชื่อล่วงหน้า

 

บรรยากาศการลงทะเบียนในเช้าวันแรก

เวลา ๐๘.๔๕ น. คุณหรรษมน ประสาทแก้ว MC มืออาชีพประจำสมาคมฯ ก็เริ่มดำเนินรายการ...รศ.พญ.สุนิตย์จันทรประเสริฐ นายกสมาคมฯ กล่าวเปิดประชุมและบอกว่าการประชุมวิชาการคราวนี้เพิ่มเป็น ๒ วันเพื่อให้มีเวลาครอบคลุมเรื่องที่น่าสนใจและต่อไปจะมีเวลาสำหรับ Free paper ให้สมาชิกนำเสนอด้วย จะพยายามจัดเวลาสำหรับ Free paper…

วิชาการปีนี้จะเน้นเรื่องการวินิจฉัย การป้องกัน Early diagnosis เรื่องยา พยายามครอบคลุมเรื่องที่สำคัญ และเช่นเดียวกับปีก่อนๆ คือการนำเสนอผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัล Terumo Diabetes Patient Care Team Award สมาชิกจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเห็นตัวอย่างของการทำงานเป็นทีม…

 

ผู้เข้าประชุมในปีนี้เต็มห้องทีเดียว

เวลา ๐๙.๐๐-๐๙.๓๔ น.
การบรรยาย Updated Guideline in the Screening and Diagnosis of Diabetes
วิทยากร : พันเอก รศ.พญ.อัมพา สุทธิจำรูญ

...เบาหวานเป็นปัญหาอย่างไร ความชุกของโรคเบาหวานทั่วโลก ปี ๒๐๐๐ คนไข้ไม่เยอะ แต่ในปี ๒๐๓๐ จะเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะทางเอเซียจะเพิ่มแบบกระโดด... ความชุกของประเทศไทย ปี ๒๐๐๔ ๖.๙% ปีที่แล้ว (๒๐๐๙) ความชุกไม่เพิ่มขึ้น รวมประมาณ ๗% Undiagnosed ๓๑.๒% ลดลงจากเมื่อปี ๒๐๐๔ ที่เท่ากับ ๕๖.๖%

การดูแลรักษาโรคเบาหวานคงดีขึ้น เบาหวานเป็นปัญหาเพราะเจอโรคแทรกซ้อนเยอะมาก ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน Categories of increased risk for diabetes คือ IFG, IGT คนไทยเสี่ยงต่อเบาหวานเพิ่มขึ้น

ระดับน้ำตาลในเลือดกับปริมาณเบต้าเซลล์ในตับอ่อน คนอ้วน IGT ปริมาณเบต้าเซลล์จะลดลงมาก คนกลุ่ม IGT จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนปกติ การ screen พบคน IGT มีความหมายมาก

แนวทางการวินิจฉัยของต่างประเทศ (ADA, AACE, IDF) และของไทย มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง สมาคมต่อมไร้ท่อฯ กำลังทำแนวเวชปฏิบัติใหม่ คาดว่าจะออกภายในต้นปี ๒๕๕๔ ...สนใจค่า A1C ด้วย เพราะความสำคัญของการเกิดภาวะแทรกซ้อน A1C ที่มากกว่า ๖ ขึ้นไปเห็นจุดของการเปลี่ยนแปลง

อาการของโรคเบาหวานที่เจอบ่อยมีอะไรบ้าง (ความใหม่คือการนำ A1C มาใช้ด้วย แต่ต้องมีมาตรฐาน ไม่ใช่ที่เราต่างใช้ๆ กันอยู่)

การคัดกรอง (Screening for Diabetes Mellitus) ควรทำในกลุ่มเสี่ยงมากๆ ถ้าไปทำในคนเสี่ยงน้อยจะไม่คุ้มค่า ปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุ เพศ ประวัติในครอบครัว (แก้ไม่ได้) BMI WS กิจกรรมทางกาย น้ำหนักแรกเกิดมากกว่า ๔ กก. ฯลฯ

คนไทยควรคัดกรองด้วยอะไรดูใน Flowchart เก็บเรื่องการทำ OGTT เอาไว้ก่อน เพราะการเจาะเลือดไม่ง่าย เราจึงใช้ Risk score มีการประเมินความเสี่ยง ณ เวลานั้นและการประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกัน ...การแปลคะแนนความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ ๒ และข้อแนะนำ

ประโยชน์ของการค้นพบผู้เป็นโรคเบาหวานในระยะแรก ค้นพบโรคแทรกซ้อนได้เร็ว น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้มาก มีการสำรวจว่าเมื่อเริ่มวินิจฉัย ร้อยละ ๕๐ พบโรคแทรกซ้อนแล้ว การศึกษา Da Qing ทำในคนไม่มากนัก ๕๐๐ กว่าคน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลประโยชน์มีแน่ ติดตามได้ ๒๐ ปี ความเสี่ยงคงที่

คนที่คิดว่าตนเองมี BS ปกติก็ยังเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ ๒ ...ถ้าดูแลกันดีจะอยู่กับเบาหวานอย่างมีความสุข ต้องทำงานเป็นทีม คำว่า Team มีความหมาย
Together
Everyone
Achieve
More

คุณหมออัมพายังให้ความหมายดีๆ ของคำว่า “Health” อีก แต่จดไม่ทัน ได้แค่ Holistic, Empowerment...

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 403615เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2010 03:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท