เรียนรู้การทำ Healing sandle


รองเท้าที่ทำขึ้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการรักษาแผล ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใส่รองเท้าทุกก้าวที่เดิน

เรียนรู้การทำ Healing sandle

      จากที่ไ้ด้เริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลเท้าในผู้ป่วยที่มีปัญหาแผลเรื้อรัง ร่วมกับเป็นเบาหวาน จากอาจารย์เชิดพงศ์ หังสสูตและทีมงาน พบว่า การแก้ไขเบื้องต้นในการรักษาแผลเบาหวาน เราสามารถทำรองเท้าเฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการรักษาแผลเบื้องต้น โดยใช้หลักการ Off loading เหมือนวิธีการอื่น ๆ และการทำก็ไม่ยุ่งยาก แต่หัวใจสำคัญ คือ ต้องเน้นให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการใส่รองเท้า เพราะถ้าผู้ป่วยเดินโดยไม่สวมรองเท้า ย่อมมีโอกาสแผลเกิดความบอบช้ำ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ดังนั้น "ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใส่รองเท้าทุกก้าวที่เดิน"

       ตัวอย่าง ผู้ป่วยชาย อายุ 50 ปี เป็นแผลเรื้อรังที่เท้าข้างขวามานาน 2 ปี โดยมีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน และ ตับแข็ง  รักษาแผลโดยการทำแผลที่โรงพยาบาลมาตลอด ในชีวิตประจำวันผู้ป่วยต้องทำงานเกี่ยวกับการเดินเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งเดินมากๆ ทำให้มีเลือดออกจากแผล ค่อนข้างวิตกกังวล ดังนั้น เราจึงเลือกวิธีการทำ รองเท้าสำหรับผู้ป่วย Healing sandle ในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยรายนี้ วิธีการทำก็ไม่ยุ่งยาก

 

ขั้นตอนการทำ Healing sandle

1.วัดขนาดของเท้า และประเมินสภาพแผล

  โดยการให้ผู้ป่วยยืนบนแผ่นใส่ และใช้ปากกาวาดรูปเท้า เพื่อให้มีขนาดพอดีกับเท้าของผู้ป่วย

 

2. กำหนดตำแหน่งของแผล

 แต่ช่วงนี้ต้องระมัดระวังเรื่อง Contaminate เพราะว่าอาจต้องเปื้อนเลือด หรือ discharge จากแผลได้     

 

 

  

3.ตัดตามรอย และใช้ปากกา 

หัวแหลมๆ กำหนดตำแหน่ง

บาดแผลลงบนแผ่นรองเท้า

 (ใช้fome นุ่ม)

 

 

 

 4.จากนั้นก็เริ่มตัดรองเท้าส่วนอื่น  (Anatomy ของรองเท้า ประกอบด้วย Upper คือหนังหน้าของรองเท้า แล้วแต่จะเลือกใช้ อาจเป็นหนัง หรือผ้าใบ ก็ได้ และ Sole คือพื้นรองเท้า

     

5.หลังจากประกอบเป็นรูปตัวรองเท้าเสร็จ เราก็นำมาทดสอบกับผู้ป่วยว่าตำแหน่งของบาดแผลกับ ตำแหน่งที่เจาะรูในรองเท้านั้นพอดีกันหรือไม่ เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว รองเท้าจะทำให้เกิดแผลซะเอง  โดยวิธีการง่าย ๆ เราใช้ดินน้ำมันปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้ว นำมาติดที่แผล

    

จากนั้นก็ให้ผู้ป่วยลองเดินดู แล้วเราก็มาดูดินน้ำมันว่ามันยังคงรูปเดิมอยู่หรือปล่าว

ถ้าก้อนดินน้ำมันคงรูปอยู่ ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าดินน้ำมันแบนล่ะก้อ ต้องทำใหม่

      

     

           อย่างนี้ถือว่าใช้ได้

 

 

 

 

 

        ลุงสมชาติ กับ รองเท้าคู่ใหม่

 

 

 

      เป็นยังไงค่ะ ไม่ยากเลยใช่มั้ย กับการทำ Healing sandle  ถ้าหากพี่ๆ เพื่อนๆ มีวิธีการดูแลแผลที่เท้า แบบใหม่ ๆ ช่วยแนะนำด้วยน่ะค่ะ คลินิกสุขภาพเท้า โรงพยาบาลปทุมธานี ยังคงต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นอีก ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ ไว้โอกาสหน้ามีเรื่องใหม่ๆ จะมาเล่าให้ฟังอีกน่ะค่ะ .........

หมายเลขบันทึก: 336667เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2010 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เราสามารถแบ่งลักษณะแผลที่เท้าได้กี่ลักษณะเช่นเท้าที่มีแผลเน่าหรือแผลที่เป็นเนื้อตายแข็ง การรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็นอย่างไร อยากทราบข้อมูล ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท