อาหาร กับ โรคท้องเสีย


ผู้ป่วยมีความเข้าใจที่ว่า จะรับประทานอาหารก็ต่อเมื่อหยุดถ่าย ดิฉันจึงให้คำแนะนำว่า การที่เรามีอาการท้องเสียหรือท้องร่วง และยังไม่ยอมรับประทานอาหาร เราจะไม่รู้ว่าลำไส้ทำงานได้ดีหรือไม่หลังจากได้รับการดูแลจากแพทย

          ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยชายรายหนึ่ง อายุ ๘๒ ปี จึงอยากนำมาเล่าเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

          ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยถ่ายเหลว ๓-๔ ครั้งในตอนกลางคืน หลังจากรับประทานอาหารมื้อเย็น      แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคท้องเสีย (Diarrhea) จึงได้สั่งอาหาร (diet order) ให้เป็นอาหารอ่อน (soft diet) งดผักและผลไม้สด นม     แต่ผู้ป่วยขอสั่งอาหารทานเอง     จากการดูเวชระเบียนของผู้ป่วยรายนี้ เราประเมินระดับการเจ็บป่วยอยู่ในขั้น moderate risk of nutrition     ได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยในช่วงบ่ายเพื่อดูว่ามีปัญหาในการรับประทานหรือไม่ เมื่อเข้าไปเยี่ยมพบว่า ปกติที่บ้านจะซื้อกับข้าวจากตลาด และรับประทานยาระบาย (ส้มแขก) เป็นประจำ      ขณะนั้นผู้ป่วยหายใจ on อ๊อกซิเจน และได้น้ำเกลืออยู่ พูดคุยได้ปกติ แต่มีเหนื่อยและดูอ่อนเพลียเล็กน้อย    หลังจากที่ได้สนทนากันพบว่าตอนนี้ยังมีถ่ายเหลวอยู่ จึงยังไม่ได้รับประทานอาหารกลางวัน      ผู้ป่วยบอกยังไม่หิวและจะรอถ่ายให้หมดก่อนถึงจะรับประทาน

          ตอนแรกที่เข้าไปพบดิฉันรู้สึกแปลกใจเล็กน้อยว่าทำไมผู้ป่วยถึงต้องได้อ๊อกซิ เจน และจากการได้พูดคุยพบว่า ผู้ป่วยมีความเข้าใจที่ว่า จะรับประทานอาหารก็ต่อเมื่อหยุดถ่าย ดิฉันจึงให้คำแนะนำว่า การที่เรามีอาการท้องเสียหรือท้องร่วง และยังไม่ยอมรับประทานอาหาร   เราจะไม่รู้ว่าลำไส้ทำงานได้ดีหรือไม่หลังจากได้รับการดูแลจากแพทย์แล้ว และจะไม่รู้ว่า อาหารเริ่มดูดซึมได้ดีเหมือนปกติหรือยัง  พบว่ามีผู้ป่วยอีกหลายรายที่ยังมีความเข้าใจแบบนี้ 

        จริงๆ แล้วเมื่อมีอาการท้องเสียและถ่ายหลายครั้ง อีกทั้งยังขาดสารอาหารที่จะทำให้ร่างกายได้รับพลังงาน มักจะมีีอาการอ่อนเพลียและเหนื่อยได้ตามมา  ทำให้แพทย์ต้องให้ด้วยอ๊อกซิเจนช่วยในระบบ หายใจ  จึงอยากบอกว่า  ร่างกายจะต้องได้รับสารอาหารและน้ำทดแทนที่ส่วนที่ถ่ายออกไป ถ้าทานได้ก็ให้พยายามทาน  ถ้าทานไม่ได้แพทย์จะให้น้ำเกลือ เพื่อชดเชยสารอาหารและเกลือแร่ที่สูญเสียไป

          การให้คำแนะนำเรื่องการจัดอาหารให้แก่ผู้ป่วยรายนี้ ดิฉันแนะ นำให้เริ่มรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายและมีกากน้อยก่อน เช่น ข้าวต้ม, แกงจืดเต้าหู้, โจ๊กหมูสับ, ขนมปังนิ่มๆ, น้ำชา ถ้ายังรับประทานได้น้อยให้จัดเป็นอาหารมื้อเล็กๆ  หลายๆ มื้อ และให้เคี้ยวอาหารให้ละเอียด   งดผักและผลไม้สด อาหารหมักดอง อาหารรสจัด มีกลิ่นฉุน อาหารทอดต่างๆ จากนั้นเมื่อหยุดถ่ายเหลว สามารถเปลี่ยนเป็นอาหารธรรมดาได้ (Regula diet)

เล่าเรื่องโดย:  คุณสุวิชชา เทพลาวัลย์    นักกำหนดอาหาร

คำสำคัญ (Tags): #โภชนากร
หมายเลขบันทึก: 39599เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท