องศาของการเปลี่ยนแปลง (หนึ่ง)


ปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม นั้นจะกล่าวแบบกว้างๆก็เพราะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมประเทศนั่นเอง ผู้บันทึกเคยแลกเปลี่ยนเรื่องนี้กับคนทำงานพัฒนาชนบท และกลุ่มเพื่อนๆในวงการ NGOs และสรุปร่างแนวคิดนี้ไว้ อย่างคร่าวๆ ใคร่จะหยิบเรื่องนี้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ครับ

 

สังคมไทยหรือสังคมไหนๆก็มีอดีต มีประวัติศาสตร์ มีพัฒนาการ มีเหตุการณ์ต่างๆมากมาย และอดีตทั้งหมดมีผลต่อพัฒนาการของสังคมในปัจจุบัน อย่างที่เราๆ ท่านๆ ทราบดีอยู่ นี่เองคือความสำคัญของการเรียนการศึกษาประวัติศาสตร์ ในทุกสาขาที่เป็นองค์ประกอบของสังคม ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ฯ

 

 

Diagram ข้างบนนั้นแสดงให้เห็นแนวสมมุติการเคลื่อนของสังคม จากฐานเดิมของความเป็นไทยๆ เรามีสถาบันกษัตริย์ เรามีสถาบันศาสนาที่เปิดกว้างทุกศาสนา เรามีสถาบันสังคมที่เป็นแบบแผนปฏิบัตินั่นคือวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อต่างๆ ที่เราเรียกรวมๆกันว่า ทุนทางสังคม วันเวลาผ่านการขับเคลื่อนด้วยสถาบันเหล่านั้น สังคมก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัจจัยภายในของสังคมเป็นด้านหลัก อาจจะมีปัจจัยภายนอกบ้างก็ในแง่ของการเกิดศึกสงครามแต่ก็เป็นเพียงชั่วคราว และไม่ได้ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปมากมายนัก

 

 

 

สังคมประเทศ มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้น เมื่อสังคมโลกขับเคลื่อนและเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเทศไทยเรา  เช่น ลัทธิล่าอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตกในสมัยนั้น ซึ่งผู้นำประเทศและพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์ไทยทรงปรีชาญาณนำพาประเทศรอดพ้นมาได้ แต่เป็นเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ตามมา เช่น การทำสัญญาเบาริ่ง ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นเงื่อนไขการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก ที่ให้มีการค้าขายระหว่างประเทศ (ก่อนหน้านี้ก็มีแล้ว แต่ไม่ได้ส่งผลมาก) การนำเข้าสินค้าและสิ่งอื่นๆเข้ามาในประเทศเรา ทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นการสะสมปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงอีกหลายประการในช่วงเวลาต่อมา

 

 

นอกจากสัญญาเบาริ่งแล้วในช่วงเวลาต่อมาเราก็เริ่มสร้างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นการกำหนดแผนพัฒนาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ความทันสมัย อันเป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งด้านสร้างสรรค์ และสะสมปัจจัยให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมาภายหลัง แล้วสังคมโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีทุนเป็นแกนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมโลกให้พัฒนาไป

 

สังคมโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วนั้น ได้เกาะเกี่ยวให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรีระหว่างประเทศขึ้น มีส่วนทำให้สังคมไทยเปิดกว้างต่อธุรกิจต่างๆทั่วโลกที่สามารถเลือกมาลงทุนในประเทศไทยได้ และกอบโกยกำไรอย่างมหาศาลออกไป ระบบนี้ผลักดันให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเร่งทีเดียว ส่งผลกระทบมหาศาลต่อวิถีชีวิต และระบบชุมชนต่างๆอย่างไม่เคยมีมาก่อน  ปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมที่เราทราบกันดีตามสื่อมวลชนต่างๆนั้น คือผลพวงของความไม่สมดุลของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะประชาชนผู้ด้อยโอกาสต่างๆในสังคม

 

 

 

 

สัญญาเบาริ่งก็ดี แผนพัฒนาฯชาติก็ดี ระบบโลกาภิวัฒน์ก็ดี ระบบการค้าเสรีระหว่างประเทศก็ดี และอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทั้งหมดนั้นคือแรง G ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการผลักดันสังคมไทยให้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวตามแนว A1 ไปสู่ A2 จนถึง A5 และ Ac นั้น หันเหไปสู่แนว Acg1 (ตาม diagram) ด้วยแรงกระทำของ G นั่นเอง

 

ทิศทางการเคลื่อนที่ของสังคมประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปจากแนว A5- Ac ไปสู่แนว A5-Acg1 นั้นก่อให้เกิด องศาของการเปลี่ยนแปลง (หรือ D) และแปรผันตามแรง G ที่กระทำต่อการเคลื่อนที่ของ A5 สู่ Ac  

 

 

 

ปรากฏการณ์ขยับตัวของปัจจัยภายนอกที่รุกเข้ามา ทั้งโดยการพยายามเข้ามาแสวงหาประโยชน์ และการนำเข้ามาของทุนภายใน และการเข้ามาด้วยเงื่อนไขอื่นๆ ทวีความหนาแน่นมากขึ้น ด้วยเหตุปัจจัยที่รัฐบาลผู้บริหารประเทศต้องการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่การเป็นแหล่งอุตสาหกรรมของโลก ต้องการยกระดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว มีความทันสมัย และด้วยเหตุผลอื่นๆ ได้ก่อให้เกิดการขยายตัวของ องศาของการเปลี่ยนแปลง มากขึ้น

 

แรงกระทำที่มากขึ้นของ G กระทำต่อ แนวการเคลื่อนตัวของ A5-Ac ส่งผลให้ทิศทางการเคลื่อนตัวของสังคมจากแนว A5-Ac เปลี่ยนไปเป็น A5-Acg2 และก้าวไปสู่ A5-Acg3 และต่อไปเรื่อยๆตราบเท่าที่ G มีแรงมากเพียงพอ หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งก็คือ แรงกระทำที่มากขึ้นของ G จะสร้างให้เกิด องศาของการเปลี่ยนแปลง มากขึ้นเป็นสัดส่วนตรงนั่นเอง

 

การเคลื่อนที่ของ A5 นั้นมิใช่มีเพียงปัจจัยภายนอกเท่านั้น ยังมีปัจจัยภายในเองด้วย เช่นการยอมรับคุณค่าของแรง G การปรับเปลี่ยนค่านิยมของ A5 การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การหลงใหลในรสนิยม ทัศนคติแบบ G มากขึ้นของมวล(Mass) ใน A5  แนวนโยบายของรัฐบาล และแรงผลักดันของกลุ่มทุนระดับชาติ ฯลฯ

 

การขยายตัวขององศาของการเปลี่ยนแปลงนั้นก็มี แรงเสียดทาน หรือ แรงต้าน อันเป็นคุณสมบัติเดิมของ A5 ที่ไม่ยอมรับคุณค่าใหม่บางเรื่องบางส่วนของ G เราอาจจะเรียกรวมๆของแรงต้านนี้ว่า พลังต่างๆในสังคม หรือก็คือ ทุนทางสังคม ของสังคมไทยนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นเป็นแบบสะสม ค่อยเป็นค่อยไป และสังคมที่อยู่ศูนย์กลางอำนาจ หรือตัวเมืองจะเปลี่ยนแปลงก่อน หรือมากกว่าสังคมที่อยู่ห่างออกไป หรือสังคมชนบท ตามทฤษฎี Periphery Theory ในทางสังคมวิทยามานุษยวิทยา

(ต่อตอนสอง)

หมายเลขบันทึก: 190479เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีครัีบพี่บางทราย

    สบายดีไหมครัีบ ยอดเยี่ยมไปเลยครัีบ การนำเสนอสวยงามครับผม เนื้อหาเปี่ยม...

    เปลี่ยนไปหนึ่งองศาของการเคลื่อนไหว กระทบกันทุกๆอย่างตามแนวรัศมี เปลี่ยนแปลงหนึ่งองศาซี(ในทะเล)มหาสมุทรปั่นป่วน

ขอบคุณมากๆนะครัีบ

น้องเม้งมีสูตร ทางคณิตรศาสตร์เรื่อง momentum ของแรงนี้ไหมครับ

 

แวะมาเยี่ยมครับ

สบายดีไหมครับ

พรุ่งนี้ตี 5 ครึ่ง ต้องพาเด็กไปวิ่งมาราธอนต่อต้านยาเสพติดนะครับ

 

ครูโย่งครับ

ผมสบายดีครับ

ขอให้การพาเด็กไปวิ่งมาราธอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยนะครับ

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับพี่บางทราย

    ลองแตกแรงดูไหมครับ ว่าการเคลื่อนที่ของ A5 จะเป็นอย่างไร

แรงสะสมจาก A4, G และแรงน้ำเข้าอื่นๆ ตลอดจนแรงภายในเอง

จะ่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ หรือองศาที่เปลี่ยนไปว่าเท่าไหร่

จะแหกโค้งหรือไม่ หรือยังอยู่ในวงของอัตราเชิงมุมอย่างการขับรถเลี้ยวโค้งครับ...

ขอบคุณมากๆ นะครับ

โมเมนตัม = มวลของวัตถุ x ความของวัตถุนั้นที่เคลื่อนที่ไป

มวลคงที่หรือไม่? หรือเปลี่ยนแปลงตามเวลา ตามการเคลื่อนที่

ความเร็วของวัตถุเปลี่ยนแปลงไหมเมื่อมีการเปลี่ยนทิศทาง

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณครับเม้ง   พี่จะเอาไปคิดต่อครับ

ขอแลกเปลี่ยนนะครับท่านบางทราย

ผมมองทฤษฎีลูกตุ้ม ( นาฬิกา )  อีกแบบนึง  จำไม่ได้ว่าอ่านหรือได้ยินมา  หรือได้มาจากพูดคุยกัน  (  แต่น่าจะได้จากการพูดคุยกันมากกว่า  เพราะระยะหลังนี่อ่านหนังสือค่อนข้างน้อยครับ )

ลูกตุ้มนาฬิกาควรจะอยู่ในจุดสมดุล  คืออยู่ตรงกลางพอดี  แต่เริ่มต้นเราจะให้มันเริ่มจากสุดด้านนึงแล้วปล่อย   ลูกตุ้มนาฬิกาก็จะแกว่งผ่านจุดสมดุลไปยังอีกด้านหนึ่ง  พอสุดแล้วมันก็จะแกว่งกลับผ่านสุดสมดุลไปอีกด้านหนึ่ง 

มันจะแกว่งช้าลงๆ  และแกว่างน้อยลงๆจนหยุดที่จุดสมดุล  คือไม่แกว่งอีกต่อไปแล้ว  เวลาหมดลาน

ถ้าเราขึ้นลานใหม่แล้วโยกลูกตุ้มใหม่  มันก็จะเริ่มแกว่งใหม่  แต่เมื่อหมดลานมันก็จะกลับมาอยู่ที่ที่มันควรจะอยู่  คือจุดสมดุล   เมื่อหมดลาน  ลูกตุ้มนาฬิกาคงไม่หยุดที่จุดสูงสุด  ด้านใดด้านหนึ่งแน่นอน

ยกตัวอย่างระบอบการปกครอง  สมมุติด้านหนึ่งเป็นการปกครองแบบเผด็จการ ( ขวาสุด )  อีกด้านหนึ่งก็เป็นเสรีอย่างสุดๆ ( ซ้ายสุด )  ซึ่งจริงๆแล้วในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่เป็นสองสิ่งตรงข้ามกัน  อิอิ

จุดที่เหมาะสม  อยู่ตรงกลางครับ  มันจะอยู่สุดไปข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้หรอกครับ

ของจริงมันไม่ได้มีมิติเดียว มันมีหลายมิติ

ระบบราชการ  การเมือง  ภาคประชาชน ( และอื่นๆอีกมาก ) ต้องเข้มแข็งพอๆกันและอยู่ในจุดสมดุลครับ  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแข็งแรงเกินไป  มันก็เหมือนลูกตุ้มลอยอยู่นอกจุดสมดุลครับ  อยู่ไม่ได้แน่ๆ

ต้องมาช่วยกันดูครับว่าจุดที่สมดุลมันอยู่ตรงไหน ?  เรากำลังลากลูกตุ้มไปไว้จุดที่สูงกว่าจุดสมดุลรึเปล่า  จุดนั้นมันนิ่งไม่ได้หรอกครับ 

ประเทศเราลูกตุ้มมันแกว่งไม่หยุดครับ  อิอิ

 

 

 

สวัสดีครับคุณหมอ P  7. คนชอบวิ่ง

คุณหมอคนชอบวิ่ง:
          ผมมองทฤษฎีลูกตุ้ม ( นาฬิกา )  อีกแบบนึง.....  ลูกตุ้มนาฬิกาควรจะอยู่ในจุดสมดุล  คืออยู่ตรงกลางพอดี  แต่เริ่มต้นเราจะให้มันเริ่มจากสุดด้านนึงแล้วปล่อย   ลูกตุ้มนาฬิกาก็จะแกว่งผ่านจุดสมดุลไปยังอีกด้านหนึ่ง  พอสุดแล้วมันก็จะแกว่งกลับผ่านสุดสมดุลไปอีกด้านหนึ่ง 

มันจะแกว่งช้าลงๆ  และแกว่างน้อยลงๆจนหยุดที่จุดสมดุล  คือไม่แกว่งอีกต่อไปแล้ว  เวลาหมดลาน

ถ้าเราขึ้นลานใหม่แล้วโยกลูกตุ้มใหม่  มันก็จะเริ่มแกว่งใหม่  แต่เมื่อหมดลานมันก็จะกลับมาอยู่ที่ที่มันควรจะอยู่  คือจุดสมดุล   เมื่อหมดลาน  ลูกตุ้มนาฬิกาคงไม่หยุดที่จุดสูงสุด  ด้านใดด้านหนึ่งแน่นอน

บางทราย:
          ผมเห็นด้วยครับคุณหมอ เป็นหลักการที่จินตนาการได้อย่างชัดเจนครับ  แนวคิดนี้ไปตรงกับข้อสรุปที่ผมทำไว้ว่า องค์กรย่อมมีการปรับตัว สังคมก็ย่อมมีการปรับตัว ปรับตัวเพื่อความสมดุล และการปรับตัวก็ใช้เวลาระยะหนึ่ง ช้าหรือเร็วขึ้นกับเงื่อนไขต่างๆ แต่ในที่สุดความสมดุบขององค์กรคือ การยึดกฏระเบียบข้อบังคับ หรือความเห็นพ้องต้องกันของสังคมว่าความเหมาะสมอยู่ตรงไหน นั่นแหละความสมดุล
         

คุณหมอคนชอบวิ่ง:
         
ยกตัวอย่างระบอบการปกครอง  สมมุติด้านหนึ่งเป็นการปกครองแบบเผด็จการ ( ขวาสุด )  อีกด้านหนึ่งก็เป็นเสรีอย่างสุดๆ ( ซ้ายสุด )  ซึ่งจริงๆแล้วในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่เป็นสองสิ่งตรงข้ามกัน  อิอิ  จุดที่เหมาะสม  อยู่ตรงกลางครับ  มันจะอยู่สุดไปข้างใดข้างหนึ่งไม่ได้หรอกครับ  ของจริงมันไม่ได้มีมิติเดียว มันมีหลายมิติ  ระบบราชการ  การเมือง  ภาคประชาชน ( และอื่นๆอีกมาก ) ต้องเข้มแข็งพอๆกันและอยู่ในจุดสมดุลครับ  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแข็งแรงเกินไป  มันก็เหมือนลูกตุ้มลอยอยู่นอกจุดสมดุลครับ  อยู่ไม่ได้แน่ๆ ต้องมาช่วยกันดูครับว่าจุดที่สมดุลมันอยู่ตรงไหน ? 

บางทราย:
          เห็นตรงกันครับคุณหมอ ตอนต่อไปผมกำลังเสนอว่า สังคมเราต้องเปลี่ยนแปลงแน่นอน ไม่มีทางที่จะจับให้มันอยู่นิ่งๆได้ ครั้งหนึ่งนักวิชาการกลุ่มหนึ่งมักจะเหน็บกลุ่มที่มักพูดถึงสังคมดีแบบดั้งเดิมว่า เป็นพวก "Good Old Day" ซึ่งไม่มีทางที่จะกลับไปอยู่จุดเดิมได้  ซึ่งความจริงนี้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป แต่เรากำลังชี้ให้เห็นว่า ของดั้งเดิมที่ดีดีมีอยู่ในสังคมนี้นั้น ควรที่จะเอามาหสมหสานกับของใหม่แล้วสร้างความเหมาะสมใหม่ได้ไหม? ซึ่งก็ตรงกับคุณหมอว่าเราต้องการความสมดุลใหม่...

          ลูกตุ้ม Globalization กำลังสวิงไปสุดๆสมมุติไปทางขวามือ แต่เราก็ชี้จุดดีจุดด้อยของ Globalization ว่ามี ดี  1, 2, 3, 4 และห้า แต่ก็มีด้อย 5, 6, 7, 8 ขณะเดียวกัน สังคมเอทมีของดี a,b,c,d และมีด้อย e, f, g เราจึงต้องการเอา 1,2,3,4, มาผสมผสานกับ a,b,c,d ได้ไหม อย่างไร ฯลฯ..... และหากจะดูว่าอยู่ตรงไหนของ diagram ก็น่าที่จะอยู่ประมาณ Acg2 ครับ...

 

คุณหมอคนชอบวิ่ง:
          เรากำลังลากลูกตุ้มไปไว้จุดที่สูงกว่าจุดสมดุลรึเปล่า  จุดนั้นมันนิ่งไม่ได้หรอกครับ

บางทราย:
           หากถามผม ผมตอบว่า ผมกำลังเสนอให้สร้างแรงเสียดทานทางสังคม เพื่อมิให้การไหลบ่าของ Globalization นั้นรุนแรงเกินไป โดยฟื้นฟูคุณค่าทางสังคมไทยที่เป็นทุนทางสังคมออกมา แต่อยู่ในรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของสังคมปัจจุบันและอนาคต เพื่อมิให้การแกว่งของลูกตุ้มสวิงแรงเกินไป รายละเอียดเรื่องนี้ผมจะกล่าวต่อไปครับคุณหมอครับ

คุณหมอคนชอบวิ่ง:
         
ประเทศเราลูกตุ้มมันแกว่งไม่หยุดครับ  อิอิ

บางทราย:
          ผมเห็นด้วยครับว่าสังคมเราไม่หยุดนิ่ง และจะไม่นิ่งแน่นอน เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมประเทศผูกพันกับต่างประเทศมากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น ยุ่งเหยิงมากขึ้น แรงเหวี่ยงของสังคมก็มีแรงเฉื่อยมากขึ้นด้วย
          การแกว่งของลูกตุ้มของประเทศ ได้สร้างผลกระทบต่อสังคมมากมาย โดยเฉพาะสังคมชนบทและคนยากจน และเขาเป็นกลุ่มคนที่ถูกลูกตุ้มคือแรงเหวี่ยง เหวี่ยงชุมชน เหวี่ยงเขาไปโดยที่เขาไม่รู้ตัว ขาดสติ แม้จะมีสติแต่แรงเหวี่ยงแรงเหลือเกิน  หากไม่มีความเข้มแข็งทางสำนึก เขาย่อมถูกแรงเหวี่ยง สลัดหลุดออกไปจากแกนแห่งชีวิตได้ครับ

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ที่เข้ามาเติมสิ่งสำคัญส่วนนี้ครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

สบายดีไหมค่ะ  ตามมาทักทาย แอบตามคุณหมอมา  

เนื้อหา สาระ แนวคิดชัดเจนตรงประเด็นแบบมองเห็นภาพเป็นขั้นตอนเลยค่ะ 

แต่เห็นด้วยกับคุณหมอในประเด็นการไขลาน และลูกตุ้มกลับมาแกว่ง ขึ้นอยู่ที่กระแสสังคมช่วงนั้นเป็นอย่างไร ขึ้นหรือลง ถ้าขึ้น ก็แกว่งแรงหน่อย ถ้าลงก็ค่อย ๆ แผ่วลงจนถึงจุดสมดุล หรือพูดง่าย ๆ คือวัฎจักรนั่นแหละค่ะ 

ตามมาด้วยความรู้อันน้อยนิด และเพื่อเพิ่มพูดประสบการณ์เรียนรู้ มีอะไรโปรดชี้แนะด้วยนะคะ 

รักษาสุขภาพด้วยนะคะ อิอิ  ขอบคุณค่ะ

 

สวัสดีครับ

  • เป็นแบบจำลองที่สุดยอดมากครับ
  • ถ้าดึง G มาไว้ข้างล่างให้ส่งแรงขึ้นข้างบน และจับประเทศต่าง ๆ มาลากเส้นเทียบกันดู ให้แกน X เป็นเวลา ส่วนแกน Y คือสภาพที่พึงประสงค์ คงได้ภาพที่น่าสนใจไม่น้อยนะครับ

 

สวัสดีครับ P 9. Ranee

 

สวัสดีครับ พี่สบายดีครับ ขอบคุณมากครับ

ราณี:
          แต่เห็นด้วยกับคุณหมอในประเด็นการไขลาน และลูกตุ้มกลับมาแกว่ง ขึ้นอยู่ที่กระแสสังคมช่วงนั้นเป็นอย่างไร ขึ้นหรือลง ถ้าขึ้น ก็แกว่งแรงหน่อย ถ้าลงก็ค่อย ๆ แผ่วลงจนถึงจุดสมดุล หรือพูดง่าย ๆ คือวัฎจักรนั่นแหละค่ะ 

บางทราย:
          กรณีของลูกตุ้ม พี่อาจจะมองว่าน่าจะเป็นแบบจำลองของเหตุการณ์ทางสังคมที่ชัดเจนครับ พี่ก็เห็นด้วย แต่ แบบจำลอง Momentum ของแรงนั้นเป็นแบบจำลองภาพใหญ่ของสังคมประเทศกับสังคมโลกที่เกี่ยวข้องกันอย่างมีผลต่อเนื่อง เช่น โอเปค ขึ้นราคาน้ำมันก็กระทบถึงพ่อชาดีที่ดงหลวงทันที เพราะพ่อชาดีต้องซื้อน้ำมันไปใส่อีแต๊กนั่นเอง นี่คือแรง G จากภายนอกที่กระทำกับสังคมไทย และกระทบต่อคนไทย
          อีกกรณี ประเทศฟินแลนด์ผลิต Nokia แบบ G3 ออกมาแล้วส่งมาโฆษณาในประเทศไทย วัยรุ่นไทยก็กรี๊กกร๊าดกันที่จะอยากมี อยากได้ และหลายคนพยายามหามาเป็นของตนเองจนได้ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ในสินค้าตัวใหม่ของ Nokia นั้นเป็นแรง G ทั้งภายนอกและภายใน ไปกระตุ้นต่อมทันสมัยของวัยรุ่น ก็เกิดการแกว่งของลูกตุ้มในเรื่องค่านิยม ความทันสมัยทันที นี่คือแรงที่กระทำกับสังคมไทยครับ
          คุณหมอถามหาความสมดุล พี่เองก็เห็นตรงกันว่าเราต้องให้เยาวชนมีสติในการพิจารณารับแรงเหวี่ยงนี้ของลูกต้ม (ซึ่งยากส์...) แต่ในฐานะคนทำงานพัฒนาต้องคิด ต้องทำ มากน้อง ได้ไม่ได้ก็ต้องทำ ลองทำ ลงมือทำ อย่างใดอย่างหนึ่งน่ะครับ เพื่อลดแรงเหวี่ยง และหาทางลดอัตราการแกว่งให้น้อยลงมา คงไม่มีทางที่ลูกตุ้มหยุดนิ่งน่ะครับ

ราณี:
          ตามมาด้วยความรู้อันน้อยนิด และเพื่อเพิ่มพูดประสบการณ์เรียนรู้ มีอะไรโปรดชี้แนะด้วยนะคะ  รักษาสุขภาพด้วยนะคะ อิอิ  ขอบคุณค่ะ

บางทราย:
          เรื่องนี้ไม่มีใครเชี่ยวชาญหรอกครับ เพียงเอามุมมองของตนเองมาแลกเปลี่ยนกันน่ะครับ ไม่มีผิด ถูก ครับ มุมมองคุณหมอพี่ก็ชอบมากๆ จะเอาไปคิดต่อด้วยครับ

ขอบคุณครับ คิดถึงน้องนีนาจังเลย..ครับ

สวัสดีครับ  P 10. เด็กข้างบ้าน

เด็กข้างบ้าน:

  • เป็นแบบจำลองที่สุดยอดมากครับ
  • ถ้าดึง G มาไว้ข้างล่างให้ส่งแรงขึ้นข้างบน และจับประเทศต่าง ๆ มาลากเส้นเทียบกันดู ให้แกน X เป็นเวลา ส่วนแกน Y คือสภาพที่พึงประสงค์ คงได้ภาพที่น่าสนใจไม่น้อยนะครับ

บางทราย:

  • เป็นแนวคิดที่น่าสนใจครับ ที่ลองเอา G มาไว้ข้างล่าง..... 
  • แบบจำลองนี้ไม่ใช่ความสมบูรณ์ของทั้งหมด เป็นเพียงนำปรากฏการณ์ทางสังคมมาทำแบบจำลองตัวอย่างเท่านั้น เพื่อทำความเข้าใจกับมัน และหากเราทำแบบจำลอง บางทีเราก็สามารถมีมุมมองที่คิดต่อได้อีกตั้งหลายอย่าง
  • เช่น  เราเห็นแบบจำลองว่า หากแรง G มีมาก สังคมไทยก็จะออกห่างจากเส้นแนวสังคมเดิม A5-Ac ไปมากขึ้นทุกที เราไม่รู้ว่าแนวใหม่นั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร  แต่สิ่งดีดีของเดิมของเรามีมาก ที่เราเรียก ทุนทางสังคมน่ะครับ เราก็คิดต่อ จะลดแรง G ได้อย่างไรบ้าง เช่น การนำเข้าในสิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต ลด หรือควบคุมการปลุกเร้าให้มีการซื้อสินค้าลดลง นั่นคือการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาเกินจริง อะไรบ้างที่เป็นแรง G จำแนกแยกแยะออกมา แล้วควบคุมได้บ้างไหม...เพื่อลดการสวิงของสังคมน่ะครับ

ขอบคุณมากครับ

 

เรียนเพื่อนๆครับ ตอนสองคงได้ลงรายละเอียดครับ ตอนแรกเอาหลักการ หรือแนวทางก่อนครับ

สวัสดีเจ้าค่ะ ลุงบางทรายจ๋า

ลุงจ๋า ทำอะไรอยู่เจ้าค่ะ คิดถึงงงงงงง กอดดดดดดดดดด รักลุงที่สู๊ดดดด รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---->น้องจิ ^_^

สวัสดีเจ้าเด็กน้อย P  14. โก๊ะจิจัง แซ่เฮ ^๐^!

 

ลุงสบายดีเจ้าค่ะ หวังว่าหนูสบายดีนะ ปรับตัวได้แล้วนะ ต่อไปก็วิ่งปรู๊ดเลยซิ ....

คิดถึงหนูเจ้าค่ะ...

 

ถ้าพอจะเห็นด้วยกับแนวคิดลูกตุ้มนาฬิกา  ก็ต้องระวังไม่โยกลูกตุ้มให้สูงเกินไปและบ่อยเกินไป  เพราะมันจะแกว่งไปแกว่างมาอีกนานกว่าจะหยุด  ยิ่งยกสูงเท่าไหร่  มันก็แกว่งสูงตามไปด้วย  เสียเวลาเปล่าๆ  อิอิ

คุณหมอครับ

  • ฮ้า......ผมไม่อยากแกว่งหรอกครับ อยากจะจับให้มันหยุดต่างหาก
  • แต่มันจับได้ แต่ไม่หยุดน่ะซี อิอิ
  • ขอบคุณครับ

ท่านบางทรายไม่ได้ทำ  รู้ว่าใครทำอยู่  หรือกำลังจะทำ  ช่วยไปเตือนด้วยนะครับ 55555

 

 

คนชอบวิ่ง :
          ท่านบางทรายไม่ได้ทำ  รู้ว่าใครทำอยู่  หรือกำลังจะทำ  ช่วยไปเตือนด้วยนะครับ 55555

 

บางทราย:
          อะจื๊ยยยยยยย....  อยากจะทำจังเลยครับคุณหมอ สังคมนี้ แม้ตัวผมจะใหญ่ (อ้วน อิอิ..) แต่ไม่มีบารมี ผมเป็นเพียงคนหนึ่งเท่านั้นเองครับ...  ได้แต่ภาวนาให้สังคมนี้เย็นลงและสงบโดยเร็ว
          แต่มุมหนึ่งมันก็เป็นธรรมชาติของการเคลื่อนตัวของสังคม ที่ระหว่างทางเดินนั้น หรือระหว่างที่สังคมขยับตัวนั้น ย่อมที่จะส่งผลสะเทือนไปถึงองคาพยพโดยรวมด้วยน่ะครับ
          แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณหมอกล่าวถึง ก็จะพยายามทำมากกว่าการภาวนาครับ อิอิ.. แต่ไม่รับรองผลนะครับ

อรุณสวัสดิ์ค่ะ พี่ท่านบางทราย

* มาด้วยความคิดถึง  ..

* อย่างอื่นอาจจะเปลี่ยนแปลง

* แต่ ความปรารถนาดี ความรัก

ด้วยจิตคารวะ ต่อพี่ท่าน ยังเหมือนเดิมค่ะ

... แค่นี้นะคะ ... รักษาสุขภาพค่ะพี่ท่าน

สวัสดีครับ พี่บางทราย

       แบบจำลองที่ให้ไว้ใช้เป็นจุดตั้งต้นในการคิดได้ดีทีเดียวครับ อย่างไรก็ดี ผมมีข้อสังเกตเล็ๆ น้อยๆ

  • น่าสนใจว่า มีแต่แรง G คือ พลังจากการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกกระทำต่อสังคมไทย (แทนด้วย A1, A2,..., Ac,...) ซึ่งน่าถามต่อว่า แล้วสังคมไทยมีแรงโต้กลับไปยังภายนอกบ้างไหม
  • ในกรณีสุดโต่ง : ถ้าเราไม่มีแรงโต้กลับ (หรือมีน้อยมาก) ก็ย่อมที่จะโดนกระทำอยู่ฝ่ายเดียว
            ถ้าเขาสะกิดเบาๆ ก็เซนิดหน่อย (เช่น กรณี USA จับตาเราในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา หรืออย่างเช่น FED ปรับอัตราดอกเบี้ยทีไร ก็มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยบ้านเราแทบจะทันที)
            แต่ถ้าเขาซัดเราหนักหน่อย ก็เซมากหน่อย (เช่น กรณีเขาพระวิหาร ทั้งอดีต...เซมาจนถึงปัจจุบัน...และอาจจะเซต่อไป)
  • มองกลับมาในสังคมไทยเอง แม้จะไม่มีแรง G จากภายนอกมากระทำ แต่ด้วยความเคลื่อนไหว (พลวัต) ภายในของสังคมเอง ก็มักจะมีเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงปะทุขึ้นมาเป็นระยะๆ อยู่แล้ว...

    เดี๋ยวจะรออ่านตอน 2 ด้วยใจระทึกครับ ^__^

 

สวัสดีครับน้อง P 20. poo

* มาด้วยความคิดถึง  ..

* อย่างอื่นอาจจะเปลี่ยนแปลง

* แต่ ความปรารถนาดี ความรัก

ด้วยจิตคารวะ ต่อพี่ท่าน ยังเหมือนเดิมค่ะ

... แค่นี้นะคะ ... รักษาสุขภาพค่ะพี่ท่าน

 

ขอบคุณหลายๆเด้อครับ น้องสาวที่คิดฮอดเช่นกัน

พี่ปกติดีครับ ทานยาละลายนิ่วทุกมื้อหลังอาหาร อื่นๆปกติ 

ที่ไม่ค่อยดีคือเป็นห่วงประเทศไทย ...อิอิ.. 

สวัสดีครับอาจารย์ P 21. บัญชา ธนบุญสมบัติ

       แบบจำลองที่ให้ไว้ใช้เป็นจุดตั้งต้นในการคิดได้ดีทีเดียวครับ อย่างไรก็ดี ผมมีข้อสังเกตเล็ๆ น้อยๆ

แหม คุยเรื่องนี้กับอาจารย์ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจริง สายตรง ผมเลยเขินเลยครับ.....

เป็นการตั้งสมมติฐานที่ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและอธิบายให้เพื่อนๆเข้าใจครับโดยเฉพาะเพื่อนๆ หรือน้องๆที่มาจากสายวิทย์ เวลาเอาเรื่องสังคมมาอธิบายมักจะเหมือนปูในกระด้งครับ และแบบจำลองนี้ช่วยได้ดีพอสมควรครับ 

  • น่าสนใจว่า มีแต่แรง G คือ พลังจากการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกกระทำต่อสังคมไทย (แทนด้วย A1, A2,..., Ac,...) ซึ่งน่าถามต่อว่า แล้วสังคมไทยมีแรงโต้กลับไปยังภายนอกบ้างไหม

นี่แหละครับเป็นบทเรียนที่เอามาบูรณาการได้ดีทีเดียวโดยเอานักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ นักประวัติศาสตร์สังคม และนักทั้งหลายมาลำดับเหตุการณ์ต่างๆในอดีตมาบรรยายแล้วดูปฏิกริยาสังคมไทยต่อต้าน....สนุกจะตายหากเอาแบบจำลองนี้มาเป็นตัวตั้งแล้วเอา Historical profile มาใส่เข้าไปก็จะพบความเป็นจริงขิงสังคมไทยเคลื่อนตัวมาอย่างไร เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

มีแน่นอนครับ หากเอาเพียงบันทึกที่มีอยู่นั้นก็เช่นความคิดเห็นของกษัตริย์ของไทยหลายพระองค์แสดงความเห็น รับและต่อต้านเสมอต่อการเข้ามาของแรงจากภายนอก นับตั้งแต่สมัยลพบุรี อยุธยา มาเลยทีเดียว...น่าจะมีนักศึกษาปริญญาโทศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังนะครับ...สำหรับผมเองรู้เพียงคร่าวๆ ไม่สามารถหยิบเอารายละเอียดมาอ้างอิงได้ในตอนนี้ครับ..

  • ในกรณีสุดโต่ง : ถ้าเราไม่มีแรงโต้กลับ (หรือมีน้อยมาก) ก็ย่อมที่จะโดนกระทำอยู่ฝ่ายเดียว
            ถ้าเขาสะกิดเบาๆ ก็เซนิดหน่อย (เช่น กรณี USA จับตาเราในประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา หรืออย่างเช่น FED ปรับอัตราดอกเบี้ยทีไร ก็มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยบ้านเราแทบจะทันที)
            แต่ถ้าเขาซัดเราหนักหน่อย ก็เซมากหน่อย (เช่น กรณีเขาพระวิหาร ทั้งอดีต...เซมาจนถึงปัจจุบัน...และอาจจะเซต่อไป)

เป๊ะเลยอาจารย์ครับ  ผมสร้างแบบจำลองนี้ขึ้นมาให้ในรูปหลักการของแรง  เพื่อให้ง่ายต่อการคิดหาทางแก้ปัญหา  นั่นคือ เราต้องประเมินค่าของแรงที่มากระทำว่าเรื่องนี้มีคุณหรือมีโทษ หรือมีทั้งคุณและโทษแก่บ้านเราแค่ไหนอย่างไร แล้วมาพิจารณาว่า หากแรงนั้นๆเป็นโทษ เราจะเอาแรงอะไรที่เป็นภายในของเรามากระทำต่อ เพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดความเหมาะสมที่สุดแก่สังคมเรา ประเทศชาติของเรา

ผมทำงานพัฒนาชนบท เห็นแรงกระทำของสังคมใหญ่ต่อชนบทมากมาย  และแรงต้านของชนบทอ่อนแอมากๆ แม้ที่นักสังคมกล่าวว่าเรามีทุนทางสังคม  แต่ทุนทางสังคมเราอ่อนตัวลงทุกวัน ในอัตราเร่งซะด้วย  แล้วจะเอาแรงต้าน(เพื่อสร้างสมดุลใหม่ที่เหมาะสม)มาจากไหน  ผมต้องไปสร้างแรงจากสำนึก  หรือก้าวไปอีกขั้นหนึ่งของการสร้างคน มิใช่เพียงเอาความรู้เท่าทันไปให้ชาวบ้านเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอซะแล้ว ดังนั้นกระบวนการพัฒนาชนบท กระบวนการพัฒนาคนต้องปรับฐานหลักสูตรใหม่ เพื่อสร้างกระบวนการให้เกิดพลังทางสำนึกขึ้นแล้วแปรไปเป็นแรงต้านที่เหมาะสมต่อแรงกระทำจากภายนอกครับ (แบบคร่าวๆครับ)

  • มองกลับมาในสังคมไทยเอง แม้จะไม่มีแรง G จากภายนอกมากระทำ แต่ด้วยความเคลื่อนไหว (พลวัต) ภายในของสังคมเอง ก็มักจะมีเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงปะทุขึ้นมาเป็นระยะๆ อยู่แล้ว...

ใช่แล้วครับอาจารย์  แต่ พลวัตของสังคมไทยอ่อนแอ หรือไม่มีพลังมากเพียงพอหรือเปล่า..???? เช่น วัยรุ่นหลงไหลค่านิยมสมัยใหม่จนหลุดโลก... กระบวนการคัดกรองค่านิยม(ค่านิยมคือแรงกระทำจากภายนอกโดยหน่วยภายในเองคือระบบธุรกิจ..)ของเราไม่ดีเพียงพอ การศึกษา ครอบครัว สถาบัน ทุกองค์คาพยพของโครงสร้างสังคมรวมตัวกันสร้างพลวัตแรงต้านที่เหมาะสมอย่างไร แค่ไหน มีพลังหรือไร้พลังอย่างไร  เมื่อเอาหลักการนี้มาจับแล้วก็อ่อนใจนะครับอาจารย์

อุย...ถกเรื่องนี้ก็มันน่ะซี อาจารย์

ขอน้อมรับคำชี้แนะจากอาจารย์ด้วยนะครับในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวจริง  แนวคิดทฤษฎีของแรงอาจช่วยชี้แนะทางแก้ไขที่เราคิดไม่ถึงจากฐานทางมุมมองทางสังคมก็ได้ครับ อาจารย์ครับ ผมนั้นกระหายที่จะได้มุมมองที่แตกต่างออกไปและมีพลังในการที่ผมจะเอาไปแปรเป็นงานในการพัฒนาสังคม แม้จะเล็กๆในชนบท แต่ก็อาจจะสร้างตัวแบบที่สำคัญก็ได้ครับ

    เดี๋ยวจะรออ่านตอน 2 ด้วยใจระทึกครับ ^__^

ผมพยายามอยู่ครับ มันมีงานอื่นมาแซงคิวไปหมด อิอิ..

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาต่อยอด สำคัญมากเลย

ทักทายวันอาทิตย์สดใสค่ะพี่ท่าน

*  ...

* ห่วงประเทศไทย แต่ฟันเฟืองเล็กๆอย่างปู ทำอะไรได้คะ ...

* รอองศาใหม่ ของการเปลี่ยนแปลงค่ะ ได้แต่หวัง เชื่อมั่น ค่ะ

* ....

รวมพล คนรักชาติไทย

ยืนหยัด ในความเป็นไท

อย่าให้ใครมาย่ำยี

ศักดิ์ศรีต้องมาเป็นหนึ่ง ...

...

ยึดมั่นเพื่อความถูกต้อง

สนองตอบแทนคุณชาติ

แม้ใครที่คิดบังอาจ

ถึงฆาตถึงชีพมลาย ไร้ตัวตน

* ...

* อยุธยาไม่สิ้นคนดี รัตนโกสินทร์ยามนี้ คงเช่นกัน กระมังคะ ?

* ทุนทางสังคมที่พี่ท่านกล่าวไว้ ... คงจะรวมตัวกันก็ครานี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท