เรื่องเล่าจากดงหลวง 82 ชาผักหวานป่า


เพื่อนคนนี้เขาทดลองคั่วใบผักหวานป่าด้วยเตาไมโครเวฟมาก่อนแล้ว และทดสอบจนเป็นชาผักหวานป่าที่น่าพอใจ เอามาทดลองชงดื่มกันทั้งสำนักงานก็คิดว่าใช้ได้ กลิ่นหอม และสามารถกิน “ใบชา” ได้เลย

ผู้บันทึกพยายามติดตามการเติบโตของผลผักหวานป่า เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ผมก็จะแวะไปที่สวนหมอธีระ ผู้รู้ด้านผักหวานป่าแห่งดงหลวง ก็ได้รูปมาฝากครับ ตอนนี้เขาอายุประมาณ 3 เดือนแล้วก็เริ่มสุกแล้วครับ ผิวออกเหลืองแล้ว   

เราลองมาตามดูนะครับว่าการสุกเต็มที่นั้นจะใช้เวลายาวนานเท่าไหร่ สีของเขาจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างครับ วันนี้ก็เอามาฝากให้เพื่อนๆได้เห็นกัน เพราะน้อยคนจริงๆที่จะมีโอกาสเห็น เพราะปกติเขาอยู่ในป่า บนภูเขาสูงครับ  

วันนี้ผู้บันทึกเอาความพยายามของชาวบ้านดงหลวงที่จะทดลองแปรรูปผักหวานป่าเป็น ชาผักหวานป่ามาเล่าสู่กันฟังครับ ก็เป็นการลองผิดลองถูกแบบพื้นบ้าน เพราะดงหลวงเป็นดงผักหวานป่า แม้ว่าจะมีวิกฤติตามที่ผู้บันทึกเล่าให้ฟังแล้ว แต่ก็หาทางแก้ไขกันไป ส่วนที่ไม่มีปัญหาก็คิดอ่านกันว่า นอกจากเราจะเอายอดมาทำอาหารรับประทานกันแล้วน่าที่จะเอามาทำชาผักหวานป่าดูบ้าง เราได้ยินมีคนทำแล้วและสามารถจำหน่ายได้  เราได้เห็นคนทำชาใบหม่อนและสามารถเป็นธุรกิจขึ้นมาแล้ว เรามาลองเอาวัตถุดิบท้องถิ่นบ้านเรามาทำดูบ้าง  

วิธีการก็เป็นแบบพื้นบ้านง่ายๆ จริงๆ คือใช้หม้อดินมาคั่วใบผักหวานป่า ด้วยมือบนกองไฟอ่อนๆ  คั่วไปมันก็ร้อนมือ ก็ต้องผลัดกันหลายคนจนกว่าใบผักหวานป่าจะแห้งพอดีและมีกลิ่นหอม  

มันเป็นความพยายามครั้งแรก ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนเลย ไม่มีวิทยากรจากที่ไหนมาสอน ใช้ความเข้าใจพื้นฐานของเพื่อนคนหนึ่งผู้สนใจเรื่องนี้  ซึ่งก่อนหน้านี้ เพื่อนคนนี้เขาทดลองคั่วใบผักหวานป่าด้วยเตาไมโครเวฟมาก่อนแล้ว  และทดสอบจนเป็นชาผักหวานป่าที่น่าพอใจ เอามาทดลองชงดื่มกันทั้งสำนักงานก็คิดว่าใช้ได้ กลิ่นหอม และสามารถกิน ใบชาได้เลย  เราไม่รู้ว่ามีคุณค่าทางสมุนไพรอย่างไรบ้าง หรือคุณค่าทางโภชนาการ อย่างไรบ้าง เพราะยังไม่ได้ส่งให้นักวิชาการวิเคราะห์  แต่ก็เป็นการทดลองทำดูก่อน...

บางทีเราก็ไม่สามารรอกระบวนการเรื่องดังกล่าวได้  รู้เพียงว่ามันไม่มีพิษมีภัยแก่ร่างกาย ตรงข้ามน่าจะมีประโยชน์   

แต่พบว่ากว่าจะได้ชาผักหวานป่า 1 กิโลกรัม เพื่อนบอกว่าจะต้องใช้ใบผักหวานป่าสดจำนวน 4-5 กิโลกรัม ??  ไม่น่าคุ้มราคาเลยหากจะทำขาย  แต่ก็ได้ทราบว่ามีคนสั่งซื้อหลายกิโลแล้วครับ??

คำสำคัญ (Tags): #ชาผักหวานป่า
หมายเลขบันทึก: 92980เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2007 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

เพิ่งรู้ว่ามีชาผักหวานค่ะ รสชาติเป็นอย่างไร หอมไหมค่ะ อยากเห็นตอนเป็นชาจัง อิ อิ อยากชิมค่ะ

สวัสดีครับน้องราณี

ในทัศนะพี่คิดว่า ชาผักหวานป่าก็หอมแบบเรียบๆ แต่ไม่ถึงกับชาจากใบชาจริงๆ รสชาติก็ดื่มง่ายกว่าชาจริงๆ  ครับหากมีโอกาสจะแนะนำให้ลองชิมครับ

ช่วงนี้เพิ่มจะทดลองทำ เอาไว้พัฒนาฝีมือขึ้นมาแล้วคงจะยกระดับคุณภาพมากขึ้นครับ

  • พี่ไพศาลคะ...
  • ยัยเสื้อเขียวเพิ่งกลับมาจากกรุงเทพนะเนี่ย
  • อยากทานผักหวานจังค่ะพี่     ว่าแต่ชาผักหวานนี่อร่อยมั้ยคะ  อยากชิมเช่นกัน  
  • สวัสดีครับ
  • ยังไม่เคยชิมชาผักหวาน
  • แต่ผักหวานชอบทานมากครับ
  • ถึงแม้เมืองไทยไม่มีฤดูใบไม้ผลิ
  • แต่หน้าแล้งของอีสาน  ผมว่ามีไม่น้อยที่ป่าทั้งป่าแตกใบเป็นสีเขียวพร้อมเพรียงกัน...
  • ผักหวานก็ถือเป็นราชินีของภูผาในหน้าร้อนและแล้งของบ้านผมเหมือนกัน
  • ขอบคุณครับ
พี่บางทรายค่ะ อยากถามว่าถ้าเรานำไปอบแห้ง แล้วจะนำไปทำกับข้าวในนอกฤดูผักหวานได้ไหม เผื่อเอาไปเมืองนอก

สวัสดีครับพี่บางทราย

  • พี่สบายดีนะครับ
  • เข้ามาติดตามผักหวานครับ
  • ผมยังนึกอยากทราบวิธีการขยายพันธุ์ของต้นผักหวานครับ
  • ป่าดงหลวงมีอะไรให้ศึกษาอีกเยอะเลยนะครับ
  • ขอเป็นกำลังใจให้คนสู้ชีวิตเพื่อชุมชนนะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

สวัสดีจ่ะน้องอ.ลูกหว้า

เอาไว้พัฒนาได้ที่แล้วจะส่งมาให้ชิมพร้อมน้องเสื้อเขียว  แล้ววิจารณ์ให้ด้วย เพื่อนที่เขาริเริ่มนี้ เขาสนใจและตั้งใจมากเลยครับ

สวัสดีครับคุณแผ่นดินครับ

โอโฮ...ผมชอบคำนี้จัง ผักหวานป่าราชินีของภูผาในหน้าร้อนและแล้ง   

ชาวบ้านกล่าวว่าผักหวานป่าจะแตกใบอ่อนไปเรื่อยๆจนถึงเดือนมิถุนายนครับ แต่ปริมาณน้อยลงครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

ชอบผักหวาน แต่ไม่เคยทานชาผักหวานค่ะ

ป่าดงหลวงนี้ มีอะไรดีๆนะคะ น่าทึ่งจัง

  • น้องราณีครับ
  • ถ้าเรานำไปอบแห้ง แล้วจะนำไปทำกับข้าวในนอกฤดูผักหวานได้ไหม เผื่อเอาไปเมืองนอก  ได้หรือไม่
  • พี่คิดว่าได้เลย  ได้เลย เพราะ
  1.  เท่าที่พี่สังเกตชาผักหวานป่าที่เพื่อนและชาวบ้านทำนั้น เมื่อชงแล้ว จำนวนมากกลับมาเขียวเหมือนสดๆอยู่เลยครับ
  2. หากเรามีหลักการคั่วให้พอเหมาะน่าที่จะเก็บแห้งได้เลย และเอาไปกินนานๆได้  good idea ครับ

สวัสดีน้องเม้งของเรา

  • ใช่ครับป่ามีอะไรอีกมากที่เรายังไม่ได้สัมผัส
  • การขยายพันธุ์ผักหวานป่าที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการ "ขยายด้วยเมล็ด" หรือผล ดังรูปที่เสนอ  แต่อัตราการตายก็ยังมีมากอยู่  นอกนั้นวิธีที่รองลงมาก็คือ "การตอน" แบบของหมอธีระเจ้าของสวนผักหวานป่าดงหลวงที่ใช้วิธีตอนครับ
  • พยายามคิดวิธีเพาะเนื้อเยื่อ แต่ไม่ได้เพราะวิธีนี้จะไม่มีรากครับ ซึ่งไม่ใช่ธรรมชาติของผักหวานป่าครับ
  • ขอบคุณมากน้องชายเม้งของเรา

สวัสดีครับท่านsasinanda

  • ทางเพื่อนและกลุ่มชาวบ้านเพิ่มเริ่มทดลองทำกันครับ แบบลูกทุ่ง  กำลังคิดว่าต้องเรียนจากผู้รู้วิธีการทำชาครับ เห็นว่าที่ภาคใต้มีผู้รู้ที่เก่งอยู่ที่ปัตตานี??? และที่ภาคเหนือ ถิ่นชาจากใบเมี่ยงครับ
  • หากพัฒนาได้ดีขึ้นแล้วอาจจะส่งมาให้ทุกท่านช่วยวิจารณ์ครับ
  • ขอบคุณครับ
ส่งมาทางนี้ไว้แช่เย็นดื่มคลายร้อนสักขวดดิครับ
  • คิดไว้อยู่ครับหากเพื่อนทำชุดใหม่เสร็จภายหลังที่ทำส่งให้ผู้ที่สั่งไปเชียงใหม่แล้วนะครับ ก็กะว่าหากผักหวานป่ายังเก็บได้อยู่ก็จะทำให้เพื่อนๆชิมกัน เพื่อช่วยวิจารณ์ครับ

สวัสดีค่ะท่าน  บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

  • ในนามครูผู้สอนภาษาอังกฤษขอชมเชยว่า....It's very interesting thing .
  • ในนามของคนไทยคนหนึ่งขอชมเชยว่า......เป็นสิ่งที่น่าชื่นชมมาก  จดลิขสิทธิ์หรือยังคะ...เยี่ยม
  • ในนามการเป็นมิตรรัก...จะได้ลิ้มรสชาติน้ำชาผักหวานป่าไหมนี่

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ดิฉันไม่ใช่นักดื่มชา แต่เห็นชื่อชาแล้วน่าจะอร่อยค่ะ ยิ่งเห็นว่าเป็นการพัฒนาจากภูมิปัญญาคนไทยแล้ว ยิ่งชื่นชมมากเลยค่ะ

ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังค่ะ

สวัสดีค่ะ....ไม่อยู่บ้านหลายวันเพิ่งกลับจากพิษณุโลก ไปเรื่องงานKMเครือข่ายเบาหวาน มีเรื่องดีๆอยากเล่าตั้งหลายเรื่อง เอาเป็นว่ามารายงานตัวก่อนนะคะ เห็นพี่บางทรายตามไปอ่านเรื่องของน้องคุณนายฯที่เขียนไว้แรกๆด้วย ต้องขอบคุณมากค่ะ

พอทราบว่าพี่สนใจIKมานาน คิดว่าพี่ต้องชอบหนังสือที่น้องคุณนายฯเขียนแน่ๆ (ปริศนาแห่งภูมืปัญญาท้องถิ่น)เพราะเสนอมุมมองแบบไทยที่ต่างจากที่ฝรั่งมอง

เห็นพี่ๆเขานั่งคั่วชาใส่ผ้าย้อมครามด้วย เป็นคนรักผ้าย้อมครามมากๆ หนึ่งในเรื่องเล่าในหนังสือเป็นเรื่องผ้าย้อมครามจากคุณยายฑีตาและจิ๋วลูกสาว เอาไปเล่าที่ไหนทั้งเมืองไทยเมืองนอกทึ่งกันทุกที่(แกล้งให้พี่บางทรายอยากอ่าน)

ไม่ต้องไปหาหนังสือที่ไหนนะคะน้องคุณนายฯจะส่งมาให้เร็วๆนี้

เป็นคนชอบดื่มชาแปลกๆที่ไม่จำกัดเฉพาะใบชาแท้ๆ ที่จริงชอบชาแปลกๆและชาผสมโน่นผสมนี่มากกว่าชาแท้ๆแบบชาจีนเสียอีกค่ะ เลือกมาชงดื่มตามอารมณ์

เรื่องการคั่วชาผักหวานอยากให้ได้คุยกับ"โครงการดอยน้ำซับ" เป็นเอ็นจีโอ เขาทำงานกับชาวบ้านที่เชียงราย มีผลิตภัณฑ์ที่เขาพัฒนาเกี่ยวกับชาหลายตัว เรื่องชาผักหวานทำให้นึกถึง"ชาใบมะกล่ำ"ของชาวเขา ที่โครงการทำมาขายเคยซื้อมาชงดื่ม หอมใบไม้คั่วที่มีกลิ่นเฉพาะตัว และมีรสหวานชุ่มคอ

ที่ติดต่อนะคะ (น้องคุณนายฯเคยไปเรียนนวดไทย คอ บ่า ไหล่ กับเขาด้วยล่ะ เอาไว้ใช้กดตู้เอทีเอ็มข้างกายได้คล่องๆค่ะ :)

โครงการดอยน้ำซับ 505 ลาดพร้าว 48 สามเสนนอก ห้วยขวาง กทม.

โทร. 02 939 8167 และ 02 513 9086

โทรสาร 02 9398168

www.doinumsub.com

[email protected] 

Project Manager ชื่อคุณดุษฎี สุทธิเลิศ โครงการนี้น่าสนใจมากจนฝรั่งเชิญเธอให้เรียนปริญญาเอกที่ฮาวายแน่ะ

ลองติดต่อดูนะคะ

อะไรที่ดีๆต้องช่วยกันบอกต่อค่ะ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

เข้ามายิ้มดีใจกับอีกก้าวของผักหวานป่าค่ะ

เห็นภาพแล้ว.. อยากลองชิมชาผักหวานป่า..และน่าจะทำแบบส่งออกได้เหมือนที่คุณราณีว่าจริงๆแหละค่ะ แต่ติดใจการขยายพันธุ์ถ้าก้าวข้ามปมนี้ได้น่าจะไปได้ดีเลยนะคะ

ขอบคุณที่ทำให้วันนี้เบิร์ดมีความสุขค่ะ 

สวัสดีครับสิริพร กุ่ยกระโทก

  • โฮ ให้เกียรติกันหลาย..โพด.. Thanks
  • ยังไม่ได้คิดถึงลิขสิทธิ์หรอกครับ คงยังห่างไกลอยู่ แต่เป็นความคิดที่ดี ที่จะนำไปคุยกับชาวบ้าน
  • หากผลิตได้มากพอจะส่งให้ชิมแน่นอนครับ
  • ขอบคุณหลาย...เด้อครับ

สวัสดีครับอาจารย์ กมลวัลย์

  • เรากระตุ้นให้ชาวบ้านเขาคิดอะไรที่หลากหลายขึ้น  แม้ว่าจะไม่สำเร็จ หรือสำเร็จระดับหนึ่ง กระบวนการคิด การทำก็จะติดตราตรึงใจเขาบ้าง  แล้วหลักอันเดียวกันเข่น่าที่จะนำไปคิดในเรื่องอื่นๆต่อไปครับ อาจารย์
  • พวกเราคิดว่าเริ่มอะไรสักอย่าง ก็ได้ที่เป็นสิ่งใกล้ตัว และมีวัตถุดิบในท้องถิ่น สร้างสรรค์อาชีพใหม่รายได้ใหม่ขึ้นมา แม้ว่าเราไม่ใช้พ่อค้าที่มีความชำนาญทางการผลิตเพื่อการค้าขาย แต่ความรู้พื้นฐาน และการเริ่มต้นแบบพี้นฐานน่าที่จะช่วยให้กระบวนการนี้ติดหูติดตาชาวบ้านได้บ้างแม้ไม่ทั้งหมดครับ

สวัสดีครับ คุณนายดอกเตอร์

  • แหมคุณนายเป็นอะไรที่ช่วยเหลือกันดีแท้  ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ทั้งหมดทุกเรื่องเลย ไม่ว่าหนังสือที่กล่าวถึง เพราะไปถามร้านดอกหญ้า ถามร้านนายอินทร์ ไม่มีครับ หากจะส่งไปให้ก็ดีใจมาก และขอบคุณมาก
  • เห็นผ้าห่มกายที่รูปแล้วหละ เดาว่าต้องเป็นคนชอบผ้าไทยพื้นบ้านมาก  คนข้างกายที่บ้านก็เช่นกันเสื้อผ้ามีแต่ย้อมครามทั้งนั้น ไม่ว่าเธอจะไปประชุมระดับไหน จนเข้าหมู่บ้านก็ย้อมคราม เอาไปร้านซักแห้งเขาบอกว่า ไม่ต้องทำบัตรแล้วรู้ว่าเป็นของใคร และลูกค้าคนอื่นๆก็ถามว่านี่เสื้อใคร.. ตัวเองก็สนใจแบบห่างๆ ยังคิดว่าแก่เฒ่ามาอยากจะจับเรื่องนี้กัน  เคยได้ยินข่าวว่าย้อมครามมีการพัฒนาไปไกลแล้วเป็นธุรกิจใหญ่ไปแล้ว แต่ไม่ได้ติดตามครับ
  • เรื่องชา หากผักหวานป่ายังเหลือมากพอ และชาวบ้านยังไม่รีบลงนา (ฝนตกแล้วกก็เริ่มลงนากัน) จะลองให้ชาวบ้านพัฒนากระบวนการขึ้นไปอีก  ขอบคุณมากที่ส่งข้อมูลผูที่มีประสบการณ์เรื่องนี้ จะติดต่อในวันจันทร์ดูครับ หากเป็นไปได้ก็อาจจะเชิญเขามาสาธิตดู หรืออย่างไรก็จะต้องคุยถึงความเหมาะสมก่อนครับ หากได้ชางวดต่อต่อไปจะส่งมาให้ชิมครับ แล้วช่วยวิจารณ์
  • คืนนี้จะเข้า web ดูงานของคุณดุษฎีก่อนครับ
  • ขอขอบคุณหลาย หลายที่ให้ข้อมูล ส่งหนังสือ และอีกมากมาย ขอบคุณครับ
  • เรื่อง IK เนื่องจากว่าเราผ่านชนบทมามากพอสมควรเห็น IK ผ่านหูผ่านตาก็มาก แต่ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไหร่  จึงอยากศึกษา ท่านที่ทำการศึกษามาก่อนแล้วว่าเป็นอย่างไรบ้าง เผื่อมีแนวที่จะต่อยอด หรืออื่นๆที่เกี่ยวกับ IK ครับ

สวัสดีครับน้อง เบิร์ด

  • จะส่งให้ชิมแน่นอนหากผักหวานป่ายังเหลือมากพอนะครับ
  • พี่ก็ว่าอย่างนั้นแหละ "การทำแห้ง" แล้วเอามาทำอาหารทีหลัง เป็นเรื่องง่ายๆที่เขาทำหน่อไม้ และอย่างอื่นกันมาแล้ว เพียงแต่เรายังไม่ได้ทดลองทำและยังไม่ได้ศึกษารายละเอียดเรื่องนี้อย่างจริงจัง
  • เป็นแง่คิดที่จะต้องเอาไปสานต่อครับ
  • นึกว่าเห็นผลผักหวานป่าแล้วอยากกิน..อิ อิ กินได้นะ เห็นชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าสมัยอยู่ป่าเอาลูก หรือ ผล ผักหวานป่ามานึ่งแล้วกินเมล็ดใน  เข้าใจว่าไม่เอร็ดอร่อยจึงไม่มีใครทำต่อ แต่คนเข้าป่าสมัยก่อนนั้นอดอยากมากกว่า จึงต้องกินทดแทนอาหารอย่างอื่น ครับ
  • พี่บางทรายค่ะ
  • เคยเห็นป๊ะป๋าคั่วชาใบหม่อนไว้กินเอง ไม่มีเชื้อราขึ้นค่ะ
  • ตอนที่ทำให้แห้ง เห็นหั่นฝอยแล้วไปตากแดด พอให้สลดลงก่อนเอามาคั่วนะค่ะ ไม่คั่วสดเลยค่ะ  ไฟที่ใช้คั่วใช้เตาแก๊สค่ะ
  • อีกวิธีนึงที่เห็น เอาเข้าไมโครเวฟไฟอ่อนๆ แล้วมาคั่วต่อค่ะ
  • ส่วนที่ใช้ไมโครเวฟให้แห้งเลยนั้น ก็เห็นทำอยู่ค่ะ เสียดายไม่เคยสังเกตว่าตั้งค่าอย่างไร
  • จะไปถามให้ต่อ ก็บ่ได้แล้วค่ะ
  • มาแลกเปลี่ยนเท่าที่มีข้อมูลอยู่เดิมก็แล้วกันค่ะ
  • คั่วด้วยเตาแก๊สต้องใจเย็นๆมากค่ะ เพราะไฟต้องอ่อนมากๆๆๆ จึงจะใช้มือคั่วได้จนแห้ง ถ้าไฟแรงไม่สำเร็จ เพราะมือแพ้ความร้อนซะก่อนค่ะ
  • ถ้าดูรูปบนของชาวบ้าน ไฟน่าจะแรงไปนะค่ะ คั่วอย่างนี้มือสู้ไม่ได้ค่ะ เคยไปเห็นคนจีนคั่วชา ไฟที่เตานะมี แต่แทบไม่เห็นว่ามีไฟค่ะ

สวัสดีครับ น้องหมอเจ๊

 

ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อมูลที่มีค่ามาก ก็จะรวบรวมความรู้พวกนี้ไปลองทำใหม่  สงสัยไปแรงไปอย่างว่า  และเห็นด้วยว่าน่าจะเอาไปพึ่งแดดก่อน

เดี๋ยวช่วงผักหว่ายป่าออกจะลองใหม่ครับ

 

ขอบคุณมากๆครับน้องหมอเจ๊

บังเอิญมาเจอที่นี่เข้า น่าดีใจด้วยนะคะ ที่มีคนพยายามเอาความคิดสร้างสรรญมาทำให้เป็นความจริงกัน เคยไปดูการทำใบชาในที่ต่างๆมา ทั้งที่ทำกันเป็นอุตสาหฺกรรม และ ที่ทำกินกันเองในครัวเรือนมา ตรงนี้จะเล่าที่เห็นเขาทำใบชาในครัวเรือนให้ฟังนะคะ เผือว่าจะมีประโยชน์บ้าง

1 เอาใบชามาผึ่งแดด ให้มันสลด ประมาณค่อนวัน ระหว่างที่ผึ่งแดด ก็ให้กลับให้ส่วนที่ไม่ได้โดนแดด ได้โดนแดดด้วย ระหว่างที่กลับใบชาให้สังเกตุว่าตามขอบๆใบนั้นมันจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขณะที่ใบมันเรื่มเหี่ยวลงนะคะ พอรอบใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกือบหมดทุกใบ ก็แปลว่าใบนั้นสลดพอแล้ว ให้เอาใบเข้าล่มได้

2 หลังจากเอาเข้าล่มแล้วให้เอาใบชาที่สลดมาหมาดๆ น้ันใส่กระด่งให้พอเขย่ากระด่งได้ คล้ายกับการฝัดข้าว เอาข้าวเปลือกออก แบบนั้น ใบชาจะเกิดความบอบช้ำจากที่มันถูกเสียดสีกันเอง จะเห็นว่าใบชาดูช้ำๆ ขอบใบก็ยิ่งดูเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น ก็หยุด รวบใบชารวมเป็นกอบ เอาผ้าสะอาดมาปิดไว้ ประมาณ 1 ชม เอามือสอดไปใต้กอบใบชาจะรู้สึกว่ามีความอุ่น นั่นแปลว่าใบชาได้ผ่านการหมักแล้ว หากอยากได้ใบชามีกลิ่นหอมอ่อน และมีรสชาดหวานหน่อยๆ ก็เปิดผ้าออกตอนนี้ หากอยากให้ใบชามีรสชาดจัดจ้านหน่อยก็เอาผ้าคลุ่มต่อไปให้เกิดความร้อนมากกว่านี้ สังเกตุดูใบชาจะดำมากนัอยตามเวลาที่คลุ่มผ้าไว้นะคะ คลุ่มไว้นานชาก็จะดำ ชาก็จะเป็นชาดำ เวลาชง น้ำชาก็เป็นสีน้ำตาล

3 หลังจากที่หมักเสร็จ ตอนนี้ก็ถึงการคั่วใบชาให้แห้ง ลักษณะใบชาตอนนี้ดูเหมือนผักที่กำลังจะเน่านะคะ เหี่ยวๆเหมือนมีน้ำเยื้อมๆ เอามือตะล่อมให้ใบชาเหี่ยวๆ เก็บเอาน้ำเยื้อมนิดหน่อยนั้นกลับคืนมาที่ใบนะคะ เอาใส่กะทะ ทำกับข้าวธรรมดาปริมาณพอให้คั่วได้

4 เอากะทะตั้งไฟ อ่อนๆ หากใช้ไฟที่ลุกจากไม้ ที่มีควันนิดหน่อยได้ ก็ดี ไม่มีก็เอาถ่านธรรมดา กลบด้วยขี้เถ่าจนมองไม่เห็นถ่าน แล้วเก็บใบไม้แห้งมั่ง เปียกมั่ง ใส่ในเตาเพื่อให้เกิดควันนิดหน่อย อย่าคนแรง ใบจะแหลกหมด คั่วแบบคั้วพริกแห้ง แต่คนเบาๆ ใบชาก็จะกลายเป็นสีดำ หรือน้ำตาลมันๆ หน่อย ไม่ด้านๆ พอแห้งเอาออกผึ่งให้เย็น เก็บใส่ถาชนะไว้ชงดื่ม หมายเหตุ คั่วเตาแกสอ่อนๆ ก็ได้นะคะ

ดิฉันมีรูป แต่เอาใส่ในที่นี้ไม่เป็นคะ

ใช้กะทะทำกับขาวคั่วชา นั้นกะทะมีพื้นที่หน้ากวัาง เหมาะสำหรับให้ความชื้นระเหิร ได้ดีกว่าหม้อดินคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท