บทวิเคราะห์ ตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ (3)


The art of strategy
ผู้เขียนศึกษาตำราพิชัยสงครามในด้านกลยุทธ เป็นหลัก ดังนั้นการวิเคราะห์อาจจะเป็นคนละแนวทางทางด้านประวัติศาสตร์ ที่จะไปพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริง
สิ่งที่น่าสนใจของตำราพิชัยสงครามของไทย ( Tamra Phichai Songkhram) หรือ ยุทธศิลป์(The Art of War) ในปัจจุบันที่เรารู้จัก
กันว่า กลยุทธ (Strategy) คือ พัฒนาการของตำราพิชัยสงคราม
อะไรเป็นเหตุให้ตำราพิชัยสงครามมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะวิเคราะห์ได้ว่า
1. ยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลง มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิด ขึ้น ในสมัยก่อน จะเห็นว่า เราได้มีการใช้ ปืน ปืนใหญ่ การสร้างกำแพงเมืองแบบ
โปรตุเกต การสร้างวังในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ป้อมกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นการอาศัยความรู้จากตะวันตก
2. บรรดาแม่ทัพ นายกอง หรือ พระเจ้าแผ่นดินในสมัยนั้น ได้คิดกลศึก ขึ้นใหม่ ดังเช่นครั้ง ศึกเก้าทัพ ในสมัยรัชกาลที่ 1 พม่ายกทัพมา
มากยิ่งกว่าครั้งใด ๆ แต่ฝ่ายไทยก็คิดกลยุทธต่อต้านศึกครั้งนั้นด้วยยุทธวิธีพิชัยสงครามแบบใหม่จนสามารถใช้กำลังพลน้อยขับไล่กำลังข้าศึก จำนวนมากให้พ่ายแพ้ไปได้ (กรมศิลปากร ,2545 ; ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 หน้า4)
3. อีกประการหนึ่งน่าจะมาจาก คำจารึกในคัมภีร์ใบลาน ที่อยู่ในตำราพิชัยสงครามที่ว่า
...ในตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ ชื่อ ตำราพิไชยสงครามคำกลอน เล่ม 1 เขียนไว้ว่า
  ตำราวรวากยไว้     วิถาร
พิไชยสงครามการ   ศึกสิ้น
จงหาที่พิศฎาร        เติมต่อ
จงอย่าฟังกลสิ้น      เล่หเลี้ยวจำความ
   สมเดจ์จักระพรรดิรู้   คำภีร
ชื่อว่านามกามมนทกี   กล่าวแก้
พิไชยสงครามศรี        สูรราช
ญี่สิบเบดกลแล้           เลิศให้เหนกล...
และ ในตำรา พระบวระพิไชยสงคราม ฉบับ ชำระในรัชกาลที่ 3 เขียนไว้ว่า
   ตำราวรวากไว้     วิถาน
พิไชยสงคราม        ศึกสิ้น
จงหาที่พิศฎาร        เติมต่อ
จงอย่าฟังกลสิ้น      เล่ห์เลี้ยวจำความฯ
   สมเด็จจักรพรรดิรู้   คำภีร์
ชื่อว่านามกามมนทกี  กล่าวแก้
พิไชยสงครามศรี       สูรราช
ยี่สิบเบ็ดกลแล้          เลิศให้เหนกลฯ
นี่กระมังที่ทำให้ ตำราพิชัยสงครามมีการปรับแก้ และแต่งเติม แต่ที่สำคัญให้เรารู้อีกอย่างคือ
ภาษาที่ใช้และ ตัวอักขร จะบอกถึงยุคสมัยที่เขียนได้เป็นอย่างดี
สำหรับตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ ยังไม่ได้เปิดเผยถึงฉบับ คำกลอน
ที่เห็นจะเป็น ฉบับรูปภาพ ที่แสดงถึงกระบวนการจัดทัพ การตั้งทัพ เป็นหลักใหญ่ใจความ
ลองมาดูภาพ ทั้งหมด ที่เผยแพร่ของตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ เปิดเผย 11 ธ.ค.51
ซึ่งโดยรวม มีการแต่งเติมและ เพิ่มมากกว่าใน ฉบับรัชกาลที่ 1( แต่ การจัดทัพรูปหนึ่งเหมือน
ฉบับรัชกาลที่ 2 ค่อนข้างมาก ครับ)

ภาพตำราพิชัยสงคราม จ.เพชรบูรณ์ จากสื่อมวลชน ต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

ถ้าพูดถึงกระบวนพยุหะ คือกระบวนตอนเป็นวิธีจัดกองพลทหาร ตามพิชัยสงครามฮินดูโบราณจะมีหลักอยู่ 4 อย่างคือ 1.รูปไม้เท้า 2.รูปนาคแผ่พังพาน 3.รูปตั้งป้อม 4.วงกลม
และ ยังมีอีก 5 อย่างชื่อเรียกตามกริยา และรูปสัณฐานของสัตว์ คือ 1.กองกระบวนสุกรป่า 2.กองกระบวนมังกร 3.กองกระบวนครุฑ 4.กองกระบวนกระเรียน 5.กองกระบวนกลีบดอกบัว
(ดังรายละเอียดภาพที่นำมาจากของ ร้อยเอก ยี.อี.เยรินี)
 
 
การวิเคราะห์
1. ผู้ เขียนยังไม่ได้ลองเปรียบเทียบวิธีการจัดทัพ หรือ พยุหะ ระหว่าง ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 กับฉบับ จ.เพชรบูรณ์ เนื่องจาก ยังไม่มีโอกาสได้เห็นฉบับจริงที่เป็นคำอธิบาย หรือ รายละเอียดการวางกำัลังทัพว่าใช้หลักการเดียวกันหรือไม่
ซึ่งในตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 ได้ระบุถึง เสนาบดีผู้จะเป็นนายกพล หรือ แม่ทัพ ชื่อจะบอกถึงชื่อการจัดทัพที่ตรงกัน เช่น
ถ้าผู้ใด ชื่อนั้นประกอบด้วย อักษร อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ผู้นั้นชื่อครุฑ นามแล
ถ้าผู้ใดชื่อครุฑนาม จะเป็นขุนพลนายกไซร้ให้เอามุสิกนามเป็นกองหน้า เอาพยัคฆนามเป็นปีกขวา เอาอัชนามเป็นปีกซ้าย แลให้ยาตราในวัน 1 ยาม 5 ให้ได้ฤกษ์ 3 ฤกษ์ 5 ฤกษ์ 6 ไว้ลัคนาในสิงค์ราศีแลท่านให้เลี้ยงกันก่อนแล้วจึ่งเอาเพลาตามฤกษ์แลยอพลออกไปข้างประตูอีสานทิศจึ่งจะมีชัยชนะแก่ศัตรูแล
และได้ลองดูวิธีการจัดทัพของ ฉบับ รัชกาลที่ 3 มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอีก แต่มีความชัดเจนด้านการวางกำลังและรูปแบบพยุหะ (จะนำภาพมาให้ดูในโอกาสต่อไป)
2. ดังนั้นการเทียบภาษา แ ละ อักขร ทางกรมศิลปากรจะเชี่ยวชาญที่สุด -หากต้องการรู้ว่าเขียนขึ้นในสมัยใด
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
กรรมการผู้จัดการ
DNT Consultants Co.Ltd.
หมายเลขบันทึก: 252336เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2014 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท