ตำราพิชัยสงคราม ฉบับ จ.เพชรบูรณ์:บทวิเคราะห์ ( 4) โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


The art of strategy
การวิเคราะห์ตำราพิชัยสงคราม ผู้เขียนมีเจตนาศึกษาด้าน กลยุทธ เป็นหลักไ ม่ได้มีเหตุผลอื่นใดนอกจากวิชาการและก็ไม่ได้ประสงค์จะไปพิสูจน์ว่าเป็นของจริงหรือไม่ แ ต่เพื่อการเรียนรู้เป็นสำคัญโดยเฉพาะ"ประวัติศาสตร์ทางกลยุทธไทย"
บทวิเคราะห์
....ล่าสุดได้มีการค้นพบตำราพิชัยสงครามสมัยกรุงธนบุรีในสภาพสมบูรณ์มากจำนวน 5 เล่ม ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 (อ้างจาก วิกิพีเดีย http://th.wikipedia.org/wiki/ตำราพิชัยสงคราม ค้นหาเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.51).....
ข้อความช้างต้นไม่น่าจะถูกต้อง เพราะในสมัยกรุงธนบุรี ไม่มีหลักฐานบันทึกถึงการเขียนตำราพิชัยสงครามใด ๆ เลย ดังเช่น
...ในเรื่องนี้ พลโทดำเนิร เลขะกุล ได้เขียนเอาไว้ในบทความเรื่อง "ตำราพิชัยสงคราม" ว่า
เคยถามกรรมการชำระประวัติศาสตร์สมัยกรุงธนบุรีว่า ถ้าในขณะนั้นไมีมีตำราพิชัยสงครามให้ศึกษาแล้วทำไมสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราชจึงทรงเก่งในการทำสงครามทั้งทางบกและทางเรือนัก ทรงศึกษาจากตำราอะไร ได้รับคำตอบว่า ทรงศึกษาจากหนังสือสามก๊ก เพราะในสมัยนั้นชาวจีนได้นำหนังสือสามก๊กเข้ามาเมืองไทยแล้ว และชาวจีนสมัยก่อนถือว่าหนังสือสามก๊กเป็นตำราพิชัยสงคราม ก็ฟังเข้าทีอยู่ (ประยุกต์ บุนนาค, 2548: พิชัยสงครามฮินดูโบราณ หน้า197-198)
....ตำราพิชัยสงคราม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีกี่ฉบับ
ด้วยตำราพิชัยสงคราม ในหอสมุดแห่งชาติมีอยู่มากที่สุดจำนวน 219 เล่มสมุดไทย เป็นตำราพิชัยสงครามไทย ทั้งสมุด สมุดไทยดำ และไทยขาว และเอกสารฉบับปลึก แต่ไม่ครบชุดและไม่สามารถจัดเรียงลำดับเนื้อหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ประกอบกับความรู้และความเข้าใจในเรื่อง ตำราพิขัยสงครามเสื่อมทรามลงทุกวัน (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ, 2512 อ้างจาก ตำราพิไชยสงคราม ของกรมศิลปากร ) มาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นแล้ว แม้ว่าจะมีการตรวจชำระครั้งใหญ่ใน รัชกาลที่ 4 ก็ตาม
1.ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาล ที่ 1(พิพม์เ ผยแพร่ชำระใ หม่เ ป็นฉบับร่วมสมัยมีคำอธิบาย 2545)
มีจำนวน 6 เล่ม เลขที่ 177 125 122 181 118 และ 184 จากเอกสารหมวดยุทธศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ เป็นฉบับที่เขียนขึ้นใน ร. 1 มีเนื้อหาเรื่องราวต่อเนื่องกัน และถือได้ว่าเป็นต้นบับ ที่คัดลอกมาเป็นฉบับหลวง มีอาลักษณ์เป็นผู้ชุบเส้นตัวอักษร และมีอาลักษณ์ชั้นผู้ใหญ่ตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งด้วย
 

เล่มที่ 1 ว่าด้วยบทอาศิรวาท แล้วกล่าวถึงความสำคัญของตำราพิชัยสงคราม โหราศาสตร์เกี่ยวกับการศึกสงคราม กลศึก 21กล นิมิตดี-ร้ายต่าง ๆ ลมที่พัดในร่างกาย และคำอธิบายกลศึกต่างๆ
 
 
 
 เล่มที่ 2 ว่าด้วยกลศึกต่อจากเล่มแรก ต่อด้วกลวิธีใการเคลื่อนพล ฤกษ์นาคร และยายี วิธีเล่นชัยภูมิ นิมิตบอกเหตุ และลักษณะความฝันที่เป็นนิมิตมงคล
 
 
เล่มที่ 3 กลวิธีในการเคลื่อนพล การจัดทัพเป็นรูปกระบวนต่างๆ เช่น กรศพยู๋ห์ ครุฑพยู่ห์ ตำราดูนิมิต มีภาพสีนำ้ยาลักษณะของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวหาง ราศีต่าง ๆ
 
 
 
 
เล่มที่ 4 การจัดทัพเป็นรูปกระบวนต่าง ๆ มหาทักษาพยากรณ์ว่าด้วยการทำนายนามเมือง นามเสนาบดี เพื่อคัดเลือกพลที่เป็นนามมงคลเข้ากองทัพ วันและฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ เบญจปักษี ว่าด้วย เกณฑ์ วัน ยาม และเวลาในการเคลื่อนพล ตำราดูนาค และกฎเกณฑ์ในการตั้งทัพให้เหมาะกับจำนวนพล
 
 
เล่มที่ 5 กล่าวถึงอธิไทยโพธิบาทว์ คือ อุบาทว์ 8 ประการและวิธีแก้ ตำราดูดี-ร้าย ดูราหู ดูฤกายายี นาคร ตำราเกณฑ์ทัพ ตรีเสนาและเบญจเสนา
เล่มที่ 6 กล่าวถึงเนาวพยัตติ
(โดยทั้งหมดชำระ ให้บริบรูณ์เทียบเท่ากับตำราพิชัยสงครามฉบับหมอบัดเลย์ที่สุด)
2. ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 2 เล่ม 2
ว่าด้วยกลปล้นแ ละเ มืองจัดทัพ นามขุนพล เ บญจปักษี การพิจารณาสัตว์ฝ่ายซ้ายขวาแ ละนิมิตต่าง ๆ การตั้งทัพ ตั้งค่าย การจัดทัพแบบเบญจเสนา นามสัตว์ตามทิศต่างๆ การตั้งค่ายตามชัยภูมิ
(ยังมีต่อ)
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
คำสำคัญ (Tags): #strategic management#the art of strategy
หมายเลขบันทึก: 252340เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2014 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท