ตำราพิชัยสงครามฉบับ จ.เพชรบูรณ์ :บทวิเ คราะห์ (4-ต่อ) โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ


The art of strategy

3.ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 3
ฉบับพระบวระพิไชยสงคราม ตำรับไญย ชำระในรัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เ ริ่ม ทำใ นจุลศักราช 1187(พ.ศ.2368) จนสำเ ร็จไ ด้ คัดส่งเข้าไว้ข้างที่ฉบับหนึ่ง ไว้ ณ หอหลวงฉบับหนึ่ง"
สมเ ด็จฯ กรมพราะยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า.. ปัจจุบันเป็นหนังสือกว่า 10 เล่มสมุดไทย เดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแห่งใดที่จะบริบรูณ์ครบจำนวนสักแห่งเดียว แบ่งได้เป็น 3 แผนก คือว่าด้วยเหตุแห่งการสงคราม ว่าด้วยอุบายสงคราม และว่าด้วยยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี การถือนิมิตต์ฤกษ์ยามและเลขยันต์อาถรรพศาสตร์ก็จะมีมาบ้างแล้วแต่โบราณ...ตำราการรบพุ่งและอุบายสงครามเหลืออยู่แต่ที่เก็บใจความแต่งเป็นกลอน

 
จึงมักเรียกกันว่า"ตำราพิไชยสงคราม คำกลอน" มาตั้งแต่ รัชกาลที่ 1 แล้ว
4. ตำราพิชัยสงคราม ฉ. รัชกาลที่ 4
มีจำนวน 2 เ รื่อง คือ ว่าด้วยการทักษาพยากรณ์แ ละสวัสดิรักษา และ ว่าด้วยการยาตราทัพ
5. ตำราพิชัยสงคราม ฉบับ หมอบัดเ ลย์
มีจำนวน 5 เ ล่มสมุดไทย พิมพ์ ใน พ.ศ. 2425 (รัชกาลที่ 5) โดย ลอกมาจากฉบับของหลวงพิไ ชยเสนา
ซึ่งในรัชกาลที่ 5 นี้ ได้มีการจัดการทหารแบบยุโรป จึงใช้ตำรายุทธศาสตร์ แทน ตำราพิชัยสงคราม ทำให้ หมดความสำคัญและขาดการศึกษาค้นคว้าไปในที่สุด
 
 
ดังนั้น การที่จะบอกว่า ตำราพิชัยสงคราม นั้นเกิดใ นสมัยใ ด ลักษณะเ ป็นอย่างไ ร สามารถ ใ ช้แ นวทางข้างต้นพิจารณาได้
1. ลักษณะของ ภาษา และ อักขร สำคัญที่สุดในการบอกยุคสมัย เพราะ แต่ละรัชกาล มีพัฒนาการของภาษา
 
 
ภาพ: ตำราพิชัยสงครามคำกลอน ฉบับ รัชกาลที่ 1
 

2. ต้องเ ทียบรูปแบบ ของ คำกลอน การจัดทัพ การตั้งทัพ ซึ่งในแต่ละรัชกาล ตำราพิชัยสงครามมีความแตกต่างกัน
 
 
ภาพ:ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 1 เ ป็นกระบวนทัพล ักษณะ "มังกรพยู่ห์ข้ามน้ำ หางยกข้าม"
"จักรพยู่ห์ตั้งจอมเขาที่ชันแล" และ "จักรพยู่ห์ตั้งบนเขา แทบทุ่งแล"
 
 
ภาพ : ตำราพิชัยสงคราม ฉ .รัชกาลที่ 2 กระบวนทัพ "มังกรพยู่ห์ข้ามน้ำ หางยกข้าม"
ภาพ : ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 3 "มหามังกรพยุหข้ามแม่น้ำให้เอาหัวหางข้ามก่อนที่ชัน"
 
ภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉ. จังหวัดเพชรบูรณ์ (ไม่มีคำอธิบายเพราะยังไม่ได้เห็นตัวฉบับดังกล่าว ครับ)
ภาพ 2 ภาพข้างบนนี้ เป็น ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่่ 3
ในฉบับ รัชกาลที่ 1 เรียกว่า "มหิงส์พยู่ห์โจม ให้โจมทัพ" รูปจะเหมือน ฉบับ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่ใน ฉบับรัชกาล ที่3 ชื่อว่า    "มหิงษพยุหตั้งที่ลุ่มวางพลเปนวงเขากรบือจยกเดินก็ได้ "
ภาพ ฉบับ จังหวัดเ พชรบูรณ์
 
 
3. ภาษาขอม ที่ใช้ก็บอกความแตกต่างของยุคสมัยได้ เช่นกัน เพราะ ผู้เขียนเคย ดูตำราพิชัยสงคราม ที่ พิพิธภัณฑ์เ จ้าสามพระยา เ ชื่อว่าเ ป็น ฉบับ สมัยอยุธยา พบว่ามี ภาษาขอมค่อนข้างมากโ ดยเ ฉพาะใ นด้านเ วทมนต์
4.เ จ้าพระยาเพชรบูรณ์ ในสมัยนั้นถ้าเป็น แม่ทัพที่ถูกระดมไ ปตี ลาว เขมร ญวน ชื่อ แม่ทัพจะสอดคล้อง กับ กระบวนพยู่ห์ที่ใช้ หากเป็น ฉบับกลางแปลง จะสามารถพิสูจน์ ตรงนี้ไ ด้เพราะเป็นหลักในการจัดทัพนาม มงคลนามของแม่ทัพ
 
 
 
น่าสนใจศึกษาดีครับ สำหรับปีใหม่ 2552 ที่จะถึงนี้
 
 
ดร.ดนัย เทียนพุฒ
 
 
ปล. 1.รูปภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 1 นำมาจาก "ตำราพิไชยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 1 กรมศิลปากร 2545
2.รูปภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉบับรัชกาลที่ 2 นำมาจาก Narisa et al , 2006 . " Siam in Trade and War Royal Maps of the Nineteenth Century"
3.รูปภาพ ตำราพิชัยสงคราม ฉ.รัชกาลที่ 3 นำมาจาก ตำราพิไ ชยสงคราม ของกรมศิลปากร -พิมพ์ พ.ศ.2512 เป็นอนุสรณ์ในงานณาปนกิจศพ นางสนิทนรนารถ(ตลับ บุณยรัตพันธุ์)
หมายเลขบันทึก: 252346เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2009 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2014 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท