หนึ่งปีที่ผ่านมากับก้าวย่างสู่การพัฒนาระบบยาในชุมชน จังหวัดขอนแก่น


    ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดในการพัฒนาศักยภาพการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ   เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการสาธารณสุขและให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการปฐมภูมิอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ และการบริการด้านเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิรวมทั้งในชุมชน   จึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้มีการใช้ยาเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ลดการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม การสนับสนุนความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งการจัดการความปลอดภัยด้านยาเป็นหน้าที่ร่วมกันของบุคลากรสาธารณสุขทุกระดับที่ต้องมีการทำงานเชื่อมโยงกันตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสถานบริการ จะทำให้การดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องและมีความครบถ้วนสมบูรณ์ อันจะนำมาซึ่งความปลอดภัยของผู้ป่วย

    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบยาในหน่วยบริการปฐมภูมิและความปลอดภัยด้านยาในชุมชนจังหวัดขอนแก่น ซึ่งดำเนินการโดยภาคีเครือข่ายด้านสาธารณสุขในจังหวัดขอนแก่น ภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ  สาขาจังหวัดขอนแก่น  จำนวนเงิน 1,927,500 บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนสองหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) ผลการดำเนินการตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2552 – สิงหาคม 2553 สรุปได้ดังนี้

การดำเนินการ 

                แบ่งกิจกรรมการดำเนินงานเป็น 5 ส่วนดังนี้

                1. การพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ

1)            ใช้ KM ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบบริหารเวชภัณฑ์ในชุมชน

2)            ให้ความรู้ทางวิชาการด้านการบริหารเวชภัณฑ์แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

3)            จัดทำกรอบบัญชียาและกำหนดแนวทางการใช้ยาเพื่อใช้ในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ

4)            จัดระบบการดูแลและควบคุมกำกับการบริหารเวชภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในระดับ CUP

5)            จัดทำแนวทางการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างสถานบริการ

6)            การประเมินผลและBenchmark ระหว่างหน่วยบริการ

7)            การให้รางวัลสำหรับหน่วยบริการที่ดำเนินการบริหารเวชภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                2. .การพัฒนาระบบบริการทางเภสัชกรรมในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ

                                2.1 จัดการอบรมฟื้นฟูความรู้ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยในหน่วยบริการปฐมภูมิ  ได้แก่

  • การให้การบริบาลด้านเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยในชุมชน
  • การจัดการความปลอดภัยของการใช้ยาของผู้ป่วย และในชุมชน
  • การเฝ้าระวังและรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและการแพ้ยา
  • การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาในชุมชน

                                2.2 จัดอบรมเรื่องการใช้ยาเบื้องต้น อาการแพ้ยา การเฝ้าระวังการใช้ยากลุ่มโรคเรื้อรังให้กับแกนนำสุขภาพและผู้ประกอบการ

                3 . การพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน

                จัดระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยและการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน  ได้แก่

                                3.1 กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วยที่ต้องติดตามดูแลการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง

                -โรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนและผลการรักษาไม่ดี

                - ผู้ป่วยได้รับยาวาร์ฟาริน

                                3.2 การจัดทำแนวทางในการติดตามดูแลผู้ป่วยในโรคเรื้อรังตั้งแต่สถานบริการจนถึงชุมชน

                                3.3  ติดตามดูแลผู้ป่วยและให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยในชุมชนอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนด

                                3.4 ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการติดตามดูแลผู้ป่วยและการบริบาลเภสัชกรรมในชุมชน

                                3.5 สรุปบทเรียนในภาพรวมของการติดตามดูแลผู้ป่วยและการบริบาลเภสัชกรรมในชุมชน

                 

                4. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM)

                                4.1 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิทางเภสัชกรรมที่ดี

                                4.2 การให้รางวัลรูปแบบการทำงานที่ดี

                5. การพัฒนาเครื่องมือเพื่อศึกษาระบบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน

5.1    การพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่เภสัชกรและเจ้าหน้าที่อื่นๆในการศึกษาระบบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 

5.2    ลงพื้นที่เพื่อศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน 

  • การศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน 
  • การติดตามให้คำแนะนำโดย  วิทยากรพี่เลี้ยง

5.3    วิเคราะห์ประเมินผล

 

กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน

                1. การพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ

                1.1 PCU ทุกแห่งจำนวน 184 แห่ง

  • PCU ทั่วไป 152 แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล  27  แห่ง

1.2    เภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม และเจ้าหน้าที่ PCU จำนวน 220 คน

                2. การพัฒนาระบบบริการทางเภสัชกรรมในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ

                2.1 PCU ทุกแห่งจำนวน 184 แห่ง

  • PCU ทั่วไป 157  แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล  27  แห่ง

                2.2 เภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม และเจ้าหน้าที่ PCU จำนวน 220 คน

                2.3 แกนนำสุขภาพในชุมชน (อสม. แกนนำสุขภาพครอบครัว แกนนำสุขภาพชุมชน แกนนำสุขภาพระดับตำบล)และผู้ประกอบการร้านยา ร้านชำ จำนวน 400 คน

                3.การพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน

                3.1 เภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ทีมสหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ PCU จำนวน 220 คน

                3.2  ผู้ป่วยในชุมชน จำนวน 500 คน

  • โรคเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนและผลการรักษาไม่ดี ทุกอำเภอ
  • ผู้ป่วยได้รับยาวาร์ฟาริน ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น

                4. การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM)

                4.1 เภสัชกร เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ทีมสหวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่ PCU จำนวน 220 คน

                5. การพัฒนาเครื่องมือเพื่อศึกษาระบบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน

                5.1 เภสัชกร จำนวน 30 คน

                5.2 พื้นที่วิจัยในชุมชนจำนวน 11 ชุมชน ได้แก่  พื้นที่สสจ. รพ.ขอนแก่น สีชมพู ชุมแพ น้ำพอง อุบลรัตน์ ภูเวียง บ้านฝาง บ้านไผ่ พระยืน พล

กิจกรรมที่ดำเนินการ 

วัน เดือน ปี

กิจกรรม

2552

29 ต.ค.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นร่วมลงนามความร่วมมือในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบยาในหน่วยบริการปฐมภูมิและความปลอดภัยด้านยาในชุมชนจังหวัดขอนแก่น ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

 

6 พ.ย.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่นส่งบันทึกความร่วมมือและสำเนาข้อตกลงดำเนินงานโครงการฯ ให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น (ตามหนังสือ สปสช. 30/569 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552)

 

20 พ.ย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นชี้แจงโครงการฯ ในที่ประชุม พบส.

เภสัชกรรมจังหวัดขอนแก่น

 

30 พ.ย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นชี้แจงโครงการฯ ในที่ประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินจังหวัดขอนแก่น (กวป.)

 

15 ธ.ค.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นได้รับแจ้งการโอนเงินงวดที่ 1 ยอดเงินทั้งสิ้น 963,750 บาท (ตามหนังสือ สปสช. 170.0/51/ว 04307 ลงวันที่ 10 ธันวาคม 2552)

คณะทำงานพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์

2553

29 มี.ค.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ ครั้งที่ 1/2553 เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและยกร่างคณะทำงานย่อย 3 คณะได้แก่

1)      คณะจัดทำร่างบัญชีรายการยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ

2)      คณะจัดทำมาตรฐานและแนวทางการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

3)      คณะประเมินผลการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ

 

7 เม.ย.

การประชุมคณะจัดทำมาตรฐานและแนวทางการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 1/2553 เพื่อจัดทำมาตรฐานและแนวทางการบริหารเวชภัณฑ์ฯ

 

28 เม.ย.

การประชุมคณะจัดทำร่างบัญชีรายการยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 1/2553 เพื่อจัดทำร่างบัญชีรายการยาฯ

2553

29 เม.ย.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ ครั้งที่ 2/2553 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

 

4 พ.ค.

การประชุมคณะจัดทำมาตรฐานและแนวทางการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 2/2553 เพื่อจัดทำมาตรฐานและแนวทางการบริหารเวชภัณฑ์ฯ

 

7 พ.ค.

การประชุมคณะจัดทำร่างบัญชีรายการยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 2/2553 เพื่อจัดทำร่างบัญชีรายการยาฯ

 

10 พ.ค.

การประชุมคณะประเมินผลการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 1/2553 เพื่อจัดทำแบบประเมินการบริหารเวชภัณฑ์ฯ และจัดทำแนวทางประเมินผลงานและการคัดเลือก Best practice

 

3 มิ.ย.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ ครั้งที่ 3/2553 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

 

10 มิ.ย.

การประชุมคณะจัดทำร่างบัญชีรายการยาในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 3/2553 เพื่อจัดทำร่างบัญชีรายการยาฯ

 

10 มิ.ย.

การประชุมคณะประเมินผลการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 2/2553 เพื่อจัดทำแบบประเมินการบริหารเวชภัณฑ์ฯ และจัดทำแนวทางประเมินผลงานและการคัดเลือก Best practice

 

29 มิ.ย.

การประชุมคณะประเมินผลการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 3/2553 เพื่อจัดทำแบบประเมินการบริหารเวชภัณฑ์ฯ และจัดทำแนวทางประเมินผลงานและการคัดเลือก Best practice

 

5 ก.ค.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริหารเวชภัณฑ์ ครั้งที่ 4/2553 เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน

 

13 ก.ค.

การประชุมคณะจัดทำมาตรฐานและแนวทางการบริหารเวชภัณฑ์ในหน่วยบริการปฐมภูมิ ครั้งที่ 3/2553 เพื่อจัดทำมาตรฐานและแนวทางการบริหารเวชภัณฑ์ฯ

 

คณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม

2553

8 เม.ย.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม ครั้งที่ 1/2553

 

6 พ.ค.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม ครั้งที่ 2/2553 เพื่อจัดเตรียมการอบรมการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

 

10 พ.ค.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม ครั้งที่ 3/2553 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

2553

21 พ.ค.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม ครั้งที่ 4/2553 เพื่อการจัดทำคู่มือ/เอกสารประกอบการอบรม

 

26 พ.ค.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม ครั้งที่ 5/2553 เพื่อการจัดทำคู่มือ/เอกสารประกอบการอบรม

 

16 มิ.ย.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบบริการเภสัชกรรม ครั้งที่ 6/2553 เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

 

1-2 ก.ค.

อบรมการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ณ โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล จำนวนผู้เข้าอบรม 450 คน

คณะทำงานพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน

2553

7 เม.ย.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน ครั้งที่ 1/2553

 

30 เม.ย.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน เพื่อระดมสมองในการทบทวนองค์ความรู้และจัดทำเกณฑ์การติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน

 

26 พ.ค.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน เพื่อร่วมพิจารณาการจัดทำเกณฑ์การติดตามดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

2 มิ.ย.

การประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาทางวิชาการ ในการติดตามดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

12-13 ก.ค.

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบการติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน ให้กับสหวิชาชีพและเจ้าหน้าที่หน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน ๒๕๐ คน

 

2 ส.ค.

การจัดสรรและโอนงบประมาณในการดำเนินงานติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชนให้กับโรงพยาบาลชุมชน ๒๐ แห่ง จำนวนผู้ป่วย ๑๐๐ ราย

คณะทำงานพัฒนาเครื่องมือเพื่อศึกษาระบบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน

2553

15 ก.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอน้ำพอง

 

16 ก.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภออุบลรัตน์

 

22 ก.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอชุมแพ

 

23 ก.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอสีชมพู

 

29 ก.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอบ้านไผ่

คณะทำงานพัฒนาเครื่องมือเพื่อศึกษาระบบยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของชุมชน

2553

3 ส.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอภูเวียง

 

9 ส.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอบ้านฝาง

 

10 ส.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอพระยืน

 

11 ส.ค.

ศึกษาปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน อำเภอน้ำพอง

คณะทำงานจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

2553

29 ก.ค.

ประชุมเตรียมการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 1/2553

 

18 ส.ค.

ประชุมติดตามการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2/2553

 

23 ส.ค.

จัดทำเวบบอร์ดเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ www.gotoknow.org/drugsafetykk

หมายเลขบันทึก: 401892เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2010 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

23 ส.ค.

จัดทำเวบบอร์ดเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ www.gotoknow.org/drugsafetykk

มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ด้วยค่ะ

 

ผู้ป่วยในชุมชน

แก้เป็น 600 คนครับ ไม่ใช่ 500 คน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท