ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ... พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติงาน


หมวดการเรียนของ บลูม (Bloom) และคณะ ผ่านไปแล้ว 2 หมวด คือ พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ... พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับสติปัญญา และ จิตพิสัย (Affective Domain) ... พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจ

 

บันทึกนี้เป็นบันทึกหมวดการเรียนรู้สุดท้าย คือ ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

 

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) ... พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ

พฤติกรรมด้านนี้จะเห็นได้จากกระทำ ซึ่งแสดงผลของการปฏิบัติออกมาได้โดยตรง โดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะที่เกิดว่ามีมากน้อยเพียงใด

การที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านทักษะพิสัย ผู้เรียนจะต้องพร้อมที่จะใช้อวัยวะต่าง ๆ

 

พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้

 

1. การรับรู้ ... เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป้นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ

2. กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ

3. การหาความถูกต้อง ... เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ ซึ่งจะพัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับตัวแบบเดิมก็ได้

4. การกระทำอย่างต่อเนื่อง ... หลังจากที่ได้ตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองก็จะมีการกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และคล่องแคล่ว นั่นคือ เกิดทักษะขึ้นแล้ว การที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะได้จะต้องอาศัยการฝึกฝนในเรื่องนั้น ๆ และกระทำอย่างสม่ำเสมอ

5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ ... เป็นพฤติกรรมสุดท้ายที่จะได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติสิ่งนั้น ๆ ได้คล่องแคล่วว่องไว โดยอัตโนมัติ ดูเป็นไปอย่างธรรมชาติไม่ขัดเขิน ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง

 

เนื้อหาวิชาที่อยู่ในหมวดการเรียนรู้นี้ อาทิเช่น วิชาทางพลศึกษาและการกีฬา การขับรถยนต์ การขับเครื่องบิน การทำอาหาร การวาดรูป การปั้น ช่างฝีมือด้านต่าง ๆ เป็นต้น

 

ถ้าครูต้องสอน ก็ต้องอาศัยหลักการที่เรียกว่า Learning by Doing นั่นเอง คือ เรียนด้วยการปฎิบัติ หรือ ลงมือทำ

 

จากหมวดการเรียนรู้ที่ผ่านมาทั้ง 3 หมวด ใช่ว่าจะเกิดขึ้นในตัวคนเป็นด้าน ๆ ไป แต่มันจะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน พฤติกรรมตัวใดจะเด่นกว่า พฤติกรรมอื่นก็แล้วแต่กรณี และจะเกิดพฤติกรรมมากน้อยเท่าใดนั้น ก็ไม่อาจจะกำหนดให้เด่นชัดได้

 

จึงเขียนมาเพื่อเป็นความรู้ให้กับครูผู้สอน นักศึกษาวิชาชีพครู หรือผู้สนใจที่ต้องการนำความรู้นี้ไปใช้

 

ขอบคุณครับ :)

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

หมายเลขบันทึก: 174545เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2008 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณครับ ขยายความเรื่องเกี่ยวกับการวัดทางด้านทักษะ และเกณฑ์คะแนนที่วัดด้วยจะขอบคุณมากครับ

เยี่ยมเยือนท่านแรกในรอบเกือบ 1 ปี สำหรับบันทึกนี้ครับ

ขอบคุณ คุณ weprasit มาก ๆ ครับ :)

กระชับและมีความเข้าใจง่ายมากครับ

ขอบคุณครับ คุณ ไม่แสดงตน :)

ขอบคุณสำหรับเนื้อหามากนะคะ

ช่วยในการทำรายงานเรื่องพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพได้มากเลยค่ะ

อยากทราบว่าพุทธพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย มีความสัมพันธ์กันยังไงบ้างครับช่วยอธิบายที

ตอบตรง ๆ ก็คือ เป็นการวางวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เหมือนกัน แต่คนละด้าน

และทั้งสามพิสัยก็เป็น "หมวดการเรียนรู้ของบลูม" เหมือนกันอีก ;)...

????????ทำไมกระทู้นานจางงง

????????ทำไมกระทู้นานจางงง

เยี่ยมเลย… มีคนเขียนไว้ตั้งสิบกว่าปีมาแล้วด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท