แปล. BL สร้างโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพ 1


หมายเหตุ : งานแปลค่ะ  อาจผิดบ้างถูกบ้าง แปลเสร็จแล้วเห็นว่า อาจจะเป็นประโยชน์ทางการศึกษา นำมาแบ่งปันกันค่ะ.

-----------------------------------------------------------------------

การสร้างโปรแกรมการเรียนแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพ

Building Effective Blended Learning Programs

 

Harvey Singh

November - December 2003 Issue of Educational Technology,

Volume 43, Number 6, Pages 51-54.

 

แปลและเรียบเรียงโดย ปทุมารียา  ธัมมราชิกา


ในยุคแรกของการจัดการเรียนรู้แบบอีเลรินนิง (e-Learning) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-Based Learning) นั้น  การจัดโปรแกรมการเรียนรู้จะนำเสนอในลักษณะของการสอนในชั้นเรียนปกติโดยนำเนื้อหาไว้ในอินเทอร์เน็ต    นอกจากนั้น ในยุคแรกของการจัดการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิง หรือ การเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิตอล (digitally delivered learning)  จะมีแนวโน้มเรื่องของการเรียนบทเรียนเดิมซ้ำไปซ้ำมา จึงทำให้ประสบการณ์จากการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในยุคแรกนั้นเป็นการเรียนรู้ตามลำดับของเนื้อหาในบทเรียนตามลำดับ  เมื่อเรียนจบก็ทำแบบทดสอบ  ซึ่งนับว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนทางเดียว ที่มีตัวเลือกไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ไม่มีเครื่องมือทางด้านการนัดพบ  ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม   ความสัมพันธ์คุ้นเคย  รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอันจะช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ประสบความสำเร็จและเกิดสมรรถภาพได้

 

            อีเลิร์นนิงในยุคที่สองนั้น  ได้มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ออกแบบการเรียนการสอนที่ได้ทำการทดลองด้วยรูปแบบการจัดการเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning Models)   ที่มีการรวมกันของวิธีการขนถ่าย (delivery) ที่หลากหลายขึ้น   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การจัดการเรียนแบบผสมผสานเป็นการนำเสนอตัวเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น  มันเป็นเป็นหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่ชี้ให้เห็นว่า การจัดการเรียนแบบผสมผสานไม่เพียงนำเสนอตัวเลือกที่หลากหลายเท่านั้น แต่มันยังส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์:

1.      เพื่อหาข้อสรุปของการจัดการเรียนแบบผสมผสาน และการอภิปรายถึงมิติที่เป็นไปได้ และ ส่วนผสม (วิธีการขนถ่ายในการจัดการเรียนรู้) ของโปรแกรมการจัดการเรียนแบบผสมผสาน

2.      เพื่อหารูปแบบของการเรียนรู้ผสมผสานที่เหมาะสมโดยจะต้องมั่นใจว่าส่วนผสมแต่ละอย่าง  สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และ  ผู้เรียนโดยรวมได้  อีกทั้งสามารถเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 

            จากกรอบแนวคิด framework การจัดการเรียนรู้อีเลิร์นนิงแบบผสมผสานของ Badrul Khan    ซึ่งแสดงได้ในแผนภาพที่ 1   แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเลือกส่วนผสมที่เหมาะสม (http://BooksToRead.com/framework).     กรอบแนวคิดของคาน ได้นำมาใช้วางแผน (plan)  การพัฒนา (develop) การส่งสาร (deliver)  การจัดการ (manage) และ การประเมิน (evaluate) โปรแกรมการจัดการเรียนแบบผสมผสาน  กลยุทธ์ขององค์กรสำหรับการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะ ใช้ในการพิจารณาถึงความหลากหลายของประเด็นเพื่อทำให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพในการถ่ายโอนของการจัดการเรียนรู้ ที่ก่อให้เกิดการได้รับผลตอบแทนที่สูงในการลงทุน

 

 

khan

 

Figure 1. Khan’s Octagonal Framework.

 

การจัดการเรียนแบบผสมผสาน

            การได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการและชอบของผู้เรียนแต่ละคนนั้นมีแนวโน้มที่แตกต่างกัน   องค์กรจะต้องใช้การผสมผสานของวิธีการเรียนรู้ในการกำหนดกลยุทธ์ของตนเพื่อที่จะให้เหมาะสมกับเนื้อหา ในรูปแบบที่เหมาะสม การจัดการเรียนแบบผสมผสานเป็นการรวมเอาการขนส่งของสื่อที่หลากหลาย ซึ่งใช้การออกแบบเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในองค์ประกอบแต่ละอย่าง และ สนับสนุนการเรียนรู้ และ ประยุกต์ให้เกิดพฤติกรรมทางการเรียนรู้  application-learned

 

            โปรแกรมการจัดการเรียนแบบผสมผสานอาจรวมถึงรูปแบบที่หลากหลายของเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้  เช่น การเรียนในเวลาเสมือนจริง as real-time virtual    การใช้ซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ  collaboration  software, การเรียนรู้แบบควบคุมอัตราจังหวะผ่านบทเรียนบนเว็บ   self-paced Web-based courses   ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการทำงาน   electronic performance support systems (EPSS)  ซึ่งรวมอยู่ในการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับภาระงาน   และ ระบบการจัดการความรู้      การจัดการเรียนแบบผสมผสานเป็นการผสมของการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย รวมถึงการเรียนในห้องเรียนปกติแบบเผชิญหน้า     การเรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิงแบบสด  และ การเรียนรู้แบบควบคุมอัตราจังหวะด้วยตนเองผ่านเว็บ     ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อยในการผสมของการจัดการเรียนรู้ที่มีการสอนนำในการฝึกอบรม    การจัดประชุม หรือ การอบรมแบบออนไลน์ประสานเวลา (synchronous online  conferencing)  การเรียนรู้ด้วยการควบคุมอัตราจังหวะด้วยตนเองแบบไม่ประสานเวลา  (asynchronous self-paced study)   รวมถึงการจัดโครงสร้างของงานในการฝึกอบรมจากประสบการณ์การทำงาน หรือ ผู้เสนอแนะ  (structured on-the-job training from an experienced  worker or mentor.)

 อ้างอิง  : http://www.asianvu.com/bookstoread/framework/blended-learning.pdf

 

คำสำคัญ (Tags): #blended learning
หมายเลขบันทึก: 279144เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2009 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท