แตกต่าง แต่ไม่แปลกแยก "สังคมสันติสุข"


สังคมไทยเดินมาถึงจุดที่เรียกว่าเป็น “อัตลักษณ์ทางความคิด” คิดว่าตัวกู ของกู เอาตัวเองเป็นใหญ่ ทุกคนมีแต่ไม่ ไม่รับ ไม่ใช่ ไม่ฟังเหตุผล ไม่เห็นด้วย

 

ด้วยลุงเอกกำลังจะเปิดหลักสูตร"การเสริมสร้างสังคมสันติสุข"ของสถาบันพระปกเกล้า  หลังจากกลั่นความคิดผลิตหลักสูตรที่ว่า  ไม่เหมือนใคร  เพราะความเหมือนนำสู่จุดจบ  ไม่ยึดติดรูปแบบ  และไม่ยึดติดตำรา

โดยจะศึกษาบนพื้นฐานกรณีศึกษา Cases Based  ตำราตามมาต่อยอดที่หลัง  ในทางกลับกันเวลาเรียนจะลงพื้นที่มากกว่าอยู่ในห้อง 

จากกรณีศึกษาก็จะเอาผู้เข้าเรียนเป็นศูนย์กลาง  กว่าจะผ่านด่านมาได้ก็ต้องชี้แจงกันสุดๆ  เพราะส่วนใหญ่คนจะติดตำรา  สุดท้ายก็ยอมรับอย่างยิ่งครับ

อยากเรียกว่าคนที่มาอยู่ในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้  จะมีสองสถานะคือนักศึกษาและเป็นวิทยากรไปพร้อมๆกัน

ที่น่าดีใจยิ่งกว่า  แต่ละคนที่สมัครและเชิญมาเรียน  คนที่ผมเชิญมาเรียนเพื่อร่วมสร้างสังคมใหม่คือ ครูบาสุทธินันท์  อีกท่านคืออัยการชาวเกาะ  วันที่ 9 จะประกาศชื่อคงต้องฮือฮา  แม้พันธมิตรก็เชิญมาเรียนด้วย

ทำไมต้องเปิดหลักสูตรนี้ ลุงเอกจะร่ายให้ฟัง 

ความเป็นไปในชาติขณะนี้  มีความขัดแย้งทางความคิด  ที่นับวันจะกลายเป็นรอยร้าวลงลึก  สังคมแบ่งแยกกันเป็นก๊ก เป็นเหล่า พวกฉัน พวกเธอ พวกเขา  จะดีกว่าไหมถ้าสังคมไทยมีแต่ พวกเราแม้เรากับเขาจะคิดไม่เหมือนกัน  แต่เราอยู่ ร่วมกันได้ภายใต้สังคมสันติสุข 

 ดูเหมือนว่าความแตกต่างทางความคิด  ความเชื่อ  ความอัตตลักษณ์ของสังคมไทยกำลังพัฒนามาไกลไปทางเหวลึก  จุดไฟลุกลามเป็นความแปลกแยก ขัดแย้ง ความร้าวฉาน  สังคมไทยกำลังถูกคุกคาม  ต้องการได้รับการเยียวยาก่อนสายเกินไป

 

สังคมไทยเดินมาถึงจุดที่เรียกว่าเป็น อัตลักษณ์ทางความคิดคิดว่าตัวกู ของกู เอาตัวเองเป็นใหญ่ ทุกคนมีแต่ไม่ ไม่รับ ไม่ใช่ ไม่ฟังเหตุผล ไม่เห็นด้วย” บนสังคมรากฐาน ไม่บั่นทอนสังคมที่ผาสุข

ถึงเวลาที่ต้องใช้ สมานฉันท์เข้าเยียวยา ผ่านหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขซึ่งเป็นหลักสูตรปฐมฤกษ์ของสถาบันพระปกเกล้า  ที่อดีตเรามีแต่สอนการแก้ปัญหา  แต่การป้องกันปัญหากลับละเลย  จึงทำให้ความขัดแย้งขยายวงกว้างในระดับประเทศ และเป็นไปอย่างไม่มีเหตุผล

เราเลยอยากสร้างสังคมสันติสุข ทำอย่างไรให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภายใต้ความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา

ด้วยแนวคิดนี้จะใช้การสอนรูปแบบใหม่ คือ เรียนด้วยระบบสัมผัสกับประสบการณ์จริง ลงพื้นที่ 2 ใน 3 ของเวลาเรียน ทุกๆ ที่คือห้องเรียน ฟังมากกว่าพูด เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มองว่าการลงพื้นที่ และการเรียนนอกห้องเรียน ต้องมีกระบวนการเปิดใจคุยถึงข้อขัดแย้งที่เกิด เพราะคนเราความเห็นแตกต่างกันได้ แต่ต้องไม่เกิดการ แตกแยกซึ่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และมุมมองเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้เราเข้าใจความคิดของคนแต่ละกลุ่ม

การเรียนในหลักสูตรนี้จึงไม่ตายตัว  ว่าจะเจาะปัญหาใดปัญหาเดียว แต่จะหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย  จึงเป็นแหล่งรวมตั้งแต่ ปราชญ์ชาวบ้าน  ดอกเตอร์ ศาสตราจารย์ เอ็นจีโอ ข้าราชการ ที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ สร้างให้สังคมไทยแห่งนี้มีแต่รอยยิ้ม

หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาจากแนวคิด นอกกรอบเดิมๆ ซึ่งแต่ละเดือนจะมีการศึกษาสิ่งที่แตกต่างกันของคนในสังคม อย่างกิจกรรมกรณีศึกษาแรกคือคนชายขอบ ชนกลุ่มน้อยพลัดถิ่น ที่อยู่ทางตอนเหนือของไทย ซึ่งจะต้องลงพื้นที่คลุกกับคนในท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่ดูแลพื้นที่เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกันและกัน

เราจะพาไปศึกษากรณีของก๊ก มิน ตั๋ง ที่อยู่บนดอยแม่สลอง ไปดูว่าทำไมเขาเข้ามาอยู่เมืองไทยนานแล้วถึงไม่ได้สิทธิ ไม่ได้เป็นคนไทยเสียที

แม้แต่สังคมอีสานที่โครงสร้างสังคมผิดเพี้ยนไปอย่างแรง คนอีสานกว่า 2 แสนคน ย้ายถิ่นฐานไปตั้งรกรากที่ยุโรป แต่คนต่างชาติกลับเข้ามาแทนที่ในอิสาน

ตอนนี้กลับตาลปัตร คนยุโรปไปอยู่อีสาน เป็นอะไรที่แปลกประหลาด ต่อไปควายที่หายไปจากอีสานจะกลับมาใหม่ให้ฝรั่งมาไถนาแทน เพราะเขาชอบ  เขารักธรรมชาติแต่เราทำลายและทิ้งถิ่นหมด"

 ต้องมาศึกษาว่าทำไมโครงสร้างสังคมมันถึงผิดเพี้ยนอย่างนี้

การเรียนที่เน้นกรณีศึกษาหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกเดือน และกลับมาถกกันถึง "รากเหง้า" ของปัญหา ทุกคนจะต้องเรียนทุกกรณีศึกษาเหมือนกัน แต่จะศึกษาในเชิงลึกแตกต่างกัน เช่น เรื่องคนชายขอบ ในเรื่องเดียวกันกลุ่มหนึ่งจะต้องศึกษาเรื่องสิทธิส่วนบุคคลของชนกลุ่มน้อย อีกกลุ่มต้องศึกษาชนกลุ่มน้อยกับความมั่นคงของประเทศ 6 กลุ่ม 6 ประเด็น เพื่อให้มองปัญหาที่หลากหลายและครอบคลุม

การทำกรณีศึกษามีข้อเสนอที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยผ่านเวที เปิดใจของคนที่เกี่ยวข้องทุกส่วนภาค เป็นเวทีคุย เปิดอกพูด  เพื่อให้รู้ว่าเกิดอะไรในสังคมไทย  ที่ต้องแก้ปัญหาร่วมกัน ไม่ใช่มองการแก้ปัญหาแบบท่อใครท่อมัน ท่อทหารก็แก้แบบทหาร ท่อสมานฉันท์ก็มองภาคประชาชนอย่างเดียว ที่ผ่านมาเป็นอย่างนี้ ทั้งที่เป็นปัญหาระดับชาติแต่ไม่เคยมาเจอกัน แต่หลักสูตรนี้เราจะทำให้คนที่เกี่ยวข้องมาเจอกัน

รูปแบบของกระบวนการสอน เปิดใจซึ่งจะเป็นปัจจันแห่งความสำเร็จของหลักสูตร  ในความคิดของลุงเอก คือทำให้ในหลายๆมิติของสังคม  ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน เข้าใจมุมคิดของคนต่างมิติ ไม่ยึดติดเอาว่า ตัวกู ของกูโดยการเปิดเวทีประจันหน้าระหว่างคนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ในท้องที่ เอ็นจีโอ ทหาร และผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ

เชื่อว่านี่คือการพลิกรูปแบบการเรียนใหม่ ที่ไม่ ยึดติดกับตำรา แต่เป็นการผสมผสานกับ ความเป็นจริงในชีวิตช่วยแก้ไขไปในทางเดียวกัน

ตำรานั้นแค่นำมาต่อยอดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ทุกวันนี้เราเอาตำรามาเถียงทั้งที่ตำราเป็นของใครก็ไม่รู้และจะเอามาประยุกต์ใช้ได้จริงหรือเปล่าไม่รู้ ต้องเอาหลักความจริงมาใช้

นอกจากนี้เรายังไม่ได้สอนแค่ความรู้อย่างเดียว เราสอนวิธีดำรงชีวิตในสังคมที่หลากหลายและแตกต่าง จะดำรงอยู่ได้อย่างไร เพราะตรงนี้เหมือนสังคมหนึ่งอยู่ได้มั้ย  ถ้าอยู่ไม่ได้ก็อยู่กับสังคมใหญ่ไม่ได้แน่นอน"

หมายเลขบันทึก: 186864เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2008 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

สวัสดีครับ

ถ้าผมอยู่เมืองไทย คงสมัครไปเรียนด้วย....

อย่าลืมพาไปทัศนศึกษาที่อินเดียนะครับ

ในช่วงของหลักสูตร ผมฝากเรื่องการแทรกการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติจิตด้วยนะครับ

เพราะจิตเป็นมอเตอร์ใหญ่

ขอบคุณที่สร้างหลักสูตรที่น่าสนใจนี้ครับ

เรียน อาจารย์พลเอก เอกชัยครับ

ด้วยความหวังที่จะเห็นสังคมไทยเป็นสังคมสันติสุขเช่นเดียวกันครับ ผมยังหวังต่อไปอีกว่า เราจะมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย คนกลุ่มหนึ่งที่มีทุนทางสังคมที่ได้รับการยอมรับ มานั่งพูดคุย เสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมีประเด็นเป้าหมายคือ "สังคมสันติสุข"

ถือว่าเป็นครั้งแรกและครั้งที่ยิ่งใหญ่ ในการเปิดหลักสูตร ด้วยกระผมเอง ได้มีโอกาสสังเกตการณ์ห่างๆในช่วงของการสมัครเข้าหลักสูตร มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองให้ความสนใจอย่างล้นหลาม เกินความคาดหมาย และท่านเหล่านั้นมาสมัครด้วยตัวเอง

ปรากฏการณ์แบบนี้ หมายถึง ทุกองคาพยพ ในสังคม ตื่นตัวและพร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจกัน นำพาสังคมไทย ที่เป็นเรือใหญ่ ข้ามผ่านนาวาได้สำเร็จ แม้จะมีพายุร้าย คลื่นแรง เราจะประคับประคองวิกฤตนี้อย่างไร...

ขอให้กำลังใจอาจารย์พลเอกเอกชัย และ คณะผู้ดำเนินการเบื้องหลังที่ทำงานหนัก ในการเปิดหลักสูตร ให้กิจกรรมทุกอย่างสอดคล้อง ลงตัว ได้ผลประโยชน์สูงสุด

ขอบคุณ เจ้าหน้าที่ สำนักสันติวิธี และธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า  ที่พร้อมใจกันร่วมทำงานหนัก เพื่อสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในสังคมไทย

ด้วยจิตคาราวะ

สวัสดีค่ะ อ.ลุงเอก

  • เข้ามาเชียร์หลักสูตรค่ะ ชอบแนวคิดและหลักการมากเลยค่ะ
  • เรื่องราวชาวอิสาน ป้าแดง ก็กำลังให้คุณสามีศึกษาอ่ะค่ะ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในเวลาที่ผ่านมา
  • ขอบคุณค่ะ
  • คารวะคุณลุงเอกค่ะ
  • สนใจหลักสูตรค่ะ เหมาะกับสภาพสังคมไทยปัจจุบัน
  • เห็นด้วยกับคุณพลเดช วรฉัตร ขอให้สอดแทรกหลัก คุณธรรม จริยธรรมเข้าไปด้วยค่ะ เพียงย้ำๆๆเติมๆๆ
  • เพราะผู้ที่เข้าไปศึกษาได้รับการพิจารณากลั่นกรองเป็นอย่างดีแล้ว
  • ขอแสดงความยินดีกับพ่อครูบาสุทธินันท์  และท่านอัยการชาวเกาะด้วยค่ะ
  • ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ สวัสดีค่ะ
P ท่าน อท.พลเดช กลับมาเรียนได้  กระบวนการเปิดใจก็หลักธรรมแทรกอยู่ทั้งหลักสูตร  เรื่องทำแน่แต่ทำตรงๆไม่ได้  คนหนีหมด  แล้วถูกฝังจนกลายเป็น Treat จะกลับมาใหม่ยากเย็นนัก  เอาว่าค่อยเป็นค่อยไปอย่าหักโหมครับ

P ขอบคุณน้องเอกใส่ยศซะเต็มที่เลยลุงเอก  ถอดหัวโขนไปนานแล้ว  ยามคนบอกไม่เหมือนทหารกลับดีใจยังไงบอกไม่ถูก  อย่าเก็บหัวโขนมาสวมใหม่เลย
คงต้องทุ่มเทมากๆ  เราคนมีกรรมไม่เคยได้ทำงานเก่าที่เขาทำไว้แล้วทั้งชีวิต  พอสร้างเสร็จติดลมก็ไปอีก  ชีวิตจะไปไหนต่อยังไม่รู้
ทุกคนร่วมไม้ร่วมมือกันดีทั้งที่ต้องคิดรูปแบบใหมสดๆ
P pa_daeng  ขอบคุณที่สนับสนุนคงต้องสู้กันอีกพักใหญ่  เรื่องอิสานน่าสนใจมากๆ

P สวัสดีน้องเอื้องแซะ อาจจะไปเปิดหลักสูตรสั้นๆในภาคเหนือครับ  ลุงเอกมีพระมาเรียนด้วย นศ.ปริญญาเอกพุทธศาสนาก็มาเรียน  แถมมีซิกซ์มาเรียนด้วย

สวัสดีค่ะคุณลุงเอก

  • สนใจอยากไปเรียนบ้างค่ะ
  • เพื่อพัฒนาตนเอง และ
  • และชอบมาก ๆ ค่ะ
  • ทำให้ในหลายๆมิติของสังคม  ได้แลกเปลี่ยนความรู้กันและกัน เข้าใจมุมคิดของคนต่างมิติ ไม่ยึดติดเอาว่า “ตัวกู ของกู” 
  • ไม่ ยึดติดกับตำรา แต่เป็นการผสมผสานกับ ความเป็นจริงในชีวิตช่วยแก้ไขไปในทางเดียวกัน และ
  • วิธีดำรงชีวิตในสังคมที่หลากหลายและแตกต่าง จะดำรงอยู่ได้อย่างไร

สวัสดีครับ ลุงเอก

    มีโอกาสผมคงได้ร่วมเรียนรู้บ้างครับ ในฐานะคนไม่ีมีความรู้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนะครับ สอนกันตั้งแต่จิตอย่างที่ท่านพลเดชว่าก็ดีเหมือนกันครับ แก่นและตาน้ำอยู่ตรงนั้นจริงๆ ครัีบ การแก้ไขปัญหาบางทีผมพบว่าการยอมตัวเราเอง สำคัญจริงๆ ครัีบ ยอมรับตัวเอง ยอมพิจารณาตัวเอง ยอมมาวิจารณ์ตัวเราเอง บางทีเราดื้อเกินไปจนเราติดนิสัยนะครับ พอเรากล้ายอมรับความจริงในตัวเราและเข้าใจชีวิตอื่นๆ อยู่กับสิ่งที่เราเห็นตัวเรา ตามสติเราให้ทัน

    เป็นกำลังให้ทีมงาน และชื่นชมทีมงานทุกท่านนะครัีบ

น่าสนใจมากเลยคะ

"เวที “เปิดใจ” " เป็นเวทีที่น่าสนใจมากจริงๆ ค่ะ

รอดูด้วยใจระทึกค่ะ

เมย์ @สารคาม

เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมากครับ หลักสูตรที่เกิดจากความจริงใจสังคม

อยากเรียนด้วยจังเลยครับ แฮะแฮะ แต่ไม่กล้าพอจะสมัครครับ

สวัสดีค่ะ ความขัดแย้งน่ากลัวมากค่ะ เมืองไทยขณะนี้เกิดการขัดแย้งเพราะจมไม่ลง เคยใหญ่ ก็อยากจะใหญ่ตลอดไป เคยได้ก็อยากจะได้ตลอดไป...เคยใหญ่กะเคยได้ สองอย่างนี้ก็แก้ไม่ไหวแล้วค่ะ

P หลานสีตะวันสวัสดีครับ
เอาไว้ลุงเอกเปิดระยะสั้นในพื้นที่จะชวนมาเรียน
P อ.เม้งกลับมาเมืองไทยเมื่อไรทันที  กำลังจะไปเปิดที่ มอ.หาดใหญ่ด้วย 
เรื่องจืตสอนแบบพระตรงๆคงไม่ได้เปิดหมด  อย่างที่สวนป่าก็สอนจิต
เมย์ครับได้เห็นหน้าเมย์สักหน่อยก็ดีลองโหลดดูนะครับ
การ“เปิดใจ”เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ใครที่ใจปิดมานานจนสนิมขึ้นต้องเคาะพอสมควร  บางคนไม่เจ็บไม่ทรมานยังไม่นึกถึง
P อ.จารุวัจน์คิดถึงจริงๆทราบข่าวอุบัตวเหตุทำให้ต้องผ่าตัดขา  ขอให้หายเร็วๆนะครับจะได้กลับมาลุยกันใหม่  เอาเป็นว่าเปิดใหม่จะเชิญอาจารย์มาหรืออาจไปเปิดที่หาดใหญ่ก็ได้
P หลานampลุงเอกเอาใจช่วยนะครับ 
ไม่ต้องกลัวทุกปัญหามีทางแก้ เมืองไทยมีสิ่งคุ้มครองครับ  ใครคิดไม่ดีก็มีอันเป็นไปครับ

สวัสดีค่ะลุงเอก

หนิงจะขอเรียนรู้ต่อจากพ่อครูบา อีกทอดนะคะ  อิอิ 

ความขัดแย้ง ต้องสนใจ คำเหล่านี้ครับ

"คำถามปลายเปิด" ทำไม อย่างไร เพราะอะไร

"ไม่ใช่คำถามปลายปิด" เอา หรือ ไม่เอา

ขอบคุณครับคุณบังยุบ เรื่องคำถามปลายเปิด  ในชีวิตใช้มากเลย  เบื่อปลายปิดที่  ไม่ยอมให้คิด  ทำไม อย่างไร เพราะอะไร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท