วิธีทำหนังสือนิทานมีภาพประกอบเป็นการ์ตูน


ขยายความคิด

วันนี้ลองนำวิธีทำหนังสือนิทานมาเผยแพร่นะคะ  สมบูรณ์แล้วค่ะด้วยความช่วยเหลือจากน้องบอล  ด.ช.  นพรัตน์  กองแปง  ม.1/2  เรื่องตัดต่อรูปภาพ  ส่วนภาพร่างพี่จุมพล ชาวเนื้อดี  เป็นผู้จัดการและแผ่นภาพเล่าเรี่องเป็นผลงานของพี่จอย  พรสรรค์     ไพรินพร์

วิธีทำหนังสือนิทานที่มีภาพประกอบเป็นการ์ตูนแบบง่าย ๆ                

๑. เลือกอ่านนิทานต้นแบบ เช่น เรื่องกระต่ายกับเต่า               

๒. วิเคราะห์องค์ประกอบของนิทาน                       

           ๒.๑ จุดที่น่าสนใจ ( การวิ่งแข่งกัน ธรรมชาติของเต่าเดินได้เชื่องช้ามาก  เมื่อวิ่งแข่งกับกระต่าย เต่าต้องแพ้แน่นอน  )                                                        

               ๒.๒ วิธีการนำเสนอ ( แล้วทำอย่างไรเต่าจึงจะชนะ   ก็ใช้วิธีให้กระต่ายคิดถึงธรรมชาติของเต่าที่เดินช้า  และความทระนงตนของกระต่ายว่าตัววิ่งเร็วกว่าจึงนอนหลับเป็นการต่อให้เต่า )                      

                   ๒.๓ สาระที่ผู้เขียนฝากไว้เป็นข้อคิด  ( ความประมาทย่อมเกิดการพลาดพลั้งได้ง่าย  และมักเกิดกับผู้ที่คิดทะนงตนว่าตัวเก่งแล้วหรือเหนือกว่าผู้อื่น )               

๓. แต่งเรื่องเลียนแบบนิทาน                         

                   ๓.๑ เปลี่ยนตัวละคร ( อาจเปลี่ยนเป็นสัตว์ชนิดอื่น  หรือ คน )                           

                   ๓.๒ เปลี่ยนสถานที่หรือสถานการณ์ ( จากการวิ่งแข่งขันเป็นทำงาน  หรือเรียนแข่งกัน )                          

                     ๓.๓ เพิ่มเติมเนื้อหา หรือตัวละคร ( ที่มีการกระทำคล้ายกันซ้ำอีกเพื่อเน้นย้ำแนวคิด )               

๔. เขียนแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อนำเสนอเนื้อหา  ภาพ และบทสนทนาโดยเขียนเป็นแผ่นภาพเล่าเรื่อง  และพยายามสื่อความหมายให้ต่อเนื่องและครบตามเนื้อเรื่อง ดังนี้

                      ๔.๑  เลือกและกำหนดภาพตัวละคร ( อาการของตัวละคร )                

                      ๔.๒  บทสนทนา                         

                      ๔.๓  กำหนดบรรยากาศของฉากและสถานที่  ( ข้อควรระวัง ในการนำเสนอต้องไม่ลืมว่าภาษาไทยมีการอ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวาและจากข้างบนลงข้างล่าง  การวางตำแหน่งของกรอบภาพ ตัวละครและบทสนทนาจึงต้องเป็นไปตามวิธีอ่านของไทย )               

   ๕. วาดภาพประกอบเรื่อง  ภาพตัวละคร  ( อาจใช้ภาพสำเร็จรูป หรือคัดลอก ก็ได้ ) ภาพฉากที่มีบรรยากาศสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง  ตามแผนภาพโครงเรื่องที่วางไว้โดยเขียนเป็นภาพร่าง ( Sketch ) ด้วยดินสอดำ ( HB หรือ  2 B ) ก่อนแล้วจึงลงด้วยปากกาหมึกซึม รอให้หมึกซึมเข้าเนื้อกระดาษและแห้งดีแล้วจึงระบายสี ( ต้องไม่ลืมว่าก่อนจะระบายสีต้องตรวจความถูกต้อง เหมาะสม ถูกใจ จนแน่ใจดีแล้ว )              

 ๖. ตรวจความถูกต้อง  เหมาะสม  ถูกใจ  ( แก้ไขก่อน )  ระบายสี   ( สำหรับคนที่วาดการ์ตูนไม่เป็นก็ไม่ต้องท้อแท้นะคะ เพราะสมัยนี้มีการ์ตูน สำเร็จรูปให้เลือกใช้ได้มากมาย  ขอเพียงมีใจรักเราก็ทำหนังสือนิทานได้แล้ว )  

ตัวอย่างการทำหนังสือนิทานมีภาพประกอบเป็นการ์ตูนเรื่อง 

หมุนไปตามลมปาก

สุชีโว    ภิกขุ                

  นานมาแล้ว มีพราหมณ์คนหนึ่งปรารภจะบูชายัญ  จึงไปซื้อแพะมาตัวหนึ่ง  แบกขึ้นบ่าแล้วเดินกลับไปบ้านหนทางตั้งแต่ตลาดไปจนถึงบ้านของพราหมณ์นั้นค่อนข้างไกล  ทั้งเป็นทางเปลี่ยว คดเคี้ยวต้องผ่านป่าไม้ย่อม ๆ  หลายแห่ง   ขณะที่พราหมณ์กำลังแบกแพะเดินไปนั้น  นักเลง   คนซึ่งยืนอยู่ข้างถนนแลเห็นเข้า  นักเลงเหล่านั้นอดอยากซูบผอมมาหลายวัน  จึงปรึกษากันว่า  แพะตัวนี้มีเนื้อมากทีเดียว  ถ้าได้มาด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว  พวกเราจะระงับความหิวได้โดยไม่ต้องสงสัย  

 นักเลงเหล่านั้นมองเห็นอุบายอย่างหนึ่ง  ก็กระซิบบอกกันและกัน  แล้วแยกกันไปสู่ที่ต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามอุบายของตน     พราหมณ์นั้นเดินไป  ก็พบนักเลงคนหนึ่งสวนทางมาและกล่าวว่า  พราหมณ์ !  ทำอะไรอย่างนั้นเล่า?  ท่านแบกสุนัขสกปรกนั้นไปทำไม? ”     พราหมณ์หาได้ใส่ใจคำพูดของนักเลงนั้นไม่  คงเดินต่อไปข้างหน้าตามปกติ เมื่อพราหมณ์ไปได้สักหน่อย  นักเลงคนที่   ก็เดินสวนทางมาและร้องขึ้นว่า  อัศจรรย์อะไรอย่างนี้  พราหมณ์ !  สุนัขนี้มีประโยชน์อะไรสำหรับท่านหรือ?  ท่านทำการที่น่าติอย่างร้ายแรงนี้ได้อย่างไร?   

 พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น  รู้สึกสงสัยอยู่ครัน   แต่ก็ยังเดินต่อไปข้างหน้า  และพบนักเลงคนที่   สวนทางมาอีกเหมือนคนก่อน ๆ  พอแลเห็นพราหมณ์  นักเลงคนนั้นก็ร้องขึ้นว่า   พราหมณ์ ! ท่านนำสายยัญโญปวีต ( ด้ายที่คล้องบนบ่าซ้ายพาดลงมาใต้แขนขวา ) และสุนัข ไปอย่างไรกัน ท่านเป็นนายพรานมิใช่พราหมณ์เสียแล้วหรือ  จึงออกล่าเนื้อด้วยสุนัขนี้               

พราหมณ์ไม่รู้เท่า  ก็แน่ใจว่าสัตว์บูชายัญไม่ได้เสียแล้วคงเป็นสุนัขแน่ ๆ เพราะคนทั้งหมดจะเห็นผิดไปได้อย่างไร  คิดแล้วก็ทิ้งแพะเสีย  แล้วอาบน้ำกลับบ้านไป นักเลงเหล่านั้นก็นำแพะไปกินกันอย่างร่าเริง  

คราวนี้ก็นำเน้อเรื่องมาเขียนเป้นผนภาพความคิดโครงเรื่อง เรียงลำดับให้ดีให้ครบถ้วนตามเนื้อเรื่องนะคะ  ตามตัวอย่างนี่แหละค่ะ  ตัวอาจจะเล็กไปหน่อย คงต้องแกะดูน่ะคะ

จากนั้นก็นำมาเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง  ( ถ้าใครเก่งจะทำเป็นแผ่นภาพเล่าเรื่อง story Board ก็ได้เลยนะคะ )

%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%99

ตอนต่อไปก็จะเป็นแผ่นภาพเล่าเรื่องนะคะ ช่วงนี้ให้เขียนเป็นภาพร่างก่อนนะคะ

ต่อไปก็นำไปทำเป็นแผ่นภาพเล่าเรื่อง.........เย้เสร็จเเล้ว

เพิ่มเติม  ท่านสามารถดาวน์โหลดวิธีสอนจากแผนการสอนจินตนาการสร้างเรื่องและภาพ  โดยมี ออกแบบการเรียนรู้ ผังการประเมินผล ผังมโนทัศน์ (แก้ เมื่อ ๒๒ ม.ค. ๕๑ )


แสดงผล
ดาวน์โหลด

หมายเลขบันทึก: 130825เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2007 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะครูโย่ง

* ขอบคุณค่ะ

* หวังว่าคงถูกใจนะคะ

* แล้วอย่าลืมส่งข่าวให้ทราบบ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท