การดูแลด้านจิตสังคม กับ การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยระยะสุดท้าย


Psychosocial care and spiritual care in pediatric palliative care, July 24 2009, 11:00-11:45 ฟท

วันที่ 24 กค. ที่ผ่านมา ฉัน และน้องกุ้งสุธีรา ได้มีโอกาสไปบรรยายอีกครั้งให้กับ แพทย์ประจำบ้านเด็ก โดยฉันพูดเรื่อง การดูแลด้านจิตสังคม (mind, thought+social)=(Psychosocial care) และน้องกุ้งพูดเรื่อง การดูแลด้านจิตวิญญาณ (Spiritual care) = thought+ believe ของคนไข้

Dsc00504

Psychosocial and spiritual เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป้าหมายคือการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (การแพทย์ทางเลือกเพื่อจิตวิญญาณ)

Dsc00502

ฉันพูดในงานที่ทำ และในบทบาท C0-ordinator ในการดูเด็กระยะสุดท้าย และ เพราะเราดูแต่ละ case ตั้งแต่ต้นจนจบ (ฉันจัดทำ Profile ผู้ป่วยเด็กมะเร็งทุกรายที่อยู่ในความดูแล)วางแผนดูแลรวมกันอย่างต่อเนื่องกับเด็กและครอบครัว รวมทั้งประสานทีมการดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้อง เช่นสังคมสงเคราะห์ อบต. มูลนิธิสายธารแห่งความหวังเพื่อเด็กมะเร็ง (Thai wishing well foundation)

เนื่องด้วย.."

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องเป็นองค์รวมคือการดูแลคนทั้งคน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย ิตอารมณ์ สังคม จิตวิญญาณของเด็กและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้โดยอาศัยความร่วมมือกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมในการวางแผนและดำเนินการ ตลอดจนการประสานงาน ประสานการดูแลกับเครือข่าย หรือองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดูแลรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น"
การดูแลผู้ป่วย ไม่ควรรักษาเฉพาะโรคที่เขาเป็น แต่ควรรักษาดูแลด้านจิตใจ ประเมินปัญหาด้านสังคมควบคู่กันไป และต้องทำงานเป็นทีม เช่นในเด็กมะเร็งระยะสุดท้าย ปัญหาเศรษฐกิจจะมาอันดับแรก บางครั้งการประสานองค์กรภายในและนอกเพื่อช่วยเหลือ้เด็กและครอบครัว
Dsc00510
น้องกุ้งพูดเรื่อง การดูแลด้านมิติจิตวิญญาณ ซึ่งกุ้งพัฒนางานด้าน Spiritual และ Bereavement care ได้ดี และได้ไปร่วมแลกเปลี่ยนกับทีม สรพ..SHA
Rpc2
Psychosocial and spiritual care ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย บางครั้งมันสาหัสมากกว่าอาการทางกายที่เด็กและครอบครัวได้รับ
Rpc1
Kesanee, APn in pediatric oncology, Pediatric palliative cae co-ordinator..update July 25, 2009,..00:44 am
หมายเลขบันทึก: 280206เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2009 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

มาดูเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายครับพี่ เห็นเรื่องนี้แล้วคิดถึงหมอสกล หมอเต็มศักดิ์และพระไพศาลครับ มาขอบคุณที่ไปเสนอชื่อให้ด้วยครับ อึ้งๆๆ

สวัสดีค่ะ

ได้ยินคำว่า ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หดหู่ใจจังค่ะ

ญาติพี่น้องก็พลอยเศร้าใจไปด้วยที่รู้ว่าคนในครอบครัวกำลังจะจากไป

เคยมีความรู้สึกเช่นนี้มาก่อนค่ะ สำคัญที่จิตใจจริงๆ

แต่ก็ต้องทำใจ ถึงเวลาทุกคนก็ต้องไปที่จุดหมายเดียวกันเดียวกัน

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

 

 

หวัดดีค่ะพี่เกศ แดงจะต้องไปดูงาน ที่ชล กับ กทม เดินทาง 8.00 วันนี้

มาทักทายก่อนนะคะ เป็นกำลังใจให้ทีมค่ะ

ฝากดออกไม้แทนความรู้สึกดีๆมาให้พี่สาวคนเก่ง

 

  • P
  • โหวดให้อาจารย์
  • เพราะสมควรได้ตั้งนานแล้ว
  • ขอบคุณนะคะ
  • รู้จักอาจารย์เต็มศักดิ์ อาจารย์สกล พระอาจารย์ไพศาล เพราะเคยไปเป็นวิทยากร/ประชุม ร่วมกันค่ะ
  • P
  • ใช่ค่ะคำว่าระยะสุดท้าย "ผู้ป่วย ญาติ" แม้แต่ตัวเราใช้ ฟังจะรู้สึก ไม่ค่อย OKAY
  • แต่เป็นภาษาที่ทีมสหสาขาสื่อสารเข้าใจตรงกัน
  • แต่เวลาเราพูดกับผู้ป่วยและครอบครัว เราจะไม่ใช้คำนี้โดยตรง เราใช้คำว่า "ประคับประคอง"
  • เพราะ aim การรักษษมี 2 แบบ 1. เพื่อหวังให้หายขาด: curative 2. เพื่อประคับประคอง palliative
  • ดังนั้นเมื่อการรักษาแบบหวังให้หายขาดไม่ได้ เช่นเด็กมะเร็ง โรคกลับเป็นซ้ำ แพร่กระจาย ก็ต้องเปลี่ยนแผนเป็นประคับประคอง
  • แต่ต้องคุยกับเด็ก(โต)และคอบครัวให้เข้าใจ
  • ถ้าเราเตรียมเขาตั้งแต่เนิ่นๆ ทุกคนเข้าใจตรงกัน ทุกคนทำดีที่สุด เขาจะไปแบบสงบ (Peacfully)
  • เหมือนเด็กมะเร็งคนหนึ่งบอกว่า "รู้ว่าไม่หาย แต่ก็อยากอยู่ไปนานๆ ใจจริงก็อยากหาย อยากให้มีปาฏิหารย์ใ..ความตายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเจอ ไม่ต้องแสวงหา.."
  • ขอบคุณนะคะที่เข้ามาแลกเปลี่ยน
  • P
  • โชคดี มีความสุขในการดูงาน เดินทางปลอดภัยค่ะ
  • ขอบคุณจากใจดอกไม้สวยๆ

 

 

  • เป็นการอบรมที่บูรณาการทุกอย่างไว้อย่างครบถ้วนค่ะ ดูแลที่ลึกไปถึงจิตวิญญาณเป็นการดูแลที่รากแห่งปัญหาจริง ๆ ค่ะ
  • ชื่นชมมากค่ะ "Psychosocial and spiritual เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป้าหมายคือการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (การแพทย์ทางเลือกเพื่อจิตวิญญาณ)"
  • P
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

เยี่ยมค่ะพี่เกศ ตอนนี้รู้สึกว่างานเข้านะคะ ดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับพี่เกศ

เดินสายเป็นนักร้องคู่ดูโอ เตรียมตัวไว้งานต่อไปเป็นประชุมวิชาการคณะเเพทย์ใช่ม๊ยคะ

ไม่อยากบอกพี่เกศว่าเคยฝันว่าอยากมีโอกาสเป็นวิทยากรงานประชุมวิชาการคณะเเพทย์

วันนี้จะได้ไปจริงๆเเล้ว

  • P
  • ใช่พูดทีมเด็ก 1 session เลย
  • พี่ก็ต้องพูดภาพรวมทีมในบทบาท C0-ordinator และ Psychosocial support, กุ้ง Spiritual and bereavement care, อาร์มก็บทบาทนักสังคมในทีม
  • และ 25 กย. ต้องไป รพ. อุดร พี่บอกว่าเราจะไปทั้งทีม มี อาจารย์ ศรีเวียง กุ้ง และพี่ค่ะ เพราะงบประมาณมีจำกัดค่ะ
  • Schedule คงจะล้อกับที่ไปเชียงรายค่ะ

สวัสดีค่ะ  มาชื่นชมคนเก่งค่ะ

  • P
  • PHello Krupom
  • ขอบคุณที่มาเยือนเสมอๆ
  • คิดถึงนะคะ

สวัสดีครับ คุณหมอ   เป็นความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่เจียนตายของคนเป็นพ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย เมื่อเด็กๆป่วย  ถ้าเป็นแทนกันได้ก็คงยินดีรับแทน  ได้พบคุณหมอเก่งๆ เมตตาดูแลรักษาการเจ็บป่วยอย่างดี  ทุกคนก็อุ่นใจ  เป็นกำลังใจครับ ขอให้บุญกุศลแห่งคุณความดีนี้ดลบันให้ท่านและครอบครัวมีความสุข ความสำเร็จตลอดไป

  • P
  • ขอบพระคุณท่านผอ. ค่ะ
  • ที่ใส่ใจ เข้าใจ เป็นความทุกข์ที่ยิ่งใหญ่เจียนตายของคนเป็นพ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย เมื่อเด็กๆป่วย  ถ้าเป็นแทนกันได้ก็คงยินดีรับแทน

ผมกำลังทำวิจัยเรื่อง สำรวจทัศนคติและการเลือกใช้ต่อกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยระยสุดท้าย ปัญหาที่ต้องการทราบ

๑ รวบรวมเรียบเรียงบูรณาการองค์รวมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้ครบถ้วนในทุกด้าน เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปด้วยความสงบและสมศักดิ์(สุคติ)

๒.สอบถามผู้สูงอายุว่า ชอบกิจกกรมนี้หรือไม่ , หากมีกิจกรรมนี้จะเรียกใช้หรือไม่ , และจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายหรือไม่ เท่าไร

อยากถามท่านผู้รู้ทั้งมวล ว่า

๑.ในโลกนี้มีธุรกิจชนิดนี้หรือไม่

๒.หากมีอยู่ที่ใด(ต้องทำเป็นธุรกิจเท่านั้น) จิตอาสาทราบดีว่า เมืองพุทธมีกิจกรรมนี้มาตั้งแต่โบราณแล้ว

๓.การมีธุรกิจนำทางคนใกล้จากไปให้จากไปอย่างสงบสันติสุข จะฝืนกระแสวัฒนธรรมไทยหรือไม่

๔. อาจารย์และเพื่อในเวพ มีความคิดเห็นกับ งานวิจัยนี้อย่างไรบ้าง

ผมเรียนอยู่ที่ มหามงกุฏราชวิทยาลัย จิตวิทยา สาขาชีวิตและความตาย

  • เคยไปศึกษาดูงาน palliative care ในเด็ก ที่ Minnesota
  • และมี 3 วันที่ต้องตามบาทหลวง (Chaplancy) ที่ทำงาน full time ใน Hospice and palliative care ของโรงพยาบาลเด็กที่นั่น
  • บาทหลวงจะไปสวดให้เด็กที่นอนรักษาที่บ้าน ในหอผู้ป่วยเด็ก และญาติๆ จะประทับใจมาก
  • และมี 1 รายที่ต้องนำใบมรณบัตรจาก รพ. ไปให้ที่บ้าน (Certificate of death) ญาติไม่อยู่บ้าน
  • เราไปติดต่อที่บริษัทที่รับจัดงานศพ และฝากใบ Certificate of death ไว้ให้ครอบครัว
  • ในอเมริกา ถ้าผู้ป่วย palliation ก็เหมือนทั่วไป Medicare, medicade จ่ายให้
  • ในโปแกรม palliative care ที่นี่มี cover งานศพ แต่ไม่ได้ถามเขาว่าต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่า
  • แต่บริษัทจัดงานศพ มีป้ายใหญ่โตเลยค่ะ และสวยงาม
  • ลองหาข้อมูลอีกนะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่เกด หนูพึ่งเข้ามาครั้งแรกค่ะ ตอนนี้หนูเรียนปริญญาโท ทางด้านการพยาบาลเด็กอยู่ค่ะ และกำลังทำวิทยานิพนธ์ ในด้าน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หนูหางานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กในเรื่องยังไม่ค่อยเจอเลยค่ะ รบกวนพี่เกดช่วยชี้แนะหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

30
นู๋หน่อย งานวิจัย palliative care บ้านเรามีน้อยค่ะ แต่ต่างประเทศ journal เยอะมากลองค้นดฟุนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท