แนะนำวิธีอ่านบทความภาษาอังกฤษ...วันละนิดละหน่อย


เห็นว่าพวกเราหลายๆคนยังมีปัญหากับการอ่านภาษาอังกฤษที่มากันเป็นพืดๆ ก็เลยอยากหยิบเอา paragraph ภาษาอังกฤษใน abstract เรื่องที่น่าสนใจมาบอกเล่าวิธีอ่านกันดูนะคะ เผื่อว่าจะช่วยให้เกิดไอเดียว่า อ่านยังไงถึงจะจับความได้โดยไม่ต้องเสียเวลามากๆ ลองดูก่อนนะคะว่ามีประโยชน์ไหม

เลือกเอาเรื่องที่อ่านพบวันนี้ น่าสนใจดีจาก Medscape (ต้องสมัครสมาชิกและล็อคอินค่ะ แต่ก็ทำได้ทุกคนถ้าสนใจ) เรื่อง Advances in the Prevention of Sudden Cardiac Death in the Young เอาตั้งแต่ชื่อเรื่อง เราต้องหัดแยกส่วนของสิ่งที่เห็น เราจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น แม้ว่าอาจจะไม่รู้ศัพท์ทั้งหมดก็จะพอเดาได้ค่ะ  ประโยคนี้เราเห็นคำพวก in, of, in ก็เดาได้ว่าคำระหว่าง คำเล็กๆพวกนี้แหละคือใจความ อันแรก Advances คำที่สอง Prevention คำที่สาม Sudden Cardiac Death คำที่สี่ the Young ถ้าแยกแบบนี้เราก็จะจับใจความได้ง่ายขึ้นนะคะ ในสี่คำหลักๆนี้เราน่าจะรู้บ้างสักคำสองคำ อย่างน้อย the Young ก็น่าจะพอได้ Prevention อีกคำนะคะ สรุปก็จะได้เป็น "ความก้าวหน้า" ในเรื่อง "การป้องกัน" "Sudden Cardiac Death" ใน "เยาวชน"

ทีนี้ลองดูทั้ง paragraph ที่เป็น Abstract กันดู

Sudden cardiac death (SCD) is a tragic and devastating complication of a number of cardiovascular diseases. Although coronary artery disease accounts for a majority of these deaths across all ages, many other aetiologies contribute to this problem when it occurs in the young (age ≤ 35 years), where coronary artery disease is far less common. Specifically, genetic heart disorders are an important cause of SCD in the young. While pharmacological therapies have made some impact on prevention of SCD, the introduction of implantable cardioverter-defibrillator (ICD) therapy has been the single major advance in the prevention of SCD in the young. In addition, the awareness that most causes of SCD in the young are inherited, means family screening of relatives of young SCD victims allows identification of previously unrecognised at-risk individuals thereby enabling prevention of SCD in relatives. The role of genetic testing, both in living affected individuals and in the setting of a `molecular autopsy', is emerging as a key factor in early diagnosis of an underlying cardiovascular genetic disorder. Understanding the genetic basis of SCD, investigating the molecular mechanisms that lead from the gene defect to the clinical phenotype, and elucidating the specific environmental triggers for SCD, will most likely lead to further key improvements in the prevention of SCD in the young.

ใครอ่านแล้วรู้สึกตาลาย ให้ลองสังเกตตามขั้นตอนต่อไปนี้นะคะ

1. หาจุด full stop จะได้เห็นว่าแต่ละประโยคคืออะไร ดูทีละประโยคก่อน

Sudden cardiac death (SCD) is a tragic and devastating complication of a number of cardiovascular diseases.

Although coronary artery disease accounts for a majority of these deaths across all ages, many other aetiologies contribute to this problem when it occurs in the young (age ≤ 35 years), where coronary artery disease is far less common.

Specifically, genetic heart disorders are an important cause of SCD in the young.

While pharmacological therapies have made some impact on prevention of SCD, the introduction of implantable cardioverter-defibrillator (ICD) therapy has been the single major advance in the prevention of SCD in the young.

 In addition, the awareness that most causes of SCD in the young are inherited, means family screening of relatives of young SCD victims allows identification of previously unrecognised at-risk individuals thereby enabling prevention of SCD in relatives.

The role of genetic testing, both in living affected individuals and in the setting of a `molecular autopsy', is emerging as a key factor in early diagnosis of an underlying cardiovascular genetic disorder.

Understanding the genetic basis of SCD, investigating the molecular mechanisms that lead from the gene defect to the clinical phenotype, and elucidating the specific environmental triggers for SCD, will most likely lead to further key improvements in the prevention of SCD in the young.

จะเห็นว่ามีแค่ 7 ประโยคเองนะคะ (คนเขียนขยันเขียนประโยคยาวจัง แอบนินทาซะเลย) พอแยกอย่างนี้แล้วจะเห็นว่าเราพอจะเดาวิธีเขียนของคนเขียนคนนี้พอได้ว่าที่เหลือจะอ่านยากง่ายขนาดไหนค่ะ สำหรับบทความนี้บอกได้ว่า ที่เหลือคงจะอ่านยากสำหรับพวกเราคนไทยแน่นอน อ่านแค่ abstract ก็พอแล้ว 

2. ในแต่ละประโยค มองหา ใคร ทำอะไร ยังไง ที่ไหน เอาไว้ (ไม่จำเป็นต้องรู้ศัพท์ทุกคำก็จะพอเดาได้ค่ะ)

ตอนแรกนึกว่าจะเขียนได้เร็ว ปรากฎว่าประโยคยาวๆทั้งนั้นเลย ขอเอาไปต่อบันทึกใหม่นะคะ

หมายเลขบันทึก: 272961เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2009 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 18:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • มาอ่านเก็บความรู้..และจะติดตามอ่านตอนต่อไปนะคะ
  • นอนหลับฝันดีค่ะ

สวัสดีค่ะ คณุโอ๋ที่รัก

  • เยี่ยมมากเลยค่ะ
  • ครูอ้อย กอดกระเป๋าผ้าใบหนึ่งค่ะ

 

กำลังทำวิจัยและพยายามที่จะเขียน abstract อยู่ ขอบคุณมากเลยครับ จะติดตามตอนต่อไป

ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

วันนี้เหนื่อยมากๆขอผัดเป็นวันต่อๆไปค่อยมาต่อนะคะ ดีใจมากค่ะที่มีผู้สนใจ ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมเยียนนะคะ อย่างนี้ทำให้มีแรงที่จะมาบอกเล่าวิธีกันต่อค่ะ แต่ต้องขอโทษอย่างแรง วันนี้สมบุกสมบันพอสมควรทำให้หมดแรงเสียแล้วค่ะ ขอพักผ่อนเอาแรงก่อนนะคะ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมชมบล็อกมือใหม่นะคะ

แวะเข้ามาเก็บเกี่ยวความรู้ โดยเฉพาะเรื่องนี้คะ

นักศึกษาที่เรียนเมืองไทยตลอด ภาษาอังกฤษอาจจะไม่แข็งแรงมากนัก

ได้คำแนะนำดี จะได้พัฒนาตนเองกันมากขึ้น

......ศิษย์เก่า ม.สงขลานครินทร์....

ขออีก 1 วันนะคะพรุ่งนี้มาต่อแน่ๆค่ะ วันนี้เพิ่งกลับจากการเดินทาง เหนื่อยใช้ได้เลยค่ะ

บันทึกนี้ยาวแล้ว เลยขอเอาไปต่อที่บันทึกใหม่เลยค่ะ ขอบคุณที่ติดตามนะคะ

ขอสมัครเป็นศิษย์คนหนึ่งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท