เรียนวิทย์ฯแล้วไปทำอะไรกิน...


คำถามนี้เป็นคำถามพื้นฐานที่คนที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจจะเรียนวิทยาศาสตร์ อาจจะถูกถามโดยญาติ เพื่อน(คณะอื่น) หรือใครก็แล้วแต่

โดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์มักถูกมองว่าถ้าไม่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็เป็นครู แต่แท้จริงแล้ว "เราไปได้หลากหลายยิ่งกว่านั้น"

ข้อเสียเปรียบอย่างหนึ่งคือ  "คณะวิทยาศาสตร์" ไม่ได้สอนวิชาชีพโดยตรง และชื่อคณะก็มีความหมายค่อนข้างกว้างเกินกว่าจะระบุวิชาชีพลงไปให้แน่ชัด ไม่เหมือนแพทยศาสตร์  พยาบาลศาสตร์  ทันตแพทยศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  สถาปัตยกรรมศาสตร์  สื่อสารมวลชน บัญชี บริหารธุรกิจ หรือวิชาอื่นๆ ที่ชื่อคณะบ่งบอกวิชาชีพให้ในตัวอยู่แล้ว ใครก็ตามเห็นชื่อคณะก็รู้ได้เลยว่าจบมาสามารถเป็นอะไรได้(แต่ใครจะจบแล้ว เป็นหรือไม่เป็นก็อีกเรื่องหนึ่ง)

ยังมีคณะที่หลัำกๆ แล้วไม่ได้เป็นวิชาชีพโดยตรง แต่เป็นคณะที่สอนตลอดจนวิจัยสร้าง "ความรู้พื้นฐาน" อย่างเช่น สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา รัฐศาสตร์ เป็นต้น ซึ่ง "คณะวิทยาศาสตร์" เองก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้  คือถ้าไม่ได้ทำความรู้จักอย่างจริงจังอาจจะมึนๆ งงๆ ได้ว่า เอ้ จบมาแล้วไปทำงานอะไรกันน้อ...... (นอกเหนือจากเป็นครู อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์)

อย่างไรก็ดี  ครูบาอาจารย์ท่านสอนและฝึกให้เราหาความรู้และสร้างความ รู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ส่วนทักษะพวก  ทักษะปฏิบัติการในห้องแลบ ทักษะการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เตรียมสารเคมี เตรียมตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อ เลี้ยงเชื้อ  เลี้ยงรา เขียนโปรแกรม เขียนแบบ กลึงเหล็ก เชื่อมโลหะ  เขียนลายปรินท์วงจรไฟฟ้า เชื่อมวงจร ตั้งกล้องดูดาว ถ่ายภาพดาวมาทำวิจัย ถ่ายภาพสเปคตรัมดาว  เข้าห้องมืดล้างอัดฟิลม์  ประกอบคอมพิวเตอร์  ทำคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์  ตำผงคาร์บอน ชงเหล้าให้รุ่นพี่(เอ๊ยไม่ใช่)   และอีกจิปาถะนั้น เป็นผลพลอยได้หรือเป็นแนวทางพาเราไปสู่จุดหมาย    ทีนี้ที่เหลือเมื่อเรียนจบก็เป็นหน้าที่ของเราที่จะไปต่อยอดความรู้หาความ รู้เพิ่มเติม โดยอาศัยทักษะการแสวงหาความรู้อย่างที่เราถูกฝึกมา  ดังนั้นใครจะได้ทำงานตรง "สายวิชา" ที่จบมามากน้อยแค่ไหน  ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนที่ขยันและรักการเรียนรู้ครับ 

ตัวผมเองก็ไม่ได้จบคณะวิทย์ฯกับเขาหรอก แต่มีเพื่อนสงสัย ก็เลยส่งเมลล์ไปถามเพื่อนมาครับพี่น้อง

ได้คำตอบจากฟอร์เวิร์ดเมลล์ว่า

จบฟิสิกส์นี่เขาทำมาหากินอะไรกัน (อาจจะกล่าวถึงภาควิชาอื่นด้วยเล็กน้อย แต่ข้อเน้นฟิสิกส์เป็นหลัก)

อาจารย์  เป็นสิ่งแรกที่หลายๆคนนึกถึงครับใครทำอาชีพนี้ถือว่าได้ใช้วิชาความรู้ตามสายงานได้เกือบตรงที่สุด

ครูมัธยม/ประถม  ต้องไปเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครูก่อน หรือสอบบรรจุเข้ารับราชการนะครับสำหรับโรงเรียนรัฐบาล แต่เอกชนนั้นแล้วแต่นโยบายของโรงเรียน

เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการณ์/นักวิจัย ก็เกือบตรงกับสายงานเช่นกัน อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสถานศึกษาหรือสถาบันวิจัยของรัฐ ก็ได้  ตัวอย่างเช่น

  • สำนักงานมาตรวิทยา  มาตรฐานการชั่วตวงวัดพื้นฐาน น้ำหนัก เวลา ความยาว  
  • สำนักงานปรมณูเพื่อสันติ
  • เจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์
  • MTEC สำหรับคนที่เรียนหรือทำวิจัยด้านวัสดุศาสตร์ 
  • NANOTEC (คุณจันทร์คราม-Bluemoon เพิ่มให้) 
  • สถาบันวิจัยซินโครตรอน
  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ตำรวจหน่วยพิสูจน์หลักฐาน/นิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ/เจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์ รุ่นพี่จากแลบเดียวกัน มีคนที่จบไปแล้วไปสอบบรรจุเป็นตำรวจ ปัจจุับันทำงานอยู่กองพิสูจน์หลักฐาน (จริงๆ คณะหรือภาควิชาอื่นก็สอบได้นะ)  นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงนักนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจต้องไปอบรมเพิ่มอีก(ไม่ใช่ปัญหา)

นักบิน  หลายคนบอกว่านักบินนี่จบ ป.ตรี สาขาไหนก็สมัครได้นี่ แต่เป็นความเชื่อส่วนตัวของผมว่าถ้ามีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์  เครื่องยนต์กลไก จะได้เปรียบกว่าในแง่การทำความเข้าใจหลักการบินและอากาศพลศาสตร์ ซึ่งในหลักสูตรนักบินต้องมีแน่ครับ

นักธรณีฟิสิกส์   สำหรับบางมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรร่วม ฟิสิกส์-ธรณี (เ่ช่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ----ผมรู้แค่นี้แหละ) ) นอกจากหลักสูตรฟิสิกส์ล้วนๆแมนแล้ว  นักศึกษาฟิิสิกส์สามารถลงหลักสูตรร่วม(Joint Program) (ไม่ใช่วิชาโทนะครับ  เด็กฟิสิกส์ต้องลง วิชาโท(minor) คณิตศาสตร์อยู่แล้ว) โดยลงทะเบียนเรียนกระบวนวิชาที่ภาควิชาธรณีวิทยาได้ด้วย  ทำให้สามารถทำงานของทางสายธรณีครับ  รุ่นน้อง รุ่นพี่หลายคนไปทำงานกับ  ปตท.  เชฟรอน. เป็นต้น หรือจะต่อโทเอก สายธรณีฟิสิกส์ก็ได้เช่นกัน

นักเคมีฟิสิกส์   โปรแกรมร่วมเคมี-ฟิสิกส์ ต้องไปเรียนและทำแลบเคมีด้วย เมื่อจบแล้ว ทักษะด้านแลบเคมีที่เคยผ่านจะช่วยให้สมัครงานในสายเคมีได้

นักชีวฟิสิกส์  โปรแกรมร่วมชีววิทยา กับฟิิสิกส์  ก็แน่นอนว่าทักษะทางแลบชีว คงช่วยเราหางานสายชีวฯ ได้ด้วย ไม่มากก็น้อย

นักขายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์  พวกกล้องโทรทรรศน์อิเลคตรอน อุปกรณ์ในห้องแลบ  ความรู้ทางฟิสิกส์ช่วยให้เราทำความเข้าใจกลไกของเครื่อง สามารถอธิบายโน้มน้าวลูกค้าได้  

ฝ่ายวิชาการโรงงานอุตสาหกรรม/อิเลคทรอนิคส์  เพื่อนหลายคนทำงานโรงงานครับอยู่ในสายการวิัจัยและพัฒนา หรือไม่ก็อาจจะเริ่มจากการไลน์ผลิต

ผู้ตรวจสอบความปลอดภัย  มีรุ่นพี่ที่ห้องแลบออกไปทำงานด้านการตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์ขนส่งทาง ท่อ พวกแท็งค์เก็บน้ำมัน สารเคมี  แม้จะไม่ตรงสายนักแต่พื้นฐานวิชาฟิสิกส์ทำให้เรียนรู้ใหม่ได้เร็ว

นักถ่ายภาพมืออาชีพ/ธุรกิจร้านอัดรูป/กล้องถ่ายภาพ  อาจจะเป็นความชอบส่วนบุคคลด้วย แต่กล้องถ่ายภาพนี่ ถ้าเข้าใจเรื่องทัศนศาสตร์ด้วย จะีดีมาก  อีกทั้งกล้องดิจิตอลสมัยนี้ใช้ ซีซีดี ซึ่่งแต่เดิมถูกพัฒนามาเพื่อใช้งานด้านดาราศาสตร์  

นักคณิตศาสตร์ประยุกต์ ฟิิสิกส์เรียนรู้หลักการแก้ปัญหา สร้างแบบจำลองเชิงทฤษฎี แล้วเอาคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ นักศึกษาฟิสิกส์นอกจากวิชาฟิสิกส์แล้ว คณิตศาสตร์ก็สำคัญมากจนกลายเป็นวิชาบังคับ

โปรแกรมเมอร์  หลักสูตรร่วม ฟิสิกส์-คอมพิวเตอร์,รวมทั้งแนวโน้มในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น Grid หรือ cluster มาคำนวณ ทำให้นักศึกษาฟิสิกส์ต้องเรียนรู้และใช้คอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมเป็น มีเพื่อนผมหลายคนที่หันไปจับงานด้านโปรแกรมเมอร์รวมทั้งเขียนเวบ เขียนโปรแกรม

 ธุรกิจส่วนตัว หลายคนออกไปจับธุรกิจส่วนตัว ซึ่งแล้วแต่ความสนใจครับ แม้จะดูไม่ตรงสายงานนักก็ตาม

Edit เ้พิ่ม  นักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์การเงินและตลาดหุ้น ในไทยยังไม่ทราบแน่ัชัดว่ามีหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นอเมริกา นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ จะไปทำงานกับบริษัทการเงินการธนาคารเหล่านี้น เพื่อทำแบบจำลองหรือทฤษฎีสำหรับคาดการณ์แนวโน้มของตลาดเงินตลาดทุน

นักเขียน/นักข่าว(คุณจันทร์คราม-Bluemoon แนะนำ)  เป็นนักเขียนบทความวิชาการ นักข่าววิทยาศาสตร์ นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ อย่าง Isaac Asimov ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านชีวเคมี กับ Sir Arthur C. Clark จบฟิสิกส์และคณิตศาสตร์)

จริงๆ ก็ยังมีอีกเยอะ  แต่ผมเองก็มีประสบการณ์และความรู้จำกัด คงหวังพึ่งทุกคนมาแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม ข้อมูล+ความรู้กัน

หลายคนคาดหวังว่า "มหาวิทยาลัย" คือแหล่งผลิตบัณฑิตออกไปป้อนตลาดแรงงาน ซึ่งก็ถูกต้องส่วนหนึ่ง   อย่างไรก็ตามหน้าที่ของมหาวิทยาลัยอย่างหนึ่งก็คือ ต้องวิจัยสร้าง "ความรู้" ใหม่  เป็นหัวหอกทะลวงไปในโลกวิชาการ เป็นแหล่งสร้างความรู้เพื่อรับใช้ท้องถิ่นและประเทศ  ไม่ใช่โรงเรียนฝึกอาชีพหรือตลาดขายใบปริญญา แต่เพียงอย่างเดียว

ดังนั้นหากนักศึกษาต้องการประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มเติมจาก "การเรียนหนังสือ" "ประสบการณ์เชิงวิชาการ"  หรือ "ใบปริญญา" อย่างที่มหาวิทยาลัยมอบให้  ก็ควรทำ "กิจกรรม"  เพื่อฝึกฝนตนเอง ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาฝึกการทำงาน ผ่านกิจกรรมของกลุ่มนักศึกษาภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย เช่น  สมาคมนักศึกษา สภานักศึกษา พรรคนักศึกษา ชมรมของคณะหรือมหาวิทยาลัย  เป็นต้น  

หมายเลขบันทึก: 211634เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2008 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถูกต้องนะครับ ดีที่สุด สำหรับคำว่า. อิสระ

ลูกสาวจบตรีวทบ.(ฟิสิกส์) กำลังจะจบโท ศึกษาศาสตร์ การสอนวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) กลุ้มใจอยู่เหมือนกันว่าจบแล้วจะไปทำอะไรกิน...ขอบคุณข้อมูลค่ะ

เพิ่งจะเห็นพี่ครูอ้อย ตาลายๆจากการต้อนรับสมาชิกใหม่ งงๆครับ

ยินดีครับ ดีใจด้วยครับ

คุณไปลอกมาจากที่ http://stardustblog.exteen.com/20080813/entry-1

ต้นฉบับโพสต์วันที่ 13 สิงหา 2551

ถึงจะแก้่ต่างว่ามาจาก Forward Mail แต่ก่อนที่จะบอกว่าเอามาจาก Forward Mail ก็เป็น "สำนวน" ของ "ต้นฉบับครับ"

มิหนำซ้ำ ยังมา "สงวนสิทธิ์ทุกประการ" ในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้คิด ไม่ได้เิขียนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท