บทหนึ่งของการพัฒนา


ไม่ว่านโยบายจะเลิศเลอแค่ไหน ที่สำคัญเราไม่ได้เขียนมาเพื่อเก็บในหอสมุดแห่งชาติ หรือบันทึกลงหน้าประวัติศาสตร์ ที่สำคัญจะต้องนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง นั้นคือ ความสำเร็จของการพัฒนา และอย่ายอมแพ้ หากว่าต้องการการเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่าง
 

          ทุกที่ต้องการพัฒนา เช่นเดียวกันบ้านเมืองเราก็มีโครงการพัฒนาต่าง ๆ มากมาย การต่อสู้กับความยากจน การต่อสู้กับยาเสพติด การเกษตรทางเลือก การพัฒนาที่ยั้งยืน หรือว่าที่กำลังติดปากอยู่ตอนนี้ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เป็นสิ่งที่ดีมากเสียด้วยซ้ำ แต่อุปสรรคของการพัฒนาบ้านเรา คือ เวลา เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงเราคนเดียวยังใช้เวลายาวนาน และหากเป็นการพัฒนาคนทั้งประเทศด้วยแล้วจะใช้เวลายาวนานกว่าหลายเท่าตัว

          อุปสรรคอีกอย่างคือ นโยบายภาครัฐ ที่ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพในตอนแถลงนโยบาย แต่ขาดผู้หฏิบัติงานภาคประชาชน หรือใช้หน่วยงานที่งานมีงานล้นมืออยู่แล้วทำงานยังกับยอดมนุษย์ ผลที่ได้คือ การดำเนินนโยบายที่ขาดประสิทธิภาพ(เป็นงั้นไป)

          ผมได้รู้จักกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในชนบทในตอนที่ได้เรียนหนังสืออยู่พร้อมกับทำกิจกรรมไปได้ด้วยกัน(เสียดายมีรูปให้ดูน้อยมาก เพราะไม่สนใจอะไรเลยตอนนั้น จริง ๆ ยังใช้ฟิลม์อยู่ต่างหาก) และได้มีโอกาสได้ทำงานร่วมกันกับสมาคมมีชัย(ไม่ทราบว่าชื่อเต็มว่าอย่างไร)พี่นักพัฒนาเล่าให้ฟังว่า ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่มาจากเงินทุนต่างประเทศ(อะไรกันเนี้ย???) และทำงานเพื่อส่งเสริมให้ชุมชนใช้ชีวิตอย่างพอเพียง(อยู่แล้ว แล้วปัจจุบันทำอะไร) นั่นเป็นตัวอย่างของการพัฒนา การส่งเสริมของผู้ปฏิบัติงานภาคประชาชน จนบางคร้งทำให้ผุ้ปฏิบัติงานหรือว่านักพัฒนาท้อแท้ และใส่เกียร์ว่างในที่สุด         

ช่วงแรก ๆ ที่ผมเข้ามาทำงานกับชนบทนั้น ผมเต็มไปด้วยความมั่นใจว่า ผมจะทำให้ชนบทเจริญรุ่งเรืองเหมือนกับผุ้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับงานชนบท เขาคิดกัน เช่น ข้าราชการ นักธุรกิจ นักวิชาการ และเอ็นจีโอ ทั้งหลาย แถมยังคิดว่าตัวเองจะทำได้ดีกว่าเขาเหล่านั้นเคยทำมา          ในที่สุดผมก็ไม่มีความมั่นใจอะไรหลงเหลืออีกและหมดความอดทนที่จะทำมันอีกต่อไป เมื่อเกิดความขัดแย้งในความคิด และนโยบายด้านการพัฒนาชนบทในหมู่นักพัฒนาด้วยกันเองภายในสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม         

 นั่นเป็นคำกล่าวส่วนหนึ่งของ อาจารย์ชาญชัย ลิมปิยากร นักพัฒนาของสมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในหนังสือ สัพเพเหระ เทคโนโลยีที่เหมาะสม[1] นอกจากนี้ อาจารย์ชาญชัยยังกล่าวไว้อีกว่า

ชีวิตที่เรียบง่ายของชาวบ้านที่นี่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความซับซ้อน เนื่องจากการทะลักเข้ามาของวัฒนธรรมการบริภาคตามกระแสทุนนิยม ผมเรียกมันว่า การตลาดคร่าวิญญาณ ความปรารถนาเป็นตัณหานำไปสู่การกระทำที่มุ่งมั่นตอบสนองตัวเอง จึงทำให้เกิดความแปลกแยกระหว่างเรากับสิ่งรอบข้าง เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ เกิดความรวยความจน เกิดการทำลายกันเอง และทำลายสิ่งแวดล้อม ก็อีกนั่นแหละ ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้คงไม่ซับซ้อนเกิดกว่าจะเข้าใจ แต่เราก็ปล่อยปละละเลยให้เกิดปัญหาขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ เนื่องจากใจเราไม่แข็งพอที่จะขัดขืนความปรารถนาของเราเอง ในที่สุดเราก็จมลงไปในกองทุกข์ การที่เราไม่พยายามแก้ใขทำให้เกิดความชินชากับปัญหาและมันก็สะสมลุกลามไปกลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ในที่สุด!!!!!!!”

          ผมรู้สึกเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้ เพราะผมรู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ นโยบายจากภาครัฐสร้างภาพให้ประชาชนหรือว่าชุมชนได้รู้สึกว่า รัฐได้สร้างสิ่งเหล่านี้ให้พวกเขา แต่เมื่อเอาเข้าจริง ๆ ก็คือ พวกเขาไม่เห็นกลุ่มคนของรัฐที่จะนำนโยบายเหล่านั้นมาปฏิบัติให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดคำถามตามมาถึงสิ่งที่รัฐพูดถึงว่า แล้วไหนล่ะ สิ่งที่พูด จึ่งไม่น่าแปลกใจเลยว่า หากรัฐบาลยุคไหนก็ตามถ้าไม่สามารถนำนโยบายลงสู่ประชาชนได้ ความนิยมก็จะน้อยลง

          ไม่ว่านโยบายจะเลิศเลอแค่ไหน ที่สำคัญเราไม่ได้เขียนมาเพื่อเก็บในหอสมุดแห่งชาติ หรือบันทึกลงหน้าประวัติศาสตร์ ที่สำคัญจะต้องนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง นั้นคือ ความสำเร็จของการพัฒนา และอย่ายอมแพ้ หากว่าต้องการการเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่าง

การพัฒนาต้องยั่งยืน แล้วผลของการพัฒนาจะยั่งยืน


[1] สัพเพเหระ เทคโนโลยีที่เหมาะสม , ชาญชัย ลิมปิยากร ,สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม พิมพ์ครั้งที่ ๑ ,๒๕๔๘
คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนา
หมายเลขบันทึก: 91019เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่ว่านโยบายจะเลิศเลอแค่ไหน... ที่สำคัญเราไม่ได้เขียนมาเพื่อเก็บในหอสมุดแห่งชาติ หรือบันทึกลงหน้าประวัติศาสตร์... ที่สำคัญจะต้องนำไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง นั้นคือ ความสำเร็จของการพัฒนา... และ...อย่ายอมแพ้ หากว่าต้องการการเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่างการพัฒนาต้องยั่งยืน แล้วผลของการพัฒนาจะยั่งยืน ...

ชอบมั่กๆ..ถูกใจจริงๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท