ฟ้องแพทย์


บทเรียนจากคดี และ เหตุปัจจัยที่ทำให้แพทย์ถูกฟ้องร้อง

     เนื่องจากว่ามีข้อมูลเพิ่มเติม และประกอบกับ ในบันทึก"เข้าคุกสามปีไม่รอลงอาญา"

ได้มีผู้มาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้.........

     จากเหตุการณ์ศาลทุ่งสง ได้ตัดสินจำคุกแพทย์เป็นเวลาสามปีใน  ความผิดที่กระทำโดยประมาท

เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยไม่รอลงอาญา ......ตามข้อเท็จจริงที่ทราบจากหนังสือพิมพ์

คณบดีคณะแพทยศาสตร์  และจากคำพิพากษา

      ...เป็นกรณีผู้ป่วยมารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลอำเภอเนื่องจากให้ติ่งอักเสบ

โดยมาพร้อมกับลูกสาว ทางรพ.ได้รับตัวไว้   แพทย์ชายคนหนึ่งเป็นผู้ผ่าตัด

และแพทย์หญิงอีกคนหนึ่งทำหน้าที่ฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึก โดยมีพยาบาลสองคน

เป็นผู้ช่วยในห้องผ่าตัด

      หลังจากแพทย์หญิงฉีดยาชาระงับความรู้สึกและเดินออกไปล้างมือ  แพทย์ชายลงมีดผ่าตัด

ในช่วงเวลาที่ลงมีดพบมีพบเลือดสีดำไหลออกมา 

และพบว่าผู้ป่วยเกิดอาการช็อก  ระบบไหลเวียนล้มเหลว

จึงหยุดการผ่าตัดและช่วยฟื้นคืนชีพ จนหัวใจกลับมาเต้นได้อีก จากนั้นจึงส่งต่อรพ.จังหวัด

และผู้ป่วยได้เสียชีวิตใน 15 วันถัดมา

     ผลชันสูตร พบว่าสาเหตุการตายเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวซึ่งเป็นผลโดยตรงจากเลือด

ไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ  หรือเป็นผลจากจากฉีดยชาเข้าไขสันหลัง

      ประเด็นที่นำมาสู่การพิจารณาคือ สาเหตุการตายคืออะไร  ซึ่งในชั้นศาลสืบความทางการแพทย์ว่า

การฉีดยาชาในปริมาณสูง ผู้ป่วยอาจหมดสติแล้วหยุดหายใจได้  เชื่อว่าเกิดหลังจากการที่แพทย์หญิงฉีด

ยาชาให้ก่อนผ่าตัด มิได้เกิดจากการรักษาของแพทย์ชาย   โดยแพทย์หญิงเองไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า

ให้ยาชาตามปกติ ตามกำหนดทางการแพทย์  (ตรงนี้ทำให้เห็นว่าไม่มีmedical recordที่ถูกต้อง)

      ศาลจึงเห็นว่าแพทย์หญิงหาได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอไม่  ถือเป็นการกระทำโดยประมาท

ปราศจากความระมัดระวังมาวิสัยที่พึงมี และหลังเกิดเหตุก็ไม่ได้บรรเทาผลร้ายแก่ญาติผู้ตาย

และให้การปฏิเสธตลอดมา จึงไม่มีเหตุให้รอลงอาญา  มีผิดตามฟ้อง



เหตุการณ์ที่เกิด

      ในตอนแรกญาติไม่ได้เริ่มต้นด้วยการฟ้องคดี เพียงแค่ต้องการทราบ และต้องการคำชี้แจงจากทางรพ.

ซึ่งก็มีอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทช่วยชี้แจงทำความเข้าใจ โดยญาติขอเพียงคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น

และหากเป็นควาบกพร่องจริงก็ขอให้ทำบุญเลี้ยงพระและขอโทษแม่เขา  จะได้จบเรื่องกันไป

แต่มีความเห็นอื่นจากรุ่นพี่ส่วนกลางและกรรมการส่วนหนึ่งในสภาวิชาชีพให้ความเห็นว่าไม่ควรขอโทษ!!

การทำความเข้าใจเลยไม่เกิดขึ้น!!!

       ญาติร้องเรียนผ่านกระทรวงสาธารณสุขและแพทยสภา  ซึ่งศาลพิพากษาให้กระทรวงชดใช้

เป็นจำนวนเงินหกแสนบาท  (ซึ่งก็เทียบไม่ได้หรอกกับชีวิตคนที่สูญเสีย)  ระบุว่า เป็นกรณีที่แพทย์ประมาท

แต่ไม่ได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง  ทางกระทรวงต้องจ่ายเงินและมาไล่เบี้ยกับแพทย์ไม่ได้

แต่ปรากฎมีการอุทธรณ์ต่อว่า "คดีขาดอายุความ"  ญาติจึงไม่ได้รับการชดเชยใดๆ

     ขณะเดียวกันแพทยสภาวินิจฉัยว่า คดีไม่มีมูล ยกคำร้องเรียน!!!  และตำรวจประสานงานทราบเรื่อง

ก็ไม่รับแจ้งความอีก   ญาติจึงหมดหนทางใดๆ

     จากนั้นได้ไปร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับหน่วยงานอื่นๆรวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

จนนำมาสู่คดีอาญาในที่สุด..........



บทเรียนจากคดี

     เรื่องสำคัญทีสุดคือ....ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ กับผู้ป่วยและญาติ ควรเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน 

ไม่มีแพทย์คนไหนตั้งใจจะได้เกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย  และก็ไม่มีใครที่จะไปรพ.เพื่อหาเรื่องฟ้องแพทย์

ทุกอย่างเกิดจากการปฏิบัติตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนนำมาซึ่งความไม่เข้าใจกัน

กลายเป็นความขัดแย้ง และเมื่อเป็นความขัดแย้งก็ไม่มีใครเข้ามาช่วยทำความเข้าใจระงับข้อพิพาท

ซ้ำร้ายยังมีกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องฉวยโอกาสหาประโยชน์จากกรณีพิพาท  ดังกล่าว

ทั้งแพทย์และญาติล้วนตกเป็นเหยื่อของระบบ!!!

แนวทางแก้ไขระบบ

  • ในช่วงแรกผู้บังคับบัญชา เช่น ผอ.รพ.ควรดูแลไกล่เกลี่ยและ

        ถ้าเห็นว่าการกระทำนั้นมีความบกพร่อง อาจตั้งกรรมการสอบสวนและให้โทษทางวินัยเพื่อยุติเรื่อง

  • แพทย์รุ่นพี่ หรือใครก็ตาม ต้องไม่แนะนำแพทย์รุ่นน้องไม่ให้ขอโทษ ไม่บรรเทาความทุกข์ร้อนแก่ญาติ  

        แพทย์รุ่นพี่หรือบุคคลใดๆ ต้องมีมนุษยธรรม เห็นใจผู้อื่น  คือเห็นใจเพื่อมนุษย์ด้วยกัน        (คนที่แนะนำไปแล้วควรแสดงความรับผิดชอบด้วย)

  • หน่วยงานของรัฐควรจ่ายค่าเสียหายชดเชยให้

  • แพทยสภาควรรับเรื่องไว้ก่อน โดยถือว่าคดีมีมูล โดยเหตุการณ์นั้นมีผลถึงชีวิต โดยพิจารณาจากหลักจริยธรรม

       หรือจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เมื่อมีผู้มาร้องเรียนและเกิดเหตุการณเช่นนั้นก็ควรรับเรื่องไว้

(คดีมีมูล ไม่ใช่แพทย์ผิดทุกประการ  แต่หมายถึง เรื่องที่เกิดมีความเป็นไปได้ถึงการผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพ

และอนุกรรมการจริยธรรมก็จะสอบสวนพิจารณาโทษต่อไป)

  • กระบวนการฟ้องคดีอาญา การเขียนคำให้การในการต่อสู้คดี ต้องได้รับคำปรึกษาและการเตรียนการที่ถูกต้อง


 

หมายเลขบันทึก: 200010เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2008 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ คุณหมออิน :)

คงต้องขอให้ความเห็นใจซึ่งกันและกันจริง ๆ ครับ ... เรื่องคงไม่เกิดขึ้นแบบนี เสียหายกันทั้งสองฝ่าย

ไม่เขียนบันทึกมานานนะครับ อิอิ

ขอบคุณครับ

  • มาช่วยตรวจภาษาก่อนครับน้องหมออิน
  • รอลงกาญา"
  • ตำรวจประสานงานทรตาบเรื่อง
  • ในกรณี
  • ถ้าไกล่เกลี่ยกันได้ตั้งแต่ต้น
  • ยอมถอยหลังคนละก้าว
  • แล้วพูดคุยกันคงดีกว่านี้
  • เชื่อว่าไม่มีเพทย์คนใด
  • อยากทำใหคนไข้ตาย
  • ขอบคุณครับ

เข้ามาให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

ขอบคุณค่ะคุณwasawat

เดี๋ยวจะขอหายไปอีก 2 เดือนนะคะ

----------------------------------------

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ขจิต

นอกจากจะสอนภาษาอังกฤษ ยังสอนภาษาไทยด้วย อิ อิ

-----------------------------------------

ขอบคุณค่ะ หมอsarahที่มาี่ให้กำลังใจ

ขอส่งกำลังใจให้ด้วยค่า

จะสอบ board หรือยังครับ เอาใจช่วยนะ

^^ กำลังใจอยู่ตรงนี้ครับ

ค่า พี่โรจน์

สอบบอร์ดปีหน้าค่ะ

ไม่รู้จะได้เจอกันที่แพร่รึเปล่า(ประชุมเครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัวภาคเหนือ)

-------------------------------------------------------------

ขอบคุณค่าคุณsuksom

รับ +ให้กลับด้วยค้าบบบ

-------------------------------------------------------------

  • ตามมาขอบคุณคุณหมอ
  • งาน gotoknow ที่กรุงเทพฯ
  • จัดไปแล้วครับ
  • เอาภาพมาฝาก
  • สบายดีนะครับ
  • ดีใจที่หมอกลับมาอยู่ มช เหมือนเดิมครับ

ตามท่านข้างบนมาครับ :)

เอารูปมาโม้ให้กับน้องหมอด้วย 555

สวัสดีค่าอาจารย์ทั้งสองท่าน

เห็นบรรยากาศน่าชื่นใจมั่กๆเลยค่า

มาให้กำลังใจหมอคนเก่งครับ

หมอคือผู้เสียสละ

การสื่อสารให้ข้อมูลซึ่งกันและกันจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาได้

สัมพันธภาพระหว่างประชาชนกับทีมสุขภาพเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก

คุณหมอหายไปครบ 2 เดือนแล้วนะคะ

สดชื่น สดใส รับปีใหม่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท