การดำรงชีวิตด้วย KM


ในรอบหนึ่งปีผู้เขียนจึงมีโครงการเรียนรู้ด้วยตนเองมาก หลายชิ้นสอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิต เพราะการทำอาหารเองมีประโยชน์อย่างไร? ผู้เขียนต้องคิด พืชผัก หรือส่วนผสมมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร? คนป่วยต้องรับประทานอาหารประเภทไหน?

 

       การเข้าร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ของผู้เขียนในฐานะตอนหนึ่งของวิทยากรกระบวนการ  ตอนหนึ่งในสถานภาพผู้รับฟังประสบการณ์ของกูรูKM ต่างๆ   ทำให้ผู้เขียน Replay ภาพการเรียนรู้ KM ปฏิบัติในปัจจุบัน ย้อนไปอดีต ของตนเอง  จนอยากจะเขียน เรื่อง การดำรงชีวิตด้วย KM

       แรกเริ่มผู้เขียนสนใจ KM  เกี่ยวกับ  เรื่องการเรียนรู้  การพัฒนาจิต หรือสมองส่วนลึกของคน  โดยที่เราเข้าใจว่าการเรียนรู้ไม่ใช่การเรียนธรรมดา แต่ต้องผ่านการปฏิบัติรู้ผิดรู้ถูกในเรื่องนั้น    ผู้เขียนอยู่ในแวดวงของการบริหารองค์กร จึงได้เรียนเครื่องมือบริหารของต่างประเทศที่แล้วแต่จะฮิตตัวไหน เป็นช่วงๆไป   ในขณะที่ผู้เขียนสงสัยว่า เครื่องมือตัวไหน? จะช่วยแก้ไขปัญหาในองค์กรได้ หรืออีกนัยยะหนึ่ง นำมาใช้แล้วเกิดการพัฒนาจริงๆ     ผู้เขียนคล้ายกับได้คำตอบจาก การประมวลคำชี้แนะของอาจารย์ท่านต่างๆ ทั้งในและนอกวงการ  ว่า เครื่องมือที่กำลังค้นหานั้น อยู่ที่ตัวคนนั่นเอง เรียกว่า ภูมิปัญญา”   แล้วอะไร? จะเป็นกุญแจไขเปิดประตูนำสิ่งนี้ออกมาใช้ได้   หรือ คำตอบคือ   วิปัสสนา กรรมฐาน ซึ่งเป็น อุบายให้เกิดปัญญา  การสวดมนต์ ปฏิบัติกรรมฐาน ก่อเกิดสมาธิ    ญาณ เป็นความรู้บริสุทธิ์ และเป็นความจริงตามธรรมชาติ ซึ่งอาจได้มาในขั้นหนึ่งของการฝึกกรรมฐานสม่ำเสมอ อย่างไม่หลงทาง และก็อาจสูญไปได้จากตัวคน เช่นกัน เมื่อเกิดอาการหลง หลุดออกจากทางสายกลาง

       การดำเนินการฝึกฝนเริ่มต้นขึ้นตามแผนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของผู้เขียน  ครูผู้ฝึกฝน คือผู้เสียสละโดยแท้จริง...  จนผู้เขียนไม่แน่ใจว่า ตนเองจะมีความสามารถเป็นครู...ตามที่ใฝ่ฝันในช่วงหนึ่งของชีวิต เพราะต้องท้อแท้เสียก่อนแน่ หรือ อาจหาศิษย์ไม่เจอก็เป็นได้  อย่างไรก็ตาม วิทยาทานผ่านการถ่ายทอดเล็กๆน้อยๆก็พอทำเนา

       การได้รับโอกาสเข้าฝึกวิทยากรกระบวนการที่ สคส. ระยะเวลา ๓ เดือน เป็นการเปิดโลกทัศน์อันกว้างไกล จากการเดินทางทุกที่  การสัมผัสบุคลากร ในวงการนอกเหนือจากภาคเอกชน  การฝึกทักษะการเขียน เป็นต้น คล้ายทำดีกรี  การเรียนรู้เรื่องทฤษฎี KM และการปฏิบัติ  ทำให้ผู้เขียนต้องเปรียบเปรยหาแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ให้เหมาะสมกับตัวเรา

       การนำ KM ไปใช้ในองค์กร เพื่อทำการแก้ไขปัญหา  หรือใช้ผสมผสานในการฝึกอบรม เกิดขึ้นหลังจากนั้น  ผู้เขียนพบว่า   การไม่เอ่ยทฤษฎีต่างๆ หรือระบบที่เกี่ยวกับ KM กับคนในองค์กรเชิงวิชาการ  แต่ใช้วิธีชวนคุย หรือสอดแทรกทุกกิจกรรมการทำงานด้วยเทคนิค KM  โดยที่เราทำเป็นตัวอย่าง หรือเป็นผู้เริ่มต้น จะทำให้คนในองค์กร หรือบุคคลทั่วไป รับการสื่อสารนี้ได้ง่ายมาก เกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ดีงาม เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในงานขององค์กรอย่างกลมกลืน  โดยที่เราหลีกเลี่ยงการประกาศระบบแนว ISO ยี่ห้อต่างๆนั่นเอง

      ชีวิตจริง  คือการดำรงชีวิต ให้อยู่รอดได้ต่างหาก ...

 

 การดำรงชีวิตรอดด้วยองค์ความรู้ เทคนิค KM

การเรียนรู้ที่จะอยู่รอดของมนุษย์  ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

       ต้นปี (พ.ศ. ๒๕๕๓) ที่ผ่านมา มิใช่ต้นปีนี้    ผู้เขียนพบว่าต้นไม้ในสวนมีการปรับตัวให้อยู่รอดจากยอด ๒ใบ จะเป็น ยอด ๓ใบ    ประชาชนในภาคใต้หวั่นภัยแล้ง ในช่วงนั้น  แต่ท้ายที่สุดก่อนสิ้นปี ภัยพิบัติน้ำท่วมดินถล่มก็มาเยือนชีวิตจริงของประชาชนส่วนหนึ่ง

       วันที่ผู้เขียนช่วยพ่อเก็บยอดผักไปขายนั้น  ด้วยหวังให้งานของพ่อจบเร็วและได้ปริมาณเพิ่มขึ้น แทนการให้ตัวเงินแก่ท่าน   พ่อภูมิใจที่ได้แปลงผลในสวนของเราเป็นเงินเล็กน้อย พอจะแลกซื้อปลาสด หรือขนมสด กลับมาจากตลาด   แต่สิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากกิจกรรมนี้  คือ พบยอดผักใบแปลกๆประมาณ ๗๐%   ของต้นในสวนทั้งหมด จะเกิดแบบนี้ ๑ ยอด  ผู้เขียนแปลความทางสถิติ ว่า แปลก!  ต้นไม้ปรับตัวเพื่อการอยู่รอด จำนวนน้อยนิด   แต่ก็อ่านปรัชญาได้...    ถัดมาเลยกลางปี  เข้าสู่ไตรมาสที่ ๔ แล้ว มีงูสามเหลี่ยมหัวแดง เข้าบ้าน  ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน  ผู้เขียนค้นข้อมูลความรู้ทางอินเทอร์เน็ต จึงรู้ว่าจะพบมากทางนครศรีธรรมราช  ปกติที่บ้านผู้เขียน จังหวัดพังงานั้น จะพบ จำพวกงูเห่า  งูเขียว  งูกะปะ     เดือนสุดท้ายของปี ผู้เขียนพบปลาทูน่าสด วางขาย ที่ตลาดนัด จำนวนมากกว่า ปลามง  ซึ่งปกติชาวบ้านนิยมกิน เป็นต้น     คนที่อยู่กับธรรมชาติอย่างพ่อ สัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงนี้  รวมถึงชาวท้องถิ่นทางภาคใต้อีกจำนวนหนึ่งที่ปรับตัวพร้อมรับกับ.... สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป 

 

ความรู้ไม่ท่วมหัว  เอาตัวรอดได้”

       ความรู้ไม่มีท่วมเพราะไม่รู้จบ แถมเอาตัวรอดได้  แม้จะเกิดเหตุสุดวิสัยมนุษย์  คือ ภัยพิบัติธรรมชาติ  รัฐบาลไม่สอน หรือไม่เผยแพร่  ก็ไม่โทษ  ผู้เขียนคิดว่าเราต้องรู้จักคิดของเราเอง รวบรวมองค์ความรู้เก็บไว้ใช้ ยามจำเป็น  เตรียมตนเองให้พร้อม  จะทำให้รู้ว่า เราควรดำรงชีวิตอย่างไร ?  หรือถ้าต้องตายก็พร้อมเสมอนั่นเอง   การหนีภัย  อาจมีผู้รู้หลายท่านเล่าผ่านทางทีวี  ผู้เขียนติดตามข่าว ทำให้รู้ว่า เอกสารจำเป็นต้องถูกเตรียมให้หยิบง่าย  ทรัพย์สินใหญ่ไม่ต้องเอาไป   แผ่นดินไหว ต้องอยู่ใต้โต๊ะ  ต้องอยู่ใต้คาน  ไฟไหม้ ต้องรู้ต้นเหตุไฟ  ต้องใช้วัสดุเช่นผ้าห่มชุบน้ำ ห่อพาตัวเองออกจากกองเพลิง   เป็นต้น   บางความรู้ก็ได้มาจาก การอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

       การท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ แบบเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์  เป็นการเปิดโลกทัศน์ ต่อไปอีก ที่เรียกว่าการเรียนรู้ไม่มีวันจบ  ทำให้ผู้เขียน รู้จัก ท้องถิ่น วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ เส้นทาง และอื่นๆ อีกมากมาย

  • การเดินทางหมื่นลี้ ดีกว่าอ่านหนังสือหมื่นเล่ม  การเดินทางเราจะประสบกับสิ่งแปลกใหม่ทุกครั้ง  เราจะได้องค์ความรู้ใหม่จากการเดินทางแต่ละครั้งสะสมไว้  จะถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ของเราก็ไม่แปลก แม้จะเป็นการเดินทางไปในสถานที่เดิม  แต่วัน เวลา มิใช่เดิม เราก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่  เพราะสรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

 

เราผ่านการฝึกฝน KM ปฏิบัติ เพื่อ...รู้ว่าจะหาองค์ความรู้เรื่องนี้ที่ไหน?  หรือ ไปหาใคร?  หรือ สถานที่ไหน?  และ  จะนำความรู้นั้นมาใช้อย่างไร?

       การเชื่อมโยงองค์ความรู้ เป็นเรื่องที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มหาศาลในการทำงานที่มีคุณภาพ เกิดประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล สามารถแก้ไขปัญหารอบด้าน และนั่น คือการดำรงชีวิตรอด อย่างเป็นสุข ในโลกปัจจุบัน

       วิกฤตการณ์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง   ผู้เขียนเดินตามเส้นทางการเรียนรู้เพื่อรองรับวิฤตการณ์  จึงเรียนรู้จากการเผชิญปัญหา โดยมีผู้ชี้แนะ และลงมือปฏิบัติลองผิดลองถูกด้วยตนเอง  การแสวงหาผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆที่เราต้องการเสริมความสามารถด้านนั้นให้แข็งแกร่งขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น  ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเขา    ทุกรอบหนึ่งปีผู้เขียนจึงทำการทบทวนเรื่องทฤษฎีเกี่ยวกับ KM โดยสกัด มาจากเรื่องที่ทดลองลงมือปฏิบัติในรอบปีนั้น เช่น

  • การทำอาหาร เพื่อความอยู่รอดปลอดโรค หรือ การรักษาสุขภาพ ด้วยอาหารการกินนั่นเอง

ผู้เขียนฝึกฝนเรื่องการทำอาหารจากการค้นสูตร ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตหลายสูตรที่บอกเคล็ดลับ  สัดส่วน หรือส่วนผสมคล้ายเราเคยกิน ฯลฯ  คัดเลือกมารวมเป็นสูตรใหม่    ผู้ชิมบอกรสชาติและวิจารณ์ สำหรับผู้ชิมก็ต้องมีระดับเป็นแม่ครัว หรือ กินอาหารภัตตาคารบ่อย  ฯลฯ เป็นผู้ตัดสินให้เรา     กรณีอาหารพื้นบ้านก็ต้องมีผู้ชิมคนพื้นบ้านเป็นผู้วิจารณ์รสชาติ     ผู้เขียนสังเกตตนเอง เรามีจุดอ่อนด้านใด? ขณะปรุงอาหาร   อดีตเราไม่รู้ใส่เครื่องปรุงเท่าไร?  ถัดมาเรารู้จักแล้ว และไม่กลัวคำว่า “พอดี” ในการปรุง   เราเริ่มสนใจเรื่องไฟ ความร้อน  เรื่องกระทะ  เป็นต้น    ผู้เขียนลดความใจร้อนในการปรุงอาหารลง  อาจเรียกว่าฝึกสมาธิอย่างหนึ่งก็ได้   ความรู้บางส่วนได้มาจากการดูทีวี   รายการที่ให้ความรู้ด้านนี้ทำให้เราคิดปรับปรุงตัวเรา   ยกระดับเป็น เราสามารถแยกแยะรสชาติได้ว่า อาหารต้องใส่เครื่องปรุงอะไรบ้าง?  เมื่อไปรับประทานอาหารรายการโปรดที่ร้านอาหาร   แล้วลองมาพัฒนาสูตร เลือกเฉพาะส่วนที่ดีของเขาและคงส่วนที่ดีของเราไว้    เช่นนี้  ในรอบหนึ่งปีผู้เขียนจึงมีโครงการเรียนรู้ด้วยตนเองมาก   หลายชิ้นสอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิต  เพราะการทำอาหารเองมีประโยชน์อย่างไร? ผู้เขียนต้องคิด   พืชผัก หรือส่วนผสมมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?  คนป่วยต้องรับประทานอาหารประเภทไหน?    วัตถุดิบที่หาได้ สดใหม่ ปลอดสารพิษ ราคาถูก  ซึ่งอาจได้มาจากการแลกเปลี่ยน หรือการให้ ล้วนเป็นแรงกระตุ้นในการคิดว่า เราจะทำอาหารชนิดใด ? ให้ใครรับประทาน?  นับว่าสนุกพอประมาณทีเดียว  สิ้นหนึ่งปี   ผู้เขียนจะทบทวนว่าได้ใช้คลังข้อมูลความรู้ส่วนTacit หรือ  Explicit เป็นต้น

 

  • การซ่อมแซมเครื่องใช้ไม้สอยเป็นเรื่องน่าปวดหัวสำหรับคนที่มิใช่เทคนิเชียล  เมื่อต้องซ่อมไฟฟ้า ประปา  เครื่องซักผ้า  เครื่องกรองน้ำ หรือ ซ่อมรถ  เมื่อเราเข้าใจช่าง  คุยภาษาเดียวกับช่าง เราไม่รู้วิธีซ่อม แต่การใส่ใจ จะเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ และไม่ต้องถูกหลอกลวง  ผู้เขียนก็ฝึกฝนทักษะด้านนี้ด้วย โดยใช้ KM ผ่านมาเป็นเวลานานแล้ว

 

  • ความเข้าใจเทคโนโลยีควบคู่กับสติ  มีประโยชน์ ป้องกันการถูกหลอกลวงเกี่ยวกับบัตรเครดิต  ยุคสมัยนี้มีภัยใกล้ตัวมากมายที่มาพร้อมกับสิ่งที่เรานิยามว่า ความเจริญ...  เมื่อเราต้องเจอกับกรณีเช่นนี้. ความรู้เดิมจะบอกผู้เขียนว่า  หน่วยงานธนาคารมีระบบการทำงานอย่างไร? ดังนั้นสิ่งที่ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด? เมื่อผู้เขียนตรวจสอบผ่านการค้นหาข้อมูลผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต พบว่า มีผู้ถูกหลอกลวง postเรื่องราวไว้เตือนสติแล้ว  ดังนั้นการแจ้งให้เหยื่อทราบทางโทรศัพท์ เพื่อจัดการกับนักหลอกลวงจึงทันการ เพราะผู้เขียนทราบรู้อยู่แล้วว่า ระบบข้อมูลขององค์การสื่อสารในประเทศไทยไม่ได้ถูกใช้เป็นประโยชน์เชื่อมโยงกับองค์กรตำรวจเพื่อบริการเจ้าทุกข์  เราจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ช่วยเหลือตนเอง

 

       การใช้ KM ในการดำรงชีวิตจริง ไม่ต้องเอ่ยคำ KM เลย แต่ต้องลงมือปฏิบัติ  ใช้ทักษะการฟัง  การซักถาม การมอง การอ่าน  และการทดลอง หรือลองผิดลองถูก เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ เกิดการเรียนรู้ในเรื่องนั้น

 

การฝึกทักษะกับนักเรียนรู้

       ผู้เขียนพบว่า เขาเหล่านั้นจะมีพฤติกรรมส่วนตัวบางอย่างที่น่าสนใจ เช่น

  • บางท่านชอบบันทึก  องค์ความรู้ หรือ เรื่องเล่า อาจอยู่ในรูปแบบ web site  ส่วนมากเป็นชาวตะวันตก เขาจัดเก็บข้อมูลความประทับใจ สิ่งแปลกใหม่ จากการเดินทาง  การทำงาน ฯลฯ ด้วยภาพ หรือ คลิปวีดีโอ แล้วนำไปบันทึกใน web site ส่วนตัว เพื่อประโยชน์สาธารณะอีกทางหนึ่ง
  • บางท่านชอบอ่าน ชอบเขียน  วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ และมอง สัจจะธรรม จากสารคดีธรรมชาติ

       เมื่อเราร่วมการเดินทางไปกับเขา  จะเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  มีการแสดงทัศนะที่สร้างสรรค์แลกเปลี่ยนกัน เกิดการประเมิน การวิจารณ์  นำมาพัฒนาทักษะความสามารถ และองค์ความรู้ของเราได้ไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว

 

       การแลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้เชิงประสบการณ์ในสายงานที่แตกต่าง ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่ผู้เขียนโปรดปราน   เมื่อเริ่มมีการพูดคุยเกิดขึ้น  เราไม่รู้สิ่งที่เขารู้ เขาไม่รู้สิ่งที่เรารู้   ต่างผลัดกันเล่า และแสดงทัศนะถามตอบกัน  คล้ายกับเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ แปลกๆ ที่ต้องร้องว่า  โอ้โฮ!

 

 

       มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ ๕ เรียกน้ำตาผู้เขียนออกมาได้ ในช่วงหนึ่งของการนั่งฟัง... ผู้เขียนสัมผัสได้ถึงความเมตตาของผู้พูด  นี่หรือ คือ คุณธรรม ที่มิอาจแสดงออกมาด้วยคำพูดที่ไพเราะเสนาะหูเท่านั้น  แต่คุณธรรมสำหรับผู้เขียนสัมผัสได้  แม้อาจไม่ใช่คำพูดที่ไพเราะ แต่เป็นความจริง สัจจะ หรือความเข้าใจ ควรค่าแก่การยอมรับ ยกย่อง และศรัทธาต่อบุคคลเยี่ยงนี้    สำหรับ การฝึกฝน  KM ปฏิบัติของผู้เขียนตลอดมาก็ต้องยึดถือกฎ  หนึ่ง. คุณธรรม  สอง. จริยธรรม เช่นกัน   ผู้เขียน เป็นผู้ถูกฝึกฝน  ถ้าผู้เขียนหลุดออกจากกฎนี้  ก็มิแน่ว่าผู้เขียนจะได้รู้เรื่องต่างๆที่เขียนเล่ามา  และก็ไม่แน่ว่า  ที่เล่ามานั้นไม่ใช่

หมายเลขบันทึก: 429065เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2011 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (36)
  • สวัสดีค่ะ 
  • เปลี่ยนตน โลกเปลี่ยน คนอื่นเปลี่ยนตาม ช่ายเลยค่ะ
  • บางครั้งทฤษฎี ก็น่าเบื่อ แต่การคุยกันเล่นๆกลับได้ประเด็นความรู้มากมายที่จะนำไปจัดการต่อไป
  • ขอบคุณค่ะ เห็นภาพขึ้นมาเยอะเลย 

ชอบคำว่า ครูผู้ฝึกฝน ครับ

รู้สึกดีจัง

สวัสดีทุกท่านค่ะ

  • ยินดีที่เกิดประโยชน์นะคะ

ขอบคุณค่ะ

 อ่านความรู้เกี่ยวกับKM  ในการดำรงชีวิต ดีจัง เหมือนกับว่าเป็นการเตือนสติปัญญาที่เคยมีมากมาย ที่ค่อยๆหดหายไปเมื่ออยู่อเมริกาทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นเป็นคนใส่ใจ ใฝ่หาความรู้ ชอบจด ชอบเขียน พออยู่นานๆเข้าที่ต่างประเทศ งานหนัก ทำให้เบื่อตัวเอง จนกลายเป็นคนไร้สมอง ไร้ภูมิปัญญาและไม่สนใจสิ่งใดๆทั้งนั้น ทั้งๆที่เป็นคนชอบเที่ยว ชอบทำงาน ชอบสังสรร ชอบทำอาหารและชอบธรรมชาติ พอได้อ่านเหมือนกับเตือนสติที่หายไปแสนนาน ให้มีพลังขึ้นมาอีกครั้ง ขอขอบคุณจริงๆที่ผู้เขียน ได้เขียนดีมากอยากรู้ใครเขียนคะ

สวัสดีค่ะ

         ขอเป็นกำลังใจให้ คุณgreensleep ฟื้นฟูภูมิปัญญา...  เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ค่ะ

คุณลิขิต

[email protected]

เสาวลักษณ์ หนูรอด

อ่านแล้วได้ข้อคิดดีมากๆ จะลองนำมาใช้ในชีวิต

ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ใหม่ ๆมาให้ค่ะ

อ่านแล้วมีความรู้สึกว่าเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่วิชาการ และเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ค่ะ

ชอบค่ะ  ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้มาให้ค่ะ

ชอบจัง และอยากให้กำลังใจผู้เขียนด้วยค่ะ เรื่องนี้ ทำให้เราได้คิดว่า KM ไมได้ยากนะแต่อยู่ที่ว่าจะเริ่มต้นทำหรือไม่เท่านั่นเอง เมื่อไหร่ที่ได้เริ่มมันก็จะหลั่งไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว เพราะมันเป็นธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเรา ถ้าเรารู้จักหยิบขึ้นมาพิจารณามันก็จะเกิดประโยชน์ทั้งตัวเราและคนอื่นๆได้คนส่วนใหญ่มันจะยากตรงที่จะเริ่มนี้แหละ

อยากให้ทุกคนมีความรู้ไม่ท่วมหัวแต่เอาตัวรอด

มนต์ทิพย์ ตัณฑุลาวัฒน์

การจัดการความรู้เป็นกระบวนการอันอิสระทางด้านความคิด เป้าหมายคือให้เกิดการเรียนรู้แต่วิธีการเป็นเรื่องที่ผู้ที่อยากเรียนรู้ได้ออกแบบเอง ลงมือปฏิบัติเอง สรรหาเอง ดังนั้นการเรียนรู้จึงไม่มีวันจบ  ยิ่งได้ฟังคนที่ประสบความสำเร็จเล่าสิ่งที่เขาทำเอง ทำให้เราเองก็ชื่นชมยินดีและมีความสุขที่ได้ฟัง ได้เห็นมากกว่าการเห็นด้วยตา ไม่ใช่รูปกายภายนอก การมองเห็นที่ว่านี้ เห็นถึงตัวตนของคนคนนั้น มองเห็นถึงจิตใจคนนั้น ยื่งฟังยิ่งชอบ อยากฟังอีกต่อไปเรื่อยๆ แล้วนำสิ่งนั้นมาทบทวนปรับใช้กับตัวเราเอง เมื่อปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองแล้ว เราเองก็ประสบความสำเร็จได้ เราก็มีความสุขด้วย 

ขอบคุณมากที่ทำให้ได้มีโอกาสอ่นบทความดีๆ นะคะ  

มองเห็น KM เป็นรูปธรรมมากขึ้น แท้จริงสิ่งเหล่านี้มีในทุกคนที่ทำงาน เป็นการลองผิดลองถูก สิ่งไหนลองหลายๆครั้งแล้วเกิดผลดี มีประโยชน์ก็นำมาพัฒนาการทำงาน

ทุกอย่างเป็นความรู้ อยู่ที่ใครจะจัดเป็นองค์ความรู้ได้เป็นและมีคุณค่าในความรู้นั้น ยังมีสิ่งที่คอยขวางกั้นอีก เช่น วุฒิภาวะ วัย ฐานคิด ฐานความรู้ กระบวนการรับรู้ การคิด  ความเข้าใจ สังคม สิ่งแวดล้อม ช่วงเวลา อคติ โน้มเอียง โมหะ โทสะ โลภะ ก็นั่นแหละหนาที่ชอบอ้างกันว่า "คนเรานะหนานานาจิตตังละคุณทั้งหลาย" รู้ไปเถิดจะเกิดผล......ครับ

อ่านแล้ว ทุกอย่างที่เคยทำในKM ตัวเองต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นเรื่องชวนคุย น่าจะดีกว่าที่เคยทำ  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณลิขิต

เห็นด้วยอย่างมากครับ อยากให้คนไทยมีทุนทาง คุณธรรม และจริยธรรมมากๆ ผมคิดว่าชุมชนต่างจังหวัดจะหาคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมได้มากกว่าชุมชนในกรุงเทพ

พรทิพย์ เวียงสมุทร

อ่านแล้ว คิดว่าบางอย่างก็ทำอยู่แล้ว บางอย่างยังไม่ทำ จะพยายาม ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณครับ ได้ข้อคิดแบบลึกซึ้ง  คิดว่าจะใช้พัฒนาวิธีทำงานของผมครับ

จะคอยติดตามนะคะ ให้กำลังใจสำหรับความคิดดี ดีค่ะ

ขอคัดลอกข้อความที่ประทับใจมากครับ

- KM  เกี่ยวกับ  เรื่องการเรียนรู้  การพัฒนาจิต หรือสมองส่วนลึกของคน  โดยที่เราเข้าใจว่าการเรียนรู้ไม่ใช่การเรียนธรรมดา แต่ต้องผ่านการปฏิบัติรู้ผิดรู้ถูกในเรื่องนั้น    

- เครื่องมือที่กำลังค้นหานั้น อยู่ที่ตัวคนนั่นเอง เรียกว่า ภูมิปัญญา”   แล้วอะไร? จะเป็นกุญแจไขเปิดประตูนำสิ่งนี้ออกมาใช้ได้   หรือ คำตอบคือ   วิปัสสนา กรรมฐาน ซึ่งเป็น อุบายให้เกิดปัญญา  การสวดมนต์ ปฏิบัติกรรมฐาน ก่อเกิดสมาธิ    ญาณ เป็นความรู้บริสุทธิ์ และเป็นความจริงตามธรรมชาติ ซึ่งอาจได้มาในขั้นหนึ่งของการฝึกกรรมฐานสม่ำเสมอ อย่างไม่หลงทาง

-การไม่เอ่ยทฤษฎีต่างๆ หรือระบบที่เกี่ยวกับ KM กับคนในองค์กรเชิงวิชาการ  แต่ใช้วิธีชวนคุย หรือสอดแทรกทุกกิจกรรมการทำงานด้วยเทคนิค KM  โดยที่เราทำเป็นตัวอย่าง หรือเป็นผู้เริ่มต้น จะทำให้คนในองค์กร หรือบุคคลทั่วไป รับการสื่อสารนี้ได้ง่ายมาก เกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่ดีงาม เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในงานขององค์กรอย่างกลมกลืน 

-กรุณาเขียนมาอีกนะครับ จะคอยติดตาม 

สวัสดีเพื่อนสมาชิกทุกท่านค่ะ

  KM จากประสบการณ์ถือว่าสุดยอดค่ะ แต่KM ในองค์กรกว่าจะดึงความรู้จากตัวบุคคล

มาถ่ายทอด และเก็บเป็นความรู้องค์กร เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลานะค่ะ ขอให้กำลังใจในการ

ส่งความรู้ให้กับสมาชิกมากค่ะ

ขออนุญาต สำเนาข้อความเพื่อการ เรียนรู้ ครับ

ขอขอบพระคุณอย่างสูง

 

ชอบมาก อ่านแล้วรู้สึกนึกถึงสิ่งที่เคยสัมผัสมา...แล้วผ่านไป.. แต่กลับหวนมาคิดใหม่

ทำให้มานึกถึงอดีตที่ผ่านมา แต่ก่อนแม่น้ำเจ้าพระยา ใสมากสามารถมอง งมเหรีญบาทที่หล่นลงไปในน้ำได้ แต่มาปัจจุบันน้ำขุ่นมากๆ(เป็นมาหลายสิบปีแล้ว)....ทำอย่างไรจะให้มันหวนกลับมาเหมือนเดิม หรือว่าไม่มีน้ำดี มาไล่น้ำเสีย เพราะน้ำดีมาก็กลายเป็นน้ำเสีย

ดีครับ  การผันคำใหม่ขึ้นมาที่ใช้กับชีวิตจริงได้เลย

"ความรู้ไม่ท่วมหัว แต่เอาตัวรอด"

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปั่นประสบการณ์ที่ดีครับ

ขออนุญาตเอาบางอย่างในบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อครับ

ชอบมาก กับคำว่า ความรู้ไม่ท่วมหัวเอาตัวรอดได้....

ขอบคุณคะ ที่แบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์  ได้ข้อคิดการจัดการความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงที่ดีมากๆ คะ 

ขอบคุณครับ ที่แบ่งปันข้อมูลความรู้  ประสบการณ์  สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้

การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของหน่วยงาน องค์กร  ต้องคิดถึงและปฏิบัติจริงเรื่องคุณธรรม  จริยธรรมให้มากไว้สังคมจะเป็นสุข 

ขอบคุณท่านมาก  สุดยอดครับ

ขอขอบคุณทุกๆท่านค่ะ

         สำหรับข้อวิพากษ์ คำวิจารณ์ คำขอบคุณ ตลอดจน การAARสิ่งที่ท่านได้รับ  ทำให้ผู้เขียนได้คิด และประทับใจ ในประโยชน์ของเครื่องมือGotoknow เป็นอย่างยิ่ง นี่คืิอ ประโยชน์ของเทคโนโลยี เครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ...เพียงเรากล้าที่จะเริ่มต้นในสิ่งที่เราได้ความชัดเจนว่าดีงาม เราก็ย่อมจะได้สัมผัสสิ่งดีงามยิ่งๆขึ้นไปค่ะ

คุณลิขิต

ข้อมูลเป็นแรงเสริมให้กับคนรู้จักคิด กระทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม

ขอขอบคุณในแนวคิด

จิราทิพย์ เผือกเนียร

เห็นด้วยกับผู้เขียนมากค่ะ ดิฉันเองได้นำเทคนิค AAR ที่ได้รับการเรียนรู้จากงานมหกรรมความรู้แห่งชาติครั้งที่ 5 มาเขียนเป็นโครงงานสำหรับแก้ปัญหาในการทำงานด้วยค่ะ

ขออนุญาติสำเนาข้อความไปเล่าต่อนะครับ

การดำรงชีวิตด้วยKM ที่คุณจั่วหัวเรื่อง จำเป็นต้องผ่านกระบวนการเจียระนัยความคิดของตนเองจนตกผลึกระดับหนึ่ง เห็นเป้าหมายชีวิต งานเขียนจึงจะสอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิตใช่ไหมครับ

ขออนุญาติสำเนาข้อความไปเล่าต่อนะครับ

การดำรงชีวิตด้วยKM ที่คุณจั่วหัวเรื่อง จำเป็นต้องผ่านกระบวนการเจียระนัยความคิดของตนเองจนตกผลึกระดับหนึ่ง เห็นเป้าหมายชีวิต งานเขียนจึงจะสอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิตใช่ไหมครับ

สวัสดีค่ะ

       เบื้องหลังงานเขียนชิ้นนี้ ย้อนไป 3-4 ปี ผู้เขียนตัดสินใจทดลองใช้กระบวนการจัดการความรู้ประสบการณ์งาน ในเรื่องส่วนตัว ครอบครัว เป็นต้น  แทนการเป็นนักวิชาการ หรือนักบริหารจัดการในองค์กร เพื่อเสริมสร้างความแข่งแกร่งให้กับสถาบันครอบครัวไทยที่ถูกทุนนิยมกัดกร่อน คล้ายกับเราทดลองหาคำตอบว่า ทำเช่นนี้แล้วจะดีอย่างไร? มีประโยชน์อย่างไร? เปลี่ยนแปลงอย่างไร?  ผู้เขียนร่างบันทึกไว้ทุกปีในประเด็นที่ทดลองแล้วดี  หรือประทับใจ สะกิดใจ โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา (ผู้เขียนลงมือทำตลอดเวลา 3-4 ปี) แต่ยังไม่ปิ๊งที่จะเล่า  ต่อมา ผู้เขียนเริ่มปะติดปะต่อเรื่องราว ที่เรียกว่า Review ย้อนไป คล้ายว่ามันจำเป็นแล้วที่ต้องบอกเล่า เมื่อเห็นสัมฤทธิผลปลายทาง คือ ต้นปีนี้ เป็นจังหวะ โอกาสที่เหมาะสม  ผู้เขียนจึงเลือกบันทึก หรือบางส่วนของบันทึกนั้นๆ มารวบรวมผูกเป็นเรื่องราวที่เล่ามา ทำให้ผู้เขียนเพิ่งเข้าใจเช่นกัน ตอนเขียนจบ ว่าทำไมเราจึงเลือกทำำเรื่องต่างๆที่เป็นอดีตไปแล้ว? แบบนี้ สำหรับผู้เขียนเรียกว่า "แผน"

       ถ้ามีคนถามว่า เป้าหมายชีวิต หามาจากไหน? สำหรับผู้เขียน เมื่อถึงวัยมหาวิทยาลัย ต้องเลือกเองว่า เรียนสาขาอะไร? ผิดจากตัวเราก็เปลี่ยน ตัวเราเป็นคนแบบไหน? ทำอะไรได้ดี? ชอบอะไร? เมื่อทำงานก็เลือกเองแบบมีเหตุผลรองรับว่า เราจะมีความสามารถด้านนี้   การเริ่มต้นช่วงนี้ เป็นช่วงสำคัญหนึ่ง ต้องมีผู้ชี้แนะ มองและอ่านความสามารถ ความโดดเด่น ในอนาคตของเราออก โดยที่เราเห็นจริงด้วย หลังจากนั้นจะกลายเป็นแผนการเรียนรู้ควบคู่ไปกับแผนการดำรงชีวิตตลอดไป  ที่แปลก ก็คือ จะมีเรื่องราวความรู้ในวัยเด็กมาช่วยเราด้วย ในเวลาที่เหมาะสม  ทำให้เราจะสามารถเปิดคลังความรู้ในตัวเรามาใช้ประโยชน์ได้หมดทุกส่วน เป็นอัตโนมัติ เช่น ยายผู้เขียนเป็นแม่ครัวฝีมือเอก ผู้เขียนจะจำรสชาติ เครื่องปรุงที่ท่านทำได้ เมื่ออยากจะทำอาหารชนิดนั้น ตอนเด็กผู้เขียนทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยตีไข่เท่านั้น (วัยประถม)  และการอยู่กับแม่ตอนทำครัวคอยชิมรส เตรียมเครื่องปรุงง่ายๆ ก่อนเราเริ่มวัยเรียน ก็ถูกเก็บความรู้และความจำไว้ในจิต หรือสมอง ของเรา เช่นกัน  ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีเรื่องตื่นเต้นบ่อย จนชินเป็นธรรมดาว่า  เป็นเช่นนี้เองหรือ?

 

ขอบคุณค่ะ ที่ติดตามและแสดงความสนใจ

คุณลิขิต

อยากร่วมเรียนรู้ องค์กรที่ผมอยู่เพิ่งกำลังทำความเข้าใจและพัฒนา แต่เป้าหมายผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะมุ่ง KM เพื่อการประเมินผลงาน เศร้าใจ แต่ยังมีกำลังใจที่อยากจะเรียนรู้ตามทุกท่านที่มีความสุขในสิ่งที่ทำในขณะนี้

มีความสนใจเกี่ยวกับ KM ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน  ลองแนะนำให้ด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ

  • ถ้าท่านสนใจ KM ต้องแจกแจงก่อนว่า ทำไม? และสนใจจุดไหนของKM หรือสนใจอย่างไร?  โดยส่วนตัวมีทักษะอย่างไร? ตามตัวอย่างบันทึก

ขอบคุณค่ะ

คุณลิขิต

อ่านข้อความเรื่องการดำรงชีวิตด้วย km ของคุณแล้วได้จุดประกายแง่คิดใหม่ๆให้กับดิฉันต้องขอขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท