ไข้หวัด 2009 ประชาสัมพันธ์ช่วยกันหน่อยนะคะ


ร่วมด้วยช่วยกันป้องกันในวงกว้าง ดูแลตนเองสู้กับไข้หวัด 2009 กันค่ะ

ข่าวการระบาด จากไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทวีคูณ และพบมีผู้เสียชีวิต แล้ววันนี้อยู่ที่ 15 รายใกล้ตัวเราเข้าไปทุกวัน

ผู้คนแตกตื่น  เข้ามารับการตรวจวินิจฉัยแต่ละโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นเท่าทวีคูณเช่นกัน ขณะที่โรงพยาบาลต่างๆ จัดช่องทางพิเศษรับตรวจคัดกรองผู้ป่วยไข้หวัดใหม่สายพันธุ์ใหม่ 2009

มีรายงานการเสียชีวิตของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 เพิ่มอีก 1 รายที่จังหวัดสมุทรปราการ และพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ในไทย วันนี้เพิ่มอีก 157 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ 28 เมษายน ถึง 11 กรกฎาคม 2552  มีถึง 3,308 ราย

ติดตามสถานการณ์รายวันได้ที่

http://203.157.15.4/index.php

มาร่วมกันเรียนรู้และช่วยกันประชาสัมพันธุ์ให้ความรู้เพื่อป้องกันตนเองห่างไกลไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ในวงกว้างกันนะคะ  

 อาการไข้หวัด 2009

  • มีอาการต่อไปนี้คือ มีไข้ ท้องเสีย  เจ็บคอ  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ปวดศรีษะ  หนาว  และ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนล้า ร่วมด้วย  ในบางคนมีอาการท้องเสียร่วมกับอาเจียน
  • ในอดีตมีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการรุนแรงถึงขั้นเป็นปอดบวม และ ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด   เช่นเดียวกันกับหวัด ที่ไข้หวัด 2009 อาจจะแย่ลงจนต้องมีสภาพการเรื้อรัง ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัด 2009 ควรได้รับการพิจารณาถึงศักยภาพในการติดเชื้อ  ระยะเวลาความยาวนานของการฟักเชื้อจนมีอาการ  และความเป็นไปได้ของอาการป่วยที่ยาวนานถึง 7 วัน   เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจได้รับเชื้อเป็นเวลานาน

    สัญญานเติอนภัยที่จะบ่งบอกถึงการต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วนที่ต้องสังเกตมีดังนี้  ในเด็ก  หากเด็กมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจลำบาก  ผิวหนังเป็นจ้ำสีน้ำเงิน    ดื่มน้ำน้อยไม่เพียงพอ   ปลุกไม่ตื่น หรือไม่มีอาการตอบสนอง  มีอาการงอแงไม่ยอมให้อุ้ม  มีไข้เฉียบพลัน  หรือมีอาหารหวัด ไออย่างรุนแรง  หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ ต้องรีบเข้ารับการรักษาทันที    ในผู้ใหญ่ สัญญานเตือนภัยที่จะต้องรีบรักษาเช่นกันคือ อาการหายใจลำบาก หรือหายใจถี่  เจ็บ แน่นหน้าอกหรือช่องท้อง  วิงเวียน หน้ามืด  และอาเจียนอย่างรุนแรง หรืออาเจียนเป็นเลือด  หากมีอาการเหล่านี้ต้องรีบรักษาอย่างเร่งด่วน
  •  

     

    วิธีป้องกันตัวจากไข้หวัดสายพัธุ์ใหม่ 2009

     

     

         ไข้หวัดใหญ่ 2009 ระบาดยังไม่หยุด ลักษณะอาการไม่รุนแรง ใกล้เคียงกันกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดิมที่เกิดขึ้นตามปกติ อัตราตายต่ำ อาการป่วยคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล อาการ ไข้หวัดใหญ่ 2009

    การติดต่อเหมือนกัน คือมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว

          ที่ที่พบว่าทำให้ติดเชื้อได้มากที่สุด คือบ้านและโรงเรียน เพราะการติดเชื้อมีปัจจัยสำคัญคือ ต้องใกล้ชิดและสัมผัสกันประมาณ 8 ชั่วโมง หากแค่เดินผ่านกันหรืออยู่ในสถานที่ปลอดโปร่ง โอกาสติดเชื้อมีน้อยมาก

    ที่สำคัญพบว่าผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009  มีอาการน้อย บางรายมีอาการน้อยมากจนไม่รู้ว่าป่วย ร้อยละ 95 สามารถจัดการเชื้อโรคได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นไม่ควรตื่นตระหนกและปฏิบัติตามคำแนะนำ



         กระทรวงสาธารณสุขได้ออกคำแนะนำ ดังนี้

     

        หากป่วยเล็กน้อย ควรหยุดพักเพื่อรักษาตัวที่บ้าน พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ อาการจะหายเองได้ภายใน 2-3 วัน

      
      สวมหน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจามด้วยกระดาษทิชชูหรือแขนเสื้อของตนเอง

      
      ล้างมือด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลบ่อยๆ แยกห้องจากผู้อื่น ไม่ใช้ของร่วมกัน

      
      สำหรับสถานศึกษา หากพบเด็กป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ 3 คนในห้องเรียนเดียว ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบและควบคุมสถานการณ์

      
      สำหรับผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ควรติดตามอาการของตนเอง 7 วัน

      
      โดยในระยะ 3 วันแรกควรพักอยู่ที่บ้านก่อนไปโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษา หรือเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

      
      ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่นพาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

      
      ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียและแพทย์สั่ง

      
      ให้เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดที่ไม่เย็น ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด พยายามรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง

      
      นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก

      
      หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที แจ้งประวัติการเดินทางหรือบุคคลใกล้ชิดให้แพทย์ทราบ

      
      ข้อควรระวัง คือกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่าปกติ

      
      ต้องหมั่นคอยสังเกตอาการไว้ตลอด


    ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก

    จาก http://women.mthai.com/views_health_11_47_38006_1.women?page=1&

    จากสมุดปกเขียว ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009  http://hilight.kapook.com/view/38246

    หมายเลขบันทึก: 275411เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2009 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (8)
    • สวัสดีค่ะ อ.ไก่
    • เตรียมพร้อมดีจังเลย
    • ซู๋ๆๆค่ะ

    เอ อาการเล็กน้อยที่ว่า คืออย่างไร และจะทราบได้อย่างไรว่าใช่ไข้หวัดใหญ่ 2009

    P สวัสดีค่ะ pa_daeng

    • เป็นไงบ้าง ที่ รพ.ชุมชน เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ไข้หวัด 2009 กันหรือยังคะ

    P สวัสดีค่ะพี่ ใบบุญ

    • อาการคล้ายไข้หวัดปกติที่เราคุ้นเคยค่ะ
    • มีไข้ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ  หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย
    • อาการเล็กน้อย  ก็คือ อาจมีอาการไม่ครบทุกข้อ หรือมีอาการครบทุกข้อแต่ไม่รุนแรงค่ะ
    • ดูว่าใช่ หรือเปล่า แพทย์จะดูผลจากประวัติมีภาวะเสี่ยง ฟังเสียงปอด ดูผล X ray ปอด ผลตรวจเลือด CBC และผลตรวจเสมหะ ค่ะ

     

    ผลcbcมีอะไรผิคปกติบ้างครับ(ดูได้จากอะไรบ้าง)

    CBC มีค่าเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ แสดงว่ามีการติดเชื้อ

    ติดเชื้ออะไร ก็ใช้วิธีเพราะเชื้อสิ่งคัดหลั่งก่อนว่าเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรือ ไวรัสอีกครั้งก่อน

     

    ขอบคุณครับแล้ว PLT จะต่ำเหมือนไข้เลือดออกไหมครับ

    • ขอบคุณที่สนใจ
    • อยากให้พบแพทย์ดีกว่ามังคะ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท