การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในผู้ป่วยมุสลิม (Palliative Care in Muslim patients) (ตอนที 2: สู่พระอัลลอฮฺ์)


สู่พระอัลลอฮฺ์ การดูแลผู้ป่วยมุสลิม

ภาคต่อ..ของการดูแลผู้ป่วย "ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์" ความยากอันหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยรายนี้ นอกเหนือจากด้านวิชาการทาง Palliative Care แล้ว ที่สำคัญมากคือความเข้าใจในด้านศาสนา วัฒนธรรมของผู้ป่วย ซึ่งในฐานะที่ผู้เขียน ไม่ได้เป็นมุสลิม มันคือโอกาสพิเศษที่จะเข้าใจมนุษย์อีกคนหนึ่งที่ไม่ได้นับถือศาสนาเดียวกัน ศาสตร์การดูแลผู้ป่วยต่างวัฒนธรรม จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญทันที (Cross-cultural Medicine) ขอยกความดี และการส่งต่อความรู้นี้ อุทิศให้อาจารย์ผู้ล่วงลับของผมอีกท่านหนึ่ง และเป็นภาพอีกด้านที่สะท้อนความหมายของ "Dying with Dignity"  ที่มนุษย์หลายค้น เฝ้าค้นหาและอยากที่จะเป็น...

Management (Short term)

•                    Palliative management

•                    เขียนใบขอให้ต้นสังกัดส่งตัวผู้ป่วยเพื่อมารักษาแบบ Palliative care โดยเขียนรายละเอียดการรักษา (ผู้เขียนคาดว่า ต้นสังกัด กังวลเรื่องการรักษาที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากในฐานะเป็นโรงเรียนแพทย์ จากการปฏิเสธการส่งตัวไปที่ รพ.จุฬาฯ)

•                    Explore Disease & Illness

•                    Advance directive : Living will & power of attorney

•                    Pain assessment Understand whole person & Caregiver

•                    Caring caregiver : ventilate & empathy

•                    Advice : Pain management & MST using

•                    Continuity Home care

Management (Long term)

•                    Home care for palliative care (Continuity)

•                    Assess Caregiver : find out caregiver burden

หลักการอิสลาม

            ท่านศาสดามุหัมมัด ศ็อลฯ กล่าวไว้ความว่า “อัลลอฮฺทรงตรัสว่า เราจะเป็นอย่างที่บ่าวคนหนึ่งคิดต่อเรา” (รายงานโดย บุคอรี)

                ท่านอิบนุ อับบาส กล่าวไว้ว่า “เมื่อท่านได้พบเห็นผู้ที่กำลังใกล้เสียชีวิต ก็จงบอกข่าวดีแก่เขาว่า เขาอาจจะได้พบกับอัลลอฮฺ และเขาต้องนึกคิดต่อพระองค์ในทางที่ดี”

ความตายในทัศนะอิสลาม

                อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า “แต่ละชีวิตนั้นจะได้ลิ้มรสแห่งความตายและแท้จริงที่พวกเจ้าจะได้รับรางวัลของพวกเจ้าโดยครบถ้วนนั้น คือวันปรโลก แล้วผู้ใดที่ถูกให้ห่างจากไฟนรกและถูกให้เข้าสวรรค์แล้วไซร้ แน่นอนเขาก็จะชนะแล้วและชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้นั้น มิใช่อะไรอื่นนอกจากสิ่งอำนวยประโยชน์แห่งการหลอกลวงเท่านั้น” (อัลกุอาน 3:185)

การดูแลญาติและครอบครัว

            Palliative Care มิได้ดูแลเฉพาะผู้ป่วยหรือดูแลเฉพาะก่อนเสียชีวิต แต่ดูแลครอบคลุมไปถึงครอบครัวผู้ป่วยหลังเสียชีวิต โดยเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขมุสลิมที่ต้องดูแลครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งพึงเป็นหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามแนวทางอิสลามที่ให้ความสำคัญกับการเยี่ยมเยียนและดูแลช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตดังนี้

1.        การรับสภาพการณ์หรือข่าวการตายของมุสลิมด้วยคำกล่าวในคัมภีร์อัลกุรอาน ที่มีความหมายว่า “แท้จริงเราเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ และแท้จริงเราจะกลับไปหาพระองค์”

2.        ไปเยี่ยมเยี่ยนและให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย ถือเป็นหน้าที่อันพึงปฏิบัติโดยไม่ต้องมีการเชิญ เพียงแต่ได้รับข่าวก็ควรรีบไปเยี่ยม กรณีเป็นญาติหรือเพื่อนบ้าน สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่งคือ การนำอาหารไปให้ เพราะครอบครัวผู้ตายกำลังอยู่ในภาวะโศกเศร้า อาจไม่สามารถดูแลเรื่องกิจกรรมต่างๆได้

3.        การละหมาดญะนาซะฮฺ (ละหมาดให้แก่คนตาย) และขอพรให้กับเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นของสังคมนั้นๆ ต้องทำให้ผู้ตาย

4.        ตามไปส่งผู้ตายจนถึงสุสานและอยู่ร่วมจนกระทั่งฝังเสร็จ

ถ้าบุคลากรสาธารณสุขมุสลิมได้ดูแลญาติและครอบครัวของผู้ตายตั้งแต่เริ่มเจ็บป่วยจนกระทั่งเสียชีวิต และอยู่ร่วมจนกระทั่งฝังเสร็จ ร่วมกับการให้การรักษาทางด้านร่างกายและจิตใจ ตามหลักวิชาการย่อมเป็นการดูแลที่สมบูรณ์ทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการรักษาแบบองค์รวม (Holistic approach) โดยแท้จริง

 

 "ภาพด้านล่างผู้เขียนได้รับอนุญาตจากญาติและผู้ป่วยเพื่อให้ใช้ในงานวิชาการ"

☪ อ้างอิงจาก :

ยูซูฟ นิมะ, สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ. (2550). การแพทย์และการดูแลผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม., สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ (สวรส.ภาคใต้) มอ., 75-89

 

หมายเลขบันทึก: 434515เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2011 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • "คือ โอกาสพิเศษที่จะเข้าใจมนุษย์อีกคนหนึ่งที่ไม่ได้นับถือศาสนาเดียวกัน"
  • เป็นหมอ มี โอกาสพิเศษ แบบนี้ทุกวันนะครับ แต่เราไม่ค่อยรู้ตัวเท่าไร

ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆ ที่เป็นประเด็นชวนคิดต่อครับ

เห็นประเด็นนี้แล้วชื่นชมครับ อันเนื่องจากหลักการใช้ชีวิตของมุสลิมจะผูกติดกับคำสอนของศาสนา และเรื่องเล่าในงานวิชาการของคุณหมอก็พยายามหยิบยกหลักการมาเชื่อมโยงด้วย ผมขออนุญาตแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมครับว่า

1. การเยี่ยมผู้ป่วย เป็นเรื่องสำคัญที่ศาสนทูต (ซ.ล) ให้ความสำคัญมากครับ ตามประวัติท่านจะสอบถามเสมอๆ ว่ามีใครป่วยบ้าง และถามต่อว่ามีใครไปเยี่ยมแล้วยัง

2.อัลกุรอานนอกจากจะเป็นคัมภีร์ที่บรรจุหลักคำสอนทางศาสนาไว้แล้ว ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ที่มุสลิมจะต้องอ่าน โดยอ่านทุกวันครับ และเวลาที่มีใครไม่สบายไม่สามารถอ่านเองได้ ก็จะมีญาติมิตรมาอ่านให้ฟัง ช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาความกังวลใจ มีกำลังใจ

3. อิสลามกำหนดให้มุสลิมการให้เกียรติกับศพ โดยไม่แยกศาสนา การให้เกียรติอย่างง่ายคือการยืนขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนย้ายศพผ่านมา

4. หน้าที่การจัดการศพเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมของคนในสังคม การปฏิบัติกับศพก็ต้องทำเทียบเคียงใกล้เคียงกับคนเป็นครับ เช่นในการอาบน้ำศพ ก็ต้องปกปิด ทำโดยญาติใกล้ชิดที่สุด เพื่อรักษาความอายให้กับศพ

แถวศกพ.ศาสนาอื่นนอกจากศาสนาพุทธค่อนข้างเยอะจากที่เคยได้ไปเยี่ยมบ้านตอนเรียนเป็นนิสิตพยาบาล ยังไงเป็นกำลังให้พี่เฟริสทำงานด้วยความไม่ย่อท้อ แล้วน้องขออนุญาตเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท