สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน (ตอนที่ 1)


กรรมฐาน คือ วิธีฝึกอบรมจิต

โดย ไตรพิตรา วิสิษฐยุทธศาสตร์

 

Vipassana Meditation Center, Thailand

กรรมฐาน แปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิต

จิต แปลว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ

อารมณ์ แปลว่า สิ่งที่ถูกจิตรู้

ธรรมชาติของจิตรับรู้อารมณ์ได้หกทางด้วยกันคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ดีก็เกิดความชอบ เมื่อรับรู้อารมณ์ไม่ดีก็เกิดความไม่ชอบ ความชอบเรียกว่าโลภะ (ความโลภ) คือ ความต้องการยึดเอาอารมณ์นั้นๆ เข้ามา ส่วนความไม่ชอบ เรียกว่าโทสะ (หรือโกธะ) คือ ความต้องการผละหรือสลัดอารมณ์นั้นทิ้งออกไป ทั้งนี้ เพราะว่ามีโมหะ (ความหลง) จึงหลงชอบ หลงไม่ชอบเข้า


ตั้งแต่ตื่นนอนเช้าลืมตาจนกระทั่งเข้านอน มีแต่ได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสถูกต้อง ได้นึกคิดสิ่งต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราชอบไม่ชอบทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้จิตจะมีความสงบได้อย่างไร จิตสงบจะมาจากไหน ความสงบจะมีอยู่ที่ไหน จึงทำให้เราไม่มีความสบายใจ อารมณ์บูดในตอนเช้า อารมณ์เน่าตอนเพล อารมณ์เสียตอนเย็น อารมณ์เหม็นทั้งวัน แล้วจะไปมีความสุขได้อย่างไร

จิตคือนาย กายคือบ่าว พระพุทธองค์ตรัสว่า มะโนปุพพังคะมา ธัมมา มะโนเสฎฐา มะโนมะยา ทุกอย่างอยู่ที่ใจ สำคัญที่ใจ มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ เมื่อใจมีแต่กิเลส คือ โลภ โกรธ หลง การมีนายที่เต็มไปด้วยกิเลสๆจึงสั่งงาน ความจริงแล้ว ใครอื่นจะทำให้เราไม่สบายใจไม่ได้ ใครอื่นจะพูดให้เราไม่สบายใจไม่ได้ แต่ใจที่เต็มไปด้วยกิเลสของเราเองทำความวุ่นวายไม่สงบให้เราตลอดเวลา

ปุถุชน แปลว่า คนที่หนาไปด้วยกิเลส คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนสามัญธรรมดาทั่วไป ซึ่งยังไม่บรรลุเป็นอริยบุคคลหรือพระอริยะ

ปุถุชนทุกคนมีกิเลสเท่ากันหมด คือ 12 ดวง (จิตที่มีกิเลส) แบ่งเป็น

  • โลภะ (โลภจิต) 8 ดวง
  • โกรธ (โทสจิต) 2 ดวง
  • หลง (โมหจิต) 2 ดวง
  • เมื่อปฏิบัติจนได้เป็นอริยบุคคลขั้นต้นๆ จึงละกิเลสได้บ้าง เมื่อถึงขั้นที่เรียกว่า อรหันต์ จึงชื่อได้ว่าละได้หมด คือหมดกิเลสนั่นเอง

    กรรมฐาน คือ วิธีฝึกอบรมจิต เป็นการฝึกอบรมนายของเราให้เบาบางลงจากโลภ โกรธ หลง เหล่านั้นแบ่งเป็นการฝึก 2 วิธีคือ สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

    สมถะ แปลว่า สงบ หมายถึงทำจิตใจให้เป็นสมาธินั่นเอง ที่ว่าสงบนั้น คือสงบจากนิวรณ์ (นิวรณ์ คือ สิ่งที่คอยขัดขวางจิตใจไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมหรือในการทำความดี) ซึ่งมี 5 อย่าง คือ

  • 1. กามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในกามคุณ
  • 2. พยาบาท - คิดร้ายผู้อื่น
  • 3. ถีนมิทธะ - ความหดหู่ซึมเซา
  • 4. อุทธัจจ กุกกุจจะ - ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
  • 5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยไม่กล้าตัดสินหรือลงมือทำแล้วแต่เกิดสงสัยในสิ่งนั้นๆจนทำให้เลิกการกระทำความดีไปในที่สุด
  • ถ้าเรามีนิวรณ์ 5 นี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือมีครบทั้ง 5 เราจะไม่สามารถทำความดีได้ หรือทำไปแล้วอาจจะเลิกได้กลางคัน ดังนั้น จึงต้องอาศัยความหนักแน่นแน่วแน่ปลอดโปร่งของจิตใจ พุทโธๆ พองหนอ-ยุบหนอ สัมมาอะระหัง เป็นต้น เพราะว่าชาวต่างประเทศเขาก็สมมติโดยใช้ภาษาของเขาเหมือนกัน เช่น เขาอาจจะบริกรรมว่า A – B ดังนี้เป็นต้น สมถะนั้นมุ่งแต่ให้เกิดสมาธิเพียงอย่างเดียว เอาจิตไปเกาะกับสิ่งสมมุตินั้น ถ้าเป็นการดูลมหายใจ สมาธิจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่ที่ลมหายใจ ถ้าทิ้งคำพูดหรือสิ่งที่เรียกว่าคำบริกรรมเมื่อไหร่ จิตจะมีสมาธิเป็นหนึ่งแนบแน่นอยู่กับลมหายใจ

    สมถกรรมฐาน เวลาปฏิบัติให้ใช้สมมติบัญญัติเป็นอารมณ์ (เป็นสื่อทำให้จิตเป็นสมาธิ เช่นนึกถึงพระพุทธรูป, ลูกแก้ว, หรือชักลูกประคำ รวมไปถึงการใช้คำบริกรรมต่างๆ เช่นใช้คำว่า พุทโธๆ พองหนอ-ยุบหนอ สัมมาอะระหัง เป็นต้น เพราะว่าชาวต่างประเทศเขาก็สมมติโดยใช้ภาษาของเขาเหมือนกัน เช่น เขาอาจจะบริกรรมว่า A – B ดังนี้เป็นต้น สมถะนั้นมุ่งแต่ให้เกิดสมาธิเพียงอย่างเดียว เอาจิตไปเกาะกับสิ่งสมมุตินั้น ถ้าเป็นการดูลมหายใจ สมาธิจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งอยู่ที่ลมหายใจ ถ้าทิ้งคำพูดหรือสิ่งที่เรียกว่าคำบริกรรมเมื่อไหร่ จิตจะมีสมาธิเป็นหนึ่งแนบแน่นอยู่กับลมหายใจ

     


    Note: บทความนี้ตีพิมพ์ลงในหนังสือ “กรรมฐาน (On Medition)”

    ได้รับอนุญาตจากอาจารย์แล้ว

    คลิกเพื่ออ่านต่อตอนที่ 2

    หมายเลขบันทึก: 410576เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2010 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)

    Ico64

    สวัสดีค่ะ คนบ้านไกล

    ขอบคุณค่ะที่แบ่งปันสิ่งดีๆ ค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท