ตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวานแบบใหม่" monfilament 4 จุด"


เสร็จฉันล่ะ ตวรจแค่ 4 จุดเอง

             ประเด็นการตรวจmonofilament 4 จุด ถูกจุดประกายอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ภายหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Foot care in Diabetic ของสมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2551 ซึ่งกล่าวในตอนหนึ่งโดยอาจารย์ศิริวรรณ บุตะเดช ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลสุขภาพเท้าประจำ คลินิกสุขภาพเท้า แห่งโรงพยาบาลเทพธารินทร์

   อาจารย์ได้กล่าวว่า ล่าสุดAmerican Diabetic Association:ADA ได้แนะนำการตรวจMonofilament แบบใหม่ แค่ 4 จุด คือ นิ้วหัวแม่เท้า(Big toe)และหัวกระดูกบริเวณโคนนิ้วที่ 1, 3, 5 รวมเป็น4จุด จิ้มแล้วไม่รู้สึกแค่จุดเดียวใน 4จุดนี้ก็ถือว่า Impairment (Neuropathy) เลย

    ซึ่งจากเดิมเราจะใช้ 10 จุด หากตอบไม่ได้เกิน 4 ใน 10 จุดถือว่ามีภาวะImpairment of Protective sensation หากจิ้มแล้วคนไข้บอกไม่ได้เลยให้ถือว่า Loss of Protective sensation

   จริงอยู่ การเปลี่ยนแปลงมันเกิดได้ขึ้นเสมอในวงการวิทยาศาสตร์สุขภาพของเรา ยาบางตัวเมื่อวานใช้ได้ แต่วันนี้กลับถูกสั่งห้ามใช้เฉยเลย แต่ก็แน่นอนที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรซักอย่างที่ทำกันมาเนิ่นนานมันก็เป็นเรื่องยากอยู่

   จึงมีโทรศัพท์หลายสาย โทรเข้ามาจนต้องมาเคลียร์ในบล็อกครับ

     ประเด็นนี้ผมคุยกับอาจารย์สมเกียรติ มหาอุดมพรมานานแล้ว ว่าตรวจทำไมตั้ง 10 จุด  อย่าง อุ้งเท้าด้านในเนี่ย มันไม่สัมผัสพื้น โอกาสเสี่ยงเกิดแผลก็ไม่มีถ้าตรงนั้นมันชารับความรู้สึกไม่ได้ ก็ไม่เห็นเป็นไร ไปจิ้มทำไม... บางเคสจิ้มแล้วชา 3 จุดบอกว่าไม่เป็น Neuropathy  แต่บังเอิญเป็นจุดที่มีการลงน้ำหนักสูงเช่น นิ้วหัวแม่เท้า โคนนิ้วทั้ง 5 จะไม่พลาดเอาเหรอ แต่ก็ลงเอยว่า เอาวะเชื่อ ADA ไว้ก่อน 10 จุดก็ 10จุด เพราะไม่มี เอกสารอื่นอ้างอิง

   แต่ที่ ADA บอกมาล่าสุด 4 จุดนี่ละถูกใจผมที่สุด ตรวจได้เร็วดี เผลอๆ เท้านึงนาทีเดียวก็ตรวจเสร็จแล้ว

มาดูกันดีกว่า

  เปรียบเทียบอันเดิมกับอันใหม่ 4จุด            4 จุด                                            

          เทียบเคียงกับงานวิจัยของ Dr.Paul Brand และ Dr.Frichy ทำเมื่อ20ปีที่แล้ว ว่า70และ80เปอร์เซ็นต์ของแผลจากภาวะเท้าชาอยู่บริเวณหน้าเท้านั่นแหละ แปลว่า 4 จุดบริเวณหน้าเท้าก็ใช้ได้

                               g

         

       ต่อมา Dr.Price ยังย้ำอีกว่าแผลจากภาวะเท้าชาเกิดจากการเดิน ถ้ามาเทียบกับเส้นทางการลงน้ำหนักจากการเดิน(ลูกศรสีแดง ข้างล่าง)จะพบว่ามันลากผ่าน 4 จุดที่เราตรวจนี้เช่นกัน 

                                             

 

             ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ลองดูก่อนครับว่ามันแม่นยำและเชื่อถือได้อย่างไร แต่ว่าก็กันเหนียวไว้บ้างกรณีที่คนไข้มีภาวะ deformities ไอ้สูตรนี้อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงเพราะความผิดรูปที่เท้ามันส่งผลให้การลงน้ำหนักผิดปกติไปด้วยอย่างเช่น Claw toe ก่อให้เกิดแรงกดสูงที่ปลายนิ้วเราอาจต้องตรวจที่ปลายนิ้วเพิ่มเติมเพราะถ้ามัน Loss of Protective sensation ไปก็อาจเกิดแผลได้เช่นกัน

                                 b

       สุดท้าย การตรวจอะไรซักอย่างมันบ่งบอกว่าเราจะทำอะไรต่อไป เช่น

      พบว่าเท้าชาความเสี่ยงเกิดแผลเพิ่มขึ้น1.7เท่าตัว ก็ต้องหารองเท้าที่เหมาะสมพื่อลดความเสี่ยงให้เหลือศูนย์ เป็นต้น ไม่ใช่ตรวจแล้วบอกว่าคุณเท้าชาแล้วนะครับ ถ้าทำแค่นั้นคนไข้จะไม่ได้อะไรจากการจิ้มmonofilament ของเราเลย

หมายเลขบันทึก: 212460เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2008 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สวัสดีค่ะ ความรู้ใหม่เลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

  • ขอบคุณในความรู้ที่เอาเผื่อแผ่กันค่ะ

ขอบคุณค่ะ คิดไว้เหมือนกัน ตรวจทำไมตั้ง 10 จุด จะนำไปใช้นะค่ะ

แนวร่วมใหม่ๆซิงๆ

พระเจ้าจอร์จ มันยอดมาก นอกจากเสียเวลาน้อยแล้วยังผิดพลาดน้อยกว่า ข้อมูลอ้างอิงเพียบอย่างนี้ แล้วจะช้าอยู่ใย จะรีบเอาไปเผยแพร่ซะบัดnow ขอบคุณมากๆค่า

ตอนนี้ใช้แบบ 4 จุด เร็วดี ขอบคุณที่ช่วยหาแหล่งอ้างอิง เพราะไม่ทราบความเป็นมาเหมียนกัน thank you

ขอบคุณมากนะคะ ได้ความรู้ใหม่ เพราะกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองเท้าที่คลินิคเบาหวานอยู่เนื่องจากการตรวจแบบเก่าใช้เวลานาน ส่วนมากจะทำไม่ทันและสุดท้ายก็ไม่ได้ทำ

นิโรบล กนกสุนทรรัตน์

อ่านบทความของคุณแล้ว มีความคิดตรงกันเลย แต่จากประสบการณ์เก่าและหลังจากลองไปตรวจเพิ่มเติมในคนไข้ใหม่ พบว่า ตรงส้นเท้าก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องระวัง

รวมทั้งบริเวณหลังเท้า อยากเสนอให้เพิ่มการตรวจเป็น routine อีก 2 จุด เป็น

5-6 จุด คะ หรือจะใช้วิธีสอบถามความรู้สึกก็ได้ เพราะที่ส้นเท้าบางทีตรวจยาก

คนส้นเท้าหนา ๆ ตรวจก็ไม่ค่อยรู้สึก

ขอบคุณ สำหรับรูปแบบใหม่ค่ะ

มีข้อมูลที่เกี่ยวกับการบำบัดอาการชาเท้า ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้ภูมิปัญญา

เช่น การนวด รึเปล่าคะ ถ้าใครมี ขอความอนุเคราะห์ด้วยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เยียมยอดเลยค่ะ เป็นความรู้ใหม่

แค่เคยได้ยินมา

ไม่รู้จะไปหาอ่านที่ไหน

กำลังหาข้อมูลทำวิจัยดารนวดเท้าลดอาการชาอยู๋ ขอบคุณสำหรับวิธีตรวจนะคะ

สวัสดีค่ะ เป็นความรู้ใหม่และเป็นประโยชน์มาก ทำให้เราตรวจได้ง่ายและเร็วขึ้น ผิดปกติ 1 ใน 4 ก็ถือว่าชา แล้วใช่ไหมคะ

เมื่อพบว่าผิดปกติ แล้วเราจะทำยังไงต่อ ? แนะนำด้วยค่ะ

พัชราภรณ์ วิริยเวชกุล

ที่ รพ. อู่ทอง จ. สุพรรณก็ตรวจ 4 จุดเหมือนกัน และยังมี monofilament ทำเองซึ่งเป็นรายได้ของคนไขอีกด้วย เราได้ calibrate และก็จดลิขสิทธิ์แล้วด้วย สามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายบริหารของ รพ. นอกจากนี้เรายังไปประกวดงาน HA ได้ที่ 1 อีกต่างหาก

เชียร์อู่ทองครับผม เอาใจช่วยนะครับ

ที่ รพ.บางปลาม้า กำลังหาหนทางตรวจเท้าให้เร็ว เจอแล้วดีใจจัง ขอบคุณมากนะ ถ้ามีอะไรอีกส่งมาด้วยนะ ชอบ เออเป็นลูกค้าของ รพ.อู่ทองด้วยนะ ซื้อที่ตรวจเท้ามาใช้ ดีค่ะ จับถนัดมือดี

ขอบคุณ..พี่เล็ก รพ. บางปลาม้าค่ะ ที่ช่วยแสดงความคิดเห็นหลังการใช้งาน ...

ที่ไหนสนใจติดต่อ ทีรพ. อู่ทองได้ค่ะ

อยากให้หลาย ๆ พื้นที่ มีของที่มีคุณภาพไว้ใช้งาน และส่วนหนึ่ง ก็เป็นรายได้ของผู้ป่วย + ผู้พิการ ของ อ. อู่ทอง

ขอขอบคุณ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคน ที่ร่วมสนับสนุนค่ะ

คุณโสภา ครับ อยากติดต่อ ร.พ. อู่ทอง จัง มีเบอร์โทรมั๊ย

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี  มีประโยชน์มากค่ะ

คนไม่มีความรู้เรื่อง แพทย์ อ่านแล้วไม่เข้าใจเลยครับ 

 

ดิฉันเห็นด้วยกับ อ. นิโรบล กนกสุนทรรัตน์ เพราะเคยเจอปัญหาผู้ป่วยส้นเท้าหนาเช่นกัน

ขอบคุณค่ะได้ความรู้มากค่ะ

ขอบคุณค่ะ ความรู้ใหม่มั่นใจมากขึ้นค่ะ ตอนนี้กำลังทำแผลผู้ป่วยทุกวันที่บ้าน มีปัญหา มี deformity ผู้ป่วยชอบทำให้เกิดแผลใหม่ตลอดค่ะ และดื้อมาก การกดทับและเกิดโอกาสบาดแผลใหม่มีทุกวัน เกิดแผลใหม่ก็ทำแผลเองไม่ให้เราทำ เฮ้อ......ตรวจดูเท้าให้เขาทุกวันถ้ามีรอยช้ำที่ตำแหน่งไหนก็จะใช้ วัสดุเหมือนฟองน้ำ(เขาเอามาจาก USAเดี๋ยวจะถ่ายรุปมาให้ดูค่ะ ) รองตำแหน่งกดทับไว้แล้วให้เปลี่ยนรองเท้า เปลี่ยนตำแหน่งลงน้ำหนัก ลดการกดทับ และนวดเบาๆตรงจุดนั้นๆ รอยกดทับก็หายไป แผลก็ไม่เกิด สำหรับแผลมี 3 แผล ทำแผลโดยใช้น้ำผึ้งทุกวันค่ะ แผลก็ดีขึ้น หายแล้ว 1 แผล เหลือแผลเล็กอีก 1 แผล แผลเห็นกระดูกอีก 1แผล ไม่นานก็หายแล้วถ้าผู้ป่วยให้ความร่วมมือค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ในการตรวจเท้าครั้งนี้ค่ะ ช่วยลดระยะเวลาในการตรวจมากเลยค่ะ อยากได้เบอร์โทรติดต่อของรพ.อู่ทองบ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท