์Neuropathic foot management


prevent amputation

   ในปัจจุบัน เบาหวาน เป็นปัญหาใหญ่ของสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีรายงานว่าเราใช้งบประมาณในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและปัญหาโรคแทรกซ้อนจากภาวะเบาหวานเป็นจำนวนมาก และเป็นปัญหาเรื้อรังของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลอย่างยาวนาน

    มีข้อมูลจากสำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อพบว่า ร้อยละ 6 ของประชากรไทยทั้งหมดเป็นเบาหวาน  และในจำนวนนี้พบว่า ร้อยละ 15 มีปัญหา Nueropathic Impairment foot

    ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะ Nueropathic Impairment Foot(NIF) พบในผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานมากกว่า 10 ปี ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลายส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่างๆตามหน้าที่การทำงานของเส้นประสาท เช่น กล้ามเนื้อมัดเล็กๆในเท้าอ่อนแรงส่งผลให้เกิดนิ้วจิก งอ ( Claw toes) ตามมา ระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติส่งผลให้ต่อมเหงื่อต่อมไขมันไม่ทำงาน ส่งผลให้ผิวแห้ง แตกเป็นแผล และที่น่ากลัวที่สุดคือ อาการชาไม่รู้สึก ซึ่งผู้ป่วยที่เท้าชาจะมีโอกาสเป็นแผลได้ง่าย

     เมื่อผู้ป่วยเท้าชา โอกาสที่จะเกิดแผลจะมีมากกว่าคนปกติ 1.7 เท่า หากมีภาวะ Deformity ร่วมด้วยความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 12.1 เท่า และถ้าหากมีเท้าผิดรูปมากๆหรือเคยมีประวัติการมีแผลมาแล้วโอกาสที่จะเกิดแผลจะสูงถึง 36.4 เท่า และอาจจะรุนแรงจนต้องตัดอวัยวะนั้นทิ้ง

คำสำคัญ (Tags): #neuropathic foot
หมายเลขบันทึก: 8183เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2005 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เส้นประสาท 1 เส้น มี sensory motor autonomic system

เมื่อ สูญเสียการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น จากเบาหวาน โรคเรื้อน spinabifida, nerve damage, paraplegia, heavy matal poisoning และอื่นๆ เราจะสามารถทำนาย ภาวะแทรกซ้อนและการป้องกันได้ง่ายๆ

motor = สูญเสียกำลังกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ posterior tibial n. ซึ่งเลี้ยง กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ในเท้า ก่อให้เกิดความพิการคือ Claws toe, Hammer toe ซึ่งทำให้มีการลงน้ำหนักผิดปกติ ทำให้เกิด หนังแข็งๆ ตามโคนหรือปลายนิ้วได้ ซึ่งทุกคนคงทราบกันดีว่าหนังแข็ง ตาปลา เป็นต้นเหตุหลักๆ ของการเกิดแผล

sensory = ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บ จะเดินได้โดยไม่รู้สึกจนเท้าพุพอง เป็นแผล และเมื่อเป็นแผลแล้ว ผู้ป่วยยังย่ำบนแผลต่อ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แผลหายช้า

ANS = ทำให้ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันถูกทำลาย ผิวจะแห้งและแตกเป็นแผลได้ง่าย

      จะเห็นได้ว่า เมื่อเส้นประสาทส่วนปลาย สูญเสียการทำงาน ทั้ง motor sensory ANS ล้วนแต่เอื้อให้เกิดแผลได้ง่าย วันนี้เราพูดกันเรื่องต้นเหตุการนำมาซึ่งแผลแล้ว ต่อไปจะมาพูด เรื่อง อบัติการณ์ การรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดแผลซ้ำได้อย่างไร

สวัสดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท