งานไม่จบ แม้ว่าแผลหายแล้ว


ป้องกันถูกกว่ารักษาเยอะเลยครับ
         ใน

ปี 1997 มีงานวิจัยของ U.S.NIS (Nationwide Inpatient Sample)ว่าแผลที่เท้าจากเบาหวานในสหรัฐอเมริกาพบในอัตราที่สูงขึ้นในช่วงปี 1993-1997 โดยปัจจัยเสี่ยงหลักได้แก่ peripheral neuropathy, peripheral vascular disease และระยะเวลาที่เป็นเบาหวานมานาน โดยพบว่าโอกาสที่เกิดแผลซ้ำพบได้ถึง 60% ในผู้ป่วยที่เคยเป็นแผลมาก่อน  โดยเฉพาะกลุ่มที่มี severe peripheral neuropathy, ดื่มเหล้าหนัก, ควบคุมเบาหวานไม่ดี, พบแพทย์ช้า <p>     จึงอยากจะชี้ให้เห็นว่าแม้เรารักษาแผลเรียบร้อยจนแผลหายแล้ว เรายังต้องมีบทบาทในการป้องกันไม่ให้แผลเกิดขึ้นอีกเนื่องจาก</p><p>1.ความผิดรูปของเท้า(Deformity) ยังคงอยู่ แรงกดที่ค่อนข้างสูงยังคงอยู่ที่จุดเดิม ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่มีนิ้วงอ (Claw toes)</p><p>claw toe</p><p>  แผลหายแล้วก็จริงแต่นิ้วยังจิกอยู่ ยังกดกับหนังรองเท้าอยู่ แผลกลับคืนมาแน่ๆครับ       </p><p>          2.เมื่อแผลหายแล้ว จะเกิดเป็นแผลเป็นซึ่งแผลเป็นจะมีความเปราะบางกว่าผิวหนังปกติ  ความยืดหยุ่นก็น้อยกว่า เมื่อเจอแรงกระแทก 8,000-10,000 ครั้งต่อวัน(การเดินของเรา) แน่นอนครับ รอวันปะทุได้เลย        </p><p>           3.คนไข้ยังเป็นคนไข้คนเดิม ปฏิบัติตนเหมือนเดิม น้ำตาลในเลือดสูงเหมือนเดิม เดินถอดรองเท้า ไป มา เหมือนเดิม ไม่เคยดูแลเท้าตัวเองเลย เหมือนเดิม </p><p>         4.ปัญหาเรื่องหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเท้ายังบกพร่อง ไม่ได้รับการแก้ไข  , Walters และคณะ พบว่าการคลำชีพจร dorsalis pedis ไม่ได้ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้าถึง 6.3 เท่า (95% CI 5.57-7.0), ดังนั้นอาจต้องไปทำ By pass หลอดเลือดที่มาเลี้ยงเท้าให้เรียบร้อย  </p><p>แล้วเราจะทำอย่างไรกันดี</p><p>1. หากมีความพิการ(deformity) ก็ควรแก้ไขให้เรียบร้อย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดแผล ต้องส่งปรึกษาศัลแพทย์</p><p>2.หากมีแผลเป็น ควรมีการดัดแปลงรองเท้า หรือทำแผ่นรอง(Insole)ให้ลดจุดกดบริเวณนั้นๆ เพื่อลดแรงกระแทกอันจะก่ออันตรายกับจุดอ่อนนี้ คงต้องปรึกษานักกายอุปกรณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญเรื่องเท้าและรองเท้า </p><p>3. ต้องมีการให้ความรู้ผู้ป่วยถึงการดูแลเท้า การกำจัดหนังแข็งด้วยตนเอง การรักษาผิวหนังให้อ่อนนุ่ม การตรวจเท้าทุกวัน งานนี้เราต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้(Health Provider) มาเป็นผู้ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเอง(Facilitator ) เพราะผู้ป่วยต่างหากที่จะอยู่กับเท้านั้น 24 ชั่วโมง </p><p>4. หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ก็สามารถปรึกษา นักกำหนดอาหาร(Diaetician) หรือพยาบาลผู้ให้ความรู้ในการดูแลตนเอง (ในกรณีที่คุมไม่ได้จากปัญหาเรื่องพฤติกรรมนะครับ)</p><p>4.หากมีปัญหาหลอดเลือด(คลำชีพจรที่เท้าไม่พบ, ABI น้อยกว่า 0.3) คงต้องปรึกษา ศัลแพทย์หลอดเลือดครับ </p><p>         ไม่ใช่เรื่องยากนะครับ เพราะเราคนเดียวคงทำหน้าที่ทุกอย่างไม่ได้ แต่เรารู้ว่าใครจะช่วยคนไข้ของเราได้จึงเห็นได้ว่างานนี้ต้องทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพจึงจะประสบความสำเร็จ แม้กระทั่งผู้ป่วยเองก็เป็นหนึ่งในทีมของเราด้วยแถมยังเป็น Very Important Person หรือที่เรามักเรียกติดปากกันว่า VIPอีกด้วยครับ </p>

หมายเลขบันทึก: 88285เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2007 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ
ดีใจมากเลยที่เห็นเว็บนี้ เป็นประโยชน์มากกับผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่ก็ได้รับความรู้มากด้วยคะ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่รับผิดชอบได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท