เชื่อหรือไม่ ว่าของในท้องถิ่น ช่วยในการรักษาแผลเบาหวานได้


หากไม่มีความบ้าของเอดิสัน ที่ทดลองผิดลองถูกกว่า 700 ครั้ง มนุษยชาติคงอยู่ในความมืดในเวลาเพราะไม่มีหลอดไฟจนปัจจุบัน

เชื่อไหมครับ ว่าฝรั่งเค้าเอาแผลเบาหวานที่ไม่มีปัญหาหลอดเลือด มาเทียบอัตราการหายกับแผลในคนปกติ ผลออกมาอัตราการหายเท่ากันครับ  แต่ปัจจัยที่ทำให้แผลเบาหวานหายค่อนข้างช้า คือ ผู้ป่วยมักจะเดินย่ำบนแผลทุกวันเนื่องจากเท้าชาไม่รู้สึกใดๆเลย  

       ผมเคยเจอคนหนึ่งเดินมาหาเรา พร้อมทั้งมีตะปูตัวเล็กๆ แถมมาด้วย อีกรายมีก้อนหินขนาดเขื่องอยู่ในแผลที่ส้นเท้า คนไข้เดินย่ำแผลกับสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา กระแทกแล้วกระแทกอีก แล้ววันหนึ่งคนเราเดินประมาณ 5,000-8,000 ก้าว แผลจะหายได้อย่างได้อย่างไร

                              grace

 Dr. Grace Warren อาจารย์ผม ศัลแพทย์ชาวออสเตรเลีย จะย้ำกับผมเสมอๆว่า  

"แค่ก้าวเดียวที่ลงน้ำหนักไป ก็ทำลายเนื้อเยื่อที่สร้างมาทั้งวันแล้วลูก"    

     จริงๆฝรั่งเค้าไม่มีลูกตามท้ายหรอกครับ แต่ผมรู้สึกไปเองเวลาท่านพูด  (รูปนี้ถ่ายเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว คุณๆลองเดาว่าตอนนี้ อาจารย์แม่เกรซอายุเท่าไร?)    

      ดังนั้น สามารถกล่าวได้เต็มปากเต็มคำว่า หลักการรักษาแผลเบาหวานที่ไม่มีปัญหาหลอดเลือดและติดเชื้อคือ ต้องไม่ให้มีการลงน้ำหนักที่แผลครับ (Off Loading technique) ซึ่งวัสดุที่จะนำมาลดจุดกดที่แผล สามารถหาได้ในโรงพยาบาลหรือในท้องถิ่นของเราอีกด้วย

1. การเข้าเฝือก

        เชื่อว่าทุกโรงพยาบาลต้องมี เฝือก(POP; Plaster Of Paris) เราเรียกการเข้าเฝือกเพื่อรักษาแผลผู้ป่วยเบาหวานว่า Total contact casting เป็นการเข้าเฝือกที่รองเวบบริล(สำลีม้วน) ค่อนข้างน้อย เพื่อให้น้ำหนักที่จะลงที่เท้ากระจายไปที่ผนังเฝือก (เป็นการเพิ่มพื้นที่ในการรับน้ำหนักนั่นเอง)

     แต่เราต้องใช้โฟมบางๆ รองตรงปุ่มกระดูก เช่น ตาตุ่ม สันหน้าแข้ง(Tibia crest) เพื่อป้องกันเฝือกกดจนเกิดแผล คือคนไข้เท้าชาไม่เหมือนเราที่บอกหมอได้ว่า เฝือกแน่นไปตรงนั้นตรงนี้  เราจึงต้องป้องกันไว้ก่อน

      วิธีนี้สามารถรักษาแผลได้ถึง85% เราออกแบบเฝือกให้ใส่แล้วเดินได้ ทำงานได้เหมือนเดิมอาจลำบากนิดหน่อย ดังรูป

             CAST

                                                  (ภาพประกอบจากอินเตอร์เนต) 

           ก็เพราะว่า เรารักษาคนทั้งคน ไม่ใช่แค่แผลที่เท้า คนไข้มีลูกมีเต้า มีการงานที่ต้องทำ เราต้องรักษาไปด้วยและรบกวนการทำมาหากินเค้าให้น้อยที่สุด ไม่อย่างนั้นจะไม่มีใครยอมให้เรารักษา

2. การรองโฟมขอบๆแผล (Felted foam dressing)

     คือการทำแผลธรรมดานี่แหละครับ แต่เราเพิ่มเติมอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้แผลกดกับพื้น ที่สถาบันเราใช้โฟมที่ใช้ทำรองเท้า ทากาวติดกับเท้าผู้ป่วยแล้วใช้เทปเหนียวแปะทับอีกที โดยบริเวณที่เป็นแผลเราจะเว้นช่องว่างเอาไว้ ให้ลอยบนอากาศ วิธีนี้จะลดแรงกดที่แผลได้ประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์  เราจะให้คนไข้ทำแผลเองที่บ้าน เพราะต้องการให้เดินน้อยๆ โฟมมีอายุประมาณ 1 อาทิตย์ก็มาทำใหม่

foam

   foam2

foam3

      สังเกตที่รูปครับ คนไข้เวลาเดินจะเหมือนเดินด้วยส้นเท้า ปลายเท้าที่มีแผลจะลอยขึ้น ไม่แตะพื้น

   มีทริคนิดหนึ่งครับ เราลองเอา ลิปติก ทาขอบๆแผลแล้วให้คนไข้เดิน ถ้าลิปติกเปื้อนพื้นแปลว่าความสูงไม่พอ ต้องเพิ่มความสูงขึ้นอีกหน่อย

       เพื่อนผม นายธวัชชัย ลวดทองนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสมเด็จยุพราชเดชอุดม จ.อุบลราชธานี ลองใช้โฟมที่ใช้ทำทุ่น หาปลา รองก็ใช้ได้ผลครับ

3.ผ้ากอซมหัศจรรย์

      วิธีนี้ใช้สำหรับแผลปลายนิ้ว ครับง่ายๆ คือ เอาผ้ากอซมาม้วนเป็นทรงกระบอกจากนั้น รองไปที่โคนนิ้ว คล้ายๆทำหมอนให้นิ้วหนุนนั่นแหละครับ ทำอย่างนี้นิ้วก็ไม่กดกับพื้นแล้ว แผลก็รอวันหาย แต่ต้องระวังในเคสที่มีการติดแข็งของข้อต่อนิ้วนะครับ หมอนน้อยของเราอาจทำให้เกิดแรงกดบริเวณนั้นได้

    ulcerdress

             dress dress                                   

   ฝรั่งเค้าเรียกวิธีนี้ว่า Toe pillow ของต้นกำเนิดเค้าใช้ ขนแกะห่อด้วยผ้า cotton แล้ววางแต่ผมลองเอากอซดูก็พอใช้ได้ครับ

4. ดัดแปลงรองเท้า

     เอาโฟมแข็งๆหน่อย(ร้านขาย,ซ่อม รองเท้าสุภาพบุรุษจะมีขาย หรือง่ายกว่านั้นให้ช่างเค้าทำให้เลยก็ได้) รองใต้รองเท้า โดยเขยิบขอบโฟมไปหลังต่อแผลประมาณ 1-1.5 ซ.ม. ทีนี้ทุกก้าวแผลก็จะไม่กดกับพื้น อาจต้องให้คนไข้ใส่ทั้งในและนอกบ้านนะครับ ไม่งั้นจะถือว่า Off loading ไม่สมบูรณ์ อย่าลืม แค่ก้าวเดียว เนื้อที่สร้างมาทั้งหมดก็เกลี้ยง”ครับ

       shoe

        บางทีอาจติดข้างในก็ได้ แต่ต้องระวังเรื่องความนุ่มหน่อย แข็งไปอาจทำให้เกิดแรงกดได้ครับ

            shoe2    

สุดท้าย หากหาไม่ได้จริงๆนะครับ ก็มีวิธีอื่นๆอีกครับ

1.     นอนเตียง ห้ามเดินเด็ดขาด จัดให้มีรถเข็นประจำเตียง อยากไปไหนให้ใช้รถเข็นไป (วิธีนี้ เป็นของ Dr. smith ที่สถาบันฟื้นฟูความพิการ แมคเคน จ.เชียงใหม่)

2.     เดินลงส้นตลอด(walking on heel) วิธีนี้ใช้ได้มั่งไม่ได้มั่ง เพราะเท้าชาไม่รู้สึก บางก้าวก็เผลอเอาลง ก็ไม่รู้ตัวเองเพราะ proprioceptive sensation สูญเสีย เท้ากระดกขึ้นหรือลง อาม่าก็ไม่รู้หรอกครับ อาม่าจะรู้ก็ต่อเมื่อต้องก้มลงมองดู

3.     ใช้ไม้ค้ำยันหรือ walker เดินแบบ non weight baring ข้างมีแผล เหมือนพวกขาหักก็ได้ครับ

4.     เอาแท่งไม้ มัดกับขาคนไข้ ให้ปลายไม้ยาวพ้นเท้าซักครึ่งฟุต ลองดูซิจะเดินได้กี่ก้าวเชียว

        off loading

5.     ใช้เสลียงหามแบบเจ้านาง, ขี่หลังหลานชาย หรือให้กิ๊กอุ้มตลอดเวลา และอื่นๆมากมายแล้วแต่ท่านจะจินตนาการ 

          หลังๆชักแปลกๆ เอาเป็นว่า ขอให้ทุกคน หลับตานึกดูว่า ในบ้าน ในโรงพยาบาลเรามีอะไรใช้ได้ แล้ว นำมาประยุกต์ บันทึก และที่สำคัญต้องประเมินผล หากใช้ได้ก็เป็นองค์ความรู้ที่ถูกต้องและเป็นวิทยาศาสตร์    

              ในต่างประเทศหรือโรงพยาบาลดังๆในบ้านเรา บางที่จะใช้ ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) ของมนุษย์ บางทีก็ใช้ steam cell และเทคโนโลยีล้ำยุคมากมาย ราคาต่อครั้งเป็นหมื่นๆบาท มาช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ของเค้าก็ดีครับแต่ถ้าไม่ใช้อุปกรณ์ปกป้องแผลจากการลงน้ำหนัก เจ้า growth factorพวกนี้พอโดนเหยียบก็เจ๊งเหมือนกันครับ มันก็กลับสู่ความรู้สามัญคือ off loading อีหรอบเดิมนั่นแหละ

หมายเลขบันทึก: 89395เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2007 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณครับ ที่เรียบเรียงมาใว้ได้เห็นภาพ และน่าอ่านที่สุด

ผมขออนุญาติ เผยแพร่นะครับ

 

น้องแนน อธิบายได้ชัดเจน เข้าใจง่ายดีค่ะ

เขียนได้น่าอ่านมากเลยค่ะ ยิ่งมีรูปประกอบด้วยแล้วทำให้ยิ่งเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้น หวังว่าคงมีเวลามา update บ่อยๆน่ะคะ จะมาติดตามอ่านอีก

ภาพชัดดีครับ จะลองเอาไปใช้ดู

ข้อมูลและภาพทุกภาพ นำไปใช้ได้เลยนะครับ ไม่ติดลิขสิทธิ์ เพราะถ่ายเองครับ

เขียนเก่งจังค่ะ create ดี เข้าใจง่าย รูปก็ชัด

ดีใจจัง ได้อ่านการดูแลเท้าของคุณแนนอีก กลับมาคราวนี้มีอะไรดีๆ สนุกๆ เข้าใจง่าย ภาพสวย มาให้ดึงดูดความรู้อีกแล้ว

 พรรณค่ะ

อยากให้ พี่แนน เปลี่ยนรูป 55

อยากจะบอกว่าในรูปคือดอกเตอร์เกรซ เมื่อ 30 ปีที่แล้วนะครับ ลองๆทายดูว่าตอนนี้อาจารย์แม่ อายุเท่าไร เหอ เหอ

คุณหมอเกรซยังแข็งแรงดีครับ ปีที่แล้วยังมาผ่าตัดแก้ไขความพิการให้คนไข้ที่ ร.พ.แมคเคนเชียงใหม่อยู่ครับ

ขออนุญาตนำไปใช้นะคะ ดีมากๆเลยค่ะ

  มียารักษาแผลเบาหวานให้หาย โดยตรง และไม่ต้องตัดขา  โดยใช้เวลาไม่นาน

โดยมีการทดลองใช้มาแล้วได้ผล 100 % หากไม่ดีขึ้น  ยินดีคืนเงิน ภายใน  60  วัน

สนใจติดต่อได้ที่       0800999343 /   0845456301

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท