เมื่อเท้าเบาหวานไทยบินไกลถึงญี่ป่น


Kyoto Foot Meeting 2007

เป็นประสบการณ์ของ อ.สมเกียรติ มหาอุดมพร ไปประชุมที่ Kyoto Medical Center ประเทศญี่ปุ่น ในหัวข้อ ” prevention and management of diabetic foot in Asia-Pacific region”

 Kyoto Foot Meeting 2007

“Prevention and Management of Diabetic Foot in Asia-Pacific Region

                kyoto foot meeting 

        ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมประชุมและแบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อเรื่อง Prevention and management of Diabetic Foot in Thailand โดย ศ.นพ.เทพ หิมะทองคำ เป็นผู้แนะนำและเสนอชื่อข้าพเจ้าต่อผู้จัดการประชุมคือ Prof. Shigeo Kono, Chief Physician, WHO collaborating Center, Kyoto Medical Center 

      ตั้งแต่ปี 2005 ซึ่ง IDF กำหนดให้เป็นปีรณรงค์เรื่อง Diabetes and Foot Care โดยมีสโลแกน “Put Feet First: Prevent Amputations” ได้นำเสนอข้อมูลด้านFoot Problems เพื่อกระตุ้นให้แต่ละประเทศทั่วโลกตระหนักและต่อสู้กับปัญหาเท้าที่พบในผู้เป็นเบาหวาน

     กลุ่มประเทศ Asia-Pacific เป็นตัวอย่างที่พยายามหากลยุทธ์เพื่อจัดการกับปัญหาเท้าในผู้เป็นเบาหวาน ในการประชุมร่วมกันเพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกันของแต่ละประเทศ โดยมี World Diabetic Federation: WDF พร้อมให้การสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและเงินทุนดำเนินการแก่ประเทศกำลังพัฒนา เช่น โครงการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับภัยของเบาหวาน การป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพและเสริมสร้างศักยภาพด้านบริการสาธารณสุข โดยเน้นว่าเงินสนับสนุนต้องไม่นำไปใช้เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ซื้อเครื่องมือแพทย์หรือยานพาหนะ

           foot meeting 

กลุ่มประเทศ Asia-Pacific ที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย China, Mongolia, Vietnam, Philippine, Thailand, Indonesia, Tonga and Japan ซึ่งเป็นเจ้าภาพ  โดยมี Dr. Anil Kapur, Managing Director, WDF เข้าร่วมการประชุมและบรรยายในหัวข้อเรื่อง ความสำคัญในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรทั้งวิชาการ คนและงบดำเนินการ 

  โดยได้กล่าวว่าเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศกำลังพัฒนา  ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆมากมาย เช่น โรคหัวใจ  โรคระบบสมอง แขนขาอ่อนแรง โรคไต ตา และปัญหาเท้า โดยได้นำเสนอตัวเลขที่น่าสนใจที่ได้จากโครงการในประเทศต่างๆกว่า 60 ประเทศ  ว่าเงินที่ต้องใช้จ่ายเพื่อการดูแลแผลที่ไม่ติดเชื้อประมาณ $450  ต่อปี แต่การป้องกัน foot care educationใช้เพียง $3 ต่อปีเท่านั้น           

ความยากจนและการขาดโอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการวินิจฉัยที่ล่าช้า( Late Diagnosis ) ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจ  การป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ การค้นหาหรือวินิจฉัยแต่เนินๆ รวมทั้งการดูแลที่ถูกต้อง จึงเป็นแนวทางที่เหมาะและดีที่สุด

นอกจากนี้ Ms. Sanne Frost, Program Manager, WDF ได้บรรยายและนำเสนอโครงการต่างๆ 95 โครงการในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจน  โดยได้ยกตัวอย่างในประเทศแทนซาเนียและประเทศอินเดียซึ่งมีประชากรผู้เป็นเบาหวานมากที่สุดในโลกและประสบความสำเร็จด้วยดี ในหัวข้อ Step by Step Program for Improving Diabetic Foot Care และWDF คาดหวังว่าจะเป็น Model ที่แต่ละประเทศสามารถนำไปใช้ได้  เพราะโครงการเหล่านี้ส่งผลกระทบและเกิดประโยชน์โดยตรงต่อผู้ป่วย

                  harkless

                      Prof. Lawrence B. Harkless

         ผู้จัดยังได้เชิญ Prof. Lawrence B. Harkless, University of Texas, Health Science Center, Department of Podiatry ผู้มีประสบการณ์มากมายมาบรรยายในหัวข้อเรื่อง Diabetic Foot Management โดยได้เน้น Wound Care เกี่ยวกับ Callus controlling and Rest  นอกจากนี้ท่านยังได้เสนอแนะแนวทางต่างๆที่เป็นประโยชน์แก่แต่ละประเทศ           

       ส่วนข้าพเจ้าเองได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์ในหัวข้อ  “Diabetic Foot in Thailand” โดยนำเสนอ Model   รพ.เทพธารินทร์ ทีมีรูปแบบและกลยุทธ์ที่ชัดเจน โดยเพิ่มมูลค่าทรัพยากรคนที่มีอยู่ให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองกับภาระกิจที่วางไว้ กลยุทธ์ที่นำสู่ความสำเร์จจนเป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆประกอบด้วย

1. To Establish Foot Care Clinic

             ความสำคัญของการจัดตั้งคลินิก

Foot clinic เป็นด่านหน้า ที่ผู้มีปัญหาเท้าสามารถเข้ามารับการตรวจประเมินหาความเสี่ยงตั้งแต่เนินๆ  ปัญหาเพียงเล็กน้อยก็จะได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที

Foot clinic เป็นจุดเพิ่มพูนความรู้ด้าน Foot Care แก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าสมาชิกในทีม 

2. To Standardize Wound& Foot Management    

        การทำงานเป็นทีมเป็นหัวใจสู่ความสำเร์จ  ดังนั้นสมาชิกทุกคนต้องรู้บทบาทตนเอง แบ่งปันความรู้  พัฒนาอย่างต่อเนื่องและทำงานเสริมซึ่งกันและกัน เช่นเทคนิคการทำแผล  เทคนิคการ Off-loading และการผ่าตัดต่างๆที่ช่วยรักษาให้แผลหายอย่างถาวร  นอกจากนี้การจัดให้มี conference โดยมีผู้ป่วยเป็น center เป็นอีกเวทีและยุทธวิธีหนึ่งสู่การเป็นBest practiceได้

3. To Provision of Protective Footwear

       การจัดหาและจัดทำรองเท้า เป็นส่วนสำคัญที่ทุกคนให้การยอมรับ แต่ปัญหามักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยปฎิเสธการใช้รองเท้าที่เหมาะสม เหตุผลหลักคือ รูปแบบที่ไม่สวย  น้ำหนักของรองเท้ามากและราคาแพงเมื่อเทียบกับรองเท้าในท้องตลาด  ปัจจุบันรองเท้าของผู้เป็นเบาหวานได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะผู้จัดทำ/จัดหาคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  โดยที่พยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่กล่าวมาข้างต้น  อีกเหตุผลหนึ่งที่รองเท้าเป็นที่ยอมรับมากขึ้น เกิดจากประสบการณ์ผู้ป่วยที่เคยใช้รองเท้าและเข้าใจปัญหาเท้าของตนเอง      

      หลังการบรรยาย Dr.Anil Kapur และ Prof.Lawrence B.Harkless กล่าวชื่นชมแนวทางของไทยที่มี Action Plan ที่ชัดเจน และสามารถสัมฤทธิ์ผลได้       

       ส่วนประเทศในเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่จะกล่าวถึงปัญหาด้านบุคลากรเพราะแต่ละประเทศไม่มีวิชาชีพ Podiatrist คือแพทย์หัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเท้าโดยเฉพาะและ Pedortrist คือเป็นหนึ่งในสมาชิกทีมที่มีความชำนาญในการดัดแปลงรองเท้าให้เหมาะสมกับความพิการ/ปัญหาของเท้า รวมทั้งจัดทำ Insole และ อุปกรณ์เสริมต่างๆ เพื่อพยุงประคองเท้าผู้เป็นเบาหวานให้สามารถเดินได้อย่างปกติสุขและไม่มีปัญหา

ท้ายสุดการประชุมได้มีการเสนอให้มีความร่วมมือในการทำงานภายในกลุ่มให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นโดยขอให้ประเทศญี่ปุ่นและ WDF เป็นผู้สนับสนุน ประสานด้านความรู้  เรียนรู้ซึ่งกันและกัน  โดยมองข้ามการที่แต่ละประเทศขาด Podiatrist and Pedortrist  โดยมีประเทศไทยเป็นแบบอย่างที่เริ่มต้นโดยใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ ต่อสู้กับปัญหาที่เท้าในผู้เป็นเบาหวาน  โดยเชิญชวนบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจมาร่วมทีม เช่น แพทย์  พยาบาล  นักกายภาพบำบัด และบุคคลากรทางการแพทย์อื่นๆ

         รวมทั้ง Step-by-Step Model ของ WDF ที่ประสบความสำเร็จในประเทศอินเดีย และแทนซาเนีย   หน่วยงานใดสนใจที่จะขอทุนความช่วยเหลือ หรือข้อมูลเพิ่มเติมจาก WDF สามารถติดต่อได้ที่:  www.worlddiabetesfoundation.org

 

 

คำสำคัญ (Tags): #kyoto foot meeting 2007
หมายเลขบันทึก: 91004เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2007 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
    ในส่วนตัวผมชอบมากที่ WDF ให้งบสนับสนุนโครงการให้ความรู้ สร้างความตระหนักแก่ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ให้เอาไปซื้อรถยนต์ ครุภัณฑ์ต่างๆ  ผลผลิตออกมาจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโครงการส่งเสริมและป้องกันล้วนๆ ของถนัดของพวกเราเลยครับ

ขอบคุณครับ ที่เอาข่าวสารมาเล่าครับ

ถ้าแนน ได้ทุน เล่าให้ฟังหน่อยนะ ว่าเขียนอย่างไร

มันดู inter ดีครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท