เมื่อสนาม(ENT)แห่งการแข่งขันมีผู้ผิดหวัง...


เมื่อสนามแห่งการแข่งขันมีผู้ผิดหวัง และ มีทั้งผู้สมหวัง พลังและทิศทางการขับเคลื่อนทางการศึกษาควรเป็นเช่นไร

เมื่อวานจัดได้ว่าเป็นอีกวันที่ผมวุ่นวายทั้งวัน เพราะอะไรนั่นหรือครับ ก็เพราะเมื่อวานเป็นวันประกาศผลสอบเอนทรานซ์ ของน้องๆที่สำเร็จการศึกษาเพื่อเดินทางกับเวลาสู่ความท้าทายในชีวิตอีกสนามหนึ่ง นั่นก็คือ สนามแห่งรั้วอุดมศึกษา กว่า ๗ ปีที่ได้ทำงานด้านนี้มาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รับรู้เลยครับว่าการเยียวยาทางความรู้สึกมันต้องใช้เวลาครับ หากหลายคนมองว่า...เยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดไม่ให้ความสำคัญกับการศึกษา อันนี้ผมคงต้องเถียงครับ เพราะเมื่อมองในอีกมุมหนึ่งสำหรับอดีตที่ผ่านมาและบทพิสูจน์ของเมื่อวานที่ผลเอ็นท์ออกมาแล้วทำให้มีผู้ผิดหวัง มันตระหนักรู้ได้เลยครับว่า มีเด็กอีกจำนวนไม่น้อยครับที่รอคอยความสมหวัง แต่กระนั้นก็ตามอย่าลืมว่า บนสนามแห่งการแข่งขันมันมีทั้งผู้ที่สมหวังและผู้ที่ผิดหวัง เป็นธรรมดาของชีวิตครับ (อิอิ...อันนี้ผมเองก็ผิดหวังจนชินครับ)

 

       เมื่อวานอีกเช่นกันโทรศัพท์ของผมกลายเป็นหมายเลขชั่วคราวแทน สกอ. ครับที่ต้องคอยตอบคำถามถึงหลายๆเรื่องครับ ไม่ว่าจะเป็นติดแล้วต้องทำยังไงต่อ และจะไปตรวจร่างกายได้ที่ไหน แล้วถ้าหหนูไม่ติดหนูต้องทำยังไงต่อ มากมายหลากหลายที่ประดังเข้ามาแทบจะปิดเครื่องหนี(อิอิ) แต่สุดท้ายก็ให้คำตอบไปเท่าที่จะให้คำปรึกษาได้ แต่เจอกรณีนึงครับร้องไห้ไม่หยุดครับสำหรับผลเอ็นท์ที่ออกมา อันเนื่องมาจากว่าเกรดเฉลี่ยเยอะครับแต่ไปๆมาๆเอ็นท์ไม่ติด พอดีการเลือกอันดับคณะแล้วก็พอเดาออกครับสาเหตุที่ไม่ติดเพราะอะไร สิ่งหนึ่งที่ผมมองว่ายังเป็นความสำคัญและจำเป็นสำหรับการให้ความสำคัญหากระบบการศึกษายังมีการสอบแข่งขัน คือ การทำหน้าที่ครุแนะแนวอย่างมีทิศทางครับ เพราะเท่าที่สัมผัสและประสบการณืที่ผ่านมาพบว่าหลาย ร.ร. ยังขาดแคลนครูที่เข้าใจด้านนี้ด้วยซ้ำไป สุดท้ายใครที่เขาพอจะปรึกษาได้...ในเมื่อมันไม่มี ที่มีก็ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ยิ่งระบบ GAT-PAT เข้ามาใหม่อีกผมเชื่อครับว่ามีอีกหลายโรงเรียนครับในพื้นที่ที่ยังไม่เข้าใจระบบนี้อย่างถ่องแท้ ที่แน่ผมรู้ภารกิจข้างหน้าแล้วครับว่า อีกหนึ่งความท้าทายคือการเดินสายทำความเข้าใจอีกหลาย ร.ร. ครับ (อิอิ...เหนื่อยอีกแล้วกับความสุขของตัวเอง)

        ทางออกหนึ่งของการศึกษาในพื้นที่ผมมองว่านอกจากเราจะจัดการศึกษาแบบติวเข้มให้แก่ ร.ร. ในพื้นที่แล้ว อีกงานหนึ่งที่หน่วยงานทุกภาคส่วนไม่ควรละเลยคือ การให้คำปรึกษาถึงการเตรียมตัวสู่การเรียนในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนการเลือกคณะให้แก่เด็กนะครับท่าน ช่วง ๒-๓ ปีหลังรู้สึกดีครับที่มีหลายองค์กรหลายหน่วยงานหยิบยื่นจัดติวเข้มให้เยาวชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นแต่กระนั้นผมก็ยังมองว่าไม่ทั่วถึงเพราะพื้นที่เสี่ยงภัยอีกมากที่เด็กๆยังไม่ได้มาเข้าร่วม อันนี้สังเกตจากการไปเป็นวิทยากรในหลายโครงการช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่แล้วก็ยังคงเป็นเยาวชนและนักเรียนกลุ่มเดิมๆครับ อันนี้ก็ฝากไปถึงผู้ที่จะช่วยร่วมกันผลักดันได้ด้วยนะครับ เพราะอย่างน้อยมันไม่ใช่จะเป็นเพียงการลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้เท่านั้นแต่มันจะสามารถลดความเลื่อมล้ำทางความรู้สึกได้อีกทางครับ (วัลลอฮฺอะลัม)

        ด้วยความหวัง...จากเสียงเล็กๆ

หมายเลขบันทึก: 259899เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2009 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

จริงๆแล้วในเมืองไทยมีมหาวิทยาลัยมากมาย นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยของรัฐในระบบปิด ที่ต้องสอบแข่งกันเข้าไปนั่งเรียน ที่ต้องสอบคัดเลือกเพราะที่นั่งมีน้อยกว่าจำนวนของผู้อยากเรียน

อย่างไรก็ตามก็ยังมีมหาวิทยาลัยเปิดอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ให้โอกาสกับทุกๆผู้อยากเรียนเสมอและตลอดเวลา

และสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดที่ต้องทำงานด้วยแต่ยังอยากเรียนก็มีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ใหนก็เรียนได้ และไม่กระทบกับงานที่ทำ

และหรือมหาวิทยาลัยเอกชนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง รวมถึงสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่อยากเรียนในระดับอุดมศึกษา แต่ก็อยากที่จะอยู่ในบรรยากาศแบบอิสลาม เรียนแล้วได้ประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตชั่วคราวในโลกชั่วคราวนี้และได้ประโยชน์ต่อเนื่องระยะยาวถึงโลกอาคิเราะฮฺ ก็มีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาสำหรับผู้มีวิสัยทัศน์ยาวไกลดังกล่าว

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

P 1. อ.อาลัม

ที่ช่วยแลกเปลี่ยนชี้แจงความกระจ่างให้ผู้ผ่านไปผ่านมาครับ ผมเองอยากจะโปรโมทมหาวิทยาลัย แต่อาจารย์ก็ทำหน้าที่แทนแล้ว อิอิ ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับสำหรับการเลือกทำงานในมหาวิทยาลัยที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลหาที่ใดเทียบครับ

โดยสัดส่วน นร.มัธยมปลายแล้ว ทีนั่งในมหาวิทยาลัยยังว่างอีกเยอะครับ โดยเฉพาะ ม.เอกชน

สวัสดีค่ะ

ขอเชิญร่วมส่งกำลังใจ
ให้ท่าน ศน.ลำดวนด้วยกันนะคะ
http://gotoknow.org/blog/krukim/260014

ขอบคุณมากครับอาจารย์

  P 3. จารุวัจน์

อันนี้ผมก็เห็นด้วยแต่กระนั้นเข้าใจว่าเยาวชนบ้านเราน้อยคนนักจะวิ่งหา มหาวิทยาลัยเอกชน เพราะอะไรนั่นหรือครับ อิอิ...คงรู้กันครับ แม้คุณภาพอาจไม่เป็นสองรองใครครับ ไม่ว่าที่ไหนก็แล้วแต่...วัลลอฮฺอะลัมครับ ดูแลสุขภาพด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ

P 4. ครูคิม

ที่แวะเวียนมาส่งข่าวครับ ด้วยความยินดีครับ

หากเราเลือกที่จะแข่งขัน เราก็ต้องทำใจให้พร้อมกับความ "ผิดหวัง" ที่อาจจะเกิดขึ้นนะครับ...

ทางเลือกทางการศึกษายังมีอีกมากมายนะครับ หากเราไม่ยึดติดกับสถาบันการศึกษา...

 

ขอบคุณมากครับบังสำหรับข้อคิดดีๆ

P 7. Mr.Direct

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท