ความจำเป็น หรือ แค่จำเป็น ของครูสอนภาษาไทยในพื้นที่เขตเฉพาะกิจพิเศษ


ผมอยากเห็นครูสอนภาษาไทยที่นี่ พื้นที่แห่งนี้...

       หลังจากที่ลาศึกษาต่อได้เพียงเดือนกว่าๆ ได้ลิ้มรสความเป็นอิสรชนบนภารกิจที่รักที่ชอบมากมาย ความสุขก่อเกิดขึ้นอีกครั้งอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่กาลเวลาก็ยังคงเดินหน้าต่อไปหนึ่งเดือนผ่านไป สถานภาพของผมก็เปลี่ยนไปกลับกลายต้องกลับมาเป็นครูอีกครั้ง ทำให้ต้องทบทวนอะไรต่างๆนานาถึงการกลับไปในครังนี้

      เมื่อวานเป็นวันแรกของการกลับไปทำหน้าที่สอนภาษาไทยให้แก่นักศึกษาอีกครั้ง อันเนื่องจาการขาดแคลนผู้สอนภาษาไทย สอนเสร็จเห็นแววตาแห่งความหวังของน้องๆนักศึกษา ทำให้รู้เลยว่าเรารักอาชีพนี้ และเราก็ทิ้งมันไม่ได้  ตกค่ำมีข้อความส่งมาจากนักศึกษาบอกว่า " แม้จะไม่ค่อยได้เรียน แม้จะไม่มีครูสอน แต่การได้ฟังแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันนี้มันสะท้อนอะไรให้พวกเราหลายๆอย่าง ความคุ้มค่าที่มีกับเวลาสองชั่วโมงมันมากมายสำหรับพวกเรา..." เสียงสะท้อนจากมุมหนึ่งของนักศึกษาจากกรุงเทพฯที่ตั้งใจมาเรียนที่นี่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาแห่งนี้  อ่านเสร็จผมตื้นตันมากครับ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ฉุกคิดคือ

  •     รูปแบบการสอนภาษาไทยที่ผ่านมาเราสอนกันแบบใด
  •     ความจำเป็นของครูสอนภาษาไทยในพื้นที่มันจำเป็น หรือ แค่จำเป็น
  •     ปัญหาการขาดแคลนครูภาษาไทยเป็นเฉพาะระดับมหาวิทยาลัยหรือ? คำตอบขอตอบเลยครับว่าหากมองในพื้นที่เขตเฉพาะกิจพิเศษแล้วผมมองว่า มันขาดแคลนกันถ้วนหน้านะครับ ขาดแคลนในที่นี้ไม่ใช่ขาดแคลนผู้สอนแต่ขาดแคลนองค์ความรู้สู่เด็กที่ควรจะเป็น ประเด็นนี้เป็นประเด็นใหญ่ครับกับระบบการสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถม มัธยม มหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั่งย้อนกลับไปมองระดับอนุบาลก็เป็นปัญหาเหมือนกัน  หลายต่อหลายครั้งที่ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องภาษาไทย บอกได้เลยครับมีหลายองค์ความรู้มากที่ต้องรื้อกันใหม่เด็กรับอะไรมาก็ไม่รู้  เรื่องอักษร เรื่องสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ สิ่งพื้นฐานเหล่านี้ยังต้องน่าคิดเลย
  •      มุมมองหนึ่งที่ทำให้ผมตีกำแพงการสร้างความรักในการเรียนรู้และรักที่จะอ่านจะเขียน และเห็นคุณค่าของภาษาในตัวเด็กหรือนักศึกษามากขึ้น คือ การนำศาสนาไปช่วยขัดเกลาจิตใจหรือคือการสอนที่ผมเรียกว่า "อิสลามานุวัตรภาษาไทย" หากจะมองให้เห็นร่วมกันนั่นก็คือ "การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมความสัจจริงในเนื้อหาที่เรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ว่าแต่ละคาบแต่ละกระบวนการจัดการเรียนรู้เราต้องนำไปสู่เรื่องของคุณธรรมจริยธรรมให้ได้..." แล้วผมเชื่อว่าการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยก็จะไม่ใช่เรื่องยากและเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป


      เมื่อวานมีโอกาศได้คุยกับ อ.อิบรอเฮม หะยีสาอิ (Ibm ครูปอเนาะ) ของเราทำให้มองเห็นภาพอะไรหลายอย่างครับ และที่สำคัญผมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการจัดการเรียนรู้ที่เรามิใช่เพียงให้ความรู้ แต่ต้องนำเขาไปสู่การปฏิบัติให้ได้ อันนี้น่าคิดครับว่าหลายๆองค์ความรู้เราสอนดีแทบตายแต่สุดท้ายเด็กกลับนำไปใช้ไม่ได้เลย ปัญหาอยู่ตรงไหนคำตอบคือการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่จะนำองค์ความรู้ไปใช้ให้ก่อเกิดประโยชน์มากที่สุด

      หากย้อนกลับมาที่ความจำเป็นในการเร่งผลิตผู้สอนภาษาไทยอันนี้กลับเป็นเรื่องที่หน่วยงานทุกหน่วยงานต้องฉุกคิดให้มากว่าความจำเป็นหรือแค่จำเป็นในเรื่องนี้กับผลสะท้อนที่สื่อให้เห็นว่าคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยทั้งประเทศต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเพราะอะไร ยิ่งพื้นที่เขตเฉพาะกิจพิเศษซึ่งพิเศษหลายเรื่องจริงๆ คงต้องตระหนักให้มากครับว่าสภาวการณ์สถานการณ์แบบนี้บนพื้นที่แห่งนี้จะมีฮีโร่อัศวินขี่ม้าขาวมาช่วยเด็กๆด้วยความตั้งใจจริงบ้างไหม๊...

         ภาษาสำหรับผมแล้วมิใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสารแต่มันคือหัวใจของการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ครับ...วัลลอฮฺอะลัม

(ขอบคุณภาพจากท่าน ผอ.ประสิทธิ์ ครับ)

หมายเลขบันทึก: 320158เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2009 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ชอบประโยคนี้มากครับ

"การสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมความสัจจริงในเนื้อหาที่เรียนตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ว่าแต่ละคาบแต่ละกระบวนการจัดการเรียนรู้เราต้องนำไปสู่เรื่องของคุณธรรมจริยธรรมให้ได้..

"ภาษาสำหรับผมแล้วมิใช่เป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสารแต่มันคือหัวใจของการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นทั่วทุกพื้นที่ครับ"

ขอบพระคุณสำหรับข้อคิดครับ

อ.โย

ขอบคุณมากครับท่าน

P

ดร. ภิญโญ รัตนาพันธุ์

ความจำเป็นของเรื่องคุณธรรมจริยธรรมคือความสำนึกที่ควรตระหนักอย่างยิ่งครับ

"บางครั้งภาษากลายเป็นเครื่องมือของวาทกรรมในสังคมเมืองไทย อันนี้น่าเป็นห่วงครับ"

รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากเลยค่ะเมื่อรู้ว่าอาจารย์กลับมาสอนอีกครั้ง

ฝากดูแลน้องๆด้วยน่ะค่ะ เพราะหนูคิดว่าอาจารย์คงจะรู้ดีถึงปัญหาและสิ่งที่ยังขาดหาย สำหรับมหาวิทยาลัยแห่งนี้

จะดุอาและเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

ลูกศิษย์

"อิสลามานุวัตรภาษาไทย"

อย่างที่อาจารย์เคยพูดนะครับ จะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ ตรงนี้ขอให้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญและอยากเรียน

เมื่อวานหลังจากคุยกับอาจารย์ผมก็ได้ไปสอนกลุ่มครู วิชาเกี่ยวกับการใช้ภาษา

การใช้ภาษาในการสอนนั้น สิ่งแรกที่ควรคำนึง ภาษาอะไรละที่ทำให้เขาเข้าใจง่ายที่สุด อัลกุรอานจะมาด้วยภาษาอาหรับ อย่างที่อัลลอฮฺได้ตรัสในอายัตแรกๆ ซูเราะฮฺ ยูซุฟ ว่า

"แท้จริงเรา(อัลลอฮฺ)ได้ประทานอัลกุรอานด้วยภาษาอาหรับลง หวังว่าพวกเจ้าจะคิดได้"

คิด... ทำไมต้องเป็นภาษาอาหรับ..

... สิ่งหนึ่งที่ผมคิด คือ ภาษานี้คนเขาพูดกัน คนคุยภาษาอาหรับได้ ได้ฟังก็เข้าใจ ผมแปลข้างบน ผมไม่จำเป็นต้องไปเปิดอัลกุรอานฉบับแปลเลย (เว้นแต่จะศึกษาอย่างลึกซื้ง จะต้องไปศึกษาคำอธิบายเพิ่มเติม)

และ ณ วันนี้ ถามว่า "ภาษาไทย" จำเป็นไหมสำหรับ คนเชื้อสายมลายู ณ สามจังหวัดนี้

เท่าที่ผมสังเกต ส่วนใหญ่แล้วจะเข้าใจภาษาไทยได้ดีกว่าภาษาอื่น ...

..วัลลอฮุอะลัม

ขอบใจมากครับ

30

ลูกศิษย์

ลำพังเพียงครูคนเดียวคงไม่พอครับ...แต่ก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดครับ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق

การจัดการเรียนรู้ คือ กุญแจสำคัญดอกหนึ่งในการเข้าใจและเข้าถึงเนื้อหาด้วยใจครับ

ตอนนี้ผมอยากให้มีคนมาช่วยสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยมากครับ ผมว่าเมื่อถึงวันนั้น (อินชาอัลลอฮฺ) เราจะเป็นสถาบันแรกๆที่จัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาไทยที่ควรจะเป็นในพื้นที่ครับ

"ภาษา นำไปสู่ความเข้าใจ ส่งผลถึงสันติภาพ อย่างยั่งยืน"

ภาษา เครื่องมือการสื่อสารที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่สามารถทะลุทะลวงให้รู้ ให้คิด ที่สำคัญคือความรู้ ที่จะนำไปสู่การพัฒนา

คุณภาพคน จังหวัดชายแดนใต้คนต้องมีคุณภาพ!!! เมื่อคนมีคุณภาพการพัฒนามันสมองจะบังเกิดขึ้น ผ่านภาษาเป็นตัวกลาง

หนังสือทุกเล่มมีภาษา มีความหมาย การจะเรียนรู้ได้ต้องเข้าใจภาษาก่อน การสื่อสารในการเรียนการสอน ใช้ภาษาเป็นตัวหลัก

การขาดครู สามารถที่จะบอกคุณภาพของการศึกษาได้อย่างชัดเจน ขาดครู ขาดผู้ชี้ทาง สุดท้าย หลงทาง

น่าคิดน่ะครับ ถ้าไม่มีครู คนจะเป็นยังไง ?

ขอบคุณมากครับ

30

คนเร่ร่อน

หลายต่อหลายครั้งและหลายต่อหลายเรื่องในพื้นที่ที่หลายคนมองว่าเป็นเรื่องน่าคิดแต่ผู้ใหญ่กลับไม่ฉุกคิดมันครับ น่าเป็นห่วงครับกับปัญนี้

ผู้ใหญ่คงไม่มีเวลามาใส่ใจไกลพื้นที่ ห่างไกลอย่างนี้หรอกน่ะ เรื่องน่าคิดอีกมากมาย แต่ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญ น่าจะเปลี่ยน

ยุทธศาสตร์มาเป็นการส่งครูมาแทนทหารนะครับ ส่งกำลังมาแต่ไม่ได้ส่งผู้มีความรู้มาพัฒนา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา? พัฒนา?

คอนเซบนี้ยังใช้ได้รึปล่าว จากมุมมองด้านการศึกษา

จะพัฒนาพื้นที่คิดว่าควรลงทุนทางการศึกษาคุ้มกว่านะครับ ส่งกำลังทางสมองมาดีกว่า กำลังด้านการทหาร

ขอบคุณมากครับ

30

คนเร่ร่อน

กำลังทางการศึกษา...เห็นด้วยครับเพราะจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง

อัสลามูอาลัยกุม

ที่เขาให้อาจารย์ลานะ ลาศึกษาต่อนะครับ ไม่ใช่ให้ลาไปทำอย่างอื่น ฮิฮิ (แวะมาแซวเล่น) สงสัยท่านรองให้อาจารย์รับงานอื่นเยอะ เลยเรียกตัวกลับมาสอนดีกว่า ฮาฮาฮา

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

จารุวัจน์ شافعى

       ท่านรองวิชาการคณะฯ คงเข้าใจผิดไหม๊ครับ และผมเชื่อว่าการเข้าใจของใครหลายคนก็คงผิดที่คิดว่าผมมีงานเยอะ ถ้างานเยอะคือเรื่องการรับเป็นวิทยากรผมอยากบอกว่างานที่มหาวิทยาลัยยื่นมาให้ช่วยทำน่าจะเยอะกว่านะครับเพียงแต่ไม่มีใครรู้ อิอิ อีกอย่างการรับงานวิทยากรถือเป็นการให้ความรู้ผมไม่เตรียมก็ได้เพราะเป็นความรู้ตกผลึก แต่งานสอนสำหรับผม(มันมีรายละเอียดมิใช่สอนมั่วๆ) ต้องทำให้เด็กน้องๆนักศึกษาได้รับประโยชน์ให้มากที่สุดมิใช่ไปมือเปล่า สุดท้ายเด็กก็มิได้อะไรเลย ผมถามเด็กว่า...ทำไมถึงมาเลือกลงเรียนวิชานี้ทั้งที่เป็นวิาเลือกและมีให้เลือกอีกสองภาษา คำตอบคืออะไรรู้ไหม๊ครับ "เคยลงวิชานั้นแล้วแต่รู้สึกไม่ได้อะไรเลยคิดว่าลงวิชานี้ดีกว่าเพราะ...วัลลอฮฺอะลัม"

      สรุป...ผู้ใหญ่บางครั้งก็คิดไปเองและอาจคิดผิดเหมือนกันครับ อิอิ (แวะมาตอบเล่นๆนะครับ ฮ่าๆๆๆๆๆๆ)

ผู้รู้ทั้งหลาย ที่เก่งกาญจริง ก้มีพื้นฐานจากความเข้าใจในภาษาที่เรียนอย่า่งจริงจัง เลยทำให้รู้จริงในด้านที่เขาเรียนและศึกษา

ภาษา ทุกภาษาสำคัญ ญ บริบทที่เราต้องการจะเข้าใจและศึกษา เรียนรู้

เป็นแรงใจ สำหรับวันนี้

เป็นกำลังใจ สำหรับวันต่อไป

เป็นแรงบันดาลใจ สำหรับที่เหลือ

สู้ๆๆ เพื่อพัฒนาการที่ดีของผู้มาค้นคว้า หาความรู้ ณ ที่ตรงนี้ต่อไป

แวะมาเขียนสด......

ขอบใจมากน้อง

P

คนตานี

พัฒนาการดีขึ้นเยอะเลยนะครับ...

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

ขอบคุณสำหรับแรงบันดาลใจ

ขอบคุณจากหัวใจ นับจากนี้จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดครับ แต่ไม่แน่ใจจะอยู่ตรงนี้อีกนานแค่ไหนนะครับ (อินชาอัลลอฮฺ)

...แวะมาตอบสดเหมือนกันครับ อิอิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท