เมื่อบททดสอบคือความท้าทาย เมื่อโลกใบใหม่ต้องตัดสินใจ เมื่อความเป็นนักวิชาการในพื้นที่ต้องมีมากกว่าที่เป็นอยู่


       คำพูดที่ว่า "การทำงานก็คือการพักผ่อน ยิ่งงานเยอะนั่นหมายถึงว่าชีวิตเรายังมีคุณค่า" ผมไม่รู้จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวเหล่านี้ แต่ก็รู้สึกดีทุกครั้งที่นึกถึงมัน

       ทุกวันนี้ภารกิจประจำวันที่ต้องทำ คือ การแบ่งเวลาให้คุ้มค่ามากที่สุดโดยเฉพาะเรื่องวิทยานิพนธ์ของตัวเอง พยายามควบคุมปัจจัยทุกอย่างให้ลงตัวให้มากที่สุดแต่บางอย่างก็ทำไม่ได้จริงๆ ( รู้เลยครับว่าทำไมหลักสูตรภาษาไทยปีนี้ที่มหาวิทยาลัยที่ผมเรียนถึงเปิดไม่ได้) อินชาอัลลอฮฺจะพยายามไปให้ถึงซึ่งปริญญา

       ปี ๒๕๕๒ เป็นการเริ่มต้นสนใจในหลายเรื่องราวของชีวิตในแวดวงวิชาการของผม ผมเคยพูดคุยกับ ผศ.ปิยะ  กิจถาวร (คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี) ในการเจอกันในงานสัมมนารัฐศาสตร์แห่งชาติ ท่านให้ความคิดเห็นเรื่องหนึ่งอย่างน่าสนใจกับผมว่า "องค์ความรู้เรื่องของพื้นที่เราสามารถสู้เขาได้และได้ดีกว่าด้วยซ้ำกับนักวิชาการส่วนกลาง แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับ คือ องค์ความรู้สากลที่เราตามเขาไม่ทันเลย..." ประโยคหลังคำว่าแต่นี่แหละครับที่ทำให้ผมฉุกคิด และทบทวนตัวเองในการเป็นอยู่บนคำคุ้นชินของใครหลายๆคนที่พยายามบอกว่าเป็นนักวิชาการ

       การทำงานวิจัยในสิ่งที่ผมเรียกว่า "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า งานวิจัย" ในปี ๒๕๕๒ ของผมได้เริ่มขึ้นบนความท้าทายของความไม่รู้อะไรมากมายเกี่ยวกับงานวิจัยแต่ผมก็สนใจและมีความคิดว่าผมจะพัฒนาอะไรบ้างในพื้นที่แห่งนี้ ภารกิจงานวิจัยสองชิ้นในปีเดียวกันจากการได้รับทุนสนับสนุนจาก สทศ. (สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติฯ) กับ สถาบันพระปกเกล้า คือ บทพิสูจน์ความเป็นตัวตนของผมในการทำงานชิ้นหนึ่งๆอย่างชัดเจน จนได้รับความไว้วางใจให้เดินต่อกับทุนวิจัยของ สทศ. อีกครั้งในปี ๒๕๕๓ และกำลังจะสำเร็จในงานวิจัยในปีนี้ บวกกับการได้รับคำชมจากสถาบันพระปกเกล้าในการเขียนรายงานการวิจัย จนทำให้ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยต่ออีกปีในปีนี้ และ ได้รับความไว้วางใจอันทรงเกียรติหนึ่งในชีวิตที่ได้เป็นที่ปรึกษางานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าหนึ่งชิ้นในปีเดียวกัน

       ความท้าทายบนฐานของบททดสอบจนได้รับการทาบทามเป็นผู้ร่วมงานวิจัยอีก ๒-๓ เรื่องในขณะนี้ และงานหนึ่งที่ผมยอมรับและน่าจะเป็นความภาคภูมิใจ (อัลฮัมดุลิลละฮฺ) กับความเมตตาของพระเจ้า คือ การได้รับความไว้วางใจจากทาง ปปช. คัดเลือกเป็นงานวิจัยชิ้นแรกของสามจังหวัดฯ เกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และวินัย แก่เยาวชนฯ (กว่าจะผ่านด่านปรับแก้กันสามรอบ แต่ก็อัลฮัมดุลิลละฮฺบทเรียนที่คุ้มค่า ขอขอบคุณทีมงาน ปปช. โดยเฉพาะ ศ.ดร.วันเพ็ญ ไกรฤกษ์ จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ให้คำแนะนำด้วยดีมาโดยตลอด

         ความท้าทายยังไม่หมดเมื่อเพื่อนนักศึกษาจาก USM โทรมาบอกว่าโครงการของศูนยมนุษยสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็น ๑ ใน ๘ เรื่องที่ผ่านและได้รับให้เป็นโครงการที่เขียนดีด้วยในไม่กี่เรื่องของ ๘ เรื่อง (อัลฮัมดุลิลละฮฺ) งานนี้ผมลืมไปแล้วครับเพราะเป็นโครงการวิจัยที่ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ผมเคยถามเพื่อนอาจารย์ในมหาวิทยาลัยถึงโครงการนี้ แต่ท่านก็ถามว่า "จะทำไหม๊หละเป็นภาษาอังกฤษ..." คล้ายกับว่าผมนั้นคงไม่ได้ภาษาอังกฤษคงลำบาก อิอิ ผมยิ้มรับทุกความท้าทายครับ  เพราะมัน คือ บททดสอบ แต่ก็ยังมีคนให้โอกาสผมพิสูจน์ในองค์ความรู้และข้อมูลที่มีอยู่ เลือกผมเข้าร่วมทีม ก็อัลฮัมดุลิลละฮฺครับก็มีคนเห็นคุณค่าในสิ่งที่ผมอยากนำเสนอ...

         ความท้าทายระลอกใหม่ที่ได้รับ คือ การได้รับการเสนอชื่อ ให้เป็น บรรณาธิการ ในหนังสือของ สกว. เล่มใหม่ ที่เพื่อนอาจารย์สถาบันเดียวกัน (มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา) เป็นคนเขียนและเรียบเรียงขึ้นมาจากงานวิจัยที่นัยยะของมาเลเซียที่มีต่อไทย รุ่นที่ ๑ อยากจะขอบคุณมากครับที่อาจารย์ให้โอกาสผมได้ิพิสูจน์อีกมุมหนึ่งของชีวิต ขออัลลอฮฺทรงตอบแทนคุณงามความดีของอาจารย์ในครั้งนี้


        บททดสอบที่ได้รับ คือ ความท้าทายที่ผมต้องเผชิญในปีนี้ ผมมีความสุขและสุขใจกับการได้ทำในสิ่งที่ตนรัก แม้อาจจะมีการสบประมาทบ้างจากใครหลายๆคนแต่ผมก็คิดว่าตัวเราและพระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่าสิ่งที่ดีที่สุดของชีวิต คือ อะไร

        หลายต่อหลายครั้ง หลายต่อหลายคน "ดังแต่ท่อล้อไม่หมุน" ผมเองก็ไม่ได้สนใจแต่กลับยิ่งสงสารกับคนเหล่านี้ ทุกวันนี้เขากำลังทำอะไรกันอยู่ สังคมกำลังรอคอยพวกเขาอยู่มิใช่หรือ ทำไมถึงเป็นแบบนี้

          โลกใบใหม่ของผม คือ การตัดสินใจที่จะเลือกทำบางสิ่งบางอย่าง การทาบทามจากบางหน่วยงาน บางสถาบัน ผมรู้ดีครับพื้นที่แห่งนี้ยังคงต้องการคนสอนภาษาไทยอีกมาก โอกาสที่ทุกฝ่ายหยิบยื่นให้ขอน้อมรับด้วยใจจริง การวิ่งอยู่บนลู่วิ่งเส้นนี้บางครั้งสำหรับผมแล้วมันไม่มีอะไรที่ท้าทายอีกต่อไป สุดท้ายการเลือกที่จะกลับบ้านคือคำตอบสุดท้ายสำหรับผม แต่ ณ เมื่อใด ตอนไหน นั้นขอให้เป็นเรื่องของเวลา...เคยมีคนท้าจะลาออกอีกหรือ ผมมองเป็นคำท้า อิอิ ผมตอบว่า...ถ้าลาออกได้ตอนนี้เลยก็ยินดีครับ  แล้การพูดคุยสนทนาก็จบลงด้วยคำถามมากมายภายในใจผมกับคนที่นี่กับสถาบันแห่งนี้

           วันนึงเมื่อการได้พิสูจน์ และเรียนรู้อะไรบางอย่างเกิดึ้นกับใครสักคน วันนั้นเขาคนนั้นจะเข้าใจว่า การทำหน้าที่ของเสียงเล็กๆคนนี้ที่ผ่านมาไม่เคยลุกขึ้นมาพูดและบอกเล่าเรื่องราวให้ใครเข้าใจเพราะคิดว่ามันไม่จำเป็น ผมเลือกที่จะทำมากกว่าพูด เพราะผมมองว่าผลของงานมันเห็นภาพมากกว่าแค่ลมปาก

             ผมรู้ว่าผมเหลือเวลาอีกเท่าไหร่กับการกลับไป แต่ ผมก็คิดแล้วเหมือนกันว่าผมจะกลับไปเพื่อเรียนรู้ต่อไปอีกเท่าไหร่(ไม่กี่ปีเท่านั้น) เพราะผมเชื่อว่าทุกคนมีเหตุผล มีความฝัน และเมื่อใดก็ตามที่เรากล้าีที่จะฝันเราก็ต้องกล้าที่จะรับผิดชอบความฝันของตัวเอง  ...  ขอพระเจ้าได้โปรดชี้นำแนวทางที่ถูกต้องแก่บ่าวผู้ด้อยประสบการณ์ในครั้งนี้ด้วยเถิด

บันทึกความใน...ของเสียงเล็กๆ

๑  เมษายน   ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 348725เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2010 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

        *   ธรรมใดก็ไร้ค่า     ถ้าไม่ทำ

       *    การทำงาน คือ การปฏิบัติธรรม

        *   มีความรู้(ปริยัติ)   ต้องลงสู่การกระทำ(ปฏิบัติ)   จึงจะเห็นผล(ปฎิเวธ)

        *   ทำไปเถิดครับ ถูกบ้าง ผิดบ้าง  อย่างน้อยก็ได้งาน ได้ประสบการณ์

ขอบคุณมากครับอาจารย์

P

small man

ที่เลือกทำเพราะมีความสุขกับสิ่งที่ทำครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้รูปแบบการทำงานของน้องฟูอ๊าด 
  • ได้อ่านเม้นท์ของท่านรองฯ small man มีกำลังใจนะคะ

ขอบคุณมากครับพี่

P

ครูคิม

รูปแบบการทำงานของผม บททดสอบมันก็เยอะแบบนี้แหละครับ แต่การน้อมรับทุกสภาพการณ์และทำมันให้สุดที่ดี คือ ปณิธาน ที่ตั้งใจครับ

  ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งครับ

ผมว่า บัง ได้ทำในหลายเรื่องๆที่น่าสนใจและเกิดประโยชน์มาก แม้จะเป็นเพียงคนเล็กๆ มันก็ย่อมมีค่าขึ้นในสักวันหนึ่ง.....อยู่ที่เวลา ว่าจะมาเมื่อไร

เป็นแรงใจเสมอครับ จากน้องคนเล็กในมุมเล็กๆแห่งนี้

บังได้ขนาดนี้ ผมยังไม่ได้ทำไรเลย...

ยังเป็นคนเล็กๆ ที่เดินไปตามประสาของคนเดินทาง

ขอบใจมากน้อง

P

คนตานี

ณ จุดที่เรายืนอยู่บางครั้งโอกาสมันต่างกันก็จริง แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่า คือ การไม่ปล่อยให้ชีวิตไหลไปตามริสกี แต่ยืนอยู่บนวิถีที่ริสกีต้องวิ่งตามเราเพราะนั่นหมายถึงว่าบททดสอบที่พระเจ้าให้เรามาเราต้องขวนขวายครับ

  เป็นกำลังใจให้เสมอครับ...และบังเชื่อว่า ณ เส้นทางของเราทุกวันนี้ก็ทำประโยชน์เพื่อสังคมมากมายเพียงแต่มีแค่เราและพระเจ้าเท่านั้นที่รู้มัน อย่างน้อยในรุ่นเดียวกันบังว่าน้องบังคนนี้ทำงานเพื่อสังคมเยอะนะเท่าที่รู้ (วัลลอฮฺอะลัม)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท