(๒) ท้องฟ้าเมืองกรุงบางครั้งก็งดงามกว่าที่คิด : มหาวิทยาลัยเล็กๆกับความประทับใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัยของศูนย์มานุษย วิทยาสิรินธร (SAC)


สืบเนื่องจากบันทึก http://gotoknow.org/blog/fuad1011/370113 ที่ผมได้เีขียนเกริ่นนำถึงที่มาที่ไปของโครงการวิจัยวัฒนธรรมและสิทธิในประเทศไทย ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ไปเมื่อวานนั้น  วันนี้ตั้งใจจะเขียนเล่าเรื่องราวตลอดโครงการที่ไปร่วมประชุมสัมมนาของโครงการในครั้งนี้ครับ

   ขอเริ่มต้นด้วยภาพบรรยากาศที่ถ่ายจากห้องพักออกไปมองเห็นทัศนียภาพรอบๆเมืองกรุงกับเส้นทางที่หลายคนมองว่าเส้นทางในกรุงเทพฯ มันยากเหลือเกินที่จะเดินทาง แต่ผมอยากให้มองครับว่า เมื่อเราลองมองเปรียบเทียบถนนด้านบนกับด้านล่างจะเห็นสภาพความต่างของพื้นที่ในความคล่องตัวในเส้นทางการเดินรถ และนั่นผมกำลังจะบอกว่า บางครั้งยิ่งสูงอาจทำให้เรามองเห็นอะไรๆได้รอบมากขึ้นและคล่องตัวมากขึ้นหากเราตั้งใจที่จะมองมันลงไปแล้วทบทวนเรื่องราวต่างๆอย่างพินิจพิเคราะห์ อิอิ  กำลังจะลากเข้าเรื่องวันนี้แต่ไม่รู้ทำไง ฮ่าๆๆๆ

    หลังจากการนำเสนอโครงการวิจัยวัฒนธรรมและสิทธิในประเทศไทยที่ผ่านเข้ามา ๙ โครงการของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรต่อคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ทำให้ทางทีมของผมมองว่าบางครั้งการได้ทำอะไรที่มันเป็นตัวของตัวเองสำคัญที่สุด พวกผมเตรียมพาวเวอร์พ็อยในการนำเสนออย่างตั้งใจด้วยรูปภาพที่จะบ่งบอกถึงการทำโครงการวิจัยในครั้งนี้ แต่ก็ต้องมาเปลี่ยนกระทันหันตอนเช้าก่อนนำเสนอว่าพรีเซนต์ปากเปล่าดีกว่า เพื่ออุดช่องว่างของภาพที่จะถูกตั้งคำถามให้น้อยทีสุด ก็อัลฮัมดุลิลละฮิเป็ไปอย่างที่ทีมวิจัยคิดไว้แทบทั้งสิ้น (อย่างที่คุยกันครับว่าไม่มีใครในโครงการวิจัยครั้งนี้รู้ดีกว่าพวกเรากับสิ่งที่จะทำ อิอิ)

      จะบอกว่าใน ๙ โครงการมีเพียงโครงการวิจัยของผมโครงการเดียวที่พรีเซนต์โดยไม่ใช้พาวเวอร์พ็อยแต่พ็อยท์ที่เสนอไปกลับสร้างพลังได้ดียิ่งกว่า อย่างที่บอกกล่าวไปแล้วในบันทึกก่อนหน้า http://gotoknow.org/blog/fuad1011/370113 ครับว่าหลายโครงการหลังจากพรีเซนต์โครงการแทบพับโครงการทิ้งด้วยความไ่ม่เคลียร์ในกระบวนการที่จะทำและสิ่งหนึ่งที่ผมมองเห็นสำหรับวิจัย คือ บางครั้งชื่อชั้นก็ไม่สำคัญเท่ากับความชำนิชำนาญพื้นที่และเรื่องราวในการทำวิจัย แต่สุดท้ายการช่วยกันประคับประคองปรับปรุงเสนอแนะทางออกร่วมกันทำให้โครงการวิจัยในครั้งนี้หลายโครงการสามารถผ่านพ้นด้วยดีครับ (อัลฮัมดุลิลละฮฺ) 

        วันที่สามของการสัมมนาในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่ดูพื้นที่ในชุมชนเมืองของการต่อสู้เพื่อการดำรงอยู่ของชุมชนป้อมมหากาฬกลางกรุงกับทาง กทม.

      สังกะสีสีเขียวที่เห็น คือ เขตกั้นระหว่างชาวบ้านชุมชนป้อมมหากาฬกับพื้นที่ที่ทาง กทม. กำลังจะสร้างเป็นสวนสาธารณะ ทางคณะผู้จัดได้ติดต่อกับผู้นำชุมชนถึงการเข้าไปศึกษาถึงที่มาที่ไปเพื่อช่วยกันหาทางออกร่วมกันก็ได้รับการต้อนรับจากชาวชุมชนและผู้นำชุมชนเป็นอย่างดี หลังกำแพงสังกะสีนี้อยากบอกว่ามีเรื่องราวที่น่าศึกษามากมายครับกับการต่อสู้ของชาวชุมชนและความเข้มแข็งของชุมชนเมืองชุมชนเดียวที่ยังเหลืออยู่ในใจกลางกรุง (ผมคงไม่สามารถบรรยายได้หมดในบันทึกนี้ครับ) แต่สิ่งที่ผมสนใจคือการดำรงอยู่ของผู้คนที่นี่ครับมีความสามารถกันมากครับในการจัดป้อมเวรยามดูแลชุมชนแห่งนี้

      เข้าไปทางเข้าประตูก็จะพบกับบ้านหลังแรกที่เป็นที่มาที่ไปครับกับคนพื้นที่จากปัตตานีที่อพยพเข้ามาในเมื่อหลายช่วงอายุคน สิ่งที่สื่อสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่ยังดำรงอยู่ไม่ว่าจะเป็นผู้คนที่ปัตตานีที่นี่หรือปัตตานีที่สามจังหวัดฯ คือ สัญลักษณ์ดังภาพด้านล่างครับ

    

        หลังจากนั้นทางผู้นำชุมชนก็นำเดินไปเยี่ยมเยียนการทำมาอาชีพของผู้คนในชุมชนในทุกๆพื้นที่ ไม่เ้วนแม้กระทั่งการเลี้ยงไก่ชน ซึ่งพอฟังเรื่องราวที่มาที่ไปของการเลี้ยงไก่ชนที่นี่แล้วน่าสนใจครับว่ามันไปเชื่อมโยงกับการค้าเศรษฐกิจในสมัย ร.๕ กับประเทศมาเลเซียอย่างน่าสนใจถึงขั้นงดการจำหน่ายไก่ชนให้แก่ต่างประเทศ

     หลังจากนั้นก็เดินทางไปดูชุมชนเมืองอีกชุมชนหนึ่งซึ่งถูกย้ายถิ่นเพื่อสร้างสวนสาธารณะสำเร็จ คือ ชุมชนป้อมพระสุเมรุที่ไม่เหลือความเป็นชุมชนให้ดูครับ โดยท่าน ดร. Ho kong Chong จากมหาวิทยานานาชาติสิงคโปร์เป็นผู้นำทัพลงดูพื้นที่นี้ครับซึ่งท่านได้ทำวิจัยเรื่องเกาะรัตนโกสินทร์ทั้งเกาะน่าสนใจครับงานชิ้นนี้ที่ท่านกำลังจะศึกษาเป็น ๑ ใน ๙ โครงการที่ผ่านเข้ามาครั้งนี้ครับ ดังภาพด้านล่างครับท่านกำลังนำเสนอครับ

  วันที่ ๓-๔ เป็นการนำเสนอโครงการวิจัยที่เหลือครับเพื่อปรับทิศทาง และวันที่ ๕ ทางทีมวิจัยทั้งโครงการก็เดินทางออกสู่มหาชัยครับเยี่ยมชมวิถีชีวิตพ่อค้าแม่ขายของชาวตลาดมหาชัยและรับประทานอาหารกันที่นี่ก่อนออกเดินทางไปสมุครสาครเพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนชาวพม่า ครับ

  

 

        อยากบอกว่าประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการวิจัยในครั้งนี้ คือ คุณค่าที่ทำให้รู้ว่าสังคมทุกวันนี้ยังมีอะไรอีกมากมายที่เราต้องร่วมกันทำ ความรู้อีกมากมายที่เราต้องค้นหาเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของบางสิ่ง อบอุ่นมากครับกับทางคณะผู้วิจัยตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมกันทำงานและร่วมกันหาทางออกตลอดทั้งสัปดาห์กับห้วงเวลาที่ผ่านพ้นอย่างมีความสุข ความเป็นกันเอง ความเป็นทีม ทำให้ผมรู้ว่าบางครั้งบางเรื่องมันไม่น่ากลัวอย่างที่เราคิด เฉกเช่นกับการได้สัมผัสในการเข้าร่วมเป็นนักวิจัยโครงการวิจัยในครั้งนี้

       ที่สำคัญคำว่าเครือข่ายก่อเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกลับมาถึงปัตตานีเมื่อวานก็ได้รับอีเมล์จากคณะผู้วิจัยในบางท่านส่งข้อมูลกาารจัดโครงการตามสถานที่ต่างๆที่มีการนำเสนอบทความวิชาการ บทความวิจัยทั้งในและต่างประเทศในเรื่องที่กำลังศึกษากันเข้ามาโดย อาจารย์จากมหิดล ก็ขอขอบคณมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

        ขอปิดท้ายบันทึกด้วยกับภาพความอบอุ่นและความสวยงามในมุมเล็กๆภายในโรงแรมที่พักที่ทางศูนย์มานุษยวิทยาจัดเตรียมไว้ให้ครับ (ขอบคุณสำหรับการต้อนรับและเทคแคร์ดูแลในทุกๆเรื่องเป็นอย่างดี มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ)

หมายเลขบันทึก: 370344เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

ดีใจที่ได้อ่านเรื่องเล่าดี ๆ ของน้อง  พี่คิมภูมิใจกับน้องที่สร้างคุณค่าให้ตัวเองและสังคมมากนะคะ

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณมากครับพี่

P

ครูคิม

ขอบคุณสำหรับกำลังใจและความรู้สึกดีๆที่ผ่านมามากครับ

มนุษย์ที่ประเสริฐที่สุด คือ บุคคลที่ยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นครับ เหนื่อยแค่ไหนสังคมเกิดการพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเราก็น่าจะทำมันต่อไปครับกับบททดสอบและความท้าทายที่ได้รับ

ทุกพื้นที่ไม่เว้นแต่เมืองกรุงยังมีเรื่องราวให้ได้เรียนรู้...

ให้ได้ค้นหาทั้งคำตอบและทางออกอยู่เสมอนะครับ...

และทุก ๆ คำตอบและทางออกย่อมต้องการ...

ความร่วมมือและการเสียสละของทุก ๆ ฝ่ายนะครับ...

 

 

ขอบคุณมากครับบัง...ว่าที่ ดร. (ดุอาอฺ)

P

Mr.Direct

คมเข้มในคำแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การชวนคิดจริงๆ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท