ภูมิปัญญาท้องถิ่น: มโนราห์โรงครู


การไหว้ครูมโนราห์ เป็นความเชื่อ ในเรื่องของความกตัญญูต่อ บรรพบุรุษ ร้อยความเป็นเครือญาติให้เหนียวแน่น และน้องนา มีความสุข เมื่อเห็น คนในชุมชนมีความสุข

มโนราห์โรงครูที่บ้านวังเลน
วันที่ 8 พฤกษภาคม 2551 ได้มีโอกาสไปดูการแสดงมโนราห์โรงครู ที่บ้านวังเลน ซึ่งน้องนาซึ่งเป็นแกนนำฯ ศวพถ. ได้จัดงานขึ้น เพื่อไหว้ครูโนราห์ คณะที่ไปร่วมงานคือ แกนนำฯ ศวพถ. คณะศึกษาดูงานจาก จังหวัดหนองบัวลำภู ที่มาศึกษาการจัดการชุมชนของเครือข่ายสินธ์แพรทอง  คุณอนุชา (สพช.ภาคใต้) พี่แซม น้องหมวย น้องโบว์(สพช ส่วนกลาง) น้องเยาะ

 
เมื่อไปถึงมโนราห์เริ่มแสดงพอดี น้องไก่ น้องนา พี่อู๋ เดินเข้ามารับ ทั้ง 3 คนดูท่าทางจะเหนื่อย กับเรื่องการเตรียมงาน การจัดการงาน แต่ก็ดูมีความสุข และมีพลัง


เมื่อไปดูมโนราห์ จึงได้เข้าใจว่าโรงมโนราห์ ที่ผู้เขียนเคยไป ยืนดู และมีความสงสัยอยู่ว่า มันเป็นอย่างไรใช้แสดงอย่างไร (ยิ้มๆ ยอมรับว่าเขินเหมือนกันคะ ว่าเป็นคนใต้ แต่เป็นครั้งแรกที่ได้เรียนรู้ และ เห็นมโนราห์โรงครู ) ถึงบางอ้อว่า ชั้น แคบๆ ที่อยู่ ในโรง เค้าไว้วางเทริด (คือเครื่องประดับบนศรีษะของนายมโนราห์ ) บทที่แสดงในวันนี้เป็นบท จับจระเข้ ชาวหนองบัวลำภูว่าแปลกใจจังเลย ทำไมชาละวันกับมโนราห์จึงมาพบกันได้ (ทุกคนบอก ว่า เค้าสั่งมาแล้ว)  ในการแสดงมีทั้งความสวยงาม ของการรำ ที่อ่อนช้อย มีความสนุกสนานจากนายพรานที่แต่งตัวแบบตลกสวมหน้าทาสี ตอนแรก ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นผู้หญิง เพราะสวมเสื้อคอกระเช้า นุ่งโจงกระเบนไปถามเค้าบอกว่า ไม่มีผู้หญิงมีแต่ผู้ชาย  มีบทร้องไว้สอน แนะนำ เยาวชน ผู้เขียนเห็นเด็ก ๆ หัวเราะชอบใจกับการแสดงของตัวตลก หรือนายพราน (อายุ 50 กว่าปีแล้ว แต่แสดงได้ ตลก และคล่องแคล่วมาก) ผู้เถ้าผู้แก่ มีความสุขกับท่ารำ ของนางรำ เป็นการผสม ผสาน ความเป็นหนึ่งเดียวได้ดีทีเดียว


เมื่อ ถึงตอนจบของเรื่อง จระเข้ โดนแทงตาย หลังจากนั้นก็จะมีการรักษา ตามความเชื่อ มีผู้หญิงมารำแก้บน มีการรักษาเสน (เหมือนปานแดง จะเป็นตั้งแต่เด็กมีขนาดโตและ หนาขึ้นเรื่อยๆ )
รักษาไม่หาย ตามแพทย์แผนปัจจุบัน แต่รักษาหาย จากการเหยียบของมโนราห์รงครู  ซึ่งผู้เขียนเองไม่เคยทราบมาก่อน ขณะยืนดู ก็มีชาวบ้านเล่าให้ฟังว่าลูกของเค้าก็เป็น เสน ไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันหลายครั้งไม่หาย ด้วยความไม่เชื่อ ในช่วงแรกจึงไม่รักษากับมโนราห์โรงครู แต่ปรากฏว่า เสนโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหมดทางรักษา จึงลองมารักษากับมโนราห์โรงครูดู ปรากฏว่าหาย จนเป็นปกติ


ที่ผู้เขียนสงสัย อีกอย่างว่าทำไมเครื่องแต่งกายของมโนราห์ จึงได้ดู สวยงามเหมือนชุดกษัตร์ การรำก็เป็นการรำ ที่อ่อนช้อย แปลกไปจากบุคลิกของคนใต้จึงมาศึกษาข้อมูล พบว่าตำนาน ของมโนราห์ ท่ารำเป็นท่าที่ได้จากการสุบินนิมิต ของบุตรกษัตร และ ทรงฝึกรำเอง เครื่องประดับ เป็นของกษัตรย์ที่ประทานให้กับมโนราห์ เมื่อครั้งรำถวายในครั้งแรก

  คณะหนองบัวลำภู บอกว่าดีจังเลยการจัดงานแบบนี้ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมที่ดี แต่เค้าฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง น้องนาอธิบายต่อว่า การไหว้ครูมโนราห์ เป็นความเชื่อ ในเรื่องของความกตัญญูต่อ บรรพบุรุษ  ร้อยความเป็นเครือญาติให้เหนียวแน่น และน้องนา มีความสุข เมื่อเห็น คนในชุมชนมีความสุข
ส่วนตัวผู้เขียน  รู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาส ไปร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้เห็นว่า วัฒนธรรม นี้เป็นเครื่องมือให้ชุมชน อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อย่างน้อย ก็นึกถึงความเป็นเครือญาติ นึกถึงบรรพบุรุษ 

   รู้สึกประทับใจกับเด็กนักเรียนมโนราห์ของน้องนา คนที่มีอายุน้อยที่สุด อายุ8ปี น่ารักมากประทับใจที่เด็กวัยนี้ มาสนใจวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสอนให้ เป็นคนที่มีจิดใจดี อ่อนน้อมถ่อมตน มีความคิดเป็นของตัวเอง และกล้าแสดงออก น้องนาบอกว่าเด็กที่มาเป็นนักเรียนที่นี่ การเรียนจะดีขึ้น สมาธิจะมีมากขึ้น(ผู้เขียนนึกอยากไปเป็นนักเรียนร่วมด้วยคน)  ส่วนรายละเอียดลึกๆ คงต้องติดตามจากน้องไก่คะ ต้องขอบคุณน้องนา ขอบคุณศวพถ.ที่ให้โอกาสได้เรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 181759เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2008 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ พี่ปู

น้องไก่สนุกมมากเลยค่ะ ที่มีโอกาศไปร่วมงานได้เรียนรู้ พิธีกรรมท้องถิ่น ที่ควรอนุรักษ์

สวัดีคะ นายประจักษ์ น้องไก่

กลับมาดู บันทึก เพื่อบันทึก  ย้อนบรรยากาศ  : โนราลงครูบ้านวังเลน จึงได้ทราบว่ายังไม่ได้ตอบบันทึก นี้ ยิ้มๆ คงไม่สายเกินไปนะคะ ขอบคุณมากคะ ใช่คะ น้องไก่ เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ และ มีค่า ต่อ ชุมชนมากคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท