ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์


เราจะต้องตระหนักว่ามนุษย์ไม่สามารถจะเอาชนะธรรมชาติได้โดยใช้เทคโนโลยี เราจะต้องอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์และมีสุขในความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

 

บทที่ 1
   เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์
 
รศ.ดร.อรรณพ วราอัศวปติ และ อ.ไปรยา เอราวรรณ์


แนวคิด 
         สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและสภาวการณ์ของโลกและจักรวาล สรรพสิ่งมี เกิด ตั้งอยู่ ดับไป ตามนัยแห่งพุทธปรัชญา (อนิจัง ทุกขัง อนัตตา) ที่สอดคล้องกับหลักวิชาการวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่ยืนยันว่ามีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของ จักรวาล และ สิ่งมีชีวิต ที่เรียกโดยรวมว่าความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)เกิดความซับซ้อนบนโลกจนกลายเป็นโลกที่มีชีวิตชีวาที่เรียกว่า ชีวมณฑล (Biosphere)
 
          มนุษย์เป็นผลพวงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงคู่ขนานกับสรรพชีวิตชนิดอื่น แต่ได้ใช้ความฉลาด ใช้ประโยชน์จากโลกจนเกินขอบเขตที่ธรรมชาติจะรองรับได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและเกิดความทุกข์ยากกับสิ่งมีชีวิตอื่นจนใกล้ถึงจุดวิกฤต เราจะต้องตระหนักว่ามนุษย์ไม่สามารถจะเอาชนะธรรมชาติได้โดยใช้เทคโนโลยี เราจะต้องอนุรักษ์ฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลย์และมีสุขในความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต

เนื้อหา (หัวข้อ)
        1.  การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
           1.1  ลำดับขั้นของสรรพสิ่ง
           1.2  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
           1.3  วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำวัน
       2. ความหลากหลายทางชีวภาพ 
          
2.1  ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ
          
2.2  ความหมายและประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">           2.3  ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพ
       3.  การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
          3.1  พื้นที่แดนวิกฤต
          3.2  สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
          3.3  ผลกระทบจากการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
       4. การอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
          4.1  วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
          4.2  ความมั่นคงทางชีวภาพ
          4.3  อยู่อย่างไรให้มีสุขใน
ความหลากหลายทางชีวภาพ
       5. บทสรุป - อนาคต
ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไท
</p>

 เอกสารอ้างอิง (เบื้องต้น)
      1. วิสุทธิ์ ใบไม้ (2548)  ความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม และสังคมไทย. โรงพิมพ์ชวนการพิมพ์ กรุงเทพฯ. 224 หน้า.
      2. สมโภชน์ ศรีโกสามาตร (2547) มองอนาคตความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. บริษัทจิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 86 หน้า.
 

  • ข้างบนคือสิ่งที่เราสองคนเสนอที่ประชุม ในการติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยการปรับปรุงเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
  • โดยนำแนวคิดหลักมาจากเอกสารอ้างอิงสองเล่มข้างบน
  • ท่านผู้รู้ และ ท่านผู้อ่าน กรุณาให้ข้อคิดเห็น และ ข้อเสนอแนะด้วยครับ

  

หมายเลขบันทึก: 73332เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2007 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • หลากหลายจริงๆครับ
  • ภาพสวยมาก
  • ขอบคุณครับ
  • กราบสวัสดีท่านอาจารย์ครับ
  • ดีจังครับ มีบทความแบบนี้ครับ
  • เห็นด้วยมากๆ เลยครับ เราไม่สามารถจะสั่งให้สึนามิหยุดได้ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/84498 เราไม่สามารถจะสั่งให้พายุหยุดได้ แต่เราสั่งให้ตัวเราหยุดได้ที่จะเอาชนะหรือทำร้ายธรรมชาติ
  • ขอบคุณมากครับ

ชีวมณฑล (Biosphere

คำนี้ จ๊าบจริงๆ

ทำให้นึกถึง  คำว่า มณฑลแห่งพลัง   ในการทำ Dialogue จริงๆ

อาจารย์มีตำรา งานวิจัยหรือบทความพอแบ่งปัน downlaod ไปศึกษาด้วยตัวบ้างก็ขอบพระคุณยิ่ง 

สวัสดีครับคุณ Young Herbalist  หนังสือประกอบวิชา วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ของฝ่ายวิชาการ มมส. น่าจะยังคงมีจำหน่ายอยู่ที่ ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครับ

ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์  ดร.อรรณพ  เกี่ยวกับเรื่องราวความหลากหลายทางชีวภาพ  สมุนไพรไทยและภูมิปัญญาไทย  ผมจำเป็นขอเรียนรู้จากผู้รู้อีกมากครับ  คงไม่ถือเป็นการรบกวนนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท