Guidance- Angel--เทพธิดาผู้เป็นแสงประทีปของครอบครัว


เธอเข้าใจและทำใจ ใช้หลักธรรม เมตตาบารมีเข้ามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และไม่แพ้โลก กล่าวคือ ไม่ยอมเป็นทุกข์อย่างขาดสติ สามารถดึงใจให้กลับจากความเป็นทุกข์ ให้ดำเนินไปในทางปกติที่สุดได้สำเร็จ ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ชีวิตและแก่โลก

Guidance Angel ---เทพธิดา ผู้เป็นแสงประทีปของครอบครัว   กำลังเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงสัจธรรมอันยิ่งใหญ่ของชีวิต   โดยไม่ต้องไปวัด        

          สืบเนื่องมาจากบันทึกของ  คุณ วงศกฤต เกรียงวรกุล

ที่ดิฉันได้อ่านด้วยความเข้าใจ  เห็นใจ  และชื่นชมคุณวงศกฤต อย่างมากที่นำเรื่องนี้ มาเป็นกรณีศึกษา โดยให้เหตุผลว่า  "อยากให้คนไทยเข้าใจและช่วยเหลือผู้ป่วยอัลไซเมอร์"

                  แต่กรณีที่ดิฉันพบเห็นและใกล้ชิดด้วย  3 รายนี้ ไม่เหมือนกับเรื่องของคุณ วงศกฤต

              ·        รายแรก เป็นคุณพ่อของเพื่อนที่ป่วยด้วยโรคนี้ มานานมาก สุดท้าย ต้องอยู่โรงพยาบาล และเสียชีวิต ซึ่งที่น่าแปลกคือ คุณแม่ของเพื่อน ก็เป็นด้วย แต่เริ่มเป็นในช่วงหลังๆ ก่อนคุณพ่อจะเสีย 3 ปี  ลูกๆพยายามใกล้ชิด ดูแลเป็นอย่างดี แต่อาการ ของท่านก็จะเหี่ยวเฉาลงอย่างช้าๆ จนบัดนี้ จำอะไรไม่ได้แล้ว แต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ภายใต้การดูแลของลูกหลานอย่างดียิ่ง              

              สิ่งที่น่าแปลกคือ ทั้งคู่ ไม่มีใครในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้เลย และโรคนี้ ไม่ใช่โรคติดต่อ  แต่ทำไม สามีภรรยา        เป็นกันทั้งคู่เลย โดยเริ่มเป็นเมื่ออายุ 75 ปี  ดิฉันได้เคยไปเยี่ยมท่านบ่อยๆ ในช่วงที่ท่าน ยังพอจำ เพื่อนๆของลูกๆได้       

  •            อีกรายหนึ่ง เป็นสามีของผู้บังคับบัญชาเก่า ที่ดิฉันรักมาก เหมือนพี่สาว  ในช่วงที่ทำงานอยู่ที่รัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ขอสมมุติชื่อเธอว่า พี่ปริมค่ะ 

              ในบรรดาคนที่ดิฉันรู้จักทั่วไป พี่ปริม เป็นคนที่ ใจดีมาก  มีน้ำใจเมตตากรุณา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น   มองโลกในแง่ดีเหลือเกิน     คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมก่อนคิดถึงตัวเองเสมอ    เป็นนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดจนบัดนี้โดยเฉพาะการเสียสละเพื่อลูกสาว 2 คน และสามี  จนเป็นที่เลื่องลือกันไปทั่วทั้งรัฐวิสาหกิจนี้ ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศไปที่ไหน ก็มีแต่คนรัก คนชอบ ได้สิทธิพิเศษต่างๆนานา โดยผู้คนเหล่านั้น  จะเต็มใจช่วยเหลือเธอเอง ซึ่งเรื่องนี้ เป็นบุญเฉพาะตัวจริงๆ               

                แต่สิ่งที่ทุกคนต้องประหลาดใจ และอยากทราบจริงๆว่า

                กรรมอะไรที่กำลังส่งผลให้เธอตอนนี้ คือ เธอ ต้องดูแลและเฝ้าดูสามีที่กำลังป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ด้วยความร้าวรานใจอย่างบรรยายไม่ถูก 7 ปีมาแล้ว โดยที่ประวัติ ก็ไม่มีใครในครอบครัวเป็นโรคนี้   การศึกษาดี  เป็นวิศวกรระดับผู้อำนวยการ เคยได้รับการผ่าตัดสมองแล้ว 2 ครั้ง ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เริ่มเป็นครั้งแรก อายุ71 ปี ดิฉันไปเยี่ยมให้กำลังใจเธอเสมอ ไม่ว่างก็โทรศัพท์ไป แต่เธอไม่เคยแสดงความเบื่อหน่ายที่จะดูแล จะมีอยู่ครั้งเดียว ที่เธอบอกว่า พี่เครียดนะ  ดิฉันฟังแล้วใจหายจริงๆ                 

                 แพทย์แจ้งแก่เธอว่า ในสมองของสามี มีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า พลัค-- plaque และเส้นใยประสาทพันกัน โดยเกิดขึ้นในช่องว่างระหว่างเซลล์ประสาท                   การบำบัดที่น่าสนใจและดูว่าได้ผลคือ แพทย์ให้ใช้เสียงดนตรีและการเล่นสับไพ่ที่เป็นสีๆ มาช่วย ปรากฏว่า สามีเธอต่อเนื้อร้องเพลง บัวขาวได้จนจบ ตอนนี้กำลังต่อเพลงอื่นๆอยู่  ส่วนเรื่องไพ่ ก็วางเรียงได้ แต่ยังสลับไม่ได้ 

               บางครั้งจำเหตุการณ์เก่าแก่ได้ แต่จำคนในครอบครัวไม่ได้ ส่วนเรื่องยา แพทย์ให้ยากันชัก เพราะมีอาการชักบ่อย และยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันด้วย ซึ่งเลยกลายเป็นง่วงนอนทั้งวัน จนต้องปลุก  มีคนแนะนำให้กินแปะก๊วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ คนเราใช้ประโยชน์จากพืชที่มีความเก่าแก่ ว่ากันว่า เก่าแก่ก่อนยุคไดโนเสาร์ด้วยซ้ำ                    

                 สิ่งที่ดิฉันคิดว่า พี่ปริมซาบซึ้งมากที่สุดตอนนี้ คือ ซาบซึ้งการเข้าถึงสัจธรรมด้วยตนเอง   ว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์  ต้องรับศึกหนักมาก  เพราะจะต้องพยาบาลอย่างเต็มตัว เต็มเวลา โดยแทบจะไม่มีเวลาส่วนตัวเลยแม้แต่น้อยนั่นเอง  

                   แต่อย่างไรก็ตาม   เธอเข้าใจและทำใจ  ใช้หลักธรรม เมตตาบารมีเข้ามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และไม่แพ้โลก  ไม่แพ้ชีวิต  และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ข้อพิสูจน์ ของคำว่า "รักแท้ " และ " คู่ชีวิต"

                  กล่าวคือ ไม่ยอมเป็นทุกข์อย่างขาดสติ  สามารถดึงใจให้กลับจากความเป็นทุกข์  ให้ดำเนินไปในทางปกติที่สุดได้สำเร็จ  ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ชีวิตและแก่โลก  ปัจจุบันเธอสดชื่น   ยิ้มแย้มแจ่มใสได้ เป็นปกติดี  ยังมีอารมณ์ขันด้วยซ้ำ

                        สัจธรรมที่เธอได้ค้นพบด้วยตนเอง ทำให้เกิดปัญญา ไม่ยินดีในเพราะสุข   ไม่ยินร้ายในเพราะทุกข์นั้นๆ    สามารถอยู่ได้อย่างใจสงบ  มีความสุขได้ตามควร  นับถือเธอจริงๆค่ะ

%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81

หมายเลขบันทึก: 114898เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (172)

สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย อย่าจัดวางเฟอร์นิเจอร์มากไป และเกาะเป็นกลุ่ม เลือกสีที่ให้ความสงบทางใจ หลีกเลี่ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นอันตราย

สวัสดีค่ะ

แปะก๊วยนี่เขาใช้ใบอย่างเดียวหรือเมล็ดมันด้วยคะ ที่ช่วยรักษาโรคนี้

สวัสดีค่ะ

สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยค่ะ ไม่ใช่ลูกแปะก๊วย

คนเชื่อกันว่า  มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical)ในบริเวณตา ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้

เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า

ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อมที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)

ดังนั้น นอกจากเราจะให้การดูแลผู้ป่วยที่เป็นอัลไซเมอร์แล้ว บางครั้งต้องดูแลผู้ที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

ใครก็ตามที่เคยดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ก็จะเข้าใจในชีวิตกันดีขึ้นทุกคน ซึ้งจริงๆว่าตนเอง น่าจะต้องมีกรรมมาไม่แพ้กันหรอกค่ะ

แต่ความรัก ความเมตตามีมากกว่าค่ะ ยังไงก็ต้องพยายาบาลดูแลจนถึงที่สุดค่ะ

สวัสดีครับ

ผมสนใจเรื่องการใช้ดนตรีบำบัดน่ะครับ ช่วยขยายความหน่อยครับ

 

สวัสดีค่ะ

คือสามีของพี่ปริมนั้น ทางคุณหมอที่รักษาได้ ลองใช้ดนตรีและเสียงเพลงมาช่วย ปรากฏว่า ผู้ป่วยจำเพลงบัวขาวได้ และร้องต่อได้จนจบ และเล่นตีระนาดได้บ้างค่ะ

ส่วนเรื่องไพ่ ทางคุณหมอจะให้เรียงไพ่และสับไพ่ เป็นสีๆหลายสี แต่ผู้ป่วยเรียงไพ่ได้ แต่สับไพ่ยังไม่ได้ค่ะ

คิดว่าเรื่องเพลงนี้ เซลล์ประสาทในเรื่องเพลงนี้ ยังใช้การได้อยู่ คงเรียกว่าร่องความจำ Memory traces

พอเสียงเพลงผ่านเข้าไปในร่องความจำนี้ เซลล์ประสาทจะรับรู้ และสามารถส่งสัญญาณเดิมได้ค่ะ

สวัสดีครับ

ป้าผมป่วยไปหาหมอๆบอกว่า เป็นโรคขี้ลืม ดี-เมน-เชีย ไม่ทราบจะโรคเดียวกับโรคนี้ไหมครับ

สวัสดีค่ะ

คือ  โรคอัลไซเมอร์จะเริ่มจากปัญหาเรื่องความจำและจะจบลงด้วยการที่สมองถูกทำลายอย่างรุนแรง

 อาการแรกเริ่มของโรคอาจจะเป็นอาการขี้หลงขี้ลืมแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน

จนไปถึงขั้น ดีเมนเชีย คือการสูญเสียความสามารถทั้งทางสังคมและส่วนตัว จนถึงขนาดทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ค่ะ

 
  • สวัสดีค่ะพี่ sasinanda
  • ตอนนี้ผู้ใหญ่ทางบ้านก็เริ่มมีอาการขี้ลืมบ้าง
  • แต่ท่านชอบทำกิจกรรมต่างๆ อยู่ชมรมผู้สุงอายุกัน    ทำให้ได้ฝึกอะไรหลายอย่าง
  • ก็ได้แต่หวังว่าท่านคงจะไม่เป็นอัลไซเมอร์ค่ะพี่

ความจริงที่น่ากลัว


คาดยอดอัลไซเมอร์ทั่วโลกพุ่ง 4 เท่าในปี 2050


 

เตือนหากไม่เตรียมการจะรับมือลำบาก เผยอาจมีมากกว่า106ล้านคนทั่วโลก สำนักข่าวบลูมเบิร์กออนไลน์รายงานวานนี้ว่านักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2050 หรืออีก 43 ปีข้างหน้าทั่วโลกจะมีผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มมากขึ้นเป็น 4 เท่าของที่มีอยู่ในปัจจุบัน
และได้เรียกร้องว่าควรต้องหามาตรการในการชะลออาการของโรคความจำเสื่อมนี้ออกไปให้ได้สักปีก็ยังดีเพราะจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลได้มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้จากการคาดการณ์พบว่าภายในปี 2050 จะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จำนวนมากกว่า 106 ล้านคนทั่วโลก
อันมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน และหนึ่งในปัจจัยหลักก็คือการที่มีจำนวนประชาการสูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในประชากรภูมิภาคเอเซีย ซึ่งจะมีจำนวนผู้ป่วยอัลไซเมอร์คิดเป็นจำนวน 59 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั่วโลก จากปัจจุบันที่มีอยู่แค่เพียง 48 เปอร์เซ็นต์ การคาดการณ์เรื่องจำนวนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นี้ทำโดยทีมนักวิจัยจากสหรัฐอเมริกาและมีการเผยแพร่เมื่อวานนี้ 

นักวิจัยกล่าวว่าถ้าคิดตามอัตราการป่วยในปัจจุบัน จะพบว่ามีผู้ป่วย 1 คนในประชากรทุก 85 คน และ 43 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจำนวนนี้จะเป็นอัลไซเมอร์ขั้นสุดท้ายที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบเนสซิ่งโฮม

 

 

 ด้วยเหตุผลหนึ่งที่ว่าโรคอัลไซเมอร์ปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดและสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐระบุว่าเป็นโรคที่เป็นเป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคสมองเสื่อมในคนสูงอายุ และค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ก็ค่อนข้างสูงเพราะจำเป็นต้องได้รับการดูแลในสถานบริการเฉพาะด้าน
โดยเดือน ๆ หนึ่งค่าใช้จ่ายตกอยู่ที่ ประมาณ 5,000 เหรียญสหรัฐฯต่อคน ประเด็นอยู่ที่ว่าเราไม่ต้องการปล่อยให้ไปถึงจุดวิกฤตตรงนั้นนายรอน บรู๊กเมเยอร์ผู้นำการวิจัย และเป็นนักชีวสถิติประจำอยู่ที่โรงเรียนการสาธารณสุขบลูมเบิร์ก มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ๊อปกินส์ ซึ่งตั้งอยู่ที่บัลติมอร์ กล่าว
 และว่า จะเป็นการดีอย่างมากหากว่าเราจะสามารถชะลอระยะเวลาการเกิดอาการของโรคออกไปได้บ้างเพราะจะสามารถช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้มากพอสมควร
 ทั้งนี้การวิจัยของมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ๊อปกินส์นี้ศึกษาพบว่าแม้เพียงการชะลอการเกิดอาการของโรคอัลไซเมอร์ออกไปได้สัก 1 ปี ก็จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยโรคนี้ไปได้ถึง 12 ล้านคนภายในปี 2050 ผลการศึกษานี้เตรียมตีพิมพ์เผยแพร่ใน
วารสารวิชาการ ด้านโรคอัลไซเมอร์และความจำเสื่อม เจอร์นัล ออฟ อัลไซเมอร์ แอนดีเมนเชียฉบับประจำเดือนกรกฎาคม 
นายบรู๊กเมเยอร์กล่าวว่า สำหรับโรคอัลไซเมอร์นั้นโดยปกติแล้วมักจะตรวจพบในคนสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและอัตราป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปีหลังจากอายุ 80 ปีไปแล้ว  
ด้านแนนซี สไตล์สซึ่งเป็นนักวิจัยอาวุโสประจำที่ศูนย์การวิจัยโรคอัลไซเมอร์ของมหาวิทยาลัยแห่ง เคนตัคกี กล่าวว่าการวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องพัฒนาการตรวจหาโรคอัลไซเมอร์ให้ได้แต่เนิ่น ๆ ขึ้นกว่าเดิม และจำเป็นต้องสร้างความตระหนักเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดนับตั้งแต่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพไปจนถึงพนักงานบริการของธนาคารกันเลยทีเดียว นั่นก็เพราะว่าคนที่เป็นโรคความจำเสื่อมระดับน้อย ๆ ไปจนถึง กลาง ๆ กว่าครึ่ง ถึง 3 ใน 4 คนยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อยู่เลย
อาการของโรคนี้บางทีก็ดูยากซะจนทำให้การตรวจวินิจฉัยที่ใช้กับโรคทางกายโดยทั่วไปไม่สามารถตรวจเจอได้สไตล์สซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยของทีมมหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮ๊อปกินส์กล่าวและว่าคนอื่น ๆ ในชุมชนเดียวกันน่าจะต้องช่วยกันสังเกตุซึ่งกันและกันว่าใครน่าจะมีอาการของโรคนี้ พนักงานธนาคารจะสังเกตุอาการของโรคนี้ได้ดีเพราะว่าพนักงานเหล่านี้จะเป็นคนที่เห็นว่าใครมีปัญหาเรื่องความจำเป็นต้นว่าคนที่ไม่สามารถกรอกเช็กได้ถูกต้องสไตล์สกล่าว 
ด้านสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯระบุว่าอาการของโรคอัลไซเมอร์จะเริ่มจากปัญหาเรื่องความจำและจะจบลงด้วยการที่สมองถูกทำลายอย่างรุนแรง อาการแรกเริ่มของโรคอาจจะเป็นอาการขี้หลงขี้ลืมแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อน    

สวัสดีค่ะ

P

 

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะคนเราทุกคนแก่ไม่เท่ากันค่ะ 

ในอายุเท่าๆกัน และการที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำอยู่เสมอ ทั้งกิจกรรม เป็นหมู่คณะหรือ ส่วนตัวก็ดี ก็จะเป็นการกระตุ้นในเรื่องของสติปัญญา ดีกว่า คนที่อยู่เฉยๆไปวันๆ

 ท่านผู้ใหญ่คงไม่เป็นไรหรอกค่ะ อาจารย์ก็ดูแลท่านหน่อยนะคะ

สวัสดีครับพี่ sasinanda

           ได้ทราบภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ทำให้ความจำดีแม้จะสูงอายุก็ตาม คือก่อนตื่นนอนเมื่อรู้สึกตัวอย่าเพิ่งลืมตาให้นึกทบทวนเรื่องราวสำคัญวันก่อนว่ามีอะไรบ้าง นอนคิดไปก่อนใช้เวลาพอสมควรแล้วจึงลืมตาตื่นขึ้น จะเป็นการฝึกให้ความจำดี ไม่รู้ว่าจริงเท็จประการใด กำลังจะทดลองดูครับ

 สวัสดีค่ะ

อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายใช่ใบแปะก๊วยดี

แต่ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด ก็คงมีส่วนมีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก  ไม่มากก็น้อยเหมือนกันนะคะ

ใบมีประโยชน์กว่าผลอีกค่ะ 

P
สวัสดี่ค่ะ
การนอนคิดไปก่อนใช้เวลาพอสมควรแล้วจึงลืมตาตื่นขึ้น จะเป็นการฝึกให้ความจำดี ไม่รู้ว่าจริงเท็จประการใด

 ค่ะ เรื่องนี้ ก็คงเป็นเรื่องของการฝึกสติ  การทบทวนความจำ และเรื่องสุขภาพ  โดยให้เวลาเลือดลม เดินให้สะดวกทั่วร่างกายก่อนจะลุกขึ้นค่ะ มิฉะนั้น จะเกิดอาการ เวียนศรีษะ หน้ามืดได้ เพราะเลือด ยังวิ่งไปไม่ถึงสมอง

น่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เราควรทำเลยค่ะ


  P

บ่าววีร์

 

 

สวัสดีค่ะ

 ยินดีต้อนรับค่ะหนุ่มช่างคิด ช่างเปิดประเด็น และมีอารมณ์ขันนะคะใช่ค่ะ เรื่องนี้ น่าเศร้า แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่กำลังคุกคามชาวโลกผู้สูงอายุอยู่ ปัจจัยหลักก็คือการที่มีจำนวนประชาการสูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในประชากรภูมิภาคเอเซีย ซึ่งจะมีจำนวนผู้ป่วยอัลไซเมอร์คิดเป็นจำนวน 59 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทั่วโลก  ถ้ามีญาติผูใหญ่ ก็ช่วยสังเกตอาการนะคะกรณี สามีของพี่ปริม มีอาการแสดง และลูกเขาเป็นคนบอกแม่ให้พาไปตรวจค่ะ ตอนแรกไม่ยอมไป ตอนหลัง เจอลูกเพื่อนเป็นหมอ สะดวกหน่อย เลยยอมไปค่ะ 
P กว่าจะเข้าประเด็นผมก็ลอยไปไหนต่อไหนแล้วนะครับ. ญาติที่อายุมากๆ ตอนนี้ก็เห็นจะมีแต่ปู่ครับ. แต่ว่าปู่ท่านดูจะความจำดีกว่าผมอีกครับ. 

ผู้ป่วย Dementia  หรือว่า "ภาวะสมองเสื่อม"  มีความชุกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ครับ 

แต่อย่างไรก็ตาม  ในฐานะที่ผมเป็น "นักกิจกรรมบำบัด"  เคยทำงานด้านผู้สูงอายุ   ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม  จะเกิดอุปสรรคในการดำเนินชีวิตมากน้อยแตกต่างกันไปครับ   ส่วนใหญ่เกิดปัญหาหลักจากพยาธิสภาพทางสมอง  ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง...

แม้ว่า คนใกล้ตัวของเราอาจจะพบกับปัญหาและอาการของภาวะสมองเสื่อมได้มากขึ้น ๆ

สิ่งสำคัญที่สุดคือ "ความเข้าจากญาติ/ผู้ดูแล".. ถือเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างความ เข้าอกเข้าใจ  Empathy เข้าถึงหัวใจของผู้ป่วยสมองเสื่อม  และยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขครับ ... หมายถึง ต้องเข้าใจเวลาที่ผู้ป่วยมีสภาพอาการที่แปลก ๆ เช่น  หลง ๆ ลืม ๆ จำอะไรไม่ค่อยได้ สูญเสียความจำระยะสั้น.. ทำให้เขาหงุดหงิด  รำคาญใจ  รวมถึงคนใกล้ตัวก็จะพลอยเกิดปัญหาในการใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัวด้วยครับ..

นอกจากปรับที่ญาติหรือผู้ดูแลแล้ว.. เช่นที่คุณศศินันท์ ได้วิเคราะห์ในเรื่อง "สภาพแวดล้อม"  ต้องเน้นการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยครับ  การจัดวางสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระบบระเบียบ  ไม่เกะกะ  จัดวางสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้อยู่เป็นประจำ  ฝึกกระตุ้นให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้เป็นประจำ เช่น  หวี  แปรงสีฟัน  กระจก  แป้งทาหน้า  ขัน  แก้วน้ำ ฯลฯ

ทำไมผมถึงแนะนำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม  และญาติ กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้สิ่งจำเป็นพื้นฐานเหล่านี้.. เพราะสิ่งอำนวยความสะดวกง่าย ๆ เหล่านี้  เป็นเครื่องมือสู่ การทำกิจวัตรประจำวัน  (Activity of Daily Living หรือ ADL) 

ADL จะช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม ได้ฝึกการดูแลตัวเอง  ง่าย ๆ ฝึกท่านประจำ ซ้ำ ๆ ค่อยเป็นค่อยไป  ไม่ให้ท่านอึดอัด.. ค่อย ๆ ค่อย ๆ จนเกิดความคุ้นเคย และทักษะเดิมที่มีบวกกับประสบการณ์ใหม่ที่ง่าย

"คุณค่าในตัวเอง"  ของผู้ป่วย จะเกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์ใจครับ... สำหรับในผู้ป่วยระดับที่มีภาวะสมองเสื่อมเล็กน้อย   อยากให้ลองนำแนวปฎิบัติจากนักกิจกรรมบำบัดอย่างผม ไปดูแลคนใกล้ตัวครับ ...

ที่สำคัญที่สุดคือ "ทัศนคติที่ดีของผู้ดูแลต่อผู้ป่วยสมองเสื่อมครับ"  ... เข้าอกเข้าใจ  เข้าถึงหัวใจ และยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข  .. ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เพื่อเป้าหมายในอิสระในการใช้ชีวิตครับ...

ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพียงเท่านี้ก่อนครับ

ขอบพระคุณครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณพี่ศศินันท์ ..

ไม่เคยมีคนใกล้ตัวเป็นอัลไซเมอร์  แต่เคยมีพี่สาวที่รักมากเล่าให้ฟังว่า  พ่อของเพื่อนเธอเป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ วัยประมาณ 70 กว่า   พี่สาวคนนี้เคยขับรถไปเจอพ่อของเพื่อนเดินท่อม ๆ อยู่ข้างถนนกลางกรุง  ก็เลยรีบโทรบอกเพื่อนก็ทราบว่าพ่อออกไปตัดผม  แต่ตอนนี้ยังกลับไม่ถึงบ้านเลย  พี่สาวคนนี้เลยรีบหาที่จอดรถแล้วลงไปยึดตัวพ่อของเพื่อนไว้พร้อมกับถามไถ่  ปรากฎว่าท่านจำทางกลับบ้านตัวเองไม่ได้    ได้ยินแล้วก็น่าเป็นห่วงนะคะ  สำหรับผู้ป่วยโรคไซเมอร์ทุกคน    ควรจะต้องได้รับการใส่ใจและดูแลให้มาก ๆ

ย้อนกลับมามองตัวเอง  ก็กลัวเหมือนกันว่าอีกหน่อยหากอายุมากขึ้นแล้วมีอาการแบบนี้จะมีสภาพเป็นอย่างไรบ้างนะ?  เพราะแค่อายุไม่ถึง 30  ก็มีอาการน่าเป็นห่วงเสียแล้ว    เลยกลายเป็นวิตกจริตไปเลย    น่าเศร้ามาก    ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวก็ต้องมีการทำบันทึกหรือเขียนโน๊ตเตือนความจำไว้    แรก ๆ พี่ ๆ เพื่อน ๆ ก็ขำ  แต่พอเห็นอาการหลงลืมของต้อมที่มีมากขึ้น ๆ ก็ชักจะเป็นห่วงว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่นำมาล้อเล่นเสียแล้ว    TT_TT   

 

สวัสดีค่ะ คุณศศินันท์

            คนเป็นอัลไซเมอร์จะมีทางหายขาดไหมค่ะคุณตาหนูก็เริ่มเป็นเหมือนกันค่ะ

ดิฉันเห็นคุณยายเพื่อน อายุ  70  ปี  เดินหายไปจากบ้าน  ป่านนี้ยังหาไม่พบเลยค่ะ  3  วันแล้ว  กำลังตามอยู่ กลุ้มใจกันมากเลยค่ะ

ดิฉันมีคุณตา ตอนนี้มีอายุ  92  ปี  แล้ว  ต้องคอยดูแลกันเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ ขยับตัวไม่ได้  จำใครไม่ได้เลยขนาดไปดุแลกันทุกวันยังไม่รู้เลยว่าเป็น ใคร ชื่ออะไร แต่คุณตายังโชคดีที่มีญาติพี่น้องคอยดูแล ถ้าเป็นโรคนี้แล้ว  ไม่มีใครดูคงจะลำบากเหมือนกัน  ในอนาคตข้างหน้าดิฉันว่าคงจะมีคนเป็นมากขึ้นกว่าปัจจุบันแน่นนอนค่ะ

Joy ไม่มีรูป

 

 

สวัสดีค่ะ

 

การวิจัยถึงผลดี ผลเสีย ของแปะก๊วย ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในวงการ เพราะอาจจะยังไม่ถูกหลักวิชาวิจัย เท่านั้นค่ะ

แต่คนก็มีความเชื่อมานานว่า แปะก๊วยจะช่วยได้มาก ไม่น่าเสียหายอะไรที่จะทานค่ะ
ดิฉันอ่านดูแล้วค่ะ  ดิฉันว่าตอนนี้ดุไ ว่าคนเป็นโรคนี้กันมากขึ้นค่ะ  อีก  10  ปี อาจจะมากกว่านี้มากเลยน่าจะให้มีการให้ความรู้และเตรียมพร้อมไว้  จะดีกว่าเพราะไม่ทราบว่า จะเกิดกับครอบครัว หรือไม่

สวัสดีค่ะ

P

คุณบ่าววีร์บอกว่า

 

 กว่าจะเข้าประเด็นผมก็ลอยไปไหนต่อไหนแล้วนะครับ. ญาติที่อายุมากๆ ตอนนี้ก็เห็นจะมีแต่ปู่ครับ. แต่ว่าปู่ท่านดูจะความจำดีกว่าผมอีกครับ.
  ก่อนอื่น ขอถามว่านื่คือ ภาษาอะไรคะ   वीर 
 สำหรับผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคสมองฝ่อทุกคน นะคะคุณปู่ คุณย่า อายุ 85-86ปี คุณพ่อ 85 ปี เสียแล้ว แต่ทุกคนปกติหมด

คุณย่าของลูก ตอนนี้ อายุ 95 ก็ปกติ  มีพูดแล้ว พูดอีกบ้าง แต่ความจำยังดี

 เพียงแต่เรี่ยวแรง ลดน้อยถอยลงเป็นธรรมดาค่ะ 

กรณี คุณพ่อคุณแม่เพื่อน ที่เป็นทั้งคู่นี่ ค่อนข้างแปลกใจ คุณพ่อเป็นก่อน คุณแม่เป็นตามค่ะ

 

 แต่ลูกๆเขาก็เห็นเป็นธรรมดา ทำใจได้ อ่านหนังสือธรรมะให้ท่านฟังบ่อยๆ แวดล้อมด้วยลูกหลานที่รักและเข้าใจ ก็ไม่มีอาการอะไร นอกจากเงียบๆลงไปทุกที และไม่ค่อยทานอาหาร ต้องคอยป้อนค่ะ ปัจจัยกดดันทางสิ่งแวดล้อมไม่มี  จึงทำให้ท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอสมควรค่ะ
 กรณีคุณบ่าววีร์ โชคดีแล้วค่ะ ขอให้คุณนึกถึงท่านมากๆ ไปเยี่ยมหรือโทรหาท่านบ่อยๆ ท่านจะมีกำลังใจมากค่ะ ความกตัญญูรู้คุณจะปกป้องไม่ให้คุณเจอกับโรคร้ายๆ   เมื่ออายุมากขึ้นนะคะ

 
ดิฉันสงสัยค่ะ  มีครอบครัวหนึ่งเป็นทั้งสามี และภรรยา เป็นโรคเดียวกันเลยค่ะ ยังนี้เป็นเพราพันธุกรรม หรือเปล่าค่ะ  ที่จริงไม่น่าจะเป็นพันธุกรรมน่ะ เห็นแล้วจึงแปลกใจค่ะ  หรือเป็นเพราะอายุมากแล้วจึงมีสิทธิที่จะเป็นได้เหมือนกันไม่จำเป็นต้องมาจากพันธุกรรม ขอความคิดเห็นหน่อยค่ะ
P

 

สวัสดีค่ะ

     ขอบคุณที่เข้ามาให้ความคิดต่อยอดอย่างเป็นประโยชน์ที่สุดค่ะ 

  ในฐานะที่เป็น "นักกิจกรรมบำบัด"  เคยทำงานด้านผู้สูงอายุ   ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมมาก่อน 

      ตัวดิฉันเอง ไม่เคยมีประสบการณ์ใกล้ชิดกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์เลยค่ะ เพราะญาติๆ ผู้ใหญ่ไม่มีใครเป็น

แต่คุณพ่อคุณแม่เพื่อนสนิทเป็นโรคนี้ทั้งคู่  โดยคุณพ่อเป็นก่อนหลายปี และเสียชีวิตแล้ว ส่วนคุณแม่ เพิ่งเป็นมา3-4ปีแล้ว

สิ่งที่แปลกคือทั้งคุณพ่อ คุณแม่เพื่อน ไม่มีใครในครอบครัวเป็นมาก่อนเลย   เพิ่งจะมาเป็น และเป็นทั้งคู่เสียด้วย  แต่โชคดี ลูกๆดูแลดีมากค่ะ และไม่มีความกดดันเบื่อหน่ายอะไร  ทำเหมือนปกติค่ะ

      และที่ดิฉันรู้สึกสะเทือนใจคือ สามีพี่ปริม   ผู้บังคับบัญชาเก่า เป็นโรคนี้มา 7 ปีแล้ว มีอาการทางสมอง ถึงกับชัก และต้องผ่าดัด 2 ครั้ง แล้ว ทางพี่ปริม ดูแลดีมาก ด้วยความเต็มใจอย่างไม่มีเงื่อนไขค่ะ  ด้วยความรักและเข้าใจ

ในสายตาของทุกคนที่รู้จัก พี่ปริม เป็นคนดีมากๆ  เสียสละเพื่อลูกและสามีมาตลอด ชีวิตมีทั้งสุขและทุกข์บ้างเล็กๆ

            แต่ทุกข์ครั้งนี้ เป็นทุกข์ครั้งใหญ่ของเธอค่ะ และคงอีกนาน กว่า จะสิ้นสุด  แต่เธอเป็นคนที่มีพื้นฐานจิตใจดีมาก   ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชตาค่ะ  แต่ก่อนดิฉันเคยไปรับเธอไปวัดหลายครั้ง แต่หลายปีมานี่ ไม่มีเวลาได้ไปเลย  แต่เธอ ก็เข้าถึงสัจธรรมของชีวิตด้วยตัวของเธอเอง  อย่างแท้จริงค่ะ

          ดิฉันได้ศึกษาทางธรรมะมาพอควร  เชื่อมั่นค่ะ ว่าทุกชีวิต มิได้มีเพียงชีวิตนี้  แต่ทุกชีวิต มีชาติอดีต  กรรมดีกรรมชั่ว ทำมามาก  ซึ่งย่อมให้ผล ตรงตามเหตุทุกประการ

 แม้ว่าผลอาจไม่เกิดขึ้นพร้อมกันทุกสิ่งทุกอย่าง และอาจไม่เรียงลำดับตามเหตุที่ได้กระทำแล้วก็ตาม แต่ผลทั้งหลายย่อมเกิดแน่

           แต่เธอก็ยังโชคดี ที่ได้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  2 ท่านเมตตาดูแล รักษาอยู่ค่ะ                  

เรียน ท่านอาจารย์ sasinada

  • โชคดีครับ คุณย่าของลูก ๙๕
  •  แม่มานีของ JJ อ่อนกว่า แค่ ๙๒
  • นอนตลอดครับ ที่ ร.พ

สวัสดีครับ พี่ศศินันท์

บันทึกนี้พิสูจน์ความรักของคนสองคนที่เฝ้าดูแลกันได้อย่างน่าประทับใจ .. ในความโชคร้ายของคนป่วยไข้  ชีวิตก็ใช่เลวร้ายไปเสียทั้งหมด  เพราะยังมี "คนของความรัก"  ดูแลอย่างใกล้ชิด

ผมประทับใจเรื่องที่เล่ามาก  โดยเฉพาะหัวจิตหัวใจของคนที่เฝ้าดูแลเพื่อนชีวิตอย่างไม่รู้สึกสิ้นหวัง  หรือแม้แต่ตัดช่องน้อยแต่พอตัวหลบเร้นออกไปจากห้วงทุกข์ของใครสักคน

ตอนนี้ที่บ้านผม,  พ่อในวัย 74  ปียังขับรถยนต์ทางไกล  แต่ทุกครั้งท่านจะต้องให้แม่นั่งไปเป็นเพื่อนเสมอ

และดูเหมือนการที่มีแม่นั่งไปด้วย... ท่านจะมีความสุขอย่างมากมายก่ายกองเลยทีเดียว

 

บันทึกอาจจะดูเป็นวิชาการอยู่บ้าง  แต่ผมประทับใจเรื่องเล่าอันเป็น "นากฏกรรมชีวิต" ..ของคนสองคนมากกว่า

อย่างน้อย ...ก็รับรู้ว่า  "มนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพียงเพื่อจะพ่ายแพ้.." 

....

ขอบพระคุณครับ

พิเชษฐ์พล ไทยประสงค์
P

สวัสดีค่ะ

            ขอบคุณที่มาร่วมแสดงความคิดเห็นค่ะ         คุณ  พิเชษฐ์พล ไทยประสงค์

บอกว่า

 

 จะต้องมีคนใกล้ชิดสังเกตุอาการตลอดเวลาครับ เพราะอาการที่แสดงออกตอนแรกจะไม่ชัดเจนครับ ..........ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ครับ 
ค่ะ อาการในตอนแรก  น่าจะมีอาการหลงลืม หรือบกพร่องด้านความจำ มากน้อยต่างกัน  รวมทั้งเรื่องความคิด เหตุผล ความจำ และการใช้ภาษา  จะมีปัญหาด้วย การรักษาโดยให้ท่านทำกิจกรรมที่คุ้นเคย เป็นเรื่องที่ดีค่ะ    อาการจะดีขึ้นเรื่อย ๆ  แต่ต้อง มีคนดูแลใกล้ชิด รวมถึงมีการปรับสภาพแวดล้อมให้สงบสบาย  จะช่วยได้พอสมควรอย่างมากค่ะ
ส่วนการช่วยแบบอื่นๆเช่นเรื่องดนตรี   การวางและสับไพ่ และการบริหารสมองด้วยวิธีต่างๆ  และการทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย    เท่าที่ทราบ ได้ผลดีทีเดียวค่ะ

สวัสดีค่ะ

P

 

 

ดีใจที่แวะเข้ามาให้ความเห็นค่ะ

น้องเล่าว่า

 

 พี่สาวคนนี้เคยขับรถไปเจอพ่อของเพื่อนเดินท่อม ๆ อยู่ข้างถนนกลางกรุง  ก็เลยรีบโทรบอกเพื่อนก็ทราบว่าพ่อออกไปตัดผม  แต่ตอนนี้ยังกลับไม่ถึงบ้านเลย  พี่สาวคนนี้เลยรีบหาที่จอดรถแล้วลงไปยึดตัวพ่อของเพื่อนไว้พร้อมกับถามไถ่  ปรากฎว่าท่านจำทางกลับบ้านตัวเองไม่ได้    ได้ยินแล้วก็น่าเป็นห่วงนะคะ  สำหรับผู้ป่วยโรคไซเมอร์ทุกคน    ควรจะต้องได้รับการใส่ใจและดูแลให้มาก ๆ
 อาการหลงลืมแบบนี้ เคยได้ยินคนเล่าให้ฟังหลายคนทีเดียวค่ะ อาการหลงลืมมีสาเหตุมากนะคะ แต่ถ้าเป็นถึงขนาดโรคอัลไซเมอร์  จะน่ากลัวทีเดียวค่ะ เคยอ่านพบว่า ใน100คนที่หลงลืม เป็นโรคสมองฝ่อซะ 50 คนแล้ว แต่น้องอย่าไปกังวลมากมายเลยค่ะ  คนเรามีการลืมกันทุกคนค่ะ

เคยอ่านพบว่า  ความจำและข้อมูล เกิดจากการส่งสัญญาณผ่านเซลล์ประสาทไปสู่สมอง  แต่พอเราอายุมากขึ้น เซลล์ประสาทจะมีขนาดเล็กลงและจำนวนน้อยลง ทำให้การทำงานของสมองลดลงบ้าง ทำให้เรารู้สึกขี้ลืมกว่าเดิค่ะ

 

 ทำใจให้สบายนะคะ  นั่งสมาธิ   ฝึกสติ   ทำใจให้ใสๆ อย่าขุ่นมัวบ่อยๆ มองโลกในแง่ดี  อย่าอยู่ว่างๆ     ต้องทำงานหรือมีกิจกรรม ให้ได้ใช้สมองอย๋เสมอ    ก็จะช่วยได้มากค่ะ

อ่านแล้วได้ข้อคิดหลายเรื่องครับ...

นอกจากการดูแลคนป่วยแล้วเราต้องดูแลตัวเองด้วย โดยเฉพาะเรื่องของจิตใจของเรา และธรรมะก็เป็นทางออกที่ดีของเรื่องนี้จริง ๆ ครับ...

ขอบคุณครับ...

สวัสดีค่ะ

ไม่มีรูป
กฤษณา

 

คุณกฤษณา นอกว่าคุณตาก็เริ่มเป็นเหมือนกัน จะหายขาดไหม

 

ข้อนี้ คงต้องให้คุณหมอเป็นผู้วินิจฉัยค่ะ

แต่ที่เล่ามาทั้งหมดนี่ แต่ละท่านจะเป็นนานมาก หลายปีทีเดียว  อาการมากน้อยต่างกัน เท่าที่ไปเยี่ยมมา 4-5 รายแล้ว บางท่าน ก็เสียชีวิตไปแล้วค่ะ

แต่ ทุกคนก็ต้องตาย ไม่ช้าก้เร็ว นะคะ อย่ากังวลดีกว่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด รักคุณตาให้มากๆ หมั่นไปเยี่ยมท่าน ใกล้ชิดท่านให้มากๆนะคะ
ไม่มีรูป
ดาวเรือง
สวัสดีค่ะ 

คุณดาวเรืองเล่าว่า 

 มีคุณตา ตอนนี้มีอายุ  92  ปี  แล้ว  ต้องคอยดูแลกันเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ ขยับตัวไม่ได้  จำใครไม่ได้เลยขนาดไปดุแลกันทุกวันยังไม่รู้เลยว่าเป็น ใคร ชื่ออะไร 

คนป่วยโรคนี้ ความสำคัญคงอยู่ที่การดูแลใกล้ชิด คุณตาโชคดีที่มีคนดูแลใกล้ชิด

 

ซึ่งเท่าที่เห็นมาคุณหมอจะแนะนำให้ ผู้ดูแลเตรียมตัว เตรียมใจกับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ที่มีขึ้นลงบ่อยๆ

  แต่ถ้า ท่านเป็นบุคคลที่เรารักอย่างคุณตานี้แล้ว   เราก็ไม่หงุดหงิดหรอกนะคะ   ถ้ามี ก็คงน้อยมากค่ะ
P
JJ

 

สวัสดีค่ะ

 ดีใจที่อาจารย์มาเยี่ยมค่ะ ที่อาจารย์บอกว่า ท่านผู้ใหญ่ทั้งสอง นอนอยู่โรงพยาบาลตลอด ไม่ทราบว่า เป็นอะไรคะ ถ้า เป็นโรคนี้ ก็ค่อยยังชั่ว มีคนคอยดูแลนะคะ 

เพราะที่โรงพยาบาลอยู่ใกล้ชิดแพทย์ ซึ่งจะมีการวางแผนการรักษาอย่างเนิ่นๆ และคอยดูแลอาการตลอด

 แต่คนสูงอายุมากๆ ถึงไม่ได้เป็นอะไร ก็คงอยู่คนเดียวไม่ได้ค่ะ  เพราะความจำและการช่วยเหลือตัวเอง ก็เริ่มมีปัญหาแล้วค่ะ
P

สวัสดีค่ะ

 

เรื่องนี้อาจดูหนักไปหน่อย แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่เราควรต้องศึกษากันไว้บ้าง สำหรับคนในครอบครัว และ อาจจะเป็นตัวเองบ้างก็ได้ค่ะ และดิฉัน ก็เห็นอาการของโรคจากท่านผู้ใหญ่หลายๆท่านด้วยตาตัวเอง มาหลายปี 

 

คนป่วยกับคนพยาบาล  ดูเหมือน คล้ายๆกับว่า จะถูกลงโทษเหมือนๆกัน

ทางออก น่าจะเป็นว่า

สังคมที่มีผู้ป่วยนี้ น่าจะรวมตัวกัน ช่วยเหลือกัน หรือจัดตั้ง สถานที่ให้ผู้ป่วยรวมตัวกัน จะได้มีสังคมกัน ช่วยเหลือกัน  มีกิจกรรมร่วมกัน ไม่รู้สึกอ้างว้างจนเกินไปค่ะ
  • สวัสดีค่ะ  คุณพี่ศศินันท์ ..

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดี ๆ ค่ะ   จะนำไปปฏิบัติ  ^_^

 คงเพราะเป็นคนที่ทานยานอนหลับติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานเกือบสิบ ๆ ปี  จึงส่งผลต่อระบบประสาทบางส่วน   ซึ่งมีเพื่อน ๆ ที่เป็นพยาบาล และอาจารย์ของเพื่อนได้ให้คำแนะนำ  แต่ ณ ตอนนั้นด้วยความที่เป็นเด็กเลยไม่ค่อยสนใจจะทำตาม   เพราะถ้าไม่ทานก็จะนอนไม่หลับ    เวลานอนและกิจกรรมของต้อมสวนทางกับคนอื่นน่ะค่ะ   เลยพยายามแก้ไขด้วยตนเองในวิธีที่ผิดมาโดยตลอด    จนกระทั่งวันหนึ่งรู้สึกอาการชักจะมากไปเลยต้องหยุดไปโดยปริยายแต่ก็สายไปเสียแล้วค่ะ   

รู้สึกแย่เหมือนกันที่ตื่นขึ้นมาวันหนึ่งแล้วราวกับช่วงชีวิตหนึ่ง ๆ ที่เคยดำเนินมานั้นหายไป   จำไม่ได้    แต่ก็ตั้งสติและพยายามแก้ไข

พี่ ๆ แนะนำให้ทานแป๊ะก๊วย และให้ฝึกคิด  ฝึกทำกิจกรรมหลายอย่างที่ช่วยในการฝึกสมอง    ตลอดจนให้ฝึกทำสมาธิน่ะค่ะ   ก็ปฏิบัติอยู่

สวัสดีค่ะ

P

 

 

คุณต้อมคะ  

     ยังไม่ช้าไปที่จะรีบปฏิบัติตัวใหม่ค่ะ โดยการนำเทปหรือนำหนังสือธรรมะมาอ่าน มาฟัง ทำใจให้ใสๆ สงบๆ เบาๆ สบายๆ มีงาน มีกิจกรรมทำสม่ำเสมอ  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงตามที่แพทย์แนะนำ เช่น   ไม่สูบบุหรี่  อย่าปล่อยให้อ้วน  เพราะอาจจะทำให้ระดับไขมันสูง  และอย่าทานยานอนหลับโดยไม่จำเป็น เป็นต้น

            สำหรับการทำสมาธิ ฝึกจิต  ควรตัองไปหาพระหรือวัดที่ศรัทธา แนะนำวิธีการที่ถูกต้องให้นะคะ  สำหรับพี่เอง พี่มีวัด มีหลวงพ่อ มีวิธีการที่ศรัทธา และถูกจริตของตัวเองค่ะ

                การฝึกสมาธิ จะช่วยดึงใจที่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ ให้กลับเข้ามาสู่ภายในตัวเอง  เมื่อใจเราหยุดนิ่ง  สงบระงับ กิเลสทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะ ก็จะเบาบางลงมาก มีความสุขขึ้น  เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพี่ศศินันท์ ..

เคยได้ยินเกี่ยวกับการบำบัดด้วยศิลปะด้วย เค้าทำกันยังไงเหรอคะ  

 

ไม่มีรูป
ดาวเรือง

 
สวัสดีค่ะ

คุณดาวเรืองบอกว่า

อีก  10  ปีอาจจะจะมีผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ  มากกว่านี้มากเลยน่าจะให้มีการให้ความรู้และเตรียมพร้อมไว้  จะดีกว่าเพราะไม่ทราบว่า จะเกิดกับครอบครัวเรา หรือไม่

 ค่ะ คงจะเป็นหนึ่งใน หลายๆโรค ที่ คุกคามคนไทยอยู่นะคะ  เพราะ  ปัจจัยหลักก็คือการที่มีจำนวนประชาการสูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในประชากรภูมิภาคเอเซีย

นอกจากนี้ ก็มีโรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ธัยรอยด์ ข้ออักเสบ ภูมิแพ้เป็นต้นค่ะ

 เป็นอีกหลายๆโรคที่เราต้องระวังสำหรับผู้สูงอายุค่ะ
  • คุณพี่ศศินันท์ คะ ..

เช้า ๆ จะเปิดซีดีธรรมะ   เสียงสวดมนต์  หรือไม่ก็ฟังเพลงบรรเลงเบา ๆ ที่มีไว้สำหรับคลายเครียด    แต่พอทุกคนมาทำงานก็ร้องกันลั่น  ให้เปลี่ยนแผ่นทีเถอะ   TT_TT

 

หนังสือธรรมะ อ่านประจำค่ะ  เพราะมีพี่ ๆ ใจดี ส่งมาให้อ่านอยู่เรื่อย ๆ

ขอบคุณนะคะ  สำหรับคำแนะนำดี ๆ

P

 

สวัสดีค่ะ

 ตอนนี้ รู้สึกดี โปร่ง โล่ง สบายขึ้นใช่ไหมคะ หลังจากทำใจนิ่งๆ ไม่ส่ายไปมาอยู่พอควร

คนเราต้องละวางบ้าง อย่าไปแบกอะไรต่ออะไร มากเกินไป ตลอดเวลาค่ะ

 สำหรับเรื่องการใช้ศิลปะเข้าช่วยบำบัด น่าจะเป็นอย่างนี้ค่ะ ศิลปะบำบัด หรือ Art Therapyศิลปะเป็นศาสตร์ที่ช่วยในการบำบัด รักษาโรค รวมทั้งยังช่วยให้คนมีพฤติกรรมที่ไม่ดี  กลับกลายเป็นคนมีพฤติกรรมดีขึ้นได้ 

โดยนัยสำคัญของเรื่องนี้คือ การนำเอาศิลปะ เช่นการวาด การปั้น เป็นต้น   มาช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้นยามตกอยู่ในอาการก้าวร้าวหรืออารมณ์หดหู่

 

สำหรับสามีของพี่ปริม ใช้ดนตรีบำบัดค่ะ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะเป็นคนชอบดนตรีและชอบร้องเพลง  สามาiถต่อเพลง บัวขาวได้ จนจบค่ะ   ตอนนี้ กำลังหัดตีระนาดอยู่ค่ะ

 

 ได้ทราบมาว่า  การนำดนตรีมาใช้ในการรักษาโรคได้เกิดขึ้นประมาณ 5,000 ปีมาแล้วค่ะดนตรีบำบัดได้พัฒนาจากตำนานกลายเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยนำดนตรีมาใช้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้มีการจัดตั้งสมาคมดนตรีบำบัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกา   ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งมีหลักสูตรดนตรีบำบัด และขยายความรู้ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกค่ะ  

 

P

สวัสดีค่ะ
ประทับใจกับการต่อยอดบันทึกนี้ ของคุณพนัสเป็นอย่างมากๆค่ะ  เขียนได้ตรงใจคนหลายๆคนมากๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

นี่คือสิ่งที่เป็นความรู้สึกแท้จริงที่อยากจะเขียน แต่เขียนไม่ค่อยออก  มันตื้นตันใจมาก

ที่เขียนบันทึกนี้  เป็นความรู้สึกประทับใจกับพี่ปริมจริงๆค่ะ เพราะรู้จักกันมานานกว่า 35 ปี และอยากจะเล่าเรื่องโรคสมองฝ่อ ที่เดี๋ยวนี้เราพบเห็นคนเป็นกันมากขึ้น และอยากจะเล่าว่า ผู้ป่วยอาการดีขึ้นเพราะอะไรบ้างค่ะ
สรุปที่ผู้ป่วยอาการดีขึ้นเพราะ
1.มีครอบครัวและคู่ชีวิต ที่ดีมากดูแลให้กำลังใจ บริบาลด้วยความรัก เห็นใจ เต็มใจอย่างแท้จริง
2.พี่ปริม ไปเข้ารับการอบรม การบริบาลผู้ป่วย เพื่อมาดูแลอย่างถูกหลักวิชา มีแพทย์เฉพาะทางและพยาบาลที่สามารถให้คำปรึกษากรณีฉุกเฉินได้ตลอดเวลา เช่น กรณี ผู้ป่วยชักหรือแพ้ยา เป็นต้น
3.มีผู้ช่วยพยาบาลช่วยประกบดูแลตลอด 24 ช.ม. ไม่เปิดโอกาสให้เกิดอันตรายใดๆกับผู้ป่วยได้ แม้กระนั้น ก็เคยสดุดหกล้ม และต้องไปโรงพยาบาล
4.กรณีที่พี่ปริม ไม่อยู่ด้วยธุระสำคัญ ก็มีการนำตัวผู้ป่วยไปฝากไว้ที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ  ไม่ปล่อยให้อยู่บ้านเองกับผู้ช่วยพยาบาล
5.พี่ปริม ทำใจได้ ต่อการเจ็บป่วยของคู่ชีวิต ไม่สิ้นหวัง ไม่ตีโพย ตีพาย ไม่ทอดทิ้ง และพยายามทุกวิถีทางที่จะฟื้นฟูผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่
ดิฉันเคยเห็นพี่ปริม กุมมือ ทำเสียงปลอบประโลมให้ความมั่นใจสามี ยามตื่นตระหนกและร้องไห้ออกมาเหมือนเด็กๆแล้ว สะท้อนใจจนบอกไม่ถูกค่ะ
ขอบคุณๆพนัสอีกทีค่ะ

ไม่มีรูป
กฤษณา

 

สวัสดีค่ะ

 คุณกฤษณาบอกว่า ดิฉันสงสัยค่ะ  มีครอบครัวหนึ่งเป็นทั้งสามี และภรรยา เป็นโรคเดียวกันนี้เลยค่ะ ดิฉันเห็นว่า น่าจะเป็นเหตุบังเอิญมากกว่าค่ะ เพราะถ้าหมายถึงคู่คุณพ่อคุณแม่เพื่อนที่ดิฉันเล่า ทั้งคู่ ไม่มีพันธุกรรมมาก่อนเลยค่ะพอดีคุณแม่ ก็เป็นแม่บ้านธรรมดาที่ ไม่ค่อยได้ทำอะไรมากนัก อยู่บ้านเป็นส่วนใหญ่  สมองจึงไม่ค่อยได้รับการกระตุ้นมากนัก  สติปัญญาไม่ได้รับการกระตุ้นให้ตื่นตัว จึงมีอาการหลงลืมมากขึ้นๆ  และลามมาถึงโรคสมองฝ่อ ในที่สุดค่ะ

สวัสดีครับ

เท่าที่อ่านดู comment ก็เป็นกันเยอะจริง ๆ ครับ เป็นโรคที่คนเป็นไม่ทุกข์ แต่คนไม่เป็นนี่เหละทุกข์ทรมานสาหัส   ต้องนับถือความรักความอดทนของคนรอบข้างจริง ๆ ครับ   

ผมเห็นคุณแม่ท่านหนึ่งที่สนิทกัน มีลูก 2 คน จนตอนนี้ทั้งสองคนอายุ 40 แล้ว แต่พิการทางสมองตั้งแต่เด็กทั้งคู่ อายุ 40 ปี แต่เหมือนเด็กอายุ 3 ขวบ  ต้องเลี้ยงดู  กันมานาน 40 ปีแล้ว ผมเห็นถึงความอดทน ความรักของแม่ ที่เด่นชัดมาก แล้วก็ไม่รู้อีกสักกี่ปี

"  พี่ปริม ทำใจได้ ต่อการเจ็บป่วยของคู่ชีวิต ไม่สิ้นหวัง ไม่ตีโพย ตีพาย ไม่ทอดทิ้ง และพยายามทุกวิถีทางที่จะฟื้นฟูผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในช่วงชีวิตที่เหลืออยู่   "  

เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้สัมผัส เรื่องหนึ่งทีเดียวครับ

P

สวัสดีค่ะ

      ถ้าเป็นอย่างนี้ คงต้องฟังที่บ้านแล้วละค่ะ หรือ มีหูฟังส่วนตัวค่ะเราสามารถฝึกสมาธิได้ ในทุกอิริยาบทค่ะ เวลาทำงานเราก็จะมีสติสมาธิ อยู่กับงานตรงหน้า  ทำงานได้ผลดีมากๆค่ะ รับรอง

สวัสดีค่ะ

อยากเข้ามาบอกว่า แปะก๊วยช่วยมากค่ะ ดีจริงๆ ทานได้ ไม่เสียหาย

เมืองไทยเรามีศูนย์ให้ความช่วยเหลือหรือเปล่าครับ? ถ้าผมอายุมากมาแล้ว หลงๆลืมๆ อยู่ตัวคนเดียว จะไปที่ไหนได้บ้างครับ? (ยกเว้นรายการโทรทัศน์หนะครับ.)
ไม่มีรูป
วิไล
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณในข้อมูลนะคะ  สมุนไพรสกัดนี้ ตอนนี้อาจแพงหน่อยค่ะ
P

 

อีกนานค่ะ กว่าจะแก่ขนาดนั้น

 

แต่จะถามพี่ปริมให้ เขาเล่าให้ฟังแล้ว ไม่ได้จำว่าชื่อศูนย์อะไร เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นๆ

 ชื่อแพทย์ที่รักษา 2 ท่าน สนใจไหมคะ ท่านเก่งมากนะ อยู่โรงพยาบาลจุฬา ระดับศาสตราจารย์เลยเป็นแพทย์ทางอายุรกรรมประสาทท่านหนึ่งกับแพทย์ทางผ่าตัดสมองอีกท่านหนึ่ง เขามี 2 หมอค่ะ
P
สวัสดีค่ะ
ดีใจที่คุณหมอเข้ามาเยี่ยมค่ะ

 และcommentว่า

 เป็นเรื่องที่น่าชื่นชม อีกเรื่องหนึ่งที่ผมได้สัมผัส เรื่องหนึ่งทีเดียวครับ
ตรงกับวัตถุประสงค์ที่เขียนเรื่องนี้เลยค่ะเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมในความเป็นศรีภรรยา คู่ทุกข์คู่ยากที่ยอดเยี่ยมจริงๆค่ะ

โรคนี้ แม้รักษาไม่ได้ แต่ชลอได้นะคะ

ได้อ่านพบว่า ทางการแพทย์ ก็พยายามหาทางรักษาโรคนี้อยู่ เช่นการใช้ยาลดการอักเสบในสมองของคนไข้ หรือยาที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสัน ก็อาจช่วยได้ 

 สามีของพี่ปริม ก็ทานยากลุ่มนี้อยู่ค่ะ  และการกินฮอร์โมนเอสโตรเจนก็อาจช่วยได้ แต่ในระยะยาวไม่แน่ใจว่าจะมีผลเป็นอย่างไร
สรุป
ยังไม่มีอะไรแน่นอนเลยที่แน่ๆคือ ต้องมีการลับสมอง บำรุงความพร้อมของสติปัญญาเสมอ
 จะช่วยทำให้หลงลืมช้าลง และได้อ่านพบว่า จะช่วยสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทได้ดีขึ้นด้วย

สวัสดีค่ะ

บันทึกนี้ อ่านแล้วประทับใจคุณปริมและญาติๆที่ดูแลผู้ป่วยมากค่ะ คงต้องอดทนด้วยความรักจริงๆนะคะ

น่าจะมีการรักษาที่ดีกว่านี้จัง

ไม่มีรูป
จารี

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่ชมค่ะ

การอยู่ร่วมกับคนเป็นอัลไซเมอร์ หัวใจคือ การบริบาล การช่วยดูแล อยู่เป็นเพื่อน ผู้ป่วยตลอดเวลา มุ่งไปที่ว่า ผู้ป่วยพอทำอะไรได้บ้าง  และพยายามสร้าง  ส่งเสริม  ให้ผู้ป่วยได้มีกิจกรรมกระตุ้นความจำ และเสริมสร้างสติปัญญาค่ะ
P

สวัสดีค่ะ

 

     เรื่อง Nursery  สำหรับผูป่วยที่เคยพาไป  ไปถามมาแล้วค่ะ อยู่แถวถนนหมู่บ้านสี่ไชยทอง  แจ้งวัฒนะ กับแถวลาดพร้าวค่ะ

 
  • มีความก้าวหน้าเกี่ยวกับผู้ป่วยนิดหนึ่งค่ะ
  • ร้องเพลงได้จบเพลงแล้ว อ่านปฏิทิน 1 ปีมี12 เดือนได้
  • นับสตางค์เหรียญได้ค่ะ ในระดับหนึ่ง
ค่อยสบายใจขึ้นนะคะ

สวัสดีค่ะ

ดิฉันเคยเห็นคุณปู่เพื่อนเป็นโรคนี้ แต่ซึมเศร้า ทำอะไรไม่ค่อยได้ ทายยาอะไรไมทราบ นอนส่วนใหญ่ค่ะ ดูน่าสงสารท่านมาก โรคนี้ จะเหี่ยวเฉาไปทีละน้อยๆ น่ากลัวจังค่ะ

ไม่มีรูป
สุรีย์

 

สวัสดีค่ะ

             คงจะเป็นที่สารเคมีในสมอง เสียความสมดุลย์ไป ตามที่ทราบมา เลยมีอาการซึมเศร้า บางคนก็ร้องไห้ด้วยค่ะ ต้องค่อยๆปลอบโยนให้ความมั่นใจค่ะ

สวัสดีครับ

ทำไงถึงจะทราบว่า ใครเป็นโรคนี้ล่ะครับ  แต่เนิ่นๆ ที่เล่ามานี่ ไม่เห็นบอกประเด็นนี้เลย เพราะคนในครอบครัวน่าจะสังเกตได้ก่อนใครนะครับ

      เท่าที่ไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วยตามที่เล่าข้างต้น      แพทย์จะให้ท่านทำกิจกรรมที่คุ้นเคย  และเพิ่มการฝึกความจำ  และมีเกมส์ เสริมสร้างสติปัญญา  มาให้ฝึกด้วยค่ะ    ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีค่ะ     เห็นว่าอาการจะดีขึ้นเรื่อย ๆ  แต่ต้อง มีคนดูแลใกล้ชิด รวมถึงมีการปรับสภาพแวดล้อมให้สงบสบาย  
 

สวัสดีค่ะP

  •  ขอบพระคุณค่ะที่เข้าไปเยี่ยมในบล็อกเรื่องลูก ๆ
  •  ดูจากความคิดเห็นของคนเข้าร่วม ลปรร. ในบล็อกของพี่แล้ว เรียกว่า เรตติ้ง พุ่งกระฉูดจริง  ๆ ค่ะ
  •   สังคมแห่งการเรียนรู้แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปอย่างนี้ เป็นที่น่าชื่นใจนะคะ     

พี่ศศินันท์ครับ

ผมเห็นด้วยกับหลายท่านที่บอกเล่าในทำนองที่ว่า คนป่วยเป็นทุกข์ก็จริง  และคนดูแลคนป่วยอาจเป็นทุกข์ "ปวดใจ"  มากกว่า  และถ้าภูมิต้านทานทางจิตใจและบริบทของความรักส่งไม่ถึงกัน  มีหวังคนดูแลจะป่วยใจไปด้วยอย่างไม่ยากเย็น

การที่คนสองคนเกาะกุมมือเดินฝ่าข้ามอุปสรรคอะไรสักอย่างในแบบของการ "ร่วมด้วยช่วยกัน"   ผมถือว่าอุปสรรคอันใหญ่หลวงแค่ไหนก็ไม่น่าหวาดวิตก  เพราะอย่างน้อยก็ยืนยันได้ว่าเราไม่ได้เผชิญต่อสิ่งนั้นอย่างเดียวดาย  

แต่กรณีที่คนรักอีกคนที่เราเกาะกุมมือเขามาด้วยนั้น  ไม่สามารถรับรู้  หรือช่วยเหลือ, หรือแม้แต่แบ่งเบาอะไรเราได้นัก  ผมถือว่ากรณีเช่นนี้หน่วงหนักเป็นพิเศษ  หัวจิตหัวใจของใครนั้นจึงยิ่งใหญ่ควรค่าต่อการคาราวะเป็นที่สุด  และการยังเกาะกุมมือเดินมาอย่างช้า ๆ โดยไม่คิดที่จะปล่อยเลยไว้ตามเส้นทางนั้น  ต้องถือได้ว่าเป็นการเดินทางแห่งชีวิตอันแท้จริง  และนั่นคือการยืนยันอันสำคัญว่าอานุภาพแห่งความรักยิ่งใหญ่เสมอ  และเราเองก็ต้องไม่สูญเสียศรัทธาต่อการมีชีวิตอยู่  ...  บางห้วงเวลาเช่นนั้น  จึงอาจดูเหมือนใครคนหนึ่งกำลังเผชิญบางอย่างอยู่อย่างเดียวดายได้เหมือนกัน  ...

ผมวกกลับมาเพียงเพื่อต้องการแสดงความคาราวะต่อหัวจิตหัวใจอันยิ่งใหญ่ของผู้หญิงท่านหนึ่งในบันทึกนี้..

....

อานุภาพแห่งรัก

แน่นหนักราวภูผาใหญ่

แม้นความตายพรากกายสลายไป

แต่ความรักยังอยู่ได้ชั่วนิรันดร์ .

 

ส่งความ คารวะ และกำลังใจให้ คุณ พี่ปริม ด้วยนะคะ

และขอบคุณ เรื่องเล่าดี ๆ และข้อความเห็นต่อยอด

ทั้งที่เป็นเรื่อง เศร้า และหนักหนา สาหัส

แต่เต็มไปด้วยความรัก ความชื่นชม และปรารถนาดี

ในขณะเดียวกัน ก็ เป็นบทเรียนดีๆ ให้กับผู้อ่าน นะคะ

ขอบคุณคุณ sasinanda
สำหรับบันทึกเกี่ยวกับกรณี Alshiemer

ในปัจจุบันการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยกลุ่มนี้ ต้องการผู้เชี่ยวชาญหลายๆด้าน

กิจกรรมบำบัด เป็นเพียงวิชาชีพหนึ่งที่อยู่ในทีม

แต่ทีมการฟื้นฟูสมรรถภาพนั้นก็มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับ ปัญหาในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่เร่งด่วยต่อการเปลี่ยนแปลง

เช่น ปัญหาเรื่องความจำและการรับรู้  ทีมทางการแพทย์ก็ต้องให้การฟื้นฟูสมรรถภาพการรับรู้และความรู้ความเข้าใจ หรือ Perceptual-cognitive rehabilitation

อย่างไรก็ตาม "ความรักและความห่วงใย" ที่พอเหมาะ ไม่ดูแลมากจนเกินไปจนทำให้ผู้ป่วยขาดอิสระในการพัฒนาทักษะชีวิตด้วยตนเอง

P

 
สวัสดีค่ะ   
  ได้เข้าไปอ่านเรื่องโรงเรียนแนวพุทธ  ที่เล่ามา น่าสนใจมากค่ะ และพัฒนาการเด็กเป็นสิ่งที่สนใจ มีหลานอายุ 1 ขวบเศษเหมือนกัน กำลังฝึกการเข้ากลุ่มเล่นกับเพื่อนๆวัยเดียวกันอยู่ เขาอยู่บ้านเงียบๆ ไม่ค่อยคุ้นกับกิจกรรมร่วมกับเด็กมากๆค่ะ    
  เด็กๆเป็นความชื่นใจของผู้ใหญ่ มีการเจริญเติบโตขึ้นทุกวัน แต่ผู้ใหญ่ที่ถอยลงไปเป็นเด็กเล็กๆ    เป็นเรื่องน่าเห็นใจและน่าเศร้าค่ะ       ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ 

อานุภาพแห่งรัก

แน่นหนักราวภูผาใหญ่

แม้นความตายพรากกายสลายไป

แต่ความรักยังอยู่ได้ชั่วนิรันดร์ .

P
สวัสดีค่ะคุณพนัส

คุณพนัสเป็นคนมีจิตใจอ่อนโยนเมตตาต่อผู้อื่นมากความรู้สึกชนิดนี้  สมาชิกทุกคนใน G2K  ซาบซึ้งกันเป็นอย่างดีค่ะ

 คุณเป็นคนที่เอื้ออาทร และแคร์ต่อความรู้สึกคนอื่นเสมอค่ะ

พี่ปริมเป็นพี่สาวร่วมโลกที่ดิฉันรักมากมานานแล้ว

เห็นความสุข ความทุกข์ในครอบครัวเธอมาตลอด  เธอเป็นคนมีญาติมาก สามีก็มาจากครอบครัวใหญ่  มีคนให้กำลังใจมากมาย

และนี่เอง อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เธอมีกำลังใจ  ยืนหยัดต่อสู้อย่างเข้มแข็ง  กับการรู้เห็นในอาการป่วย    และการรักษาพยาบาล สามีที่รัก  อย่างไม่ย่อท้อ   สรรหาวิธีการต่างๆมาทดลอง  โดยมีความหวังว่า  เผื่ออาการจะดีขึ้น    จนบัดนี้ 7 ปี เศษแล้ว 

 

ตอนนี้เธอดีใจมากที่เห็นอาการของสามีดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาค่ะ

 

และนั่นคือการยืนยันอันสำคัญว่าอานุภาพแห่งความรักยิ่งใหญ่เสมอ 

อย่างที่คุณพนัสกล่าวค่ะ 
P
สวัสดีค่ะ
คุณหมอคะเห็นหน้ายิ้มๆใจดี ของคุณหมอมาเยี่ยม ดีใจมากเลยค่ะ ตั้งแต่กลับมา ก็มีกิจกรรมมากมาย ไม่เว้นว่างเลยนะคะคุณหมอ คงจะนำไอเดียดีๆมาปรับปรุง แนวทางการรักษาผู้ป่วยอีกมากเลยค่ะ

แต่ที่เห็นรู้สึกว่า  การแต่งกายของเจ้าหน้าที่เขา อาจจะดูไปรเวทหน่อยนะคะ  ดิฉันยังชอบแบบ ของเราค่ะ ดูเรียบร้อย

และน่าศัรทธามากค่ะเรื่องโรคภัยที่ใช้เวลารักษานานๆ  เป็นเรื่องที่ทรมานทั้งผู้ป่วยและคนใกล้ชิดที่ต้องพยาบาลทุกโรคเลยค่ะ
ดิฉันเคยรู้จักสามีภรรยาคู่หนึ่ง  สามีเป็นอัมพฤกษ์  ต่อมาเดินไม่ได้เลย ภรรยาทนไม่ไหว ล่วงเข้าปีที่3 ก็ขอหย่าไป  ไปแต่งงานใหม่ค่ะ ทิ้งลูก 2 คนอยู่กับสามีเก่า คุณย่ารับภาระเลี้ยงดู ตอนนี้ โตมากแล้วค่ะ    ดิฉันเคยไปเยี่ยมนานมาแล้ว   ตอนนี้ ไม่ได้ติดต่อกันเลย
ช่างต่างจากพี่ปริมผู้แสนดีของดิฉันมาก  พี่ปริมไม่มีวันทำแบบนั้นค่ะ ไม่ใช่ร้อยเปอร์เซ็นต์นะคะ   ล้านเปอร์เซ็นต์ค่ะ
อย่างที่คุณหมอบอกค่ะเรื่องนี้ เป็นเรื่อง เศร้า และหนักหนา สาหัสแต่เต็มไปด้วยความรัก ความชื่นชม และปรารถนาดีในขณะเดียวกัน ก็ เป็นบทเรียนดีๆ ให้กับผู้อ่าน นะคะ 

สวัสดีค่ะ

  •  แวะตามมาขอบคุณค่ะ
  • "เธอเข้าใจและทำใจ ใช้หลักธรรม เมตตาบารมีเข้ามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และไม่แพ้โลก กล่าวคือ ไม่ยอมเป็นทุกข์อย่างขาดสติ สามารถดึงใจให้กลับจากความเป็นทุกข์ ให้ดำเนินไปในทางปกติที่สุดได้สำเร็จ ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ชีวิตและแก่โลก"
  • ถ้าทุกคนทำได้อย่างเธอผู้นี้ได้ก็ดีนะค่ะ...อะไรๆ ที่แย่ๆ ก็คงจะดีขึ้น

             มีข่าวว่า
 ตุ๊กตาอาจช่วยให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์บางรายยอมโต้ตอบและสื่อสารกับคนอื่นอีกครั้ง รวมถึงช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าหรือกระวนกระวาย

นักวิจัยของโรงพยาบาลนิวคาสเซิลเริ่มต้นศึกษาประโยชน์จากตุ๊กตา หลังจากเห็นคนไข้คนหนึ่งผูกพันกับตุ๊กตาหมีที่ลูกชายเอามาให้ นอกจากนั้น นักวิจัยยังพบว่า ของเล่นทำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีเรื่องที่จะไปคุยกับคนอื่น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์อาจสูญเสียความสามารถในการแสดงอารมณ์ การเข้าสังคม และสติปัญญา อย่างไรก็ดี มีหลักฐานเล็กๆ น้อยๆ บ่งชี้ว่า ผู้ป่วยอาจมีปฏิกิริยาโต้ตอบหรือเอาใจใส่บางสิ่งที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของหรือมีความรับผิดชอบในการดูแล

ขณะเดียวกัน ดูเหมือนตุ๊กตาจะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าหรือกระวนกระวาย รวมถึงทำลายอุปสรรคขัดขวางการสื่อสาร บางครั้งมีการใช้ตุ๊กตาเพื่อกระตุ้นความทรงจำในอดีต เช่น การได้รับตุ๊กตาเป็นของขวัญจากพ่อแม่สมัยเด็กๆ

ในการศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก คนไข้ 14 คนในสถานพักฟื้นได้รับแจกตุ๊กตาหรือตุ๊กตาหมี และถูกประเมินผลภายใน 12 สัปดาห์

เมื่อครบกำหนด นักวิจัยพบว่าคนไข้เหล่านี้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเจ้าหน้าที่และคนไข้อื่นๆ ดีขึ้น ทั้งที่บางคนในจำนวนนี้ไม่เคยพูดกับคนอื่นมาก่อนเลย

ดร.เอียน เจมส์ ผู้ทำการวิจัยระบุว่า แม้ตุ๊กตาไม่อาจช่วยรักษาอาการสมองเสื่อม แต่ก็ช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น นอกจากนั้น เขายังหวังว่า นักวิจัยอื่นๆ จะนำเทคนิคนี้ไปขยายผลต่อไป โดยในส่วนของโรงพยาบาลนิวคาสเซิลนั้น ได้แจกตุ๊กตาหรือตุ๊กตาหมีให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม 50 คนเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม

คลิฟ เอเวอร์ส ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลของอัลไซเมอร์ส โซไซตี้ ขานรับว่างานวิจัยนี้สะท้อนความสำคัญในการปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมทุกระดับด้วยกิจกรรมที่มีความหมาย เช่น การบำบัดด้วยการกระตุ้นความทรงจำและความผูกพัน ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ดีในการสร้างการเชื่อมโยงกับผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมขั้นรุนแรง

อย่างไรก็ตาม ดร.เอเวอร์สชี้ว่า การใช้ตุ๊กตาอาจไม่ได้ผลกับคนไข้อัลไซเมอร์ทั้งหมด ดังนั้น สถานพยาบาลควรพยายามคิดหากิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละราย



สวัสดีค่ะ

บันทึกนี้ มีการนำเสนอได้ดี รูปประกอบก็สวยและเข้ากับเนื้อเรื่อง ทำให้เรื่องไม่หนักจนเกินไปค่ะ ทั้งๆที่ เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก

แต่อ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะ

แวะมาขอบคุณครับ

กลอนธรรมดา ๆ ที่ผมแต่งขึ้น.. ได้ภาพที่มีความหมายมาประกอบ  ช่วยให้ความและคำดูดีขึ้นก่ายกองเลยทีเดียวครับ

สวัสดีค่ะ พี่

P
อ่านเรื่องราวของผู้ป่วยอัลไซ้เมอร์แล้ว น่ากลัวค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้ขี้ลืมมากค่ะ ... แต่ก็ทำให้เห็นสัจจธรรม คือ เรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งตอนนี้เห็นและเข้าใจมากเลยค่ะ เพราะแก่แล้วค่ะ
ไม่มีรูป
Ajarn Dr. POP
สวัสดีค่ะ

อาจารย์ 

 ดีใจที่อาจารย์กรุณาให้ข้อคิดเห็น ในเรื่องโรคนี้ค่ะ  ปัญหาเรื่องความจำและการรับรู้  ทีมทางการแพทย์ก็ต้องให้การฟื้นฟูสมรรถภาพการรับรู้และความรู้ความเข้าใจ หรือ Perceptual-cognitive rehabilitationอย่างไรก็ตาม "ความรักและความห่วงใย" ที่พอเหมาะ ไม่ดูแลมากจนเกินไปจนทำให้ผู้ป่วยขาดอิสระในการพัฒนาทักษะชีวิตด้วยตนเอง   

ได้โทรไปบอกพี่ปริม ตามที่อาจารย์บอกแล้วค่ะตอนนี้ แพทย์ลดยากันชัก จาก 3 เม็ด/วัน เป็น 2 เม็ด/วันถ้าให้ 3 เม็ด จะหลับทั้งวัน แต่ถ้าเม็ดเดียว จะชัก

ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วค่ะร้องเพลงได้ เดินไปไหนได้ โดยมีผู้ช่วยพยาบาลประกบตลอด แต่เดินดีขึ้น  พยายามให้ผู้ป่วย ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะต่างๆ  ได้ด้วยตัวเอง

สรุป ตอนนี้ ดีขึ้นมากค่ะ
P
สวัสดีค่ะอาจารย์
กลับจากไปบ้านท่านครูบาฯ ได้พักผ่อนหน่อยนะคะ อ่านเรื่อง และเห็นภาพแล้ว  น่าสนุกและน่าประทับใจมากค่ะ
 เรื่องที่เล่านี้ จะหนักหน่อยค่ะ แต่เป็นความจริงที่น่าระวังค่ะแต่อีกมุมหนึ่ง พี่ประทับใจพี่ปริมมากจริงๆ หายากค่ะ ไม่เคยย่อท้อต่ออุปสรรคเลย มีความหวังตลอด    เป็นคู่บุญ คู่กรรมจริงๆค่ะ  ผิดกับบางคู่ที่ทนเรื่องแบบนี้ไม่ได้   ก็ทิ้งกันไปค่ะเรื่องที่เล่าทั้งสองเรื่อง ไม่ใช่พันธุกรรมนะคะ 
ทำไมเซลล์ประสาท อยู่ๆก็เสื่อมไป และก็ฝ่อไปเรื่อยๆก็ไม่ทราบได้ค่ะ ปัญหา มีอยู่ว่า มนุษย์เรา ไม่สามารถสร้างเซลล์ประสาทมาชดเชยได้ค่ะ

สิ่งที่ทำให้เซลล์ประสาทเสื่อมสภาพ  ตามที่ศึกษามาคือ  

 สารเคมีที่เชื่อมเซลล์ประสาทเข้าด้วยกัน ในคนที่เป็นโรคสมองฝ่อ สารเคมีนี้ จะลดลงค่ะ

แต่เราก็อย่าไปกังวลเกินกว่าเหตุเลยค่ะ  

 มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ถ้าเรา ฝึกสมองเป็นประจำ  จะช่วยสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทได้ดีขึ้น   ทำให้ลืมช้าลงค่ะ
P
สวัสดีค่ะ
ดีใจและขอบคุณที่แวะเข้ามาค่ะและให้กำลังใจพี่ปริมด้วยค่ะ ว่า ถ้าทุกคนทำได้อย่างเธอผู้นี้  คือ  ไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ชีวิตและแก่โลก" ได้ก็ดีนะค่ะ...อะไรๆ ที่แย่ๆ ก็คงจะดีขึ้น
 มีการวิจัยใหม่ๆหลายอย่างที่อ้างว่า สามารถชะลอโรคนี้ได้ค่ะเช่น พบฮอร์โมนเอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อนชะลอโรคอัลไซเมอร์
 หากการศึกษาวิจัยประสบความสำเร็จจริง จะเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่มะพร้าว  และจะทำให้ชาวสวนมะพร้าวมีรายได้ดีขึ้น  อีกทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรรมไทยโดยเฉพาะผู้ปลูกมะพร้าวซึ่งเป็นพืชทางการเกษตรของภาคใต้ ค่ะ   
ไม่มีรูป
Dan 
 

  สวัสดีค่ะ

คุณ Dan ถามว่า  ทำไงถึงจะทราบว่า ใครเป็นโรคนี้ล่ะครับ  แต่เนิ่นๆ
เรื่องนี้ ดิฉันขอคัดลอกบทความจาก    เรื่องโรคอัลไซเมอร์  -ของ web site    http://www.thaihealth.or.th/

ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองช้าๆ จนเมื่อสมองเสียหายอย่างมาก จะเริ่มลืมเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น สูญเสียความสามารถที่ตนเองเคยมีเคยทำได้ อารมณ์เกรี้ยวกราด พูดจาหยาบคาย อาละวาด ทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

 

โรคสมองเสื่อมพบได้ในคนทุกวัย แต่พบบ่อยในคนสูงอายุเกิน 60 ปี ประเทศทางตะวันตกพบสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่พบว่าผู้ป่วยอัลไซเมอร์เกิดจากการสะสมของโปรตีนในสมองผิดปกติ ไม่รู้ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความผิดปกติจนร่างกายต้องพยายามกำจัดโปรตีนนี้ ทำให้เนื้อสมองถูกทำลาย ส่งผลต่อความจำ สูญเสียความสามารถกระทบต่อการใช้ชีวิต ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นด้วย
สาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อมเกิดจากหลอดเลือดสมองทำงานผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง มีระดับไขมันในเลือดสูง และสมองขาดการทำงานอย่างสม่ำเสมอที่มา  เรียบเรียง : Team Content www.thaihealth.or.th

ข้อมูลจาก :  มติชน

  
โรค อัลไซเมอร์ โรคที่จำให้คุณมีความจำสั้นลง จริงหรือ ???....
                    คนเราพออายุมากขึ้น อวัยวะ  ต่าง ๆ ที่เคยใช้งานอยู่ดี ๆ ก็เริ่มเสื่อมสภาพลง สมองก็เช่นเดียวกันเสื่อมลงเมื่อใด หน่วยความจำเสียไป ก็อาจทำให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ตามมา                                                                
                                 
   พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน หน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
ในฐานะนายกสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมประเทศไทย บอกว่า ภาวะสมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การขาดสารอาหาร การติดเชื้อในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การแปรปรวนของระบบเมตาบอลิก การได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง แต่สาเหตุที่พบมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ โรคอัลไซเมอร์ พบได้ถึง 50-60% โรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด อาการของโรค จะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเซลล์ประสาทส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ ความคิดจะเสื่อมลงหรือตายไปก่อน    
            
 โรคอัลไซ เมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์ประสาทที่ไม่มีการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทน ทำให้การทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลง จากตัวเลขงานวิจัยในต่างประเทศ พบผู้ป่วยสมองเสื่อม 1% ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี โดยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุก ๆ 5 ปี  คือเพิ่มขึ้นเป็น 2% 4% 8% ในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 70 และ 75  ปี     
            
  อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ จะมีความบกพร่องในด้านต่าง ๆ 3 ด้าน ได้แก่ ความบกพร่องด้านความจำ ความคิด และการใช้เหตุผล เช่น หลงลืมสิ่งของที่ใช้ประจำ นึกคำหรือประโยคที่จะพูด ไม่ออก สับสนเรื่องวัน เวลาและสถานที่ 
 จำบุคคลที่เคยรู้จักหรือคุ้นเคยไม่ได้ ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว หวาดระแวง ซึมเศร้า บางรายอาจมีการหลงผิดหรือเห็นภาพหลอน ส่วนความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านได้อย่างเหมาะสม ไม่สามารถเดินทางไปยังสถานที่ที่คุ้นเคย หรือไม่สามารถทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกได้เหมือนเดิม      
          
  การวินิจฉัยจะดูจากประวัติการลืมและความผิดปกติอื่น ๆ ในผู้ป่วยระยะปานกลางถึงรุนแรง มีอาการเป็นมากชัดเจนก็อาจจะให้การวินิจฉัยได้ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มอาจต้องติดตามดูอาการผู้ป่วยไปสักระยะหนึ่งก่อน ร่วมกับการตรวจเอกซเรย์พิเศษที่ดูการใช้ออกซิเจนและการใช้พลังงานของสมอง 
 หากตรวจพบว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ แม้จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถให้ยาช่วยเพื่อช่วยชะลอการสูญเสียความจำของผู้ป่วยให้ช้าลง ให้สามารถดูแลตนเองและทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้. 
ที่มา  เรียบเรียง : Team Content www.thaihealth.or.thข้อมูลจาก :  น.ส.พ.เดลินิวส์
ไม่มีรูป
วิภา
สวัสดีค่ะ
คุณวิภาบอกว่า  บันทึกนี้ มีการนำเสนอได้ดี
  ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยม และชม หวังว่า คงได้ประโยชน์จากกรณีศึกษานี้บ้างนะคะ

สวัสดีครับ
คุณพี่
sasinanda


กระผม
เดินทาง (ไปคนเดียวครับ)ไปหลายจังหวัดบ่อย..
และขอขอบพระคุณที่ เป็นห่วงครับ..

นี่คือ เรื่องจริงที่.. ในวันที่ 26 ก.ค.50 นั้น
กระผม ประสบอุบัติเหตุ รถตกภูเขา ที่ จ.ชัยภูมิ (ในป่า) แถว.ที่เป็นภูเขาชันๆโค้งๆ

.. ปาฏิหารย์ ครับ .. อาจเป็นเพราะบุญ และคุณพระคุณเจ้าคุ้มครอง.. และการคิดดี ทำดี ที่ผ่านมา การแผ่เมตตาต่อ สรรพสิ่ง

ทำให้ กระผม ไม่มี บาดแผลแม้แต่เล็กน้อย..

- สภาพรถ ..ประตูเปิดไม่ได้ทุกบาน (ตัวถัง GOA เอาไม่อยู่) เหลือแต่ประตูคนขับที่เปิดได้ แล้วลงมาได้อย่างปลอดภัย
- กระจกแตกละเอียดทุกบาน ยกเว้น กระจกหน้าที่เป็นแบบสองชั้น ร้าวไม่แตกลงมา
- ยางแตก 1เส้นล้อหน้า

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ค่อยอยากนึกถึงและเล่าเท่าใดนัก..
/ คือ ถนนเส้นดังกล่าว เป็น 2 เลนส์ รถสวนกันได้ เวลา แซงต้องระวัง
- แล้ว มี กระบะ วีโก้ คัน หนึ่ง แซงมา เข้ามาในเลนส์กระผมแล้วไม่ยอม คืนสู่เลนส์ของเขาดังปกติ (ทั้งที่เปิดไฟเตือน และบีบแตร และเขาแซงพ้นแล้ว) ไม่ว่าจะด้วยเหตุอันใดก็ตามแต่.. แต่ กระผมก็เบรก ตัวโก่ง และด้วย การที่รถคันดังกล่าว ยกสูงเสียน่ากลัวที่ เวลาประสานงา..แล้ว กระผมจะต้องกระเด็นไปไกล และเจ็บหนักแน่..
- แม้จะบีบแตร แล้ว เปิดไปสูงเตือนแล้ว (กลางวันนะนี่) และถึงขนาด เขยิบ หลบ ไปทางซ้ายมือเพื่อให้เขา เบี่ยงแซงกลับเลนส์เขาได้ เขาก็ไม่มีทีท่าว่างจะ หลบกลับเข้าเลนส์เขาเลย..
- เหตุการณ์ ไม่คาดฝัน ก็ เกิดขึ้น.. คือ จากการที่ เบี่ยงเลนส์ หลบ และหลบมากขึ้นอีกทำให้ "รถ ตกลงไป ข้างทาง" ที่เป็นภูเขา ชัน 45 องศา .. ด้วยความเร็วรถ ที่สูงพอสมควร
- รถฟาดกับต้นไม้ ระเนระนาด ตีปัดไป ปัดมา เป็นดังพินบอล ซึ่งตอนลงไปนั้น พยายามหักพวงมาลัยขึ้นมา แต่ ก็ ไม่ไหว เพราะเป็นเก๋งธรรมดาไม่ใช่ออฟโรด.. คิดในใจ แล้วภาวนา ถึงคุณพระคุณเจ้า และเจ้ารถของกระผมว่า.."ขอผมไปสบายเถอะ ไม่อยากเจ็บและทรมานในป่านะ"
- แต่ แล้ว ด้วยความที่ รถของผมมันรักผมมาก "จากคำวิจารณ์ของอู่ซ่อมรถ และพนักงานเคลมประกัน" ที่เขาบอกกันว่า เจ้ารถคันนี้มันรักนายมันมากนะ ยอมขนาดนี้ แต่ไม่ให้เจ้าของเป็นอะไรเลย.. และชาวบ้านแถบนั้น ก็บอกอีกว่า.. รถยุโรป หรือ รถใหญ่แค่ไหนก็ตามที่ได้ตกแบบนี้ ไม่มีใครหรอกที่ เดินขึ้นมาได้หน้าตาเฉย ส่วนใหญ่ ต้อง เสียชีวิตคาที่ หรือไม่ก็ รอช่างใช้เหล็กตัดถ่างช่วยออกมา

มาถึงตอนนี้... กระผม ก็ เข้าถึงสัจจธรรมอีก นิดครับ..
ว่า.. ควรคิดดี ทำดี และไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นผู้อื่นเดือนร้อน ก็ ควรหยิบยื่นมือช่วยเหลือ อย่างเหมาะสม

เพราะเรามีชีวิต และมีความสุขอย่างไร ก็ ขึ้นอยู่กับเรากำหนดตัวเราเอง.. เรื่องบุญเรื่องกรรม ถึงแม้ จะไม่เท่ากัน..แต่เรา ทำบุญ แผ่เมตตา ได้ โดยไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน..

และนั่น อาจ เป็นสิ่งที่ ทำให้ กระผมมีชีวิต รอดกลับมาได้ อย่างปาฏิหารย์ @N

ขอบพระคุณครับ

P

สวัสดีค่ะคุณพนัสคะ

กลอนดี มีรูปประกอบที่เข้ากัน  ก็ดูดี กว่า จะมีอะไรแค่อย่างใดอย่างหนึ่งค่ะ ขอบคุณค่ะ

โรคขี้หลงขี้ลืมนี่ ป้องกันได้ไหมครับ
ผมนี่ขี้ลืมตัวสำคัญ
          วันหนึ่งขี่รถเครื่องส่งภรรยาไปตลาด พอภรรยาโดดลงรถไปแล้ว ผมก็เลยไปซื้อหนังสือพิมพ์ 1 ฉบับ ขี่รถวนกลับมานั่งอ่านที่บ้าน ลืมครับ... ลืมภรรยาไว้ที่ตลาด นึกขึ้นได้ใจหาย... ตายแน่เราคราวนี้ รีบบึงรถกลับไปรับ พอรถถึงหน้าตลาด เธอก็เดินรี่เข้ามาหา
          "พ่อทำไมกะเวลาได้พอดี แม่กำลังเดินออกมานี่แหละ"
          รอดตัวครับ...
          นึกไม่ออกจนบัดนี้ว่า ถ้า...!!!... เราจะตกอยู่ในสภาพใด (หน้าตลาดสดนะครับ)
          ปัจจุบันนี้ (แม้จะนั่งทานข้าวอยู่ก็เถอะ) นึกอะไรขึ้นได้ต้องรีบไปทำไว้ก่อน ไม่งั้น ลืมครับ.

P
สวัสดีค่ะอ่านด้วยความตื่นเต้น และปาฏิหาริย์มากๆที่รอดมาได้อย่างไม่เป็นอะไรเลย  ทำให้ กระผม ไม่มี บาดแผลแม้แต่เล็กน้อย.

. พระคุ้มครองจริงๆค่ะ  ต้องเรียกขวัญกันหน่อยแล้วนะคะ หมดทุกข์ หมดโศกแล้วนะคะ แต่คิดว่า ไปไหนไกลๆคนเดียวแบบนี้ ต้องระวังให้มากๆ บางทีการเดินทางแบบอื่นก็ช่วยได้ อาจไม่สะดวกเท่า แต่ก็ไม่น่ากลัวเท่าใด คงต้องซ่อมรถไปอีกหลายเงินเลย แต่อยู้กรุงเทพ ค่อนข้างสะดวกค่ะ ทางเลือกมาก

 

ปาฏิหารย์ ครับ .. อาจเป็นเพราะบุญ และคุณพระคุณเจ้าคุ้มครอง.. และการคิดดี ทำดี ที่ผ่านมา การแผ่เมตตาต่อ สรรพสิ่ง

พี่มีความรู้สึกภูมิใจและดีใจที่ได้รูจักกับคนดีๆเช่นคุณนิรันดร์ค่ะ แม้เราจะยังไม่เคยเห็นหน้ากันก็ตาม

คนเราต้องเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม และ คนดีพระคุ้มครองค่ะ

สวัสดีครับ

คุณพี่ P sasinanda

ขอบพระคุณสำหรับ .. คำแนะนำใน หลาย ๆ ด้านครับ.. ซึ่ง คุณพี่ได้แนะนำกระผมตั้งแต่ ก่อนเกิด อุบัติเหตุ .. และรวมถึง การตั้งสมาธิ และคำแนะนำอีกมากมาย ครับ..

กระผมดีใจยิ่งที่ ได้มีโอกาสได้รับคำแนะนำดี ๆ ครับ

ปล. พระท่านคุ้ม จริง ๆครับ (ตอนนั้นเพิ่งออกจากปั้ม) ขับความเร็ว 120 km/h. ตกภูเขาลงไป ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยด้วย (นิสัยไม่ดีลืมได้ไง ><" ตำรวจอย่ามาเปรียบเทียบปรับในนี้ หนา)

เหมือนเกิดใหม่จริง ๆ ครับ

ขอบพระคุณครับ

P

สวัสดีอีกทีค่ะ
มัวแต่ตื่นเต้น มือเลยกด up loadขึ้นไป ยังพูด ไม่จบค่ะ
กระผม ก็ เข้าถึงสัจจธรรมอีก นิดครับ....
ว่า.. ควรคิดดี ทำดี และไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นผู้อื่นเดือนร้อน ก็ ควรหยิบยื่นมือช่วยเหลือ อย่างเหมาะสม

เพราะเรามีชีวิต และมีความสุขอย่างไร ก็ ขึ้นอยู่กับเรากำหนดตัวเราเอง.. เรื่องบุญเรื่องกรรม ถึงแม้ จะไม่เท่ากัน..แต่เรา ทำบุญ แผ่เมตตา ได้ โดยไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน..

และนั่น อาจ เป็นสิ่งที่ ทำให้ กระผมมีชีวิต รอดกลับมาได้ อย่างปาฏิหารย์ @N
คนเราไม่ถึงที่ตาย ไม่วายชีวาวาตย์ค่ะ
"รถ ตกลงไป ข้างทาง" ที่เป็นภูเขา ชัน 45 องศา .. ด้วยความเร็วรถ ที่สูงพอสมควร

เดินขึ้นมาได้หน้าตาเฉย ส่วนใหญ่ ต้อง เสียชีวิตคาที่ หรือไม่ก็ รอช่างใช้เหล็กตัดถ่างช่วยออกมา

 

 ไม่เป็นเรื่องเหลือเชื่อมาก ต้องทำบุญทำทานต่อนะคะ ไปที่วัดไหนก็ได้ค่ะ
คงขออนุญาต แนะนำให้ฝึกสติด้วย  ทุกเวลา เป็นการเพิ่มการตื่นตัวภายใน ให้มีพลังกล้าแข็งขึ้นด้วย คนเรา เวลาเดินทางไปไหนคนเดียว พอเงียบๆ อาจมีง่วงบ้าง ถ้า ขับไปสัก 2ช.ม. น่าจะหยุดพักที่ปั๊มน้ำมันสักครู่ และถ้ามืดค่ำ ไม่ควรขับรถไกลๆ ทัศนวิสัยไม่ดีค่ะ
เป็นห่วงค่ะ ช่วงนี้พักหน่อยดีกว่า
ถ้าพุดตามดวงโหราศาสตร์ เขาว่า ดวงอาจค่อนข้างอ่อนหน่อย รอตั้งหลักอีกพัก ถ้าจำเป็นไปรถทัวร์ดีกว่าค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสามีคุณปริมครับ

เท่าที่อ่านจากบันทึกและผลการรักษาคืบหน้า

การให้ยาเพื่อบำรุงเซลล์ประสาท หรือ ชะลออาการเสื่อมของเซลล์ประสาท ยังคงจำเป็นต้องให้ในระยะยาว แต่ปรับขนาดของยาให้ลดลงได้ครับ

การฟื้นฟูสมรรถภาพของการรับรู้และความรู้ความเข้าใจ ยังหาผู้เชี่ยวชาญในเมืองไทยค่อนข้างยาก หากต้องการทราบโปรแกรมเพิ่มเติม อาจจะต้องมีการประเมินกิจกรรมบำบัดด้านการรับรู้และความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมครับ ถ้าว่างอาจติดต่อผมที่คลินิกกิจกรรมบำบัดมหิดลได้ โทร 08-522-40707

จริงๆ แล้ว กิจกรรมการรักษาในระยะที่สามีของคุณปริมสามารถรับรู้และสื่อสารในเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ถือว่าน่าจะมีระบบการวางแผนและการตัดสินใจทำกิจกรรมต่างๆ ได้ในระดับหนึ่ง ควรมีการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดและตัดสินใจในการทำกิจกรรมที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน พร้อมๆกับ การหากิจกรรมที่ท้าทายให้จดจำและสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และเกิดความสุขใจด้วยครับ

ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรมการทานข้าวกับครอบครัว แบบช่วยกันทำและช่วยกันทาน อาจให้สามีของคุณปริมริเริ่มเมนูที่น่าสนใจ แล้วค่อยๆ นึกรายการที่จะให้ใครไปซื้อ หรือ จะต้องทำครัวอย่างไร ให้เค้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนง่ายๆ หรือในขั้นตอนที่อยากลองทำ จนถึงขั้นตอนสุดท้ายของการรับประทานอาหารร่วมกันอย่างมีความสุข เพียงแค่กิจกรรมเดียวก็ทำให้เกิดแรงจูงใจและพัฒนาระบบประสาทการเคลื่อนไหวที่มีความหมายครับ  

 ไม่ทราบว่าปัจจัยส่งเสริมจะเกี่ยวกับการไม่มีใครคุยด้วยรึเปล่านะคะ เพราะที่เคยพบผู้สูงอายุที่หลงลืมบ่อยๆ เป็นด้วยไม่ค่อยมีเพื่อนคุย ไม่มีคนดูแลใกล้ชิดน่ะค่ะ

P

 
สวัสดีค่ะ
โอ้โฮ!!!!ขนาดลืมภรรยาเลยนะคะ  น่าน้อยใจจริง
ช่วงที่เราอายุมากขึ้นสมองจะทำงานลดน้อยถอยลงบ้างค่ะ เพราะเซลล์ประสาทจะมีจำนวนน้อยลงคนอายุ62-100ปี  ความสามารถในการ เคลื่อนย้ายข้อมูลใหม่ๆ   ไปยังหน่วยความจำระยะยาว  จะน้อยลงค่ะ
แต่คนเราจะแก่ไม่เท่ากันนะคะบางคนสังขารแก่
 แต่ปัญญายังเฉียบแหลมค่ะ คงอยู่ที่ว่า สมอง ได้รับการกระตุ้นบ่อย มาก น้อย และต่อเนื่อง แค่ไหนค่ะการจดบันทึกความจำ ก็จะช่วยได้มาก
ได้อ่านพบวิธีป้องกันบ้าง  ค่ะ
ไม่สูบบุหรี่
ไม่ให้ความดันสูง
ลดโคเรสเตอรอล
รักษาโรคหัวใจและเบาหวาน
บำรุงร่างกายให้แข็งแรง
กินอาหารมีประโยชน์ ออกกำลังกายพอเหมาะ
ระวังยาบางอย่างที่ทำให้ความจำสูญเสียไป เช่น ยานอนหลับ และยากล่อมประสาทเป็นต้น

มีความผิดปกติที่สุขภาพ  ต้องรีบไปหาแพทย์ค่ะ

ทีหลังอย่าลืมภรรยานะคะ ขอร้องค่ะ

ที่บ้านต้องดูแลแม่สามีที่มีอาการสมองเสื่อมค่ะ    อ่านแล้วทำให้เข้าใจและอดทนมากขึ้นค่ะ

อ่านแล้วก็เห็นใจผู้ป่วยทุกท่านค่ะ

คุณแม่เป็นพาร์คินสัน ดูเหมือนจะเบากว่าอัลไซเมอร์ แต่ไม่มีโรคดีที่สุดค่ะ พาร์คินสัน ยังมีความจำอยู่ จำคนได้ คิดได้ตลอด แต่ประสาทสั่งการ การเคลื่อนไหวจะช้า เช่น มือสั่น เดินช้า อาจจะคมำไปข้างหน้า เพราะสมองสั่งแต่ขาก้าวไม่ไป หน้าก็คมำไปก่อน ทรมานในเรื่องจิตใจที่ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ดังก่อน จึงพ่วงโรคซึมเศร้าเข้าไปด้วย เวลากินข้าว ปากจะอ้าค้างรอมือที่ถือช้อนส่งเข้าปาก เห็นแล้วทรมานใจแทนแม่มาก บางครั้งต้องใจแข็งให้เขาช่าวยเหลือตัวเองให้ได้ ไม่เช่นนั้นเขาจะขาดการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง  และถ้าอาการหนักก็จะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สังขารจะเสื่อมไปเรื่อยๆ ในท้ายที่สุด  แม่เพื่อนในรุ่นเดียวกันเป็นโรคนี้เช่นกัน คุยกันแล้วก็ร้องไห้ ทำให้ดีที่สุดค่ะ

โชคดีที่มีพี่เลี้ยงคอยดูแล ทุกวันนี้จะไปหาหลังเลิกงานทุกวัน ไปคุยกับแม่บ้าง พาอาบน้ำ หรือไม่ก็ทำอาหารอร่อยๆ ให้กินในวันหยุด

คาดว่าคนจะเป็นโรคนี้มากขึ้น และรักษาไม่ได้ ต้องกินยาเลี้ยงไปตลอดชีวิตค่ะ
ไม่มีรูป
Ajarn POP

สวัสดีค่ะ
 ขอบอกว่า ประทับใจ

อาจารย์  Ajarn POP   จริงๆค่ะ ที่เป็นห่วง เข้ามาอ่านและให้ข้อแนะนำดีไว้อีกรอบหนึ่ง

การให้ยาเพื่อบำรุงเซลล์ประสาท หรือ ชะลออาการเสื่อมของเซลล์ประสาท ยังคงจำเป็นต้องให้ในระยะยาว

 ค่ะ ตอนนี้ ขาดยาไม่ได้ จะมีอาการไม่ดีทันทีค่ะ
ควรมีการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดและตัดสินใจในการทำกิจกรรมที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน พร้อมๆกับ การหากิจกรรมที่ท้าทายให้จดจำ
ตอนนี้ ก็มีเรื่องการร้องเพลง วางไพ่ แจกไพ่ นับสตางค์ และใส่ถุง   และต่อจิ๊กซอว์ง่ายๆค่ะต่อไปจะต่อและวาด ภาพเรขาคณิตค่ะการรับรู้ดีขึ้น  บอกลูกสาว ได้ว่า ระวังถอยชนเสาโรงรถ   แต่จำลูกสาวและภรรยาไม่ได้เลยค่ะ
จะบอกให้พี่ปริม ลองชวนทำอาหารดูค่ะ ต้องค่อยๆ กลัวจะหงุดหงิดค่ะช่วงนี้ เดินดีขึ้น  แต่ก็ปล่อยไม่ได้ค่ะขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะ จะรายงานให้ทราบเป็นระยะๆนะคะ
 
P
สวัสดีค่ะ

การที่ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว ไม่มีเพื่อน เหงา ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เฉื่อยชา สมองไม่ค่อยได้คิดอะไรมาก เลยทำให้ฝ่อไปมากๆได้ค่ะ

และอีกอย่าง ที่คุณหมอบอก  คือก็มีโรคประจำตัว เช่นความดัน เบาหวาน ไขมันสูง ดื่มสุราจัด   มีการติดเชื้อที่สมอง หรือทานยาอันตรายเป็นประจำ เช่น ยานอนหลับ เป็นต้นค่ะจริงๆก็ยังหาสาเหตุจริงๆไม่ได้แน่นอนนะคะ จะว่าเป็นกรรมพันธุ์ ก็ยังไม่แน่   เพราะทำไม สามีภรรยา เป็นทั้งคู่ได้ล่ะคะ อย่างคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนที่เล่าให้ฟัง  แต่กรรมพันธุ์ ก็มีส่วนมากนะคะ

 

การที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็นับเป็นความเครียดพอดู  ต้องใจเย็น ทำใจ เตรียมรับสถานการณ์อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  และเป็นเวลานาน นับ 10 ปีขึ้นไปค่ะ

อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นคนในครอบครัว เราก็ต้องรักษา  ดูแลเอาใจใส่ เต็มที่อยู่แล้วค่ะ

P

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณ คุณหมอที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ

โรคนี้ คนที่มีญาติเป็นอยู่ จะเข้าใจทุกคนนะคะว่า    การพยาบาลคนไข้ลักษณะนี้ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนักหนาทีเดียว

ประเด็น การขี้ลืมในผู้สูงอายุ   เป็นเรื่องที่ คนสนใจมาก  ตอนนี้แปะก๊วยสกัดขายดีทั้งในเมืองไทย และต่างประเทศค่ะ
P
สวัสดีค่ะ
คนสูงอายุขึ้น โรคก็ถามหาค่ะพวกเราเองก็อย่าประมาท คอยดูแลร่างกายไว้ให้แข็งแรงดีๆ
  นี่แหละคือสัจธรรมของชีวิตค่ะ
บางครั้งต้องใจแข็งให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ไม่เช่นนั้นเขาจะขาดการเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง ในที่สุด ทำอะไรเองไม่ได้ ก็จะยิ่งหดหู่และท้อถอย ซึมเศร้าไปเลย
 ดีแล้วค่ะ ที่พยายามให้คุณแม่ทำอะไรเอง ทำได้แล้ว จะมีกำลังใจตามที่อาจารย์ Ajarn POP เข้ามาแนะนำให้
โรคพาร์กินสัน  ไม่ร้ายแรงแบบโรคสมองเสื่อมค่ะ ไม่ต้องเครียดค่ะ 
   การเจริญสติกับสมาธิของคุณหุย    จะช่วยคุณหุยไม่ให้กังวลได้มากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาอ่านรอบแรกเมื่ออาทิตย์ก่อนแต่แสดงความคิดเห็นไม่ได้
  • เคยดูรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวนี้ค่ะ รู้สึกเศร้าใจมาก- -ผุ้อยู่ด้วยต้องอดทนสูง และยึกมั่นในศรัทธามากทีเดียวค่ะ
  • สำหรับน้องแล้วนางฟ้าผู้ประทานแสงประทีปของครอบครัวคงเป็นคุณแม่ค่ะ

 

P
พิชชา
สวัสดีค่ะ

น้องหน้าละม้ายคุณแม่ค่ะ

นางฟ้าประจำครอบครัว  ไม่มีใครที่เราจะรักและเทิดทูนเท่าท่านค่ะ

น้องมีครอบครัวที่อบอุ่นน่าประทับใจมากค่ะ

รู้สึกมาตลอด เวลาอ่านบันทึกของน้องค่ะ

สวัสดีครับ

ผมเป็นขี้ลืม และย้ำคิด ย้ำทำ บางทีก็นึกชื่อคนไม่ค่อยออก แต่พออีกสักพักก็นึกออก  กลัวจังว่า จะเป็นโรคสมองฝ่อ

 

ไม่มีรูป
ทิวากร

สวัสดีค่ะ

 อาการที่บอกน่าจะเป็นการลืมธรรมดานะคะ ใครๆก็เป็นค่ะ

ลองเทียบกับอาการทั่วไปของผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์ที่ดิฉันได้ศึกษามาซิคะ

ได้แก่ ความบกพร่องทางความจำ ความคิดและการใช้เหตุผล เช่น หลงลืมสิ่งของที่ใช้เป็นประจำ นึกคำหรือประโยคที่พูดไม่ออก สับสนเรื่องเวลาและสถานที่ จำบุคคลที่เคยรู้จักหรือคุ้นเคยไม่ได้ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว

และสุดท้ายมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านได้อย่างเหมาะสม ทั้งๆ ที่เคยใช้เป็นประจำ ไม่สามารถไปสถานที่ที่คุ้นเคย เป็นต้น

อาการลืมธรรมดาของคุณทิวากร ไม่ใช่หรอกค่ะ แต่ก็ต้องคอยดูแลสุขภาพไว้นะคะ

ขอบคุณมากจริงๆครับ และขอขอบคุณ ดร.จันทวรรณ ด้วยครับ ถ้าท่านไม่ส่ง link บันทึกนี้มาให้ ผมคงไม่มีโอกาสได้อ่าน

มีประโยชน์มากเลยครับ ตั้งแต่แม่ผมเป็นโรคนี้ ทำให้ผมเข้าใจอะไรๆในชีวิตมากขึ้น และผมก็คิดถูกจริงๆที่เขียนบันทึกไว้ที่นี่ ได้ความรู้มากมายเลยครับ

แล้วจะกลับมาอ่านทุกคอมเมนต์อีกครั้งครับ เพราะช่วงนี้ติดสอบครับ เลยไม่มีเวลามากนัก

P
สวัสดีค่ะ
ดีใจที่คุณ  นาย วงศกฤต เกรียงวรกุล  เข้ามาอ่านและshare ความเห็นด้วย
จริงๆแล้วในครอบครัว ยังไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้ แต่คุณพ่อคุณแม่เพื่อนสนิทเป็นโรคนี้ทั้งคู่   สามีของผู้บังคับบัญชาเก่าก็ เป็น รวมทั้ง คุณแม่  กับคุณ ตา ของ พนักงานที่ office      ที่ใกล้ชิดนี่ 5 คนแล้วค่ะ
ทำให้ฉุกใจคิดว่า เอ๊ะ ตอนนี้   โรคนี้ กำลังคุกคามคนไทยอยู่นะ ประกอบกับได้อ่านบันทึกของคุณด้วย

เป็นความคิดที่ถูกต้อง ที่ได้บันทึกอาการของคุณแม่ไว้ค่ะ เพราะจะได้เป็นกรณีศึกษาสำหรับคนอื่นๆด้วย  มีทางป้องกันอะไร จะได้ เริ่มรู้ตัวกันแต่เนิ่นๆ   แม้จะป้องกันยาก แต่ชะลออาการออกไปก็ยังดีนะคะ 

 ทางครอบครัวจะได้มีเวลาตั้งตัวด้วยค่ะ

 

โรคนี้ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศเรา  อย่างที่อาจารย์  Ajarn POP  บอกไว้ดังนี้ค่ะ

การฟื้นฟูสมรรถภาพของการรับรู้และความรู้ความเข้าใจ ยังหาผู้เชี่ยวชาญในเมืองไทยค่อนข้างยาก หากต้องการทราบโปรแกรมเพิ่มเติม อาจจะต้องมีการประเมินกิจกรรมบำบัดด้านการรับรู้และความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมครับ ถ้าว่างอาจติดต่อผมที่คลินิกกิจกรรมบำบัดมหิดลได้ โทร 08-522-40707

    แต่ก็หวังว่า ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้ โลกน่าจะมีแนวทางใหม่ๆมารักษาโรคนี้ได้บ้างค่ะ

    ทางออกตอนนี้ ทราบว่า มีการเสนอให้ ผู้ป่วยโรคนี้ มีการรวมตัว ช่วยเหลือกัน และทำกิจกรรมร่วมกัน หรือจัดให้มีหน่วยกลางอะไร ที่ผู้ป่วยอาจมาอยู่ด้วยกัน มีสังคมร่วมกันบ้าง อาจจะดีขึ้นค่ะ

     อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกครอบครัว เป็นอย่างครอบครัวพี่ปริมค่ะ ไม่เคยสิ้นหวัง ไม่เคยท้อแท้ แต่จะมีการคิดและวางแผนร่วมกันกับแพทย์ ว่า จะสามารถช่วยเหลืออะไรผู้ป่วยได้บ้าง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ณ ขณะนี้ สามีพี่ปริมดีขึ้นจริงๆค่ะ ช่วยตัวเอง และทำอะไรได้มากขึ้นค่ะ

 แม้จะยังจำคนในครอบครัว ไม่ได้ก็ตามค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาอ่านอีกครั้งค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับสิ่งที่ดี ๆ ที่นำเสนอค่ะ

สวัสดีครับ

ผมอยู่กับคุณลุงอายุ70ปี ตอนนี้เป็นอะไรไม่ทราบดูท่าน นอนเรื่อย และซึมๆ บางทีก็ร้องไห้นิดหน่อย บอกคิดถึงภรรยาที่เสียไป ผมปลอบก็หาย

แต่อีก 2 วันก็เป็นอีก ชักจะแปลกๆ จะพาไปวัดดีไหมครับ จะได้มีเพื่อน ตอนนี้เกษียณแล้ว

สวัสดีค่ะ พี่ sasinanda

 

บันทึกของพี่ฉบับนี้ มีคนมาอ่านและให้ความเห็นจำนวนมาก ไล่อ่านจนเหนื่อยเลยค่ะ

เห็นคุณทนันเขียนว่า ลืมภรรยา  ตัวส้มเองก็เพิ่งเจอมากับตัว เมื่อวันอังคารนี้เองค่ะ สามีทำราชการ เป็นวันหยุด แต่เขาก็ขยันไปทำงาน ส่วนเราเอกชนก็มาทำงานตามปกติ ไม่มีหยุดชดเชย

ปรากฏว่าเรารอจนเกือบ 2 ทุ่ม ก็แปลกใจว่าทำไมยังไม่มารับ พอโทรไป เขาก็งงๆ ว่าทำไมเราไม่นอน จะมานั่งรอเขาทำไม คุยกันตั้งนานจึงรู้ว่า เขาลืมว่าเรามาทำงาน ลืมว่ามาส่งเราตอนเช้า รู้สึกโกรธแล้วก็สงสารไปพร้อมๆ กัน

อายุยังไม่เยอะ แต่เอาอนาคตมาใช้งานจนสมองเริ่มเสื่อม น่าเป็นห่วงจริงๆ ค่ะ

นี่คงเป็นเหตุหนึ่งที่คนสมัยใหม่เป็นโรคนี้กันมากขึ้นเรื่อย เพราะเราใช้สมองผิดวิธี

การรักษา คิดเองนะคะ สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นสมองของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ตามสิ่งที่แต่ละคนเคยฝังใจ หรือเคยชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ ถ้าใช้สิ่งนั้นมากระตุ้นน่าจะได้ผล เช่น สามีของพี่ปริม ไม่แน่ใจว่า อาจจะเคยชื่นชอบในความไพเราะของเพลง บัวขาว มาก่อนหรือเปล่าคะ

P

สวัสดีค่ะ
ดีใจที่เข้ามาเยี่ยมค่ะมาบ่อยๆนะคะโรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของสมองเสื่อมที่พบได้บ่อย ค่ะ   พวกเราคงได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของ "ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน" จากภาวะแทรกซ้อนของโรคอัลไซเมอร์ 
  แสดงว่า โรคนี้ ไม่เลือกว่าจะเป็นระดับไหนเลย 

ได้อ่านพบว่า   อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้สูงอายุ พบในคนอายุน้อยได้แต่ไม่มากนัก   

 

   จากตัวเลขในต่างประเทศ พบว่า เมื่ออายุ 60 ปี จะมีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม 1% ของคนที่อายุเกิน 60 ปี และอุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทุกๆ 5 ปี หมายความว่าจาก 1% เมื่ออายุ 60 ปี พบได้ 2% ในกลุ่มอายุ 65 ปี พบเป็น 4% ในกลุ่มอายุ 70 ปี เป็นต้น

 

เป็นโรคที่น่ากลัวทีเดียวแพทย์พบว่า สาเหตุมักมาจาก.........
.·         กรรมพันธุ์ โดยพบว่าพ่อ แม่ พี่ หรือน้อง ป่วยเป็นอัลไซเมอร์หรือมีประวัติเป็น Down Syndrome (ปัญญาอ่อน)ในครอบครัว
 ·         การใช้ยาต้านการอักเสบอย่างไม่ถูกต้อง หรือโดยไม่อยู่ในความดูแลของแพทย์
·         ภาวะขาดสารอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น การขาดวิตามินเอ ซี อี ซิลิเนียม
 ·         โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

ดังนั้น การจะกินยาอะไร ต้องระวังมากๆ  ให่ร่างกายแข็งแรงเข้าไว้ จะได้ไม่เจ็บป่วยและคงต้องกินอาหารดีๆ ครบส่วน อย่ากินอาหารขยะ

บางทีคงต้องกินวิตามินเสริม ด้วยค่ะ  เพราะอาหารที่เรากิน อาจไม่มีวิตามินครบพอ
และต้องทำใจให้สบาย อย่ากังวลนัก เจริญสติ นั่งสมาธิ ทำใจอุเบกขา กับสิ่งที่เราไม่มีกำลังพอที่จะไปแก้ไขอะไรได้เพียงลำพังค่ะ     ทำตัวให้เป็นคนมีความสุขเท่าที่จะทำได้ค่ะ  
P

 

สวัสดีค่ะ

ดีใจที่มาเยี่ยมค่ะ  เห็นงานยุ่งตลอดเลยนะคะ ดีค่ะ บริหารสมองมากไว้หน่อย ดีกว่างานน้อย  แต่ยุ่งพอดีๆ ดีที่สุด ยุ่งมากไป   งานก็จะไม่สมบูรณ์อีกตอนนี้

 โรคนี้ น่ากลัวค่ะ พี่ยังกลัวเลย  แต่สามีคุณ  citrus  คงมีอะไรครุ่นคิดอยู่ในใจน่ะค่ะ เลยอาจจะลืมไปบ้าง  ถ้าเป็นไม่บ่อย ก็เป็นการลืมธรรมดานะคะ แหม แต่อย่าลืมบ่อย น้า...น้อยใจนะ.....ฮิๆๆๆ พูดเล่นค่ะ

การรักษา คงต้องดูเป็นคนๆไปน่ะค่ะ  แต่ถ้าเป็นเรื่องฝังใจ จะค่อนข้างได้ผล เช่น สามีพี่ปริม ชอบร้องเพลง มากค่ะ และเป็นช่าง--- วิศวกร----มาก่อน เป็นคนละเอียดรอบคอบมากๆ     ที่เล่าไงคะ ว่า บอกลูกสาว ให้ขับดีๆ ระวังจะชน เสาโรงรถ แต่ จำลูกสาวไม่ได้ตอนนี้  บอกวันเดือนปีได้  วางไพ่ได้ แต่สับไพ่ไม่ได้  โดยรวมดีขึ้น แต่ต้องทานยาตลอดค่ะ

เราทุกคนก็อย่าประมาทนะคะ โรคนี้ ไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ค่ะ แต่ ค่อยเป็น ค่อยไป หลายปีค่ะ 

 พี่เอง ต้องนั่งสมาธิ ทำจิตว่าง   ให้มีพลังจิตมากๆค่ะ   และทำอะไร ในชีวิตประจำวันทุกวัน    พี่ก็พยายามต้องให้มีสติรับรู้ตลอดค่ะ กลัวเหมือนกัน

ไม่มีรูป
ต้น

 

สวัสดีค่ะ

คุณลุงอายุ 70 ปี นะคะ

 ขออ้างใน   พ.ญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน : โรคสมองเสื่อมสำหรับประชาชน สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 
 เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของสมองจะลดลงไปจากเดิมบ้าง ความคิดอาจจะช้าลง การเรียนรู้สิ่งใหม่จะช้าลง ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในคนสูงอายุทั่วๆ ไป แต่คนสูงอายุเหล่านี้จะยังคงสามารถตัดสินใจ มีความคิดริเริ่ม มีจินตนาการ มีเหตุผลเป็นของตนเอง จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามการมีอายุเท่านั้น  แต่สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมีอาการความจำเสื่อม การตัดสินใจลดลง และการใช้เหตุผลผิดปกติ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางด้านของอารมณ์และพฤติกรรม
โดยอาการเหล่านี้จะมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมักมีอาการแสดงต่างๆ เช่น
 ·         ลืมชื่อคนในครอบครัวที่เป็นญาติสนิทหรือเพื่อนไป
 ·         รับประทานอาหารแล้วบอกว่ายังไม่รับประทาน
·         เดินเล่นในสวนใกล้บ้านแต่พอจะกลับบ้านแต่กลับไม่ถูก
 ·         ไม่รู้ว่าตัวเองมาที่นี่ได้อย่างไร และจำเส้นทางกลับบ้านที่เคยกลับประจำไม่ได้
·         มีการตัดสินใจแย่ลง เช่น ผู้ป่วยเป็นไข้ตัวร้อนต้องไปหาแพทย์แต่ผู้ป่วยกลับห่มผ้าและนอนอยู่บนเตียงแทน
·         พูดไม่ค่อยเป็นประโยค
·         มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์รวดเร็ว เช่น จากอารมณ์เงียบเป็นร้องไห้ โดยไม่มีเหตุผล หรือมีอาการสับสนสลับหวาดระแวง ฯลฯ

หากมีอาการแสดงดังกล่าวข้างต้นเราควรนำผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม

 

 และบุคคลใกล้ชิดหรือผู้ดูแลควรเข้าใจถึงอาการที่ผู้ป่วยไม่ควรโกรธผู้ป่วย และปรับสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งดูแลเรื่องอาหาร และการออกกำลังกายอย่างให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข 
 ในกรณีของคุณลุง น่าจะมีอาการที่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ นะคะ แต่ไม่แน่ว่า จะผิดปกติหรือไม่ เพราะถ้าเหงาๆ และคิดถึงภรรยามากๆ ก็อาจร้องไห้ได้ค่ะ

อย่าเพิ่งกลัวไปเลย ดูไปก่อน อีกระยะหนึ่ง เพราะอาการต่างๆ จะมีการปฏิบัติ กันอย่างต่อเนื่อง

 ดูๆแล้ว ก็ไม่น่าเป็นอะไร ถ้า มีอะไรไม่ค่อยดี ค่อยพาไปพบแพทย์อย่าให้อยู่คนเดียว หรือเหงาบ่อยซีคะ จะคิดมากค่ะ 

แกงกะหรี่ หรืออาหารที่ใช้ขมิ้น เช่น อาหารปักษ์ใต้ ช่วยกำจัดโปรตีนผิดปกติ หรืออะมีลอยเบทาจึงน่าจะมีส่วนช่วยป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ 

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนที่กินอาหารใส่ผงกะหรี่มากเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์น้อยลง และคนที่กินแกงใส่ผงกะหรี่อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งสมองเสื่อมน้อยลง

อ้างจาก บันทึก ขมิ้น ผงกะหรี่ ดีกับสมอง+ต้านมะเร็ง ของ นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์

สวัสดีครับ

รู้สึกว่าจะมีขมิ้นอัดเป็นแคปซูลขายนะ ผมไม่ชอบทานของเผ็ดๆ น่าจะไปซื้อมาดีกว่า.......

สวัสดีค่ะ

คุณลุงของเพื่อนคนหนึ่ง เดินหายไปจากบ้านตอนกลางคืน หากันใหญ่ พบไปนั่งอยู่ที่ป้ายรถเมล์แห่งหนึ่งค่ะ ตอนหลัง ต้องคอยระวังช่วงกลางคืน มากกว่ากลางวัน

แต่คุณลุงยังจำอะไรได้พอควรค่ะ พอดีว่าจะไปเดินเล่น แต่มันมืดเลยงงๆอยู่ นั่งพัก พอดีที่บ้านคนมาตามเจอ

 
ไม่มีรูป
นพ

สวัสดีค่ะ   

    ขมิ้นเป็นพืชที่ชาวไทยรู้จักกันมาอย่างดีมาก นานมาแล้ว          แรกเริ่ม  เท่าที่ศึกษามา  เดิมทีเดียว   ก็เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในแถบเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และแพร่กระจายไปสู่แถบต่างๆ มีบันทึกไว้ว่า มาร์โค โปโล (Marco Polo) ได้นำไปปลูกในจีน เมื่อ พ.ศ.1280 จากนั้นจึงแพร่เข้าสู่ยุโรป และส่วนอื่นๆ ของโลกในปัจจุบันนี้ขมิ้นมีปลูกกันมากในอินเดีย (โดยเฉพาะเมืองมัดราส บอมเบย์ และเบงกอล) ลังกา ภาคใต้ของจีน ไต้หวัน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไฮติ เปรู และจาไมกาค่ะ   

       ในประเทศเรามีชื่อเรียกขมิ้นต่างๆกันในภาคต่างๆคือ        ขมิ้น (ทั่วไป)  ขมิ้นแกงขมิ้นหยอกขมิ้นหัวขมิ้นชัน (ภาคกลางภาคใต้)  ขี้มิ้นหมิ้น (ภาคใต้)  ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)  สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน    

   

   ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่ใช้กันมานานแล้วการใช้ขมิ้นส่วนใหญ่ จะใช้เป็นเครื่องแต่งกลิ่น รสและสีในอาหารหลายชนิด เช่น แกงกะหรี่  แกงปักษ์ใต้ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นยาอีกด้วย เช่น เป็นยาลดกรด ขับลมแก้ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลลง           น้ำที่ได้จากขมิ้นนำมารักษาโรคผิวหนัง หรือนำมาพอกแก้ปวดตามข้อได้  บางทีคนเอาขมิ้นมาบดให้ละเอียด นำไปทาแก้โรคผิวหนัง ทาตามซอกอับในร่างกายเพื่อบำบัดกลิ่นที่ไม่พึงปรารถนา    

     เหง้าขมิ้นพบว่ามี วิตามิน เอ วิตามิน ซีนอกจากนั้นยังมีเกลือแร่ต่างๆอีกพอสมควร   

    

  ขมิ้นมีประสิทธิภาพต่อจุลินทรีย์ได้ทั้งแบคทีเรียและรากล่าวคือ สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดโรคโบทูลิซึม (Clostridium botulism) และโรคในระบบทางเดินอาหาร (เช่น Salmonella spp.) นอกจากนี้ยังยับยั้งการเจริญของราที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (เช่น Rhizopus, Penicillium, Aspergillua) ได้อีกด้วย

          แต่ตอนนี้  มีข่าวดีที่ เกิดการค้นพบใหม่  

 อาหารที่ใส่ขมิ้นเป็นส่วนผสม   เช่นแกงกะหรี่ หรืออาหารที่ใช้ขมิ้น เช่น อาหารปักษ์ใต้ ช่วยกำจัดโปรตีนผิดปกติ หรืออะมีลอยเบทาจึงน่าจะมีส่วนช่วยป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้   การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนที่กินอาหารใส่ผงกะหรี่มากเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์น้อยลง และคนที่กินแกงใส่ผงกะหรี่อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งสมองเสื่อมน้อยลง 

 

อ้างจาก บันทึก ขมิ้น ผงกะหรี่ ดีกับสมอง+ต้านมะเร็ง ของ นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์   

 

แต่สำหรับผู้ที่ไม่ชอบ กินอาหารที่ใส่ผงขมิ้นดังกล่าว ก็มีการบรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุต่างๆที่สะอาดถูกสุขอนามัย หลายประเภทให้เลือกค่ะ  

สวัสดีครับ ขอบคุณในข้อมูล ผมเป็นชาวใต้ ที่บ้านทำอาหารเข้าขมิ้นย่อย คงลดความเสี่ยงไปมาก แต่เป็นเพียงการวิจัยใช่ไหมครับ ยังไง ก็ไม่มีเสียหายอยู่แล้วที่จะทานอาหารที่มีขมิ้นด้วย
ไม่มีรูป
วิทยา
สวัสดีค่ะ
เรื่องขมิ้นนี้ ดิฉันไปอ่านพบที่ วิชาการ.คอม   วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com)เรื่องขมิ้นกับอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
ขมิ้น สมุนไพรโบราณสู่ห้องวิจัยสมัยใหม่กับการรักษาอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s) เขียนโดยคุณ  นิภาภรณ์ สีถาการ
และผู้เขียนได้อนุญาตให้นำมาเผยแพร่แล้วค่ะ
มีข้อมูลที่น่าสนใจในบทความนี้ เชิญอ่านนะคะ
ไม่มีรูป
สุปรานี

สวัสดีค่ะ
ขอเพิ่มเรื่องข้อมูลขิ้นอีกหน่อยค่ะ
ในบัญชียาหลักสมุนไพรของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำให้กินขมิ้นชันหลังอาหารเพื่อแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขนาดที่ใช้ก็ไม่เกิน 500 มก.จำนวน 3 แคปซูล
กรณีคุณลุงของเพื่อน ออกไปเดินเล่น แล้วงงๆ  หลงทาง หาทางกลับไม่พบ
 ตามความเห็นของดิฉัน ถ้าไม่ได้เป็นบ่อยๆ และชอบเดินเพ่นพ่านเวลากลางคืนเรื่อยๆ  ก็คงเป็นเรื่อง การงงๆ มากกว่า เพราะเวลากลางคืน  ทัศนวิสัยไม่ดี คงไปนั่งตั้งหลักอยู่ก่อน ยังไม่ถึงกับหลงค่ะ
แต่ต้องสังเกตอาการไปสักพักนะคะดิฉันมีคุณป้า อายุ 80 แล้ว ก็เป็นแบบนี้บ้าง แต่ไม่ได้เป็นโรคสมองฝ่อค่ะ ตอนนี้ก็ยังปกติ แต่มีหลงลืมบ้าง ตามธรรมดาค่ะ

สวัสดีค่ะ

เป็นกรณีศึกษาที่ควรอ่าน เพื่อให้รู้ว่า โรคนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ยังใหม่สำหรับคนไทย มีแต่โรคหลงๆแบบคนแก่มากๆ แต่ไม่ถึงกับลืมหมดโดยสิ้นเชิงค่ะ

สวัสดีค่ะ

มีผลไม้อะไรที่ทานแล้ว ความจำดีไหมคะ ชอบทานผลไม้มากกว่าข้าวอีก

สุ
สวัสดีค่ะ
            โรคนี้ เราคงพบว่า จะมีคนสูงอายุเป็นกันมากขึ้น ศึกษาไว้ก็ดีค่ะ อาหารการกินก็สำคัญมาก รวมทั้งเรื่องออกกำลังกาย และการมีชีวิตที่ไม่เครียด แต่สมองได้ใช้งานอยู่ตลอดเวลาค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์

เพิ่งได้มาอ่านค่ะ อ่านดูประสบการณ์ของแต่ละท่านที่มาแลกเปลี่ยนแล้วทำให้เห็นสัจธรรมของหลายๆ อย่าง การมีสติและการเข้าใจสัจธรรมของชีวิตและธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญมากจริงๆสำหรับผู้ที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย

ขอขอบคุณที่เปิดประเด็นให้หลายๆ ท่านได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากบันทึกนี้ค่ะ

เอาใจช่วยผู้ดูแลผู้ป่วยทุกท่านนะคะ

ไม่ได้เข้า gotoknow มานาน พอเข้ามาอ่านบันทึกแรกก็ถูกใจเลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่เขียนเรื่องนี้

ที่มัทมาเรียนต่อทันตกรรมผู้สูงอายุอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะได้พบ และดูแลรักษาคุณป้าท่านหนึ่งที่เป็นโรคนี้นี่แหละค่ะ

มัทเขียนบันทึกเรื่องกลุ่มอาการสภาวะสมองเสื่อม (dementia)  ไว้ด้วยว่ามันไม่ใช่แค่หลงๆลืมๆเท่านั้น (โดยเฉพาะอาการสมองเสื่อมอันเนื่องมาจากโรคอัลไซเมอร์) แต่มัทมีปัญหาเรื่อง log in เข้า gotonow อยู่ ถ้าหายเมื่อไหร่ รับรองจะรีบ post เลยค่ะ

มัทดูแลผู้ป่วยโรคนี้อยู่เป็นประจำ เห็นด้วยกับหมอจิ้นมากๆว่าเป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่ทรมานเท่าคนดูแล

ไว้ post ได้ แล้วจะแวะมาบอกนะคะ 

 

สวัสดีค่ะ

P

 

           กลับมาจากเฮฮาศาสตร์แล้ว พกความประทับใจมาด้วยเต็มกระเป๋าเลยนะคะ  ติดตามอ่านอยู่ค่ะ

 

           เรื่องอัลไซเมอร์นี่ ตอนนี้เริ่มเป็นโรคที่กำลังเข้ามาให้พบเห็นบ่อยมากขึ้นค่ะ

 

ในกรณีพี่ปริม พี่นับถือเธอมาก เพราะทุกข์เสียจนเข้าถึงสัจธรรมของชีวิต  รู้จักทุกข์ และพยายามปล่อยทุกข์ไปเสียบ้าง และหาทางช่วยเหลือสามีทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้  ตอนนี้ ปล่อยวางได้บางส่วน มีความสงบมากขึ้นค่ะ

 

             ใครๆที่ว่าปล่อยวางได้ เอาเข้าจริง ยากค่ะ ไม่เจอกับตัว ไม่รู้หรอกค่ะ
P
มัทนา

สวัสดีค่ะ

 

           ดีใจมากที่คุณหมอเข้ามาอ่านค่ะ

 

           เคยอ่านบันทึกคุณหมอเรื่อง        รวมรายชื่อภาพยนตร์สื่อการสอนเรื่องอัลไซเมอร์      ค่ะ เรื่อง Away from Her จะใกล้เคียงกับเรื่องที่เล่ามากที่สุดค่ะ

 

            หลักธรรมะคือ ถ้าจะละทุกข์ ก็ต้องรู้จักทุกข์ และรู้จักปล่อยทุกข์เสีย ด้วยปัญญาที่เข้าถึงสัจธรรม คือความเป็นจริงของชีวิต   คิดว่า  นี่คือมรรค มีองค์แปด เป็นข้อความเห็นชอบนะคะ

 

            ด้วยความเป็นแพทย์    คุณหมอมีความรู้และประสบการณ์มากค่ะ นับถือคุณหมอมานานแล้วค่ะ

 

             พี่ปริมเล่าว่า เคยปรึกษาคุณหมอที่ดูแลอยู่ว่า จะต้องพาสามี ไปหาจิตแพทย์ไหม น่าจะช่วยให้ดีขึ้นนะคะ อยากขอความเห็นคุณหมอค่ะ

 

             ตอนนี้ มีแต่คุณหมอทางอายุรกรรมประสาท  และหมอผ่าตัดสมองค่ะ

            ยังคอย ความเห็น คุณหมออยู่ค่ะ

ไม่มีรูป
ดาว
P

 

สวัสดีค่ะ

 

            ได้อ่านจาก มีarticle ที่แนะนำอาหารช่วยความจำ หรืออาหารดีกับสมอง ที่จะหาได้ในประเทศเราดังนี้ค่ะ

 

 1.อาหารต้านอนุมูลอิสระ เช่น   - Oranges
 - Red grapes
 - Cherries
 - Red apples
Spinach
- Brussels sprouts
- Alfalfa sprouts
- Broccoli
- Beets
- Red bell peppers
- Onions
2. อาหารกลุ่มโอเมก้า 3    Sardines
- Bluefish
- Herring
- Mackerel
- Tuna
3.อาหารกลุ่มวิตามิน B

- Lean meat and poultry
- Seafood
- Eggs
- Whole grains
- Spinach and leafy greens
- Carrots
- Asparagus
- Broccoli

  ลองไปหาทานกันนะคะ

อ้างอิง  :: Food for thought: Can diet protect memory?

Smart eating choices may prevent age-related brain decline

ขอบคุณมากนะคะที่เขียนเรื่องนี้ แถมไปค้นข้อมูลมามากมาย

มัทมาเรียนด้านการดูแลรักษาผู้สูงอายุก็เพราะอัลไซเมอร์นี่แหละค่ะ

จะช่วยเขียนบันทึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยคนค่ะ

ร่างเรื่อง "อัลไซเมอร์ไม่ใช่แค่หลงๆลืมๆ" ไว้นานแล้วแต่ มีปัญหาเรื่อง log in อยู่ต่อเนื่อง

ไว้จะพยายาม post ให้ได้ค่ะ จะได้ช่วยคุณศศินันท์อีกแรง : ) 

P
มัทนา
สวัสดีค่ะ

           อ่านบันทึกของคุณหมอแล้วค่ะ เป็นบันทึกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องอัลไซเมอร์เท่าที่อ่านมา มีข้อมูลวิชาการครบถ้วนมากๆ ค่ะ

          

          ซึ่งบันทึกของดิฉันเป็นแค่ประสบการณ์ที่ได้พบ และได้พูดคุย   พบเห็น คนป่วย จริงๆ แต่บางทีไม่ทราบเหตุผล ว่า ทำไมถึงเป็นแบบนี้ แบบนั้นค่ะ   อ่านบันทึกคุณหมอแล้ว เข้าใจมากขึ้นมากค่ะ            สามีพี่ปริม เป็นโรคพาร์กินสันด้วย   หมอให้ยาทานอยู่ด้วยค่ะ  อยากจะให้บันทึกคุณหมอ เผยแพร่ออกไปให้กว้างขวาง  เป็นความรู้ทั้งแก่คนทั่วไป    ผู้สูงอายุทั่วไป  คนที่มีคนป่วยอยู่ในความดูแล เป็นต้นค่ะ            ในประเทศเรา ยังไม่มีสมาคมสำหรับผู้ป่วยโรคนี้โดยเฉพาะ  ที่จะให้ ผู้ป่วยโรคนี้ มีการรวมตัว ช่วยเหลือกัน และทำกิจกรรมร่วมกัน   เป็นที่ๆผู้ป่วยอาจมาอยู่ด้วยกัน   มีสังคมร่วมกันบ้าง  ผู้ป่วยน่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนะคะ  เพราะยิ่งไปแยกตัวอยู่เฉพาะในแต่ละครอบครัว  อาจจะทำให้ยิ่งเหงาไปอีก  ไม่มีความรู้เหมือนกันค่ะ ว่าจะดีไหม  คุณหมอมัทนาจะแนะนำได้แน่นอนค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะเข้ามาชื่นชม
  • เจอกับขุมทรัพย์ของความรู้และความดีที่ยิ่งใหญ่ไปไหนไม่ได้เลยค่ะ  ขออยู่นาน ๆ หน่อยนะคะ  ถ้าทุกคนได้อ่านคงจะเป็นประโยชน์และเป็นกุศลมาก

เคยมีคนบอกว่าถ้าว่างจิตฟุ้งซ่านมากไปก็อาจเป็นคนขี้ลืมได้   จริงหรือเปล่าคะ   เพราะช่วงนี้ขี้ลืมบ่อยมากค่ะ   ทั้ง ๆ  ที่  กลางวันทำงาน  กลางคืนนำงานกลับมาทำ  นอนประมาณเที่ยงคืน  เสาร์อาทิตย์ไปเรียนเย็นทำงานที่เรียน  ขำตัวเองค่ะบางเรื่องลืมสนิทนึกยังงัยก็นึกไม่ออกค่ะ    

  • ขอบพระคุณมากนะคะ   ที่นำสิ่งดีดีมาฝากทุกคน

อาหารต้านอนุมูลอิสระ

อาหารกลุ่มโอเมก้า 3    

อาหารกลุ่มวิตามิน B

 มีarticle ที่แนะนำอาหารช่วยความจำ หรืออาหารดีกับสมอง

Smart eating choices may prevent age-related brain decline

P

สวัสดีค่ะ
          ยินดี  ดีใจที่แวะเข้ามาอ่านและชมว่าได้ประโยชน์ค่ะ         ในเรื่องของการลืมที่เล่านั้น  คงเป็นแค่ แต่ละวันมีกิจกรรมมากเหลือเกิน  อาจไม่มีเวลาพอที่จะมาทบทวนจดจำรายละเอียดแต่ละเรื่องได้   ซึ่งไม่เกี่ยวกับโรคอะไรหรอกค่ะ  ใครๆก็ลืมได้ ยิ่งถ้า มีงานต้องทำหลายอย่างในเวลาจำกัด ยิ่งมีโอกาสลืมได้ค่ะ         ในทางพระ ท่านให้ มีการฝึกสติค่ะ    สติ ความระลึกได้  นึกได้  ความไม่เผลอ การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง   จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้          และทุกคนก็ต้องฝึกกันทั้งนั้นค่ะ  ดิฉันก็ฝึกอยู่ค่ะ มีเผลอสติบ่อยๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

เห็นภาพที่แสดงว่า คนที่ชอบวิตกกังวลและเครียด จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากขึ้นหรือคะ น่ากลัวจัง

สวัสดีค่ะ

ไม่มีรูป
สิริ

            ยินดีที่คุณสิริมาเยี่ยมค่ะ

ความเครียดมักจะเป็นสาเหตุหนึ่งของหลายๆโรคนะคะ  ไม่ว่าโรคอะไร

ใจสามารถเกิดโรคได้มากกว่ากาย แต่ถ้าจิตใจเรา ได้รับการฝึกฝนมาดี เช่นมีการฝึกสติ และทำสมาธิได้ เนืองๆ จิตใจจะตั้งมั่นและแข็งแกร่งได้ ร่างกายก็จะแข็งแรงตามไปด้วย เกิดความสมดุลของร่างกายและจิตใจค่ะ

อย่าไปกลัวอะไรค่ะ เราฝึกสติ ฝึกจิตของเราให้ดี เราจะไม่เป็นโรคภัยง่ายๆหรอกค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ผมเข้าใจว่าช่วงนี้งานคงยุ่งใช่ไหมครับ
  • ก็เลยแวะมาทักทายและเป็นกำลังใจ...
  • ....
  • มีความสุขมาก ๆ นะครับ -

สวัสดีค่ะ

  ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

ตอนนี้ ยุ่งๆนิดหน่อยค่ะ แต่ก็มีการเข้ามาอ่านและตอบบันทึกตลอดค่ะ

สวัสดีครับ

            ผมมีคุณตาเป็นโรคนี้ ครั้งหนึ่งผมไปต่างจังหวัด   ได้นำท่านไปฝากที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแถวๆลาดพร้าว ก็ใช้ได้ครับ ไปอยู่ชั่วคราว 3-5วัน เพราะไม่ไว้ใจแม่บ้าน เขาดูแลคนสูงอายุไม่เป็น ก็ใช้ได้ครับ

แปลกนะค่ะ คนที่เป็นอัลไซเมอร์จะจำอะไรไม่ค่อยได้ ถามว่ารู้จักคนนี้ไหม ก็บอกว่าจำไม่ได้  เพราะว่าคุณตาดิฉันจำใครไม่ได้เลย แม้กระทั้งลูกๆ แต่จำบทสวดมนต์ได้  ตอนเนหนุ่มก่อนนอนชอบสวดมนต์ และชอบไปทำบุญ เลยจำบทสวดได้ หรืออาจเป็นสิ่งที่ชอบและรักจึงจำได้ฝั่งใจอย่างเดียว ก็แปลกดีนะค่ะ

สวัสดีค่ะ

   แสดงว่าคุณสิชลดูแลคุณตาอยู่นะคะ ดีมากเลยค่ะ เป็นตัวอย่างของหลานกตัญญูค่ะ

     ดิฉันเห็นคนที่ดูแลญาติสูงอายุที่เป็นโรคสมองฝ่อ จะพาญาติไปฝากที่ศูนย์ดูแลผูสูงอายุ ที่ได้มาตรฐานชั่วคราวค่ะ กรณ๊ที่ มีธุระจำเป็น  ดีกว่าปล่อยไว้กับคนที่ไว้ใจไม่ได้เท่าไร

    แต่ปกติคงอยู่กับคุณหลานนะคะ

ไม่มีรูป
อำนวย
สวัสดีค่ะ
            ผู้สูงอายุที่เป็นโรคหลงลืมนี้ จะจำสิ่งหรือเหตุการณ์ที่ฝังใจได้ค่ะ
            ตัวอย่าง
                        1.สามีพี่ปริม ร้องเพลงบัวขาวได้จบ เพราะชอบร้องเพลงมาก
                          2.คุณแม่เพื่อน ชอบดูเด็กๆเล็กๆเล่นในทีวี หรือในหนัง หรือเห็นที่ไหนก็ตาม แต่จำอะไรอื่นๆไม่ค่อยได้ เพราะเคยเป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก 3 คน มาก่อน ไม่ได้ไปทำงานและรักเด็กมาก
                          3.กรณีคุณอำนวย ที่บอกว่า คุณตาสวดมนต์ได้  แต่จำใครไม่ได้ ก็คงแบบเดียวกัน คือมีความจำฝังใจและไม่ลืม จะทำให้ทบทวนความจำได้ค่ะ แม้จะจำเหตุการณืปัจจุบันไม่ได้ก็ตาม
                           4.บางคน ชอบเล่นตุ๊กตา เพราะฝังใจมาตั้งแต่เด็กๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาเยี่ยมเยียนกันค่ะ
  • ชอบแวะมาเพราะ พี่ปริม มักจะสอดแทรกสาระดีๆ เพิ่มเติมเสมอ และรูปภาพประกอบสวย ๆ
  • ขอบคุณนะค่ะสำหรับสาระดีๆ
ผมอ่านดูแล้ว ผมลองเอาวิธีที่แนะนำไปใช้ดู ซึ่งลุงของผมก็เป็นเหมือนกันจำอะไรไม่ได้ จำได้เป็นบางอย่างแล้วก็ลืม  แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่แนะนำเอาไปใช้คือ เสียงดนตรี  พอเปิดเพลงที่ชอบ   คุณลุงก็ร้องตามและจำได้ด้วยว่าเพลงอะไร ไม่น่าเชื่อแต่กับบุคคลจำไม่ได้  คงจิตใต้สำนึกฝั่งใจอะไรบ้างอย่าง อาจเป็นไปได้สมัยคุณลุงหนุ่มๆ ชอบร้องเพลงมาก ก็เลยจำได้อย่างเดียวเหมือนกัน
P
สวัสดีค่ะ
   ขอบคุณที่มาเยี่ยมให้กำลังใจเสมอมาค่ะ ช่วงนี้ ยุ่งๆหน่อยค่ะ อีกพักก็คงจะเบาแล้วค่ะ
    ยังมีผู้สนใจเข้าทาอ่าน และให้ความเห็นเพิ่มเติมเรื่อยๆ ก็เข้ามาตอบค่ะ
    ถ้าอ่านที่ไหนพบ เป็นความรู้ที่ควรเอามาเพิ่มเติม เผื่อจะเป็นประโยชน์ ก็เพิ่มข้อมูลอีกค่ะ และบางคนก็นำประสบการณ์มาเล่าด้วย น่าจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นนะคะ
   ขอบคุณอีกทีค่ะ ที่สนใจบันทึกนี้
ไม่มีรูป
พิเชษฏ์
สวัสดีค่ะ
          
ขอบคุณที่สนใจเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มค่ะ
คุณลุงจำเพลงที่ชอบและร้องตามได้ ก็คงเหมือนสามีพี่ปริมค่ะ
แต่จำคนอื่น แม้แต่ลูกไม่ได้
ก็ยังดีนะคะ ให้คุณลุงมีอารมณ์แจ่มใสไว้ บางที ความจำอย่างอื่น อาจพอฟื้นขึ้นมาได้บ้าง อย่างน้อย ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มากนัก อย่าให้มีอารมณ์หงุดหงิดดีที่สุดค่ะ

สวัสดีครับ

  • แวะมาเยี่ยมครับ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลง รักษาสุขภาพด้วยนะครับ
  • ผมเองก็เพิ่งจะมีอาการดีขึ้น เพราะเป็นหวัด

%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%87%e0%b9%83%e0%b8%88%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b9%84%e0%b8%8b%e0%b9%80%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 "อยากให้คนไทยเข้าใจและช่วยเหลือผู้ป่วยอัลไซเมอร์"

P

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย และขอบคุณเรื่องหนังสือธรรมะด้วย อ่านหมดแล้วค่ะ ซาบซึ้งในธรรมะมากยิ่งขึ้นค่ะ

ตอนนี้ยุ่งๆนิดหน่อย แต่ก็เข้ามาตอบและตามอ่านของสมาชิกท่านอื่นๆด้วยค่ะ สุขภาพยังดีค่ะ

เวลาที่เราสามารถหลบความรู้สึกที่สับสนวุ่นวายภายนอกเข้าสู่ภายในได้ เป็นช่วงเวลาที่เราได้พักอย่างแท้จริง แม้มิได้หลับตา ก็ไม่เครียดนะคะ

สวัสดีครับ

เข้ามาเพื่อบอกว่า บันทึกนี้ อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากครับ มีกรณีศึกษาจากเรื่องจริงๆด้วย

ไม่มีรูป
วิน
สวัสดีค่ะ

ยินดีมากที่ทราบว่า บันทึกนี้มีประโยชน์ค่ะ  ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ

 ผ่านมาอ่าน

เคยมีเพื่อนที่มีคุณแม่เป็นโรคนี้ ปกติเขาเป็นคนสบายๆ ใจเย็น แต่พอมาเจอเหตุการณ์ที่ต้องดูแลคนเจ็บป่วยนานๆ ทำเอาเครียด ต้องไปศึกษาธรรมะช่วย ซึ่งก็ดี ทำให้มีความอดทน มีเมตตาและมีความเข้าใจชีวิตดีขึ้น ตอนนี้ รับได้และไม่เครียดแล้วครับ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้ ผมจะไปบอกเขาให้อ่านด้วย

ไม่มีรูป
ชาย
P
sasinanda
สวัสดีค่ะ
            ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและ shareประสบการณ์ด้วยค่ะ การศึกษาและปฏิบัติธรรมะควบคู่กับการรักษาผู้ป่วยมีความจำเป็น และได้ผลดีมากค่ะ
สวัสดีค่ะ    อ่านดูเนื้อหาแล้วค่ะ  ถ้าเราทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายทุกวัน เมื่ออายุมากแล้วจะมีสิทธิเป็นซัลไซเมอร์
ไม่มีรูปสำเนียง
 สวัสดีค่ะ       
   สงสัยจะพิมพ์ไม่ครบค่ะ  คุณสำเนียง คงกังวลว่าจะเป็นอัลไซเมอร์ ไหม ตอนอายุมาก           คงไม่มีใครบอกได้มั๊งคะ เพราะเท่าที่รู้จัก บางคนก็ไม่มีพันธุกรรมเลย  บางคนก็ร่างกายแข็งแรงดีด้วยค่ะ        
 อย่าไปกังวลเลยค่ะ รักษาสุขภาพให้ดีๆไว้ก่อนดีกว่าค่ะ

อ้างถึงบันทึกของนพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

ท่านอาจารย์คาเรน ริชชี แห่งสถาบันวิจัยการแพทย์แห่งชาติฝรั่งเศสได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ชายและผู้หญิงมากกว่า 7,000 คน ซึ่งอยู่ในเมืองใหญ่ 3 เมือง

ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงสูงอายุที่ดื่มกาแฟตั้งแต่ 3 ถ้วยขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อภาวะความจำเสื่อมจากอายุที่มากขึ้นน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้หญิงสูงอายุที่ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 1 ถ้วยดังต่อไปนี้...

  •  ความจำเกี่ยวกับคำพูด (verbal memory) เสื่อมน้อยลง 33%
  • ความจำเกี่ยวกับภาพ (visual & spatial memory) เสื่อมน้อยลง 18%
  • ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี และดื่มกาแฟกันแบบพอดี (แต่ละคนคงจะมีความพอดีไม่เท่ากัน)

สวัสดีค่ะ

 เข้ามาอ่าน  เรื่องน่าสนใจ   รูปประกอบสวยมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

            ขอบคุณค่ะ ที่มาเยี่ยม ดีใจที่อ่านแล้ว ได้ประโยชน์ค่ะ

สวัสดีค่ะ..

  • แหววเข้ามารอบที่ 2 ค่ะ...ช่วงแรกเข้ามาแล้วบันทึกไม่ได้ ย้อนกลับมาคราวนี้ ..มีสิ่งดีๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เป็นประโยชน์กับโลกปัจจุบันมากค่ะ.
  • รอบนี้มีดอกไม้มาฝาก สีเหลือง ตัดสีเขียว สดชื่นนาม "พุทธรักษา" (เก็บมาจากที่บ้านค่ะ) สำหรับผู้มีพุทธในใจ ...

สวัสดีค่ะ

P
P

 ดีใจที่เข้ามาอ่านค่ะ

เราไม่ทราบว่า คนใกล้ชิดเรา จะเป็นโรคนี้หรือไม่ เราศึกษาไว้หน่อยก็ดีค่ะ

 พอได้ข้อมูลใหม่ๆมา ก็จะเข้ามาเติมไว้ค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆด้วยค่ะ

สวัสดี

แวะไปหาตั้งหลายครั้ง ไม่ได้มาหาเลย

คราวนี้ตั้งใจมาอ่านโดยเฉพาะ ได้รับความรุ้ขึ้นมาก

กรรมเป็นสิ่งที่คนเราเลี่ยงไม่ได้เลย หากเคยทำกรรมใดไว้ กรรมย่อมจะติดตามมาเสมอ

กรรมที่ทำไว้มาก เมื่อมาถึง ย่อมไม่สามารถจะปัดเป่าให้เบาบางลงได้

อดีตชาติ เคยดูถูก ดูหมิ่น ผู้มีปัญญาน้อยกว่าตน

หรือ เคยเห็น คนเป็นโรคนี้ แล้วล้อเลียนอยู่บ่อย ๆ

หรือ มีความรังเกียจ คนที่เป็นโรคนี้เอามาก ๆ

หรือ เคยดูถูก พระสงฆ์ ที่ท่านไม่ฉลาด ว่า ท่านไม่รู้จักหาความรู้ หาปัญญาไม่ได้

ด้วยเหตุฉะนี้ เมื่อเกิดมาในชาตินี้ จึงได้รับกรรมเช่นนี้

นี่เป็นเรื่องของกรรม ซึ่งใคร ๆ ก็ไม่สามารถช่วยได้

ขอแสดงความเห็นใจ ต่อผู้ที่เป็นอย่างนี้ และ หมั่นทำบุญ ให้แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย เพื่อผลในภายหน้า

ให้มีความสุข อย่ามีโรคอื่นอันใดอีกเลย

ให้มีความสบายใจ สุขภาพแข็งแรง

รวมทั้ง เจ้าของบล๊อก ด้วย มีแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิตเสมอ

สุข สงบ เย็น

เดียวดายกลางสายฝน

P

สวัสดีค่ะ 
ดีใจและยินดีที่ได้ต้อนรับค่ะ และดีใจที่บอกว่า ได้ความรู้ด้วย
ก็เป็นประสบการณ์จริงๆ
  

และเข้าใจเห็นใจท่านเหล่านั้นมากๆค่ะ เลยอยากจะ นำมาเป็นความรู้ว่า ถ้าคนที่เรารู้จัก หรือคนในครอบครัวเป็น เราจะเตรียมตัวอย่างไร เพื่อให้ทั้งผู้ป่วยและผู้พยาบาล ยังมีกำลังใจ มีความสุขในการดำรงชีวิต

 และผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามควรด้วยค่ะ 

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมและมาอ่านเก็ยเกี่ยวความรู้เรื่องอัลไซเมอร์ค่ะ ....

งานยุ่งๆ ดูแลสุขภาพด้วยนะค่ะ

พรุ้งนี้แป๋ว พี่ติ๋ว และคุณแผ่นดิน จะเดินทางไปร่วมงานสัมมนา KM ที่เชียงใหม่ด้วยกันค่ะ แล้วจะมาเล่าเรื่องงานสัมมนาให้พี่ฟังนะค่ะ ...เสียดายที่พี่ศศินันท์ไปร่วมงานไม่ได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  
P
 
P
สวัสดีค่ะ
         ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ  และบอกว่า 

พรุ้งนี้  12-08-2550  แป๋ว พี่ติ๋ว และคุณแผ่นดิน จะเดินทางไปร่วมงานสัมมนา KM ที่เชียงใหม่ด้วยกันค่ะ

 

เสียดายไม่ได้ไปด้วย ขอติดตามที่บันทึกอาจารย์นะคะ

 

โรคอัลไซเมอร์ ปัจจุบันนี้ แม้รักษายังไม่ได้ แต่ชะลอได้ค่ะ

 การลับสมองให้ดีไว้    การบำรุงสติปัญญาให้มีความพร้อมอยู่เสมอ ก็สามารถช่วยเราได้ทางหนึ่งค่ะ

เรื่องการเขียนบล็อกที่ดี

พี่ก็พยายามทำตามค่ะ แต่บางที ติดที่เวลาค่ะ ขอบคุณอาจารย์และกัลยาณมิตรท่านอื่นๆที่กรุณาแนะนำด้วยค่ะ

http://gotoknow.org/blog/yutkpp/118665

สวัสดีครับ

วันนี้ วันแม่แห่งชาติ .. ว่าจะ เดินทางเข้าวัดในจังหวัดนครสวรรค์ครับ.. และทำจิตใจ ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ..

นึกถึงผู้มีพระคุณ

กระผมแวะมาเยี่ยมในวันแม่ครับ ^^, ขอบพระคุณ

ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันเเม่

P
สวัสดีค่ะ
           
ขอบคุณมากๆค่ะที่นึกถึง ใจตรงกัน คิดในวันนี้เองว่า คุณนิรันดร์เงียบไป คงมีธุระยุ่งอีกตามเคย
ขับรถระวังหน่อยนะคะ และอากาศหมู่นี้ ไม่ค่อยดี ชื้นแฉะมาก ระวังเป็นหวัดค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะตามมาขอบคุณค่ะ
  • ขณะนี้อยู่ กทม.พาแม่มาเที่ยว กทม.ค่ะ
P
สวัสดีค่ะ        คิดถึงคุณSirintip และเป็นห่วง เวลามีข่าวอะไรไม่ค่อยดี ก็ยิ่งห่วงค่ะระวังตัวด้วยนะคะ แต่คนที่คิดดี พูดดี ทำดี เป็นปกติ จะต้องปลอดภัย และอยู่เป็นสุขค่ะ เรามาอธิษฐาน    ขอให้ทุกอย่างเข้าภาะสงบสุขเหมือนเดิมนะคะ

    ดีแล้วค่ะ วันแม่ พาคุณแม่มาเที่ยวบ้าง ท่านจะได้มีความสุข

ได้อยู่ใกล้ลูกสาวและเที่ยวด้วยกัน เป็นความประทับใจของท่านค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วเข้าใจความรู้สึกของผู้ประสบปัญหา ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

P

สวัสดีค่ะ

ได้เข้าไปอ่านที่บันทึกแล้ว เห็นว่ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จึงจะขอลิงค์ไป เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นนะคะ ขอบคุณค่ะ

 10 พฤติกรรมที่ทำให้สมองฝ่อเร็ว

1. ไม่ทานอาหารเช้า  

2. กินอาหารมากเกินไป 

3. การสูบบุหรี่   เป็นต้นค่ะ

ณ บัดนี้ เป็นที่น่ายินดีมากที่อาการของสามีพี่ปริม ดีขึ้นมาก

  กล่าวคือ: 1. ไม่หลับ ไม่ซึมทั้งวันแล้ว  ทานข้าวได้เอง  มีชีวิต ชีวาขึ้น

2.เดินมั่นคงขึ้น ไม่หกล้มบ่อยๆ  

 3.ก่อนนี้ร้องเพลงบัวขาวได้จบเพลง    ตอนนี้ เปิดปฏิทินอ่านได้ครบ 12 เดือน และเซ็นชื่อตัวเองได้ 

4.เรียกภรรยาได้ด้วย    ชื่อเฉพาะที่ตั้งขึ้นเอง     ไม่ใช่ชื่อ ปริม เป็นสิ่งที่อยู่ใต้จิตสำนึก  แต่ก็ไม่ทราบว่า คนที่กำลังเรียกชื่อ และพูดด้วยนี้ เป็นภรรยา นึกว่าพูดกับใครสักคนหนึ่ง 

5.เข้าห้องน้ำเองได้ 

6.เดินออกมาทักทายหลานๆได้  แต่จำไม่ได้ว่าลูกใคร และถ้าถามว่าทานข้าวหรือยัง ก็บอกว่า ยัง ทั้งๆที่ทานแล้ว 

 ตอนนี้แพทย์ให้ไปพบ 2 เดือน/ครั้ง  กรณีนี้ ดิฉันว่า เป็นเพราะยาที่แพทย์ใช้รักษา   ถูกโรคนะคะ และครอบครัวดูแลดีด้วย

ดิฉันแสดงความยินดีไปกับพี่ปริม ที่ช่วงนี้    พอจะมีเวลาเป็นของตัวเองบ้างแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท