เรียนเคมีในห้องครัว


การปรุงอาหาร เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเกิดปฎิกิริยาเคมีในอาหารเป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าเรามีความรู้พื้นฐานง่ายๆเบื้องต้นแล้ว การทำกับข้าว ดูจะง่ายขึ้น

วันนี้ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับกัลยาณมิตรท่านหนึ่ง ที่โกทูโนนี้  ในเรื่องต่างๆไปเรื่อยๆ เป็นปกติ   ที่นานๆที ก็จะมีคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้มีมุมมองที่กว้างขึ้น พร้อมทั้ง ได้รับคำแนะนำ ที่มีประโยชน์เพิ่มเติมมาเสมอ

วันนี้คุยกันเรื่องของ อาหาร  เลยทำให้นึกถึงประสบการณ์ การทำอุตสาหกรรมอาหารที่ทำมาหลายปีอยู่  และก็ได้ประสบการณ์มากมาย จากการทำงานช่วงนั้น
แต่ไหนแต่ไร จนกระทั่ง บัดนี้  ดิฉันเองทำกับข้าวไม่เก่ง แต่อยากทำ  พยายามทำตามสูตรในตำรา ดีบ้างไม่ดีบ้าง ไม่มีความสม่ำเสมอ แต่หลังจากการทำงานที่เกี่ยวกับอาหารนี้  ดิฉันเข้าใจเลยว่า  คนที่มีพื้นความรู้ด้านเคมี   มักจะทำกับข้าวได้ดีกว่า  จะมีตัวช่วยเพิ่มอีกหน่อย  เพราะการปรุงอาหาร   เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเกิดปฎิกิริยาเคมีในอาหารเป็นอย่างมาก  ซึ่งถ้าเรามีความรู้พื้นฐานง่ายๆเบื้องต้นแล้ว การทำกับข้าว ดูจะง่ายขึ้นเยอะเลย  เนื่องจาก Chemistry คือการศึกษาปฎิกิริยาที่เกิดขึ้น  จากสิ่งของที่มาอยู่รวมกันหรือผสมเข้าด้วยกัน ในสภาพลักษณะต่างๆกันนั้นเอง  

เคมี มีความสัมพันธ์กับอาหาร เพราะ ในอาหารของเรา มีส่วนประกอบของ chemical compounds อยู่มาก   ทุกอย่างที่เรากิน ประกอบขึ้นด้วย  Oxygen, Nirtogen, Hydrogen, และ  Carbon  และก็ยังมีปฎิกิริยา ต่อเนื่องไปถึงระบบการย่อยและ metabolism ภายในร่างกายเราด้วย    ซึ่งความรู้พื้นฐานบางอย่างของดิฉัน   ก็ได้รับการถ่ายทอดมาจาก  บรรดานักวิทยาศาสตร์อาหาร  ประจำที่ทำงานเดิมของดิฉันอีกที  แต่จะอร่อยหรือไม่ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง เพราะก็จะเกี่ยวกับ รสมือ  เคล็ดลับเฉพาะและความชำนาญด้วย



ในบันทึกนี้ จึงจะแค่ขอแชร์ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารและถนอมอาหารบางประการดัง นี้ค่ะ...
ตัวอย่าง เรื่องเล็กๆน้อยๆ ที่เกี่ยวกับ การทำกับข้าว และนำความรู้พื้นฐานทางเคมี มาช่วย  
อย่างเช่น....

1. ถ้าเราจะผัดแอสปารากัส  ต้อง ผัดเร็วๆ  ถ้าใช้เวลามากไป  แอสปารากัสจะเหี่ยวหมดและยังจะเปลี่ยนจากสีเขียว เป็นสีน้ำตาลเทาๆด้วย  โดยที่การเปลี่ยนแปลงสีของอาหารและการสูญเสียวิตามินซี  จะเนื่องจากการเกิดปฎิกิริยาอ็อกซิเดชั่น   ( แต่ถ้าเราจะถนอมผักแอสปาการัสในขวดแก้ว   เราต้องใส่ กรดแอสคอร์บิกแอสิด ลงไป สีจะเขียวเหมือนเดิม)


2.ถ้าจะผัดกะหล่ำปลีสีม่วง
 
เมื่อเทลงไปในกะทะ เม็ดสีแดงของกะหล่ำ โดนความร้อนเข้า เปลี่ยนสภาพจากกรดเป็นด่าง  จะเปลี่ยนสีไปด้วย ต้องเหยาะน้ำส้มสายชูไปนิดหนึ่ง  สีกะหล่ำจึงจะเปลี่ยนมาเป็นสีม่วงแดงอีกที
การประกอบอาหารที่เป็นผัก  ต้องใช้เวลาเร็วๆ ถ้าใช้เวลานาน ผักจะเหี่ยว แล้วจะกลายสภาพเป็นกรด และสีสันของอาหารก็ไม่น่ากิน



3. ถ้าช่วงใด ที่แม่บ้านหยุด  และ ดิฉัน อยากจะเก็บไก่ชุบแป้งทอดไว้หลายๆวัน   โดยไม่่ให้มีกลิ่นหืน  ดิฉันมักเก็บไว้ในกล่องสุญญากาศ และเก็บไว้ในช่องแข็ง เพราะเมื่อไก่ผ่านการทอด ที่มีอุณหภูมิสูง จะมีปฎิกิริยาอ็อกซิเดชั่นเกิดขึ้น และจะดำเนินไปเรื่อยๆ แม้อยู่ในช่องเย็นธรรมดาก็ตาม  ถ้าทอดไก่หมู ที่ความร้อนสูง ในน้ำมันซ้ำๆกันหลายครั้ง จะอันตราย เพราะจะเกิด สารโพลิเมอร์ และทำให้น้ำมัน มีสีเข้มขึ้น แล้วทั้งไก่และหมูก็จะอมน้ำมันมากขึ้น คุณภาพและรสชาติจะเปลี่ยนแปลงไป เสียคุณค่าทางโภชนาการ

4. ปลาถ้าไม่สด ไม่ควรซื้อมาทำกับข้าว เพราะจะไม่อร่อย เนื่องจากปลามีฮีโมโปรตีนสูง และจะไปเร่งปฎิกิริยาอ็อกซิเดชั่นของไขมัน ทำให้เกิดกลิ่นหืน โปรตีนในเนื้อปลา ไม่ค่อยเสถียร ไม่เหมือนโปรตีนในเนื้อสัตว์ เกิดการเสียสภาพธรรมชาติได้โดยง่าย

เรื่องของการกินปลาสดหรือกุ้งสด ส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบเลย เพราะ อาหารพวกนี้ จะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ที่ทำลายวิตามิน บี 1 จึงควรทำให้สุกก่อน
5. เมื่อจะลวกแครอท แต่ยังให้มีสีส้มสวยอยู่ ให้ลวกด้วยความร้อนไม่เกิน 100 องศา เป็นเวลานาน 5 นาที ถ้านานกว่านี้ จะเป็นสีออกน้ำตาล
6.ผักทั้งหลาย เช่นกะหล่ำปลี ถั่วต่างๆ  จะมีสาร antioxidant สูง แต่จะสูญเสียไป เมื่อโดนความร้อนสูง ดังนั้น แม้จะชอบต้มจับฉ่ายอย่างไร ก็พยายาม กิน ไม่ให้บ่อยนัก   เพราะเกรงว่า จะได้แต่ไฟเบอร์อย่างเดียว   จะมีแต่กระเทียมและผักพวกหัว เท่านั้น ที่ยังคงไว้ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระนี้ได้   หลังจากผ่านความร้อนสูงๆ
7.ถั่วลิสง เป็น เครื่องปรุงอาหารอย่างหนึ่ง แต่จะไม่ซื้อมาเก็บไว้นานๆ เพราะไขมันจะทำปฎิกิริยากับอ็อกซิเจนในอากาศ  ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ เกิดสารชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ถั่วลิสง มีกลิ่นหืน

8.
โดยปกติ ดิฉันไม่ชอบตุนอาหาร โดยเฉพาะอาหารสุก แม้จะเก็บไว้ในตู้เย็น เพราะอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอยู่ตลอดเวลา บางครั้งมีจุลินทรีย์ที่สร้างสารพิษเกิดขึ้น เช่น รา และแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งจะเกิดสารพิษขึ้น ก่อให้เกิดโรค แม้จะนำอาหารเหล่านี้ ไปทำให้ร้อน  เซลล์ถูกทำลายไปก็จริง แต่สารพิษไม่ถูกทำลาย โดยเฉพาะเห็ดต่างๆ ค่อนข้างอันตราย เพราะเห็ดมีสปอร์หุ้ม ทนความร้อนสูงมากๆได้  สารพิษไม่หมดไปง่ายๆ
แต่ก็มีแบคทีเรีย บางประเภทที่มีประโยชน์เช่นกัน อาทิ แบคทีเรีย ที่สร้างกรดแลกติก (Lactic acid bacteria) ใช้สำหรับการดอง แตงกวา กะหล่ำปลี มะกอก ผักกาดขาว หมักเนื้อสัตวและนม เป็นต้น ส่วนน้ำส้มสายชู ได้มาจากกรดอะซีติก( Acietic acid bacteria)
 

9. พยายามจะไม่ใช้  pressure-cooking  หรือ พวกหม้อตุ๋น slow cooker บ่อยๆ เพราะจะ ไม่ค่อยจะมีคุณค่าหรือประโยชน์อื่นใดจากอาหาร เหลือถึงเราแล้ว นอกจากความอร่อย และเคี้ยวง่ายๆ ยกเว้น พวกน้ำซุป ที่เรากินแต่น้ำ  แต่ผักที่ต้ม จะกลายเป็นกากไป
  
แม้ว่า วัตถุดิบในการมาประกอบอาหาร จะใหม่สด  วิธีการปรุงจะถูกต้องตามสูตร และสะอาดอย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถึงเวลาอาหารจริงๆ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี เกิดขึ้นแล้ว ทุกวินาที  ทันทีที่อาหารนั้น สัมผัสกับอากาศ น้ำ เครื่องปรุง และจุลินทรีย์ต่างๆที่มีอยู่ทั่วไป ความสด ใหม่ จะน้อยลงไปเรื่อยๆ

   
10. ในเรื่องของ วิตามิน มี 2 ประเภท คือ 1. ที่ละลายในไขมัน โดยมากมีในเนื้อที่มีไขมันของสัตว์ ทนความร้อนได้ดีกว่า ประเภท2.  ที่ละลายในน้ำ วิตามินบางชนิด  เช่น วิตามิน บี 1 บี 2 บี6 และวิตามินซี  วิตามินประเภทหลังนี้ จะสูญเสียวิตามินได้ง่าย จากขั้นตอนการล้าง การลวก ดังนั้น วิตามินพวกนี้ เราจึงควรกินทุกวัน จึงสรุปว่า พวกผักต้มเละๆ ทั้งหลาย ไม่มีวิตามินอะไรเหลืออยู่แล้วแน่นอน



ปัจจุบัน มีการตื่นตัวกันเรื่อง อาหารธรรมชาติมาก เพราะคำว่า ธรรมชาติ ทำให้คิดถึง ความสด ปลอดภัย และการผ่านกระบวนการต่างๆมาน้อยที่สุด     แต่ ทางอุตสาหกรรมอาหาร อาจต้องมาตีความกันอย่างละเอียดอีกที   ว่า คำว่า ...ธรรมชาติ นั้น กินความหมายแค่ไหน
ในงาน IFT Annual Meeting and Food Expo 2008
งาน แสดงผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านการอาหารที่ถือว่าใหญ่ที่สุด ของโลก ซึ่งจัดโดย Institute of Food Technologists เป็นประจำทุกปี โดยในปีที่แล้ว  จัดขึ้นที่รัฐนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน จนถึงวันที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ.2551 ภายใต้แนวคิดว่า "The Best of Food Thinking 2008"            the U.S. Food and Drug Administration (FDA) discourages the food industry from using "natural"
ทางองค์การ อาหารและยา สหรัฐอเมริกา ไม่อยากที่จะให้ใช้คำว่า natural ใส่ลงไปในฉลาก เพราะเหตุผลดังนี้....

For a product to be called natural, it must be free of artificial or synthetic ingredients or additives, including color, flavor or any ingredient "not normally expected." Hence, lemonade flavored with beet juice cannot be called natural. In addition, any food enhanced with caramel, paprika or color (consider bright orange cheese) cannot be called natural.
คือ ทาง อย.อเมริกา ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ที่แจ้งว่า  เป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ  ต้องแสดงไว้ที่ฉลากด้วยว่า เป็นธรรมชาติ เพราะเหตุผลใด

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่ อาหารดิบที่เราซื้อมา หรือ อาหารที่อยู่ในขั้นตอนการ ปรุง ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน และต้องมีการใส่ เคมีอาหารบางชนิด ในปริมาณที่เหมาะสม ตามที่ อย.กำหนดอยู่แล้ว  ดังนั้น ทาง องค์การอาหารและยาของอเมริกา (FDA )  จะอนุญาตให้ใช้ คำว่า อาหารธรรมชาติ  ที่ฉลากได้  จะเป็นเฉพาะ กรณีๆไปเท่านั้น ( continue to judge products "on a case-by-case basis,")

แต่ในรูปข้างล่างนี้ เรียกว่า อาหารธรรมชาติได้ เต็มปาก เพราะผักสลัดและกล้วยน้ำว้าที่เห็น   ไม่มีสารเคมีอื่นใดแม้แต่ปุ๋ย  มาใส่เลยแม้แต่อย่างเดียว  ปลูกในที่ๆมีดินอุดม ที่บนภูเขาสูงแห่งหนึ่ง  แต่เจริญงอกงามดีมาก กินได้สนิทใจดีจริงๆ

หมายเหตุ :: ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับ เคมีอาหารนี้ ได้มาจากประสบการณ์  ระหว่างการทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์อาหาร ที่ทำงานร่วมกัน อยู่เป็นเวลานาน 

หมายเลขบันทึก: 259891เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2009 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (130)

บางคนชอบ  กินไข่ขาวดิบๆ  จะมีสารอยู่ชนิดหนึ่ง ชื่อ อไวดิน เป็นตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย ทำให้เกิดการขาดวิตามิน บี ดังนั้น การลวกไข่ให้สุกก่อน จึงจะปลอดภัย และได้ประโยชน์สูงกว่า

  • ธุ  คุณพี่ศศินันท์ค่ะ..

การทำอาหาร เป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์นะคะ  ^^   ต้อมชอบทำโน่นทำนี่   หยิบโน่นมาใส่นี่   หยิบนี่มาทำนั่น   แต่ก็ไม่รู้ว่าควรจะทำหรือไม่อย่างไร    ทั้งๆ ที่ก็รู้ว่าการทำอาหารนั้น จะต้องทำให้อาหารของเราผ่านกระบวนการโน่นนี่    แสดงให้เห็นว่าต้อมไม่รู้เรื่องอะไรเล้ย..ย..ย 

สงสัยต้องทบทวนตัวเองใหม่ และสนใจเรื่อง "เคมี" บ้างแล้วนะคะ  ^^ 

เป็นคนชอบทำกับข้าวค่ะ และมักคิดสูตรเอาเอง
เดี๋ยวนี้เริ่มให้ลูกชายช่วยคิด อาจได้มาจากคุณแม่ของน้องเองค่ะ ที่จดจำได้ในความทรงจำ แม่ชอบประยุกต์สูตรอาหาร และประยุกต์วิธีปรุง..มักให้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เนื่องจากแม่มีอาชีพเป็นแม่ค้า และยังรับเลี้ยงดูลูก ๆ อีกมากคน เวลาจึงรัดตัว

บ๊ะจ่าง ซึ่งมีเทศกาลของคนจีน ไหว้เทพเจ้าด้วยขนม(หรือเรียกว่า อาหารชนิดหนึ่งดีคะ?)เครื่องคาว นี้ แม่ยังเคยประยุกต์ทำโดยไม่ห่อ แต่คงกลิ่นใบไผ่ด้วยการเอามาปิดไว้บนอาหาร เวลาจะนึ่ง

อย่างไรก็ตาม น้องยังห่อแบบดั้งเดิมเป็นนะคะ

ขนมอี๋ ขนมเทียน ขนมเข่ง ของจีน...จนกระทั่งระยะหลัง ลูกเริ่มโตแม่จึงเริ่มหัดทำอาหารไทย

น้องคิดว่าเป็นเพราะอาหารไทยต้องใช้ เครื่องปรุงหลายสิ่ง การประดิษฐ์และเวลา เช่น ตำน้ำพริกครั้งหนึ่งใช้ พริกขี้หนูสวน กะปิดี น้ำปลาดี มะนาวสด กระเทียมกลีบเล็ก หอมแดงไทยแท้ ๆ จึงจะหอม

แต่แม่ก็ทำได้นะคะ เห็นแม่เรียนรู้จากเพื่อนบ้านไทยแท้น่ะค่ะ

นึกทบทวนแล้วในวัยเด็ก น้องโชคดีที่อยู่ติดแม่ จึงได้เห็นสิ่งละอันพันละน้อย เช่นนี้

ขอบคุณบันทึกพี่ศศิ ค่ะ

ชอบค่ะ ชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับอาหาร

You are what you eat.

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ป้าแดงเชื่ออย่างหนึ่งค่ะว่า ทำอะไรก็ตาม หากมีหลักการทฤษฎีรองรับ ผลงานจะออกมาดีได้ จนในที่สุดจะเกิดเป็นทักษะที่น่าจะเป็นแบบอย่างได้ (tacit knowledge)
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มีปัญหาเรื่อง....ถ้าจะผัดกะหล่ำปลีสีม่วง  เมื่อเทลงไปในกะทะ เม็ดสีแดงของกะหล่ำ โดนความร้อนเข้า เปลี่ยนสภาพจากกรดเป็นด่าง  จะเปลี่ยนสีไปด้วย ต้องเหยาะน้ำส้มสายชูไปนิดหนึ่ง  สีกะหล่ำจึงจะเปลี่ยนมาเป็นสีม่วงแดงอีกที
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะกับความรู้และประสบการณ์ที่ถ่ายทอด

สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

บันทึกนี้นอกจากจะได้ความรู้เรื่องเคมีในอาหารแล้ว ยังได้เทคนิค เคล็ดลับในการปรุงอาหารให้คงคุณค่าและมีรูปลักษณ์ที่น่ารับประทานอีกด้วยค่ะ...

น้องชอบทำอาหารค่ะ แต่ไม่มีวาสนาจะได้ทำ เพราะแม่และพี่ ๆ ทำอาหารเก่ง ครั้นจะขอทำบ้างก็ไม่ทันอกทันใจพี่ ๆ ค่ะ จึงได้แต่เป็นผู้คิดรายการอาหารและช่วยเดินตลาดหาซื้อวัตถุดิบ ...

แม่ (เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่) จะสอนเคล็ดลับการทำอาหาร เลือกวัตถุดิบในการทำอาหาร ให้อย่างไม่รู้ตัว เพราะน้องชอบคลุกคลี ฟังแม่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ขณะทำอาหาร ช่วยเด็ดผัก หยิบของส่งให้แม่และยายค่ะ พอปรุงใกล้เสร็จก็ได้ชิมก่อนใคร ๆ ....^_^....

เคล็ดลับการปรุงอาหารต่าง ๆ ที่จำได้ เช่น ทอดปลาไม่ให้ติดกระทะต้องเลือกปลาสด ๆ (ดูที่ตาต้องใสและเหงือกปลาต้องไม่ซีดคล้ำ) คลุกเกลือไว้ก่อน หรือ ใส่เกลือลงในกระทะเล็กน้อย

วิธีลวกผักให้คงสีเขียวน่าทาน ให้เหยาะเกลือ หรือ น้ำมันพืชลงในน้ำลวกผักก่อน ลวกเร็ว ๆ อย่าแช่ไว้นาน หรือใช้กะทิราดผักที่ลวกแล้ว

แกงสัมปลา ต้องใส่เนื้อปลาหลังน้ำแกงเดือด ไม่คนน้ำแกงเมื่อใส่ปลาลงไปแล้ว ไม่เช่นนั้นจะมีกลิ่นคาวปลา

การปรุงกุ้งอบวุ้นเส้นให้อร่อย ต้องใช้มันหมูรองก้นหม้อพร้อมขิงแก่ ๆ จะทำให้วุ้นเส้นระอุ หอม และไม่มีคาวกุ้ง... ฯลฯ....

บันทึกนี้ทำให้ระลึกถึงแม่ ด้วยความสุขค่ะ

ขอบคุณพี่นะคะ

(^___^)

และที่ทำไม่เป็นแต่ชอบทานมาก จึงต้องซื้อหามาคือ น้ำยา น้ำพริก ขนมจีนค่ะ...

สวัสดีค่ะ

*** ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยทำเลยค่ะ

*** ขอขอบคุณ

สวัสดีค่ะ อ.ศศินันท์

ปกติแล้วเอไม่ค่อยได้ทำกับข้าวค่ะ แหะๆ (เป็นแม่บ้านที่ไม่ค่อยได้เรื่อง)

เข้ามาอ่าน blog อาจารย์แล้วเกิดไอเดียค่ะ

ปกติงานที่ทำอยู่จะต้องจัดค่ายวิทยาศาสตร์ให้เยาวชนด้วย

อาจารย์คงไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ หากเอจะไปประยุกต์จัดค่ายเคมีในห้องครัว

หากมีโอกาสคงได้เสนอทีมงานที่จัดค่ายด้วยกันค่ะ

และขอถือโอกาสนำ blog ของอาจารย์ส่งไปให้เพื่อนพ้องด้วยนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ

มาเรียนซ่อมวิชาเคมี กับพี่ศศินันท์ ดีกว่าค่ะ :)

ท่าทางน่าสนุก ได้อิ่มไปโตย ได้ความรู้ไปนำ

หากนักเรียนรุ่นใหม่ๆ ได้เรียนแบบนี้คงไม่น่าเบื่อนะคะ

ปูชอบผัดหน่อไม้ฝรั่งมากๆ ค่ะ ...

ไม่แน่ใจว่าคุณพี่เคยทาน ผัดมันแกวกับกุ้งไหมคะ อร่อยนะคะ :)

 

สวัสดีค่ะคุณต้อม เนปาลี  2.
ดีใจจังที่แวะมาอ่านค่ะ  พี่เอง เป็นคน ชอบเรื่อง อาหาร แต่ทำไม่เก่ง ไม่มีรสมือ เรียกว่า พอทำได้เท่านั้น  และก็แปลกใจว่า เราก็ทำตามตำรา ทุกอย่าง ทำไม เดี่ยวดี เดี๋ยวไม่ดี
  
ต่อมา ทำงานในด้านอุตสาหกรรมอาหาร จึงเข้ามาเรียนรู้  และบางที ได้คำตอบค่ะ ว่า มันมีปัจจัยอีกหลายอย่าง ที่ทำให้อาหาร รสชาติ ไม่คงที่เท่าที่ควร
นี่ ไม่นับ เคล็ดลับส่วนตัว หรือ รสมือ ของแต่ละคนนะคะ  คนเก่า คนแก่ ที่ทำอาหารอร่อยตลอดเวลา อาจเป็น เพราะ ของสด บวกด้วยกรรมวิธีการทำ ที่เรียนรู้ขึ้นมา อย่างที่เรียกว่า Know How น่ะค่ะ บางที ถือเป็นความลับประจำครอบครัว กันเลยค่ะ เขามีคำอธิบายกันค่ะ แต่ไม่ได้อธิบาย เชิงวิทยาศาสตร์ 

เคมี มีความสัมพันธ์กับอาหาร เพราะ ในอาหารของเรา มีส่วนประกอบของ chemical compounds อยู่มาก   ทุกอย่างที่เรากิน ประกอบขึ้นด้วย  Oxygen, Nirtogen, Hydrogen, และ  Carbon  และก็ยังมีปฎิกิริยา ต่อเนื่องไปถึงระบบการย่อยและ metabolism ภายในร่างกายเราด้วย   วันนี้ มีซุปกามาฝากค่ะ ทำง่ายมากค่ะ แต่อร่อย

 สูตรวิธีทำเท่าที่อ่านพบมา คือ  ผงดาชิ 1 ชต. (หรือแบบซองต้มกับน้ำ 1 ซองกับน้ำเปล่า 2/12 ถต.) เกลือตามชอบ
 ปูอัดหั่น ตามชอบ ลูกชิ้นญี่ปุ่นหั่น ตามชอบ เห็ดหอมสด 2-3 ดอก ฝานบางๆ มะนาว ตามชอบ
ใส่น้ำเปล่าผสมผงดาชิ ต้มจนเดือด หรี่ไฟอ่อน แล้วใส่ทุกอย่างลงไป(ยก เว้นเกลือกับมะนาว)  ทิ้งไว้สัก 5 นาที ใส่เกลือปรุงรสตามชอบใจ ตักใส่กา หรือ ใส่ถ้วย แล้วบีบมะนาวใส่ตามชอบ แต่บางร้าน ก็อร่อยทีเดียว คงเป็นเพราะ มีเคล็ดลับพิเศษแน่ๆ

สวัสดีค่ะ คุณหมอคะ ภูสุภา 3.

ดีใจจริงที่เข้ามาอ่าน เพราะทราบว่า คุณหมอ ชอบทำกับข้าว เราเคยคุยกันในอนุทินบ่อยๆ เรื่องนี้นะคะ
ตุณแม่ของคุณหมอ ทำกับข้าวเก่ง เรียกว่า มีศิลปะเฉพาะตัว ในเรื่องนี้มาก เป็นแบบคนมีรสมือน่ะค่ะ และต้องเป็นคนช่างสังเกต และมีประสาทสัมผัสดีด้วยนะคะ
ในอุตสาหกรรมอาหาร มีการวิเคราะห์อาหารด้วยประสาทสัมผัส Sensory เป็นการวัดปฎิกิริยาตอบสนองของคนต่ออาหาร โดยในทางวิชาการ เขาอธิบายว่า เป็นการพัฒนา มาจากทฤษฏีทางกายภาพ Physiology และจิตภาพ Psycology ค่ะ ต่อมา เป็นทฤษฏี บอกความแตกต่างของผลิตภัณฑ์


The Weber-Fechner law attempts to describe the relationship between the physical magnitudes of stimuli and the perceived intensity of the stimuli. 
คนที่มีประสาทไวลักษณะนี้ พอไปกินอาหารที่ไหน ก็จะบอกได้เลยว่า มีส่วนผสมอะไรมากน้อยอย่างไร และนำมาประยุกต์ทำเองได้สบาย บางที อร่อยกว่า ต้นตำหรับอีกนะคะ  เหมือนอย่างที่คุณแม่เรียนรู้จากเพื่อนบ้านไทยแท้ค่ะ
น่าภูมิใจนะคะ ที่มีคุณแม่ ที่ทำอาหารเก่ง ยังไงๆ คุณลูกก็ ได้ มาบ้างละน่า...
มีผัดคะน้าหมูกรอบมาฝากค่ะ พี่ชอบ แต่ต้องหาซื้อ คะน้า ที่มีรูๆมา กลัว ยาฆ่าแมลงจะเยอะเกินไป และผัดร้อนๆ เสิร์ฟเลย อร่อยมากค่ะ

บันทึกนี้น่าอ่านมากเลยค่ะ (น่าดูแบบละเลียดด้วย) เดี๋ยวต้องกลับมาอ่านให้ละเอียดอีกรอบ ขอบคุณพี่ศศิฯมากๆค่ะที่ไปชวนให้ได้มารื่นรมย์ กำลังเขียนบันทึกที่เนื่องมาจากความ "มีชีวิต" ของบันทึกใน GotoKnow อยู่ค่ะ

สวัสดีค่ะ . pa_daeng 4.

ที่ป้าแดงบอกว่า...ทำอะไรก็ตาม หากมีหลักการทฤษฎีรองรับ ผลงานจะออกมาดีได้ จนในที่สุดจะเกิดเป็นทักษะที่น่าจะเป็นแบบอย่างได้ (tacit knowledge)

เห็นด้วยอย่างมากค่ะ...แม้ว่า ความชำนาญ ความช่างสังเกต ความขยันในการฝึกฝน จนเกิดประสบการณ์  แต่บางครั้ง ไม่สามารถบรรยายเป็นถ้อยคำ ถ้อยความ หรือสูตรได้ แต่ความรู้นั้น นำไปใช้ได้จริง ทำให้มีผู้เชื่อถือ เชื่อมั่น และรับการถ่ายทอดต่อๆกันมา
แต่ถ้า ได้มี ผู้ที่มีความรู้ทางทฤษฏีมารองรับ มาเชื่อมต่อ และนำไปขยายผล ต่อยอด ก็จะทำให้เป็นความรู้ใหม่ ที่ดีขึ้น ได้ประโยชน์กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมนะคะ

อย่างเช่น ตัวอย่าง ที่ง่ายที่สุด ที่มีประสบการณ์นะคะ คือเรื่องการทำมะม่วงกวน ด้วย by product ของมะม่วงในน้ำเชื่อม ปรากฏว่า นักวิทยาศาสตร์อาหารทั้งจบใหม่ และจบมาเป็น 10 ปี ทำให้ดีสู้ชาวบ้าน ไม่ได้ ไม่แฉะไป  ก็แห้งไป น้ำตาลเกาะเป็นเกล็ดๆ ดูไม่จืดเลย

ในที่สุด ต้องไป ขอความรู้ จากชาวบ้านค่ะ ทำให้ถึง บางอ้อ แล้ว ว่า เขามีเคล็ดลับอะไร แล้ว มาวิเคราะห์ด้วย หลักการ ทางวิทยาศาสตร์อีกที ทำให้การทำมะม่วงกวน ครั้งต่อๆไป ประสบความสำเร็จได้ และสมารถ ทำออกมาเป็นสูตรได้

สวัสดีค่ะ คุณครูคิม ครูคิม 5

พี่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับอาหารมาพอควรค่ะ และก็ได้เรียนรู้ เรื่องที่เกี่ยวกับทางวิทยาศาสตร์อาหารมาบ้าง  เลยสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ และก็ทราบเหตุผลว่า ทำไม สูตรอาหารเขาก็ดี แต่พอเรามาทำบ้าง บางทีไม่ค่อยอร่อยเลย

สำหรับพวกของสดๆ เช่นกุ้งสด ปลาสด บางคน ชอบกิน แต่ส่วนตัวพี่ คิดว่า การทำให้สุกก่อน น่าจะดีกว่า เพราะนอกจาก เอนไซม์ไทอามิเนส จะไปทำลายวิตามิน บี 1 แล้วยังมีความไม่สบายใจ ในเรื่อง พยาธิ์ บางชนิดด้วยนะคะ

Thiaminase is an enzyme that metabolizes or breaks down thiamine into two molecular parts.
มีสปาเก็ตตี้แบบไทยๆ มาฝากค่ะ ใส่กุ้ง น่าหม่ำมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง คนไม่มีราก6.

ขอบคุณสำหรับเคล็ดลับการปรุงอาหารให้อร่อย และยังคงคุณค่าของอาหารไว้นะคะ
รู้สึกจะตรงกันทุกเรื่อง  ตั้งแต่การใช้ความร้อนกันการทำอาหารพวกผักให้น้อยที่สุด เรื่อง การซื้อปลามาทำอาหาร ถ้าปลาไม่สด รับรองไม่อร่อย ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ทำกับข้าวเก่งๆ จะบอกกันอย่างนี้ทุกคน เป็น Fact สุดๆนะคะ
แต่พอเรามารู้เรื่องทางเคมีอาหาร เราจะยิ่งเข้าใจยิ่งขึ้นมาก เพราะมีเหตุผล ทางวิทยาศาสตร์รองรับจริงๆ ไม่ใช่ แค่เชื่อตามที่บอกเล่าต่อๆกันมาเท่านั้น


บางกรณี เราซื้ออาหารดิบพวกไก่หมู มา เราก็จะเอาใส่ ช่องแข็ง เพื่อป้องกันการเน่าเสีย น้ำที่อยู่ในเนื้อสัตวืจะแข็งเป็นน้ำแข็ง ซึ่งต้องมาทำให้ละลายก่อนจะนำมาทำเป็นอาหาร แต่สังเกตไหมคะว่า เนื้อเยื่อของอาหาร จะฉีกขาดไป เพราะน้ำที่เป็นน้ำแข็ง ไปดันเซลล์เนื้อเยื่อให้มีบริมาตรมากขึ้น ทำให้เนื้อพวกนั้น แห้งไป ไม่นุ่มนวลอย่างปกติ
พี่เคยคิดว่า คุณค่าทางโภชนาการ น่าจะเสียไปด้วย แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้ว่า เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู จะมีลักษณะ แห้งและเหนียวขึ้น แต่คุณค่า ยังคงเหมือนเดิมค่ะ

แต่ถ้านำปลาไปตากแห้ง ปลาจะแห้ง แข็งตัว หดตัว เพราะโปรตีนเสียสภาพไป และคุณค่าทางอาหารจะเสียไปค่ะ พี่ชอบปลาสลิดแห้ง เอามาทำกับข้าวได้มาก แต่คุณค่า ไม่เหมือน ปลาสดแน่นอนค่ะ
มีแกงจืดลูกรอกมาฝากค่ะ พี่ชอบมากเลย เป็นแกงโบราณ การทำยุ่งยากนิดนึง แต่อร่อย

สวัสดีค่ะคุณ  แม่นีโอ .8
สวัสดีค่ะ ที่คุณ บอกว่า คงไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ หากเอจะไปประยุกต์จัดค่ายเคมีในห้องครัว และขอถือโอกาสนำ blog ส่งไปให้เพื่อนพ้องด้วย

ไม่สงวนสิทธิ์ค่ะ ถ้าพอจะเป็นประโยชน์อยู่บ้าง เพราะสิ่งที่เขียน คือ ประสบการณ์ ที่ได้จากการทำงานล้วนๆเลย เป็นคนลงลึก ในการทำงานกับพนักงาน ดังนั้น ข้อมูลต่างๆ ที่ควรทราบ  ก็จะทราบและเข้าใจ เพราะคนทำ การตลาด คือ เราเอง ถ้าเรา ไม่รู้เรื่องที่เราทำ คงไปขายอะไรใครเขาไม่ได้ และคงไม่มีใครเชื่อถือ อีกอย่าง มีที่ปรึกษาเป็นทางการหลายคน   ที่สถาบันอาหาร  มหาวิทยาลัยเกษตรฯ เวลามีปัญหา หรือ จะต้องมีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อะไร  ต้องมีการพูดคุยกันใกล้ชิดอยู่แล้วค่ะ
ปัจจุบัน ครู เป็นหัวใจของการพัฒนาการศึกษา   มีคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และสื่อการสอนใหม่มากมายที่ช่วยครูทำงานได้ดีกว่าเดิมมาก

เด็กและเยาวชนก็มีช่องทางการเรียนรู้ที่กว้างขวางและเรียนรู้ด้วยตนเองได้ มากขึ้น   แต่ทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่า สื่อจะมาทดแทนครูได้
ครูยุคใหม่นอกจากต้องมีความรู้ในเนื้อหาเป็นอย่างดี ต้องมีความสามารถในการใช้สื่อการสอนแบบใหม่ได้เกิดประสิทธิภาพ
ครูต้องมีวิธีการสอนที่เปลี่ยนไป กลายเป็นผู้ชี้แนะการเรียน มากกว่าไปยืนหน้าชั้นแล้วสอนๆอย่างที่ผ่านมา
แต่ ณ ปัจจุบัน เท่าที่ได้สัมผัส  การสอนมีมาตรฐานดีขึ้น  มีสื่อและวิธีการสอนใหม่ๆ ที่แต่ก่อน ไม่เคยเห็นมาก่อน  เด็กๆ รู้สึกสนุกในการไป เรียนนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ poo  9.
ดีใจจัง ที่เข้ามาอ่านค่ะ คุณปูหายไปนะคะ คงจะยุ่งมาก คิดถึงจังค่ะ

การสอนเด็กๆ เดี๋ยวนี้ ดีขึ้นมากค่ะ เดี๋ยวนี้ แม้แต่เด็ก 2.5 ขวบขึ้นไป ก็มีการสอนทำอาหารง่ายๆแล้ว เพื่อนำไปสู่เรื่อง Chemistry เมื่อหลายเดือนก่อน ทางโรงเรียนสอนทอดไข่เจียว ในกะทะ ไม่มีน้ำมัน ซึ่ง เป็นการปูพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กนั่นเอง
เพราะนั่น คือการ เกิดปฎิกิริยาทางเคมี ซึ่ง เมื่อไข่ดิบ กลายมาเป็นไข่เจียวแล้ว ก็ไม่สามารถ กลับคืนสู่ สภาวะเดิมได้อีกเลย

เคมี มีความสัมพันธ์กับอาหาร
เพราะ ในอาหารของเรา มีส่วนประกอบของ chemical compounds อยู่มาก ทุกอย่างที่เรากิน ประกอบขึ้นด้วย Oxygen, Nirtogen, Hydrogen, และ Carbon และก็ยังมีปฎิกิริยา ต่อเนื่องไปถึงระบบการย่อยและ metabolism ภายในร่างกายเราด้วย
ที่บ้านพี่นะคะ พี่ไม่นิยม ซิ้อผัก ผลไม้มาตุนไว้ค่ะ ซื้อมาพอ แค่ 3 วัน เพราะผัก มีส่วนประกอบ เป็นน้ำส่วนใหญ่ และยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุ เป็นอาหารที่สำคัญ ของการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์ นอกจากนี้ ผัก จะนิ่ม ก่อให้เกิดความช้ำและเน่าเสียง่าย
ส่วน ผลไม้มีความเป็นกรดมากกว่าผัก มีปริมาณคาร์โบรไฮเดรดสูงกว่า จึงเน่าสียเก่ง จากยีสต์และเชื้อรา ที่บ้านพี่ ปอกมะละกอไว้ เผลอไป ไม่ได้กิน รายังขึ้นเลยค่ะ
ดังนั้น เวลาเราซื้อผลไม้ ต้องเลือก อย่าหยิบลูกที่มีรอย ขีดข่วนและเน่ามานะคะ จะทำให้ราเข้าไปทำลาย ได้ง่ายมากค่ะ และผัก ผลไม้ ก็ต้องระวัง ดินที่ติดมาด้วยค่ะ มักจะมีแบคทีเรียติดมา ที่สำคัญ เป็นแบบที่สร้างสปอร์ ตายยากมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณโอ๋ โอ๋-อโณ 12.
ดีใจทีคุณโอ๋เข้ามาอ่าน แต่ก็เหมือนเอามะพร้าวห้าว ไปขายสวนนะคะ คุณหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเคมีวิเคราะห์อยู่แล้ว ช่วยชี้แนะพี่ด้วยค่ะ

เร็วๆนี้ ที่บ้านพี่ มีคนเอาผลไม้แช่อิ่ม กับผักดอง มาฝากจากทางเหนือ เวลาผ่านไป 1 อาทิตย์ ก็ยังไม่ได้เริ่มต้น กินกันเลย จึงเอามาสำรวจดู แล้วนำไปแจกเพื่อนบ้าน เหลือไว้สำหรับเราเอง นิดหน่อย เพราะอาหารแช่อิ่ม อาหารแห้งพวกนี้ ถ้าเก็บไว้นานๆ อาหารจะชื้นขึ้น จนเกิด รา และแบคทีเรียได้นะคะ พี่เป็น คนไม่ชอบตุนอาหารเลยค่ะ มีผักสลัด สดๆมาฝากคุณโอ๋ค่ะ

มีอาหารจานไข่    มาฝากคุณ  แม่นีโอ .8
ค่ะ ปกติ ไข่สด มีสารเคลือบผิวไข่ หลังจากไปซื้อมาแล้ว ไม่ต้องนำไข่ไปล้าง ควร เก็บใส่ตู้เย็นเลย เพราะถ้ามีการไป เช็ด ล้าง เปลือกไข่ จุลินทรีย์ภายนอก จะทะลุผ่าน เข้าไปในไข่ ได้มาง่ายขึ้น และทำให้ ไข่เน่าเสียเร็วขึ้น แต่ไข่ที่สะอาด  มาจากเล้าไก่ ที่สะอาด และมีการเก็บรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนจะนำมาขาย จะมีการเน่าเสีย หรือเสื่อมคุณภาพได้น้อยมากค่ะ

ปกติ เป็นคนชอบกินยเกิร์ต 
ถึงขนาดไปซื้อเครื่องมาทำเองที่บ้าน แต่ไม่เคยอร่อยได้เท่ากับที่เขาวางขายอยู่ ทำได้แค่ พอกินได้   ต่อมา จึงทราบว่า  โยเกิร์ต มีการทำ 2 แบบ คือ แบบกวน และแบบคงรูป ซึ่ง แบบที่ 2 คือ การนำโยเกิร์ตหลังการเติมเชื้อเริ่มต้น มาบรรจุในภาชนะ และให้มีการบ่ม ในภาชนะนั้นๆ
โยเกิร์ต ที่เขาทำขาย เป็นแบบที่ 1 อร่อยกว่าแบบที่ 2 เพราะเนื้อเนียนกว่า รสชาติเข้ากันดีกว่า เนื่องจากมีการเติม Stabilizer และส่วนประกอบอื่นๆด้วย

อาหารเป็นพิษ....เคยมีประสบการณ์ ที่ถึงกับต้องพา คนในบ้านส่งโรงพยาบาลเป็นการด่วน
มีอาหารอยู่หลายชนิด เช่น ขนมเอแคลร์ ที่เป็นไส้ครีม อาหารเนื้อสัตว์ และสลัดมันฝรั่งเป็นต้น ถ้าไม่แน่ใจจะไม่กินเพราะ เป็นของที่เสียง่าย และมักจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย
เป็นสารพิษจาก เชื้อสแตฟิลโลคอกคัส Staphylococcus ปนเปื้อน ในอาหาร เชื้อนี้ พบได้จากเมือกที่จมูก และคอของผู้ป่วย อาหารที่สัมผัสกับมือของผู้ทำอาหาร ที่ไม่ได้ทำความสะอาด จะมีโอกาสของอาหารเป็นพิษสูง จะเริ่มแสดงอาการ วิงเวียน อาเจียน ท้องเดิน ภายใน 2-4 ช.ม.

แวะมาส่งกำลังใจ...ค่ะ

ช่วงนี้ไม่ได้แวะมาเยี่ยม

ญาติทางเหนือ .. ไม่สบายค่ะ

วันนี้นำผลไม้เมืองเหนือมาฝากด้วยนะคะ

 รักษาสุขภาพด้วยนะคะ 

สวัสดีค่ะคุณ °o.O ปลายฟ้า O.o°23

ขอบคุณที่แวะมาส่งกำลังใจค่ะ ลิ้นจี่ช่อนี้สวยมาก ลูกกลมอิ่มและสีสวยจริงๆค่ะ คงทั้งอร่อยและได้วิตามินมากนะคะ
พูดถึง วิตามิน นึกถึง วิตามินซี มีการนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องอาหารมากค่ะ
ที่อเมริกา มีการอนุญาตให้นำมาใช้กับเนื้อหมูหั่นชิ้นได้ค่ะ เพื่อรักษาสี ของหมูไม่ให้เปลี่ยน เป็นสีน้ำตาลไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็ให้ใช้ได้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น จะใช้กรดแอสคอบิกร่วมกับกรดซิตริกก็ได้
แต่ต้องระบุในฉลากว่า" เนื้อหมูนี้ ฉีดพ่นด้วยสารละลายที่มีน้ำ วิตามินซี และ กรดซิตริก เพื่อรักษา สี"

แต่ก็มีหลักการของการเติมวิตามินหรือ สารอาหารต่างๆ ลงไปในอาหารเหมือนกันนะคะ เช่น...
สารอาหารที่ใช้เติมลงไป ต้องมีประโยชน์แก่ผู้บริโภค และ การเติมสารอาหารใด ต้องไม่เกิด ภาวะ ไม่สมดุลของสารอาหารอื่นที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นต้นค่ะ

มีผลไม้หลายชนิด ที่มีแร่ธาตุที่มีประโยชน์และอร่อยมากๆ มาฝากคุณ °o.O ปลายฟ้า O.o°23 ด้วยค่ะ

  • เข้ามาอ่านหลายรอบแล้วค่ะ แต่ไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้  ชอบอ่านบันทึกของคุณ Sasinand มากเลยนะคะ
  • ศิลาเป็นแม่บ้านมาได้ 3 ปี  เริ่มใส่ใจในรายละเอียดของการกินอยู่มากขึ้นก็ต่อเมื่อได้เข้ามาอ่านทบทวนบันทึกต่าง ๆ ใน Blog "Good Living" ของคุณ  Sasinand ค่ะ
  • ค่อย ๆ อ่านอย่างปราณีต และคิดตาม ทำตามไปด้วยอย่างมีความสุขค่ะ
  • เริ่มด้วยบทเรียนแรก  เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะที่ว่า
  • "พยายามจะไม่ใช้  pressure-cooking  หรือ พวกหม้อตุ๋น slow cooker บ่อยๆ เพราะจะ ไม่ค่อยจะมีคุณค่าหรือประโยชน์อื่นใดจากอาหาร เหลือถึงเราแล้ว"
  • ศิลาให้ความสำคัญกับอาหารการกินมาก  แต่ที่ผ่านมาขาดครูดี ตอนนี้พบแล้ว ถูกใจมากๆ ค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

 

ชื่นชมครับ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกสถานที่จริงๆครับ

สวัสดีค่ะคุณ Sila Phu-Chaya26.
ขอบ คุณค่ะ ที่ให้กำลังใจ จริงๆแล้ว บันทึกต่างๆ รวมทั้งบันทึกนี้ จะเป็นประสบการณ์ที่ได้จากการทำงาน เป็นส่วนใหญ่ บวกกับ ความรู้ทางวิชาการ ที่ไปค้นหามาเพิ่มเติมค่ะ
ในเรื่องของการลวกผัก อย่างที่เขียนไว้ คือ ให้ใช้ อุณหภูมิสูงแต่ระยะเวลาสั้น จะช่วยให้ผัก รักษาสีเขียว หรือ ปริมาณคลอดฟิลด์ไว้ได้นาน แต่ก็ยังจะสูญเสียไป  ในระหว่างการเก็บ
ดังนั้น ถ้ามีการลวกผัก ก็ให้พร้อมที่จะรับประทานโดยเร็ว อย่านำไปเก็บใส่ตู้เย็นไว้นาน เพราะจะมีกรดชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ไปเร่งการสลายตัว ของคลอโรฟิลด์ค่ะ เช่น การลวก บร็อกโคลี่ เป็นต้น


ถ้าพูดถึง เนื้อไก่ เป็นคนที่ไม่ค่อยชอบเนื้อไก่ เท่าใด ยิ่งข้าวต้มไก่ หรือ ผัดผักกับไก่ อะไรแบบนี้ จะรู้สึกว่า มีกลิ่น คาวๆ แปลกๆ    แต่บางคนก็ไม่รู้สึกค่ะ
พยายาม ไปค้นหาสาเหตุ เลยได้ความรู้ จากอาจารย์จากสถาบันอาหาร  ที่ปรึกษาของบริษัท ที่อยู่ มหาวิทยาลัย เกษตร บางเขน ..    ได้ความว่า..กลิ่นผิดปกติ ของเนื้อไก่ มี 3 แบบ คือ กลิ่นคาวปลา กลิ่น viceral  และกลิ่นหืน      ทั้ง 3 กลิ่นนี้ เกิดมาจากอาหารของไก่ ตอนที่เขาเลี้ยงในเล้าค่ะ   เช่นถ้าได้กลิ่นคาวปลา   ก็จะเกิดจาก อาหารไก่ ที่มี น้ำมันหรือกรดไขมัน ชนิดไม่อิ่มตัวมากเกินไป ซึ่งแก้ไขได้ ดดยการไปปรับปรุงส่วนผสมของอาหารสัตว์ค่ะ
แต่ถ้าเป็น ข้าวไก่อบ อย่างนี้ ไม่เป็นไรค่ะ มีการปรุงรส มาอย่างอร่อยแล้ว ไม่มีกลิ่นคาวๆค่ะ

สวัสดีค่ะ  

  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ
  • เดี๋ยวนี้ก็ต้องเลือกรับประทานอาหารค่ะ
  • ปีที่แล้วไขมันปกติทุกตัวค่ะ
  • แต่ปีนี้สูงขึ้นค่ะ
  • คุณหมอให้ควบคุมอาหาร
  • อีก 6 เดือนจะให้ตรวจใหม่ค่ะ
  • อาหารที่ชอบก็ต้องงดไปบ้างค่ะ
  • เพื่อสุขภาพของเราเองค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะคุณ - ประสิทธิ์ - หนูกุ้ง 27
ขอบ คุณที่มาเยี่ยมค่ะ ที่บอกว่า เรามาเรียนรู้วิชาเคมีกันในห้องครัว เพราะ อาหารทุกชนิด ที่ทั้งมาจากพืช และสัตว์ มีส่วนประกอบหลัก เป็นสารประกอบทางเคมี  เช่น น้ำ โปรตีน คาร์โบรไฮเดรด แร่ธาตุ และวิตามินค่ะ ซึ่งสารประกอบเหล่านี้ เป็น สารอาหารที่ร่างกาย จำเป็นต้องใช้ จากการกินอาหารเข้าไป
ถ้าเรามีความรู้ทางเคมีบ้าง เราจะสามารถทราบถึง การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการปรุงได้มากขึ้น  และสามารถจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คุณภาพอาาหารเสียไป โดยใช่เหตุ   และยังจะนำไปปรับปรุง  เปลี่ยนแปลง และพัฒนาอาหาร ให้มีคุณภาพมากขึ้นค่ะ

แต่ก่อน เรายังไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญ ของอาหารที่มีเส้นใยสูงๆ แต่เดี๋ยวนี้ เราพบว่า มันมีประโยชน์มาก เช่น พวกธัญพืชต่างๆ ที่ประเทศเรานิยมกันมากๆ คือ ข้าวกล้อง ส่วนพวกผลไม้ ก็มีเส้นใยมากนะคะ เช่น ลุกพรุน ลูกเกด แครอท เป็นต้นค่ะ
ภาพข้างล่างนี้ เป็น ข้าวต้มธัญญพืช ค่ะ ทั้งมีประโยชน์และอร่อยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ  กิติยา เตชะวรรณวุฒิ 7.

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ เรื่องการถนอมอาหารนี่ มีหลายวิธีนะคะ เพราะบางที ผัก ผลไม้ ออกมามาก กินไม่ทัน ก็ต้องมีวิธีทำให้เราเก็บไว้ ได้นานๆ
อย่าง พวกเนื้อสัตว์ มีวิธี ทำแห้ง บางวิธีที่ดิฉันเห็นทำกันและได้ผลดี คือ การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง   คือ ทำให้น้ำในเนื้อสัตว์อยู่ในสภาพน้ำแข็ง แล้วทำให้น้ำแข็งระเหิดเป็นไอ เมื่อนำมาแช่น้ำ จะกลับสภาพเหมือนเนื้อสดเลยค่ะ
มีขนาดและรูปร่างเท่าเดิม แต่มีลักษณะพรุน เพื่อให้ สามารถดูดน้ำ และกลับสู่ สภาพเดิม คล้ายอาหารสดได้ วิธีนี้ กล่าวกันว่า จะเป็น วิธีดีที่สุด ค่ะ 
แต่ถ้าเราจะทำวิธีนี้กันเองที่บ้าน คงทำไม่ได้ เพียงแต่เล่าว่า วิธีนี้ดีที่สุดค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

แวะมาทักทายพี่ในวันพืชมงคลค่ะ ปีนี้น่าจะน้ำท่าบริบูรณ์ พืชผลการเกษตรได้ผลดีค่ะ โดยฟังจากการเสี่ยงทายของพระโค...

แกงจืดลูกรอก นี้ น้องเคยช่วยยายกรอกไข่ค่ะ ยุ่งยากมากจริง ๆ แต่เป็นอาหารที่น้องชอบมาก ๆ เพราะชอบทานน้ำแกงต่าง ๆ และชอบทานไข่ค่ะ หลัง ๆ มีลูกรอกสำเร็จรูปขายตามซูเปอร์มาเก็ตด้วยค่ะ

ส่วนชามนี้ ข้าวต้มธัญพืช น่าทานค่ะ คงมีส่วนผสมมากมายนะคะ ที่ออกสีแดงเข้ม ๆ น่าจะเป็น เห็นหอม หรือ พุทธาจีน นะคะ

(^___^)

สวัสดีค่ะคุณ สุนันทา 28 

เรื่องไขมันในอาหาร บางทีคนกลัวกัน เพราะกลัวอ้วนและกลัวเป็นโรคไขมันสูง ซึ่งถ้าเป็นแล้ว จะให้ลงมาอยู่ในระดับปกติ อาจจะต้องดูแลตัวเองสักหน่อย

แต่ ไขมันในอาหาร ก็เป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของอาหารนะคะ ทำให้อาหารนุ่มนวล ไม่กระด้าง เวลาเคี้ยวก็ลื่นปากดี โดยเฉพาะ มีกลิ่นหอมมาก เช่น หมู เนื้อ ไก่ ย่างสุกๆใหม่ๆเป็นต้น แม้แต่ในขนม ขนมก็จะขึ้นพองฟูดี
ข้อดี ของไขมัน คือให้พลังงานและยังเป็นพาหะให้วิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน คือ A D E K  เดินทางไปให้ประโยชน์แก่ร่างกายได้

แต่ข้อเสีย ในด้านการทำอาหาร
คือ ไขมันไม่อิ่มตัว เมื่อทำปฎิกิริยากับอากาศ จะทำให้เกิดกลิ่นหืนในอาหาร เก็บอาหารไว้ไม่ได้นาน และยังทำให้เกิดภาวะดูด กลืน อม น้ำมัน  ทำให้รู้สึกเลี่ยน รสชาติด้อยลง ไม่อร่อย เก็บไม่ได้นาน เพราะจะมีกลิ่นหืน
แต่ที่ร้ายที่สุด คือ ถ้าเรากินอาหารที่มีไขมันมากเกินต้องการ จะเกิด ภาวะ อ้วน เกิดโรคเส้นเลือดอุดตันได้ค่ะ
แพทย์จึงแนะนำให้ กินอาหารไขมันไม่เกิน 35 % ของปริมาณแคลอรี่ ทั้งหมด ที่จะบริโภคในหนึ่งวันค่ะ และเป็นไขมันชนิดอิ่มตัวไม่เกิน 10% ของแคลอรี่ทั้งหมด
แต่จริงๆแล้ว ส่วนใหญ่ ของโคเลสเตอรอล ในร่างกาย  ร่างกายเรา ทำขึ้นมาเองนะคะ

Cholesterol is a waxy fat that is present in all human beings. About 80 percent of the cholesterol in the body is manufactured by the liver. The rest is consumed through cholesterol-rich foods such as meat, eggs and dairy products.

เนื่องจาก cholesterol มีความสำคัญต่อร่างกายมากจนกระทั่งร่างกายจำเป็นต้องมีขบวนการสร้าง cholesterol ขึ้นเอง ทั้งนี้เพื่อประกันว่าจะมี cholesterol อยู่เสมอ ขณะที่ cholesterol อีกส่วนหนึ่ง ร่างกายจะได้จากอาหาร จำพวก นม เนย ไข่ และเนื้อสัตว์ แต่เนื่องจากพืชไม่สร้าง cholesterol ดังนั้นอาหารจำพวกพืชจึงปราศจาก cholesterol
คนเรา พออายุมากขึ้น ควรกินอาหารที่ไม่มีไขมันมากนัก
เพราะ ไขมันย่อยยาก มีเอนไซม์อยู่ตัวหนึ่ง ที่ตับอ่อน ไว้ย่อยไขมัน ชื่อ เอนไซม์ไลเปส  ช่วยย่อย ให้โมเลกุลของ ไขมันเล็กลง จนสามารถผ่านผนังลำไส้เล็กไปได้ และซึมผ่านเซลล์ โดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปโดยง่ายค่ะ

สวัสดีค่ะ

ไม่ได้เข้ามาพักหนึ่ง มีบันทึกใหม่แล้ว ดิฉัน ชอบทำครัวค่ะ แต่ ฝีมือ ลุ่มๆดอนๆ บางทีไม่ทราบเหมือนกันว่า เป็นเพราะอะไร พอมาอ่าน เลยรู้ว่า น่าจะเป็นเพราะที่ไม่มีพื้นฐานด้านเคมีอาหารส่วนหนึ่งค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ คนไม่มีราก 31

สวัสดีวันพืชมงคล เช่นกันค่ะ   ปีนี้คงจะน้ำท่าบริบูรณ์ พืชผลการเกษตรได้ผลดี  โดยฟังจากการเสี่ยงทายของพระโค...อย่างน้องว่าค่ะ...

ข้าวต้มธัญพืชที่เห็นนี้ พี่ชอบทานมาก ให้กำลัง สดชื่น เพราเป็นข้าวหอมกล้อง และใส่ธัญญพืช ชนิดต่างๆลงไป เช่น เม็ดบัว ถั่วแดง ถั่วเหลืองผ่าซีก ข้าวฟ่าง เป็นต้น ที่เห็นเป็นสีแดงๆ คือ ถั่วแดงค่ะ  แต่พี่นึ่งพวกธัญญพืชไว้ก่อนนะคะ แล้วค่อยมาผสมกับข้าว จะได้ไม่เละจนเกินไป จนทำให้เสียคุณค่าอาหารไปมาก เพราะ ใช้ความร้อนเคี่ยวมากๆ

พวกธัญญพืชต่างๆพวกนี้ พี่ระวังมากเหมือนกัน จะไม่ซื้อมาเก็บไว้นานๆ กลัวเป็นรา พอซื้อมาแล้ว พี่เอามาเก็บไว้ในช่องแข็ง แต่ก็เก็บไม่มาก จะเลือกซื้อจากแหล่งที่มีการซื้อ ขาย หมุนเวียนสินค้าดีด้วย  เพราะเชื้อรา มีสปอร์ ปลิวไปได้ทุกแห่ง และถ้าเป็นพวกมีพิษ ความร้อนระดับหุงต้มธรรมดา  ก็ฆ่ามันไม่ค่อยจะได้
ดังนั้น การเก็บอาหารแห้งๆไว้ ในอุณหภูมิต่ำๆ ก็จะช่วยได้ ยกเว้น เชื้อรา บางพวก ชอบเจริญ ในอุณหภูมิต่ำๆเหมือนกันค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ 33. กฤษณา

ขอบ คุณที่เข้ามาทักทาย ดิฉันเองก็เหมือนกัน บางที นึกว่า ชำนาญแล้ว ในการทำอาหารที่ชอบ บางอย่าง  แต่บางที เหมือนรสชาติแปลกๆไปเหมือนกันค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารพวก ปลา

ปลา จะมีคุณภาพ ดีหรือไม่ดี อยู่ที่ ชนิด ฤดูกาล แหล่งจับปลา วิธีการจับ วิธีการเก็บรักษา ระยะเวลาขนส่ง และจำนวนจุลินทรีย์ ที่ติดอยู่ที่ตัวปลาด้วยค่ะ
แบคทีเรียที่ติดมากับปลา มักเป็นพวกที่ชอบอุณหภูมิต่ำๆ และจะแทรกซึมเข้าไปยังเนื้อปลาได้ง่าย ถ้าปลานั้นถูกชำแหละ
ดังนั้น ดิฉัน จึงชอบซื้อปลาทั้งตัว ถ้าเลี่ยงได้ จะดีกว่า แต่พอซื้อแล้ว ต้องให้คนขาย ชำแหละเอาพวก ตับ ไต ไส้พุงออกให้หมดนะคะ จะทำให้ปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ลดน้อยลงค่ะ

มีปลาตัวเล็กทอดมาฝาก แต่ คงไม่ต้องชำแหละหรอกค่ะ ตัวเล็กไป

สวัสดีครับ ได้ความรู้ดีมาก ได้สาระ มีประโยชน์

ที่บ้าน คุณแม่ทำอาหารเก่ง แต่ชอบทำทีละมากๆ กว่าจะหมด ก็ 3-4 วัน เพราะคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลา เลยรู้สึกว่า จากวันที่ สอง เป็นต้นไป ชักไม่ค่อยอร่อย พอมาอ่านบันทึกนี้ เลยเข้าใจ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเยี่ยมเยียนและขอบคุณที่ไปทักทายค่ะ เนื้อหาสาระดี ๆ มีคนอ่านเยอะด้วย เป็นงานที่มีคุณภาพนะคะ ชื่นชมอย่างจริงใจค่ะ

  • แวะมาขอบคุณที่ไปเยือนบล็อกสังคม
  • และมาแวะอ่านสาระที่ดีมากเลยครับ

ชยพร แอคะรัจน์

ชอบกินผลไม้ แต่ที่ขายในซุเปอร์ คงไม่ค่อยสด บางที ไปเห็นเขาเพิ่งเอาออกมาจากตู้เย็นจัดๆเลย หรือ บางที อย่างแอปเปิ้ล มีคนบอกว่า เขาอาบรังสี จริงไหมครับ

สวัสดีค่ะ อ.ศศินันท์

เอตามมาอ่านให้ละเอียดอีกครั้งค่ะ

มีความรู้สึกว่า เสน่ห์อย่างหนึ่งของการอ่าน blog ของอาจารย์คือ

นอกเหนือจะได้ความรู้จากตัวเนื่้อหาใน blog แล้ว

มักจะได้ความรู้เสริมเวลาที่อาจารย์ตอบ comment ของแต่ละคนด้วยค่ะ

ดังนั้นเอรู้สึกว่าบางครั้งเรื่องเดิม แต่ตามมาอ่านอีกหลายรอบก็มีความรู้เสริมอยู่เรื่อยค่ะ

(หลายครั้งมาอ่าน แต่ไม่ได้ทิ้ง note ไว้ เพราะได้อ่านก็เต็มอิ่มแล้วค่ะ อิอิ)

ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ :-)

ทานข้าวต้มธัญญพืชแล้ว พี่มีน้ำดื่มสะอาดเย็นๆ มาฝากน้อง คนไม่มีราก  ค่ะ
พี่เองไม่นิยมดื่มน้ำอัดลมเลย นานๆ ใครเอามาเลี้ยง ก็จะดื่มเสียที เพราะน้ำที่อัดแก๊ส carbonated  beverage  เพื่อให้เป็นฟองซ่า จะทำให้ไปทำลายเอนไซม์จากอาหาร และเอนไซม์ย่อยอาหารของเราเองอีกด้วยค่ะ ถ้าจะดื่ม เพื่อคลายหิว ช่วงระหว่างมื้อ ยังดีกว่า   และน้ำอัดลมทุกชนิด ดื่มมากๆ จะทำให้อ้วนด้วย


 

  • ข้อมูล ดีมากครับ
  • น่าจะไปแลกเปลี่ยนกันที่หาดใหญ่นะ

สวัสดีค่ะคุณ  เบดูอิน  36
ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ
จากประสบการณ์ ดิฉันจะไม่กินอาหารซ้ำซาก เพราะนอกจากจะเบื่อแล้ว พืชผักบางชนิด ก็มีสารบางอย่าง ที่ไม่ควรกินในปริมาณที่มากเกินไปด้วยค่ะ เช่น พวกผักกาด และกะหล่ำปลี เป็นต้น       กะหล่ำปลีดิบ จะมีสาร
ไธโอไซยาเนต เป็นต้น ทำให้เกิดคอพอกได้ และยังมี ไกลโคไซดิ์ ที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง จากการแตก ของเม็ดเลือดแดง ถ้ากินติดต่อกันนานๆ และเป็นปริมาณมาก   แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายได้ โดยการต้ม จึงควรรับประทานกะหล่ำปลีสุก จะดีกว่ากะหล่ำปลีดิบ

ลองดู
สารอาหารที่ได้จาก กะหล่ำปลีลวก ไม่ใส่เกลือ และเทน้ำทิ้งแล้ว มีสารอาหารที่สำคัญคือ แคลเซียม โปตัสเซียม ฟอสฟอรัส   กะหล่ำปลีดิบ เอง ก็มีสารอาหารมาก  แต่อย่างไรก็ตาม กินดิบๆบ่อยๆ เป็นเวลานานๆ ต้องระวังเหมือนกันค่ะ...
อ้างอิงจาก หนังสือ สารพิษรอบตัว เขียนโดย ศ.เกียรติคุณ ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ สำนัก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย นเรศวร พะเยา

สวัสดีค่ะ 37. คุณนกน้อย
เรื่องการ ชอบทำอาหารทีละมากๆ เพื่อเก็บไว้ได้หลายๆวัน ฟังแล้ว ดี ในแง่ ประหยัดเวลา ประหยัดแรง เอาเวลาไปทำอย่างอื่นๆได้อีกมาก แต่ไม่ดี ในแง่ของคุณภาพอาหารค่ะ 
อาหารเย็นควรเก็บไว้ที่ อุณหภูมิต่ำกว่า 4 องศา เพื่อป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ ส่วนอาหารร้อน เก็บไว้ที่อุณหภูมิ สูงกว่า 60 องศา
อย่างไรก็ตาม  ตามความเห็นส่วนตัว  คิดว่า อย่าทำอาหารทีเดียว แล้วเก็บไว้เกิน 3 วันจะดีกว่า
มีน้ำผลไม้ คั้นสดๆ จากผลไม้ต่างๆชนิดมาฝากค่ะ

เข้ามาบล็อกนี้คราใดไม่เคยผิดหวังเลยจริงๆ ได้รับแต่สิ่งดีดีไปทุกครั้ง พาหลานมาซึมซับรับสิ่งดีดีด้วยครับ  ตอนนี้ใช้เม้า แป้มพิมพ์ได้แล้ว  อีกไม่นานจะให้เข้ามาเยี่ยมด้วยตัวเอง  ขอบพระคุณ ขอให้ท่านและครอบครัว พบแต่ความสุข ความเจริญครับ

มาขอเเอบเอาวิชาด้วยคน ขอบคุณนะคะสำหรับเทคนิคดีดีในการทำอาหาร

มาขอบคุณค่ะที่เเวะไปเยี่ยม

มาชม

เห็นแล้วอิ่มอร่อยเลยนะครับ

สวัสดีค่ะphayorm แซ่เฮ 38

ขอบคุณค่ะ ที่ให้กำลังใจ  เรื่องที่เขียนก็ได้มาจากประสบการณ์จากการทำงานค่ะ บวกกับค้นหาเพิ่มเติม ในด้านวิชาการด้วยค่ะ
เรื่อง การเก็บรักษาอาหาร ในตู้เย็นและช่องแข็งนั้น ดิฉันนำความรู้ ที่ได้จากการแช่ผักสดผลไม้ เพื่อส่งออก ในตู้เย็นใหญ่มาก ที่โรงงาน มาประยุกต์ ใช้ดังนี้ค่ะ...

1.อุณหภูมิตู้เย็น ไม่ควรเกิน 7.2 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกัน การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย  แต่ที่ช่องแข็ง คือ 0 องศา หรือ ดีที่สุดคือ-18 องศาเซลเซียส โดยที่ไม่เปิด ช่องแข็งไว้นานๆ หรือ ปล่อยให้เครื่องหยุดเดินนานๆ

2.พืชผักผลไม้ ควรเก็บที่อุณหภูมิ 15-18 องศาเซลเซียส การแช่เย็นที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้ผักผลไม้เนื้อแตก ไม่กรอบแข็ง ไม่ควรเก็บของที่มีกลิ่นไว้กับพวกผักผลไม้

3.เรื่องความชื้นก็สำคัญ ผักใบควรเก็บที่ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95  เปอร์เซนต์ ส่วนผลไม้ที่มีเปลือกเก็บที่  75-85เปอร์เซ็นต์  แต่ที่ไม่มีเปลือกเก็บที่ 85-90 เปอร์เซ็นต์

4.การเก็บพวกเมล็ดธัญญพืช ต้องให้มีความชื้นน้อยๆ ป้องกันเชื้อรา ดิฉัน มักเก็บไว้ที่ช่องแข็งเลยค่ะ ตัดปัญหาไปมาก  แม้แต่ ข้าวสาร ถ้ามีมากไป หุงไม่ทัน  ก็จะห่ออย่างดี แบ่งเก็บไว้ในช่องแข็งด้วย เพื่อป้องกันรา และมอดค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลที่แนะนำค่ะ
  • ผลการตรวจระดับไขมันในเลือด cholesterol 220  mg/dl สูงกว่าปกติค่ะ
  • ไขมัน  HDL 46 mg/dl  ต่ำกว่าเกณฑ์ค่ะ คุณหมอแนะนำให้ออกกำลังกายวันละ 30 นาทีค่ะ
  • ไขมัน LDL 145 mg2dl  สูงเล็กน้อยค่ะ 
  • ตอนนี้ต้องออกกำลังกายและควบคุมอาหารค่ะ
  • สำหรับน้ำตาล ปกติดีค่ะ  เมื่อปีที่แล้วสูงเล็กน้อยเช่นกัน
  • ก็มาทานกาแฟใส่น้ำผึ้งค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลอีกครั้งน่ะค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณชยพร แอคะรัจน์  39

ขอบคุณทีมาเยี่ยมและให้กำลังใจค่ะ เรื่องอาหารนี่มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะค่ะ

ญาติของดิฉันไปกินอาหารที่โรงแรมแห่งหนึ่ง กลับมาตอนเย็น อาหารเป็นพิษ ส่งโรงพยาบาลเลยค่ะ รักษาตัวเสีย 3-4 วัน มาวิเคราะห์ดูสาเหตุ
เป็นเพราะ ทางโรงแรม มีการเตรียมอาหารไว้หลายอย่าง และจำนวนมากๆ เพื่อบริการลูกค้า ให้เร็วทันใจ แต่เอาไปไว้ที่ อุณหภูมิห้อง และอาจตั้งทิ้งไว้เป็นเวลานาน ก่อนการนำไปบริการลูกค้า โดยไม่มีการอุ่นก่อน จึงทำให้แขกที่มากินอาหาร เกิดอาหารเป็นพิษ และอาหารวันนั้น คือ ขนมจีนค่ะ
ดิฉันเห็นอย่างนี้แล้ว เลยไม่กล้ากินขนมจีนที่อื่นเลย กลัวเขาทำไม่สะอาด หรือ ทิ้งไว้ ไม่อุ่นให้ร้อนก่อนนำมาให้เรา นอกจากขนมจีน ก็มีพวก ขนมที่มีกะทิ มีครีม ขอปลอดภัยไว้ก่อน
มีเต้าฮวยเย็นอร่อยๆมาฝาก แต่ก็ต้องระวังเช่นกัน เคยพบที่มีราขึ้นนิดๆก็มีค่ะ เพราะ ตู้เย็นที่ใส่ เย็นน้อยไป

 สวัสดีค่ะคุณ นพ 40

เรื่องผลไม้บ่มแก๊สนี่ ดิฉันมีประสบการณ์มาก ทั้งดี และไม่ดี แต่ผลไม้อาบรังสี ดิฉันไปศึกษามา แต่ยังไม่เคยลองใช้ เพราะเราขายผลไม้สดๆ ไปยังยุโรป ทุกวัน ไม่ต้องอาบรังสี ลูกค้า ชอบแบบสดๆ แบบธรรมชาติค่ะ
ผลไม้อาบรังสี เท่าที่ทราบ สารอาหาร ยังคงมีเท่าเดิม แต่เอนไซม์ จะถูกทำลายไปหมด ทำให้ ไม่มีเอนไซม์ไปทำให้ผลไม้เน่าหรือสุกเร็ว พวกแอปเปิ้ล มะม่วง วางบนชั้นวางขายได้โดยไม่เน่า เป็นอาทิตย์เลย ทำให้คนขายไม่ขาดทุน แต่ในด้านคนซื้อ เราควรต้องทราบว่า ไม่ใช่ผลไม้สดๆ อย่างเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริงค่ะ

สวัสดีค่ะคุณเอ คุณ แม่นีโอ  41
ดีใจมากที่คุณเอ มาอ่านอีกนะคะ พอดี พี่ก็เล่าให้ฟังไปเรื่อยๆ  ตามประสบการณ์ที่มี ซึ่ง ในชีวิตส่วนตัว อาจจะเป็นคนระวังเรื่องอาหารการกินอยู่ ค่อนข้างมากนิดๆ คือ ไม่เกินความพอดีไปมากนักค่ะ
บางที การที่เรารู้อะไรๆ อยู่บ้าง ทำให้เรากลายเป็นคนเรื่องเยอะไปเหมือนกัน
ในฐานะที่ทำอุตสาหกรรมอาหารมาก่อน จะทราบว่า การฆ่าเชื้อโดยระบบต่างๆ ใช้ความร้อนต่างกัน ซึ่งอุณหภูมิที่เกินกว่า 118 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำลายตัวที่เรียกว่า เอนไซม์หมด ดังนั้น อาหารในกระป๋อง จึงไม่ถูกเอนไซม์ย่อย สาารถเก็บไว้ได้นานๆ แต่ต้องใส่สารกันบูดด้วยนะคะ
เอนไซม์จะไว ต่อความร้อน มากกว่า วิตามินอีกค่ะ
แต่การจะกินแต่อาหารสดๆ เป็นไปไม่ได้ ยิ่งพวกเนื้อดิบ ยิ่งไม่ได้ ทางFDA อเมริกา จึงอนุญาต ให้นำเอนไซม์ จากพืช มาทำเป็นอาหารเสริมได้ค่ะ
Researchers
Identify Key Plant Enzyme That Defends Against Multiple Infections.
Scientists from the University of California, Riverside have identified one of the key enzymes that trigger programmed cell death, an important process plants undergo in fighting off bacterial, fungal or viral infections.

มีมะเฟืองที่บ้าน มาฝากคุณเอค่ะ หวาน กรอบ อร่อยมาก
จะเป็น มะเฟืองพันธุ์มาเลเซียหรือเปล่าไม่แน่ใจ  เป็นพันธุ์ที่เพิ่งมีผู้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยได้เมื่อไม่กี่ปีมานี้  เป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ เนื้อฉ่ำน้ำ มีน้ำหนักมาก ตั้งแต่ 200-700 กรัม มีรสชาติออกหวานปนเปรี้ยวเล็กน้อย  เอามาทำน้ำมะเฟือง ก็อร่อยมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มาอ่านเพื่อความรู้และอ่านข้อคิดเห็นด้วยค่ะ
  • เคยดื่มน้ำมะเฟืองที่ไร่ครูอ้น..หนุ่มทิ้งกรุงไปปลูกป่าที่ป่าช้าอำเภอลำปลายมาศ บุรีรัมย์ค่ะ
  • รอให้ฤดูที่มีมะเฟืองดก ๆ จะให้เด็ก ๆ ฝึกทำค่ะ
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์นายประจักษ์~natadee 46

หลานชาย หน้าตาน่ารักมากนะคะ อีกหน่อยก็คล่องคอมพิวเตอร์แล้ว แต่คงต้องไม่ให้อยู่กับคอมมากไปเหมือนกัน ต้องออกกำลังกายมั่งนะคะ
หลานคงยังดื่มนมอยู่ใช่ไหมคะ อาจารย์ อย่าให้หลานตั้งแก้วนม ทิ้งไว้ ในที่ๆมีแสงนานมากไป แค่ 2 ช.ม. นมก็จะสูญเสีย 
วิตามิน บี 2 ไป 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นนมผง วิตามินชนิดนี้ ยังคงตัวได้ดี ถึง 16 เดือนค่ะ
เมื่อร่างกายขาดวิตามิน บี 2 จะมีอาการแสดงทางตา ริมฝีปากและผิวหนัง เริ่มแรกนั้นริมฝีปากจะอักเสบ แห้งและแตก มุมปากจะซีด แตก เรียกลักษณะดังกล่าวว่าปากนกกระจอก [Angular stomatitis]

สวัสดีค่ะคุณ  สุธีรา47
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ
ไม่ทราบว่า คุณชอบทานแหนมไหมคะ  แหนมที่สะอาดและปรุงให้สุก มีกลิ่นหอมและอร่อยนะคะ 
มีข่าวที่น่าสนใจค่ะ  อาจจะยาวหน่อย แต่คิดว่า มีประโยชน์ เพราะ คนไทย นิยมกินแหนมกัน จริงๆแล้ว อร่อย แต่ ก็ต้องระวังให้มากค่ะ

ดร.นิภา โชคสัจจะวาที นักวิจัยห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เปิดเผยในระหว่างบรรยายเรื่อง การประเมินหาความเสี่ยงและการควบคุมกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์แหนม ในงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2552 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ว่า การบริโภคแหนมที่มีค่าความเป็นกรดด่างเกินมาตรฐาน   มีโอกาสป่วยเพราะอาหารเป็นพิษมากกว่าปรกติถึง 10 เท่า

ดร.นิภา กล่าวว่าแหนมเป็นอาหารที่ผู้คนนิยมบริโภค โดยไม่ทำให้สุกหรือผ่านความร้อนเสียก่อน และมักผลิตโดยโรงงานขนาดเล็กที่ไม่มีการควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน จึงมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเชื้อก่อโรคที่ตรวจพบบ่อยและพบมากในแหนมมีทั้งซัลโมเนลลา เอสพี (Salmonella spp.) และ สแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) นอกจากนี้ยังพบ เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) และคลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) แต่ไม่มากเท่ากับ 2 เชื้อแรก

นักวิจัยได้เลือกศึกษา การปนเปื้อนและความเสี่ยงของการบริโภคแหนมที่ปนเปื้อนเชื้อสแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างแหนมที่วางจำหน่ายในตลาดสดและห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 156 ตัวอย่างจาก 29 เครื่องหมายการค้า ในช่วงเดือน เม.ย. 49 - ก.พ. 50

จากการวิเคราะห์หาปริมาณเชื้อสแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส จากตัวอย่างแหนมทั้งหมดพบว่ามีความชุกของการปนเปื้อนประมาณ 40% แต่ความเข้มข้นของปริมาณเชื้อที่ปนเปื้อนยังอยู่ในระดับต่ำ และผู้บริโภค มีความเสี่ยง ที่อาจป่วยเพราะอาหารเป็นพิษจากการบริโภคแหนมที่ปนเปื้อนเชื้อเชื้อสแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส มาก

แต่หากแยกพิจารณาความเสี่ยงของแหนมโดยใช้ค่าความเป็นกรดด่าง ซึ่งมาตรฐานผลิตภันฑ์แหนม (มอก. 1219-2547) กำหนดไว้ว่า แหนมเมื่อถึงกำหนดเวลาที่ควรบริโภค ต้องมีค่าความเป็นกรดด่างไม่เกิน 4.6

นักวิจัยกล่าวต่อว่าผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของแหนมนี้สามารถนำไปใช้ในการควบคุมการผลิตได้ โดยผู้ผลิตจะต้องคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย และควบคุมกระบวนการหมักและค่าความเป็นกรดด่างให้ได้มาตรฐาน ก็สามารถลดความเสี่ยงของอาหารเป็นพิษได้
แต่อย่างไรก็ตามผู้บริโภคก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแหนมที่ยังหมักไม่ได้ที่ และควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน

ทั้งนี้ เชื้อสแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส เป็นแบคทีเรียแกรมบวก พบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป รวมทั้งในคนและสัตว์ สามารถเจริญเติบโตได้ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 7-48.5 องศาเซลเซียส และค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 4.2-9.3 ทนความเค็มได้ 7-15% และสามารถสร้างพลังงานได้ทั้งแบบที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน

สแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส สามารถสร้างสารพิษที่ทนความร้อนได้
โดยขณะนี้พบแล้วมากกว่า 20 ชนิด และทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษด้วย ซึ่งผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจากการได้รับเชื้อสแต็ปฟิโลคอคคัส ออเรียส จะแสดงอาการภายใน 6-12 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อดังกล่าว โดยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางรายอาจปวดหัว เป็นตะคริว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ และชีพจรอาจเต้นผิดปรกติ ซึ่งความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสุขภาพและภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยด้วย.

สวัสดีค่ะอาจารย์ um i48
ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ  อาจารย์ชอบทานขนมชั้น ไหมคะ ดิฉันชอบมากเมื่อเด็กๆ เดี๋ยวนี้ นานๆ ทานที เพราะไม่อยากทานหวานมากนัก ไม่ได้เป็นอะไร แต่อยากรักษาสุขภาพค่ะ
เดี๋ยวมีการพัฒนาเรื่อง อายุการเก็บขนมชั้น ไปได้ไกลมาก เก็บได้นานถึง 6 เดือนแน่ะค่ะ

ขนมชั้นเป็นขนมไทยชนิดหนึ่งที่มักใช้แป้งมันสำปะหลังเป็นส่วนผสมหลัก เพื่อให้ขนมมีความเนียน นุ่ม เหนียว และใส    โดยทั่วไปขนมชั้นที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องมักอยู่ได้เพียง 2-3 วัน และมีเนื้อสัมผัสที่แน่นแข็งขึ้นหลังการผลิตและระหว่างการเก็บ ทำให้เนื้อขนมไม่นุ่มเหมือนเดิม แต่ถ้าต้องการเก็บไว้ทานนานขึ้นมักนำไปแช่เย็นเพื่อยืดอายุการเก็บ แต่วิธีนี้จะเป็นการเร่งลักษณะเนื้อสัมผัสที่แน่นแข็งมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคไม่ชอบ

เลยมีการ ศึกษาวิจัยของ รศ.ดร.รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต      ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   ใช้ไฮโดรคอลลอยด์  ซึ่งเป็นสารที่ใช้กันมากในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมักเรียกว่า "กัม (gum)" ทำหน้าที่เป็นสารให้ความหนืดและ/หรือทำให้เกิดเจลเพื่อปรับเนื้อสัมผัส หรือใช้เป็นสารก่อให้เกิดความคงตัวแก่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในระหว่างการเก็บ  รศ.ดร.รุ่งนภา  ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมชั้นด้วยการเติมสารไฮโดรคอลลอยด์ลงไปในส่วนผสม เช่น โซเดียมอัลจีเนต ไซโลกลูแคน แซนแทนกัม เป็นต้น
ตอนนี้  ขนมชั้นสามารถเก็บได้นานกว่า 6 เดือนแล้วนะคะ
โดยยังคงความสดและมีรสชาติไม่เปลี่ยนแปลงหากเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และเมื่อให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟก่อนการบริโภค ก็จะได้ขนมชั้นที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับขนมที่ทำสดใหม่ในด้านเนื้อสัมผัสที่เหนียวและยืดหยุ่น
ขณะนี้  รศ.ดร.รุ่งนภา กำลังดำเนินการยื่นจดอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ หนุ่ม ร้อยเกาะ 43  ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ

เรามักคิดว่า การที่อาหารเปลี่ยนสี ไปเป็นสีน้ำตาล แสดงว่าเกิดปัญหาเซลล์เนื่อเยื่อของพืชผักถูกทำลายแล้ว
แต่ก็มีบางกรณีค่ะ ที่ปฎิกิริยา ที่เกิดสีน้ำตาลนี้ เป็นข้อดี มีรสชาติ กลิ่น สีสวยขึ้น เช่น ลูกเกด ลูกพรุนอินทผาลัม การคั่วเมล็ดกาแฟและการหมักใบชา เป็นต้น

มีสารเคมีอยู่ชนิดหนึ่ง ในรูปของแก๊ส คือ แก๊สซัลเฟอร์ไดอ็อกไซดิ์ ป็น สารเคมี ที่นิยมใช้กับพวกผลไม้อบแห้ง แต่ทำให้เกิดกลิ่น และถ้าใช้มากไป จะทำให้ หอบหืด ได้ 
ดังนั้น ทาง อย.อเมริกา จึงกำหนดปริมาณซัลไฟต์ที่ยอมให้มีได้ ในอาหาร และให้บ่งบอกไว้ในฉลากด้วย
โดยส่วนตัว ผลไม้พวก แห้ว ดิฉันไม่กล้าทานเลย เพราะจะมีการใช้สารฟอกขาวมากหน่อยค่ะ
พวกดอกไม้จีน กับเห็ดหูหนู ก็ต้องล้างให้สะอาดก่อนนำไปปรุงอาหารนะคะ

ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphur dioxide) เป็น สารเคมีตัวหนึ่งในกลุ่มซัลไฟต์ หรือสารฟอกขาวที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเปลี่ยนสี ของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาลเมื่ออาหารนั้นถูกความร้อนในกระบวนการผลิต และยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ รา บักเตรี
สามารถนำสารนี้ ไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเช่นใช้เป็นวัตถุกันเสีย (preservative) และสารป้องกันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (antioxidant) ใน อาหาร ผักผลไม้อบแห้ง วุ้นเส้น ลูกกวาด ฯลฯ และอุตสาหกรรมอื่น เช่น นำไปใช้ผสมในน้ำยาอัดรูป ฟอกสีผ้า กระดาษ สบู่ เป็นต้น
ซึ่งซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเมื่อใช้ในปริมาณที่พอ เหมาะ แต่จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคที่แพ้ง่าย (sensitive) ทำให้เกิดโรคหืด มีอาการแน่นหน้าอก คันคอ หรือเป็นผื่นคัน และเป็นแผลพุพอง จึงมีค่าการบริโภคในแต่ละวันที่ได้รับ (Aceptable Daily 
Intake : ADI) ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งองค์การอนามัยโลกกำหนดไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/คน/วัน

เมื่อมีการพัฒนาเรื่อง อายุการเก็บขนมชั้น ไปได้ไกลขนาดจะเก็บได้นานถึง 6 เดือน ขนมชนิดนี้ คงจะเข้ามาสู่ความนิยมอีกครั้งหนึ่ง มีรูปมาฝากอาจารย์ ยูมิ ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

มาอ่านเพิ่มเติมความรู้ อีกค่ะ

เรื่องน้ำอัดลมนี้ ที่บ้านจะไม่ส่งเสริมให้สมาชิกดื่มค่ะ เพราะคิดว่าเป็น น้ำหวานอัดแก๊สเท่านั้น ... มาอ่านแล้วจึงได้ความรู้เพิ่มว่า..แก๊ส carbonated  beverage  จะทำให้ไปทำลายเอนไซม์จากอาหาร และเอนไซม์ย่อยอาหารของเราเองด้วย  ซึ่งในประเด็นนี้น้องไม่เคยมีความรู้และตระหนักถึงเลยค่ะ

^__^

พออ่านต่อก็ได้ความรู้เรื่อง ผลไม้ที่อาบรังสี เพิ่งทราบว่าการอาบรังสีจะทำลายเอ็นไซม์ในผลไม้ด้วย ในประเด็นที่เอ็นไซม์จะถุกทำลายที่อุณหภูมิ 118 องศา ทำให้เบาใจไปบ้างค่ะ ตามหลักและความเชื่อของกลุ่มนีโอฮิวแมนนิสจะไม่นิยมอาหารที่ผ่านความร้อนเกิน 40 องศา (ซึ่งคงหาได้ยากที่จะไม่ผ่านความร้อนเกินนี้ นอกจากผัก ผลไม้สด) เพราะทำให้เอ็นไซม์สูญเสียไป และเอ็นไซม์ตัวนี้เองค่ะ ที่เราเรียกว่า "พลังชีวิต" ...

ขอบคุณข้อมุลที่ทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้นค่ะ และยังมีแหล่งอ้างอิงด้วย

อ่านแล้วมีความสุขและ...มีความรู้ค่ะ

(^___^)

จำปา ได้ฝน ออกดอกเต็มต้นเลยค่ะ...

สวัสดีค่ะคุณ สุนันทา 50
ดีใจที่ คุณตรวจร่างกายแล้ว ปกติดีทุกอย่างค่ะ

ที่บ้านดิฉัน ปลูกผักสวนครัว ชนิดที่ใช้ประจำไว้ตลอดค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยง สารเคมี ยาฆ่าแมลงต่างๆ แต่ผักส่วนใหญ่ เราก็ยังคงซื้อจากตลาด แต่ถ้าเรามาล้างทำความสะอาด อย่างดี ก็จะช่วยลดเรื่องสารเคมี ที่อาจจะปนเปื้อนเข้ามาได้มากเหมือนกันนะคะ
อ่านข่าว จากกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผักที่มีการปนเปื้อนยาฆ่าแมลง 4 ชนิด ที่มากที่สุดคือ  ผักชี คะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี

ถ้าเราไม่กินบ่อยนัก ก็ดีนะคะ มีมะปรางชิด มาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูคิม 55
ขอบคุณทีมาเยี่ยมเยือนอีกครั้งค่ะ
เวลาเราทำอาหาร ก็จะต้องมีส่วนประกอบ เป็นหมู กุ้ง ปลา ไก่  เนื้อ อาหารทะเล อยู่บ้างแล้ว ส่วนตัว พยายามกระจายๆ ให้มีสลับๆกัน ไม่เน้น ชนิดใด ชนิดหนึ่งเป็นประจำ เพราะแต่ละชนิด ก็มี ข้อดี ข้อเสีย กันทั้งนั้น ไม่ได้กลัวอะไรมากมาย จนชีวิต ขาดความสุข แต่เพียงจะระวังไว้บ้างเท่านั้นเองค่ะ

อย่าง การนำกุ้งมาทำเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ ปัจจุบัน จะเป็นกุ้งที่เขาเพาะเลี้ยงไว้เป็นอุตสาหกรรมเลย มีคนรู้จัก ทำฟาร์มกุ้ง อยู่ 2-3 คน เขาเคยพาไปดู ฟาร์มกุ้งของเขา ก็ดีค่ะ ติดตรง ที่มีการใช้ยาปฎิชีวนะ ค่อนข้างสูง และบางที  อาจมีสารหนูซึ่งเกิดจากแหล่งน้ำที่เพาะเลี้ยงด้วย  ดังนั้น เลยคิดว่า อย่าไปกินอาหารอะไร ที่ซ้ำซากจำเจ ให้มากเกินไป น่าจะดีกว่าค่ะ

เคยมีการสำรวจปริมาณสารหนู    ในกุ้งจากแหล่งเพาะเลี้ยงบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย 3 บริเวณ ได้แก่ อ่าวไทย ตอนบน แถบจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด อ่าวไทยตอนใน แถบจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และอ่าวไทยตอนล่าง แถบจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระหว่างเดือน ตุลาคม 2535 ถึง กรกฎาคม 2536 จำแนกเป็นกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) จำนวน 163 ตัวอย่าง และกุ้งน้ำจืด (Penaeus indicus) จำนวน 37 ตัวอย่าง วิเคราะห์ปริมาณสารหนูด้วยวิธี atomic absorption spectrophotometry โดยเทคนิค hydride generation 
  แต่ทั้ง 3 บริเวณ ในระยะดังกล่าว มีค่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยตามประกาศของ กระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนซึ่งกำหนด ปริมาณสารหนู 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

สวัสดีค่ะน้อง คนไม่มีราก 61
ดีใจทุกครั้ง ที่น้องเข้ามาเยี่ยมและอ่านค่ะ

พออ่านย้อนหลังบันทึกนี้ ของตัวเองแล้ว อดคิดไม่ได้ว่า ตัวเรา จะเป็นคนขี้กลัวมากไปหรือเปล่า...ระวังมากไปไหม...
จริงๆ เป็นคนค่อนข้างระวังตัวจริงๆ ไม่ว่าเรื่องอะไร ไม่ชอบความประมาท แต่ก็ไม่ควรจะระวังจนเกินเหตุ  ดูเหมือนจะทำให้ชีวิตไม่มีความสุขเท่าที่ควร
แต่ ส่วนตัวแล้ว มีความสุขดี กับการระวังตัว ในส่วน ที่ควรระวังค่ะ ไม่ค่อยเจ็บป่วยด้วย แต่ถ้า อาหารจะมันไปบ้าง หวานไปบ้าง ก็ไม่มีปัญหา ที่ไม่ชอบ คือ ความเค็มค่ะ รู้สึกว่า จะทั้งไม่อร่อย และให้โทษ ชอบรสกลมกล่อม เผ็ดไป ก็ไม่อร่อย วิ่งหาแต่ น้ำ แต่ ของหวานมาแก้เผ็ด


อีกเรื่องที่ต้องระวัง คือ เรื่อง ดีดีที ค่ะ อาหารสด อาหารแห้ง ที่ตลาด มีดีดีทีปะปนอยู่ เช่น ข้าว ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ต้องเลือกดีๆค่ะ  และคงเป็นสาเหตุที่ อาหารปลอดสารพิษ ขายดีมาก แม้จะแพงกว่าสักหน่อย ก็กินสนิทใจกว่า

รู้สึกว่า น้องเคยบอกว่า ที่บ้านปลูกสวนครัว ....กระเพราเป็นพืชสมุนไพร ให้กลิ่นเฉพาะตัวและมีสรรพคุณป้องกันโรคต่างๆได้  พี่ใช้กระเพราดับกลิ่นหืน ที่อาจมี ในเนื้อหมูสุก  ที่แช่แข็งไว้ และนำมาผัดใบกะเพราค่ะ อร่อยดี เพราะ บางที เอาหมูที่สุกแล้วและเก็บไว้นานหน่อย ไปทำอาหารอะไร ก็ไม่ค่อยอร่อยแล้ว
ดังนั้น อยากขอแนะนำว่า  ถ้านำเนื้อสัตว์ที่มีการบดหรือมีการให้ความร้อนก่อนนำไปเก็บในตู้เย็น เยื่อหุ้มเซลล์จะถูกทำลาย  ทำให้กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเกิดปฏิกิริยา ออกซิเดชันของไขมันได้ เกิดการหืนได้ง่ายๆ
ควรเป็นเนื้อหมูดิบดีกว่า ที่เราจะเก็บไว้ได้นานหน่อยค่ะ ในช่องแข็ง
ข้อมูลจากที่นี่ค่ะ
Antioxidative effect of added dried Holy basil and its ethanolic extracts on susceptibility of cooked ground pork to lipid oxidation.

กลางวันนี้ พี่ทำสลัดผักสดค่ะ เพิ่งไปซื้อผักมาเมื่อเย็นวาน เชิญน้อง คนไม่มีราก มาทานด้วยกันนะคะ
การกินผักนานาชนิด  กินผลไม้สดแทนขนมหวานหรือแทนการดื่มน้ำผลไม้ จะให้ประโยน์มาก ตอนนี้  ประสบความสำเร็จ ในการ หัดให้เด็กๆ กินผักผลไม้ เป็นประจำทุกวัน
ก้าน ผักหรือเปลือกของผัก ผลไม้บางชนิดมีใยอาหารสูง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ชมพู่   แตงกวา ก้านคะน้า เป็นต้น   เพราะนอกจากอาหารที่มีเส้นใยสูงจะช่วยในเรื่องการขับถ่ายแล้ว ยังทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยมีโรคภัย อีกด้วยนะคะ



มีงานวิจัยของ  ทางสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ได้ทำการวิจัยถึงศักยภาพของฤทธิ์ ต้านสารอนุมูลอิสระในผักพื้นบ้านไทยจำนวนมากมายกว่าร้อยชนิด พบว่า....
- ผักพื้นบ้านไทยที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระระดับสูง (> 2% ของน้ำหนักผักแห้ง) ประกอบด้วย ฝอยทอง ผักหนาม ผักแปม ผักฮ้วน ยอดมะม่วง ฝักกระถิ่น ยอดกระถิน ผักเม็ก ยอดถั่วลันเตา ผักบุ้งไทย ผักกาดนกเขา ยอดมะปริง ตะไคร้ ลูกเนียง ยอดมันเทศ ยอดทำมัง ยอดเหมียง (เหลียง) ยอดหมุย ยอดมันปู ขี้เสียด ผักปู่ย่า (ช้าเลือด) ยอดมะปราง ใบมะเม้า บัวเผื่อน ยอดมันแกวเขียว
รายละเอียด ที่นี่ค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะเข้ามาอ่านค่ะ มีประโยชน์มาก และได้ความรู้เยอะ ส่วนใหญ่ก็เข้าครัวทุกวันอยู่แล้ว และก็เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทุกวัน แต่ไม่เคยทราบเลยว่า ของที่อยู่ในครัวนั้นจะมีสารเคมีที่ปนอยู่ และอันตราย ไม่ปลอดภัย เมื่อรู้แล้วต่อไปจะต้องระวังในการทำอาหาร การใช้ของในครัว ให้มากยิ่งขึ้น และจะเอาความรู้นี้ไปบอกคุณแม่ให้ทราบด้วย จะได้ระวังมากขึ้น ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆ อย่างนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ เจนจิรา 66
อย่างที่บอก ตอนต้น บันทึกไงคะว่า เคมี มีความสัมพันธ์กับอาหาร เพราะ ในอาหารของเรา มีส่วนประกอบของ chemical compounds อยู่มาก ทุกอย่างที่เรากิน ประกอบขึ้นด้วย Oxygen, Nirtogen, Hydrogen, และ Carbon และก็ยังมีปฎิกิริยา ต่อเนื่องไปถึงระบบการย่อยและ metabolism ภายในร่างกายเราด้วย

เรื่องผัก จะมีผักบางชนิดที่เกษตรกร จะไม่ฉีดสารเคมีเลย ได้แก่ ตำลึง ผักบุ้ง หัวปลี ยอดมะพร้าว แตงร้าน สะตอ ใบชะพลู ผักกุด สายบัว บวบ ขนุนดิบ หน่อไม้ฝรั่ง แครอท กระถิน ชะอม ใบยอ ยอดแค สะเดา ถั่วพู ใบโหระพา ใบกะเพรา คื่นช่าย ตะไคร้ ข่า ขิง สะระแหน่ ถั่วงอก เห็ดต่างๆ เป็นต้น  ผักที่มียางหรือกลิ่นฉุน แมลงไม่ชอบ

  แต่ถ้าเป็น   กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักกาดเขียว ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา เป็นต้น มักมียาฆ่าแมลงค่ะ

ผลไม้ ก็เหมือนกัน ควรเลือผลไม้ ที่มีเปลือกหนาๆ เช่น กล้วย มะพร้าว ขนุน ทุเรียน มะละกอ มังคุด ส้ม เงาะ ลางสาด ส่วนผลไม้ เปลือกบาง เช่น องุ่น พุดทรา ฝรั่ง มะม่วงสุก ชมพู่ ควรล้างและปอกเปลือกค่ะ

อย่างพวกผักกะหล่ำปลี จะ ลอกเปลือกส่วนนอกทิ้งไป และแช่ในน้ำสะอาด 15 นาที ให้น้ำท่วมผัก ก็จะลดสารพิษ ได้ประมาณ 30% แต่ถ้าปล่อยน้ำผ่านอีหน่อย แล้วใช้มือถูผัก จะลดสารพิษ ลงไปได้อีก จนถึง 60% เลยค่ะ

สวัสดีค่ะ

เคยได้ข่าวว่า มีคนกินหน่อไม้ปิ๊บ แล้วเกือบตายหมู่ ที่จังหวัดน่าน สงสัยว่า เป็นเพราะอะไร ดิฉันเคยกินเป็นประจำ ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลย เรื่องสารพิษในอาหารนี่น่ากลัวจังค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มารับสาระดี ๆ คู่ครัวค่ะ
  • มองอาหารในแง่วิทย์ เด็ดสุด ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ  นุชรี 68

เรื่องหน่อไม้ปิ๊บนี่ ดิฉันคุ้นเคยมากค่ะ เพราะทำโรงงานอาหารอยู่เมืองกาญจน์ และที่นี่ เป็นแหล่งใหญ่ ของหน่อไม้ปิ๊บเลย
จริงๆ หน่อไม้ปิ๊บ ก็มีกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก และถ้าไม่เก็บไว้นาน ก็ไม่ค่อยมีพิษอะไรนะคะ
ส่วนใหญ่ จะเป็นหน่อไม้ที่ถูกอัดปิ๊บไว้นานมากกว่า ซึ่งจะมีแบคทีเรีย โบทูลินัมและสารพิษโบทูลิน เมื่อเอาหน่อไม้ออกมา และไม่ได้ทำให้สุก จะมีส่วนทำให้ป่วยค่ะ (ข้อมูลเหล่านี้ ได้จาก ลูกค้าที่เป็นนักเคมีอาหาร มาสอนไว้ค่ะ)
แต่ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีใครเป็นอะไรนะคะ เพราะ เทคนิคการอัดปิ๊บก้าวหน้า และปลอดภัยกว่าเดิมมากๆค่ะ

มีผักอยู่ชนิดหนึ่ง คือ ผักกูด แต่ก่อนชอบ แต่ตอนนี้ คงไม่กล้ากินแล้ว  ปลอดภัย ไว้ก่อน
ผักกูด เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ที่นิยม ใช้เป็นอาหาร ในรูปผักสด ยำ ผักลวกจะ ราดกะทิก็ได้ หรือ ทำแกงส้ม
อ่านหนังสือชื่อ สารพิษรอบตัว   พบ ว่า คนที่กินผักกูดมากๆ เช่น ญี่ปุ่นและอังกฤษ มีอัตราการเป็นมะเร็งกะเพาะอาหารมากกว่า ผู้ที่ไม่บริโภค และจากการทดลองในห้องทดลอง ยืนยันว่า ผักกูด เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ (จริง เท็จ คงต้องรอการพิสูจน์อีกที
)

มีเห็ดโคนยำมาฝากค่ะ รับรอง เห็ดอร่อยมาก ไม่มีสารพิษค่ะ

ชอบทานเห็ดทุกชนิดแต่เก็บไม่ค่อยเป็นก็จะเสียหรือแฉะค่ะ

ความรู้จากพี่ทำให้ระวังในการทำอาหารมากขึ้น

เพิ่งไปซื้อหม้อ pressure cook เพราะรู้สึกสะดวกและเร็วดี ทราบว่าวิตามินจะหายหมดทำให้ไม่ค่อยอยากใช้ค่ะ

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลที่ดีมากๆค่ะ

สวัสดีค่phayorm แซ่เฮ 70

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ พอดีมีเรื่องอาหารหลายอย่างที่พอมีความรู้อยู่บ้าง  ก็อยากจะเผยแพร่ค่ะ...
อย่างเช่น พวกกุนเชียง ไส้กรอก แหนม หมูเบคอน เนื้อเค็มแห้ง รวมทั้งอาหาร ผักดองๆ ที่ทาง อย.จะเตือนเสมอว่า อย่า รับประทานมากนัก  ก็เพราะมีพวกเกลือไนเตรทและไนไตรท์ ปนไปด้วยเสมอ เพราะเป็นสารกันบูด และสามารถป้องกัน การเจริญเติบโตของของแบคทีเรีย ชนิด Clostridium botilinum ได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เนื้อเปื่อยยุ่ย สีแดงเข้มทน และรสชาติดีขึ้นอีกด้วย เพราะถ้ากินในปริมาณมาก ก็จะมีโอกาส เป็นสารก่อมะเร็งได้ค่ะ

จริงๆ นานๆกินที คงไม่เป็นไรหรอกค่ะ แต่ถ้ากินปริมาณมากๆ บ่อยๆ ก็ไม่ค่อยดีค่ะ

สวัสดีค่ะคุณหมอคะ . พ.ญ. อัจฉรา เชาวะวณิช 71

ดีใจจังที่คุณหมอเข้ามาอ่าน  เรื่อง  Pressure cooking  นี้ก็คงจะคล้ายๆกับ  pressure cookers ที่ใช้ในห้องงแลปและโรงพยาบาล ที่ใช้ sterilize สิ่งของอุปกรณ์ต่างๆ ที่เรียกว่า   autoclave  แต่ถ้าใน  food industry เราก็มี  แต่เรียกว่า  retorts ค่ะ
ข้อดีของการใช้อุกรณ์นี้ ก็มีนะคะ ในด้านของความเร็วในการทำอาหาร นอกเหนือไปจาก ไมโครเวฟ และก็ใช้น้ำน้อยมาก แต่ใช้ความร้อนมากกว่าจุดเดือดของน้ำปกติ ทำให้อาหารปลอดภัยมาก ไม่มีเชื้อโรคเลย ฆ่าแบคทีเรียและไวรัสหมดเลย และจะใช้ได้ดีมากๆ กับอาหารเด็ก แต่วิตามินที่โดนความร้อนไม่ได้ ก็จะหมดไป รวมทั้งเอนไซม์ต่างๆด้วย เมื่อเอนไซม์ต่างๆ เช่น Metabolic Enzyme โดนทำลาย การที่จะมีเอนไซม์ไปกำจัดอนุมูลอิสระ ให้เราได้ ก็น้อยลง ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอาจมีมากขึ้น ดังนั้น การกินอาหารสดๆ ให้มากหน่อยก็จะช่วยได้ค่ะ

ลองอ่านเรื่องของท่าน Thomas Robert Cech (December 8, 1947 in Chicago) is a Nobel Laureate in chemistry.
Thomas Cech has a second, very different area of research - that of the structure and function of telomeres, the natural ends of linear chromosomes.
He and his research group focus on the assembly, structure and function of telomerase, the enzyme that copies the telomeric sequences. The active site protein subunits of telomerase comprise a new class of reverse transcriptases, enzymes previously thought to be restricted to viruses and transposable elements.

Telomerase is an important enzyme in biomedical terms due to the fact that it is activated in 90% of human cancers. Therefore, a drug that would inhibit its activity is much sought after as a cancer chemotherapeutic.

สรุปว่า...Thomas Robert Cech ได้ศึกษาเรื่องเอนไซม์ ทีโลเมอเรส ซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน และร่างกายเรามีเมตาบอลิคเอนไซม์ ที่ชื่อ ทีโลเมอเรสนี้ ที่คอยกำจัดอนุมูลอิสระ ที่ทำให้ร่างกายเราแข็งแรงค่ะ

สวัสดีค่ะ

หนูเป็นนักศึกษาค่ะ เรื่องเอนไซม์ นี่น่าศึกษานะคะ อยากขอให้สรุปนิดนึงค่ะ ขอบคุณ

สวัสดีค่ะคุณ  อินใจ 74
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

เรื่องเอนไซม์ ที่ลึกซึ้ง คงสรุปให้ไม่ได้นะคะ เพราะไม่ได้เป็นนักเคมี ถ้าคร่าวๆ ตามที่มีประสบการณ์ การเรียนรู้มา พอได้ นิดหน่อยค่ะ

1. เอนไซม์ มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

2.เป็นตัวเร่ง ให้การย่อยอาหารสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่ง   Enzyme เป็นสารพวกโปรตีน เป็น Biological Catalyst ตัวเร่งปฎิกิริยาภายในสิ่งมีชีวิต

3.เป็นตัวเร่งและควบคุมปฎิกิริยาทางเคมีทุกชนิด ในร่างกาย

4.เอนไซม์แต่ละชนิด มีหน้าที่เฉพาะตัว เช่น แบบที่ย่อยแป้ง ก็ไม่ย่อยโปรตีน เป็นต้น

5. ถูกทำลายโดยง่าย จากความร้อนเกิน 118 องศา ฟาเรนไฮด์ เอนไซม์นั้นอ่อนแอมาก ถ้าโดนความร้อน,กรด ,โลหะหนักมากเกิน จะเสียสภาพอย่างถาวร
อุณหภูมิที่ 37 ํC เป็นอุณหภูมิที่เอนไซม์ส่วนใหญ่ทำงานได้ดี
อุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้การทำงานของเอนไซม์เสื่อมไป เพราะเอนไซม์เป็นโปรตีนเมื่ออุณหภูมิสูงเอนไซม์ถูกทำลายธรรมชาติไป

6.การแช่แข็ง ไม่ทำลายเอนไซม์

สีผสมอาหาร อาหารที่เราทำ บางทีก็ต้องใช้สีผสมอาหารให้ดูน่ากินและมีกลิ่นหอม แต่จะต้อง เป็นสีจากธรรมชาติ จึงดีที่สุดที่สุด เช่น สีเขียวจาก ใบเตยหอม
ใช้ทำ ขนมชั้น ซ่าหริ่ม ขนมเปียกปูน   สีแดง จากกระเจี๊ยบแดง สีเหลือง จาก ขมื้น และดอกคำฝอย  ใช้ทำข้าวหมก แกงเหลือง  ข้าวพิลาฟ ขนมน้ำดอกไม้ มะพร้าวแก้ว ขนมถ้วยฟู สีม่วง จากดอกอัญชัน ใช้ทำขนมช่อม่วง ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ ขนมเรไร  สีดำ มะพร้าว (ใช้ส่วนกาบที่หุ้มผลเป็นต้น) ทำขนมเปียกปูน

แต่ปัจจุบัน ในท้องตลาด  มีพวกขนมที่มีสีสวยๆนี่ล่อเด็กๆกันมาก ซึ่งตอนนี้ ทาง อย.อเมริกา   กำลังเข้มงวดมากขึ้น  เพราะมีผลการศึกษาว่า 40ปีมานี้  สีผสมอาหารนี้ มีผลกระทบกับพวกเด็กๆทีเดียว โดยเฉพาะ การสงสัยว่า  จะมีส่วน ทำให้เด็กๆ  เป็นคนสมาธิสั้น อยู่ไม่สุข

สำหรับ อย.เมืองไทย ออกมาบอกว่า....
การใช้สีจากธรรมชาติจะดีที่สุดหรือสีผสมอาหารที่มีเลขสารบบอาหาร
ทั้งนี้ สีที่ อย. อนุญาตให้ใช้ในอาหาร เช่น กลุ่มสีแดง ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์
กลุ่มสีเหลือง ควิโนลีน เย็ลโลว์,
กลุ่มสีอื่น ได้แก่ บริลเลียนท์บลู เอ็ฟซีเอ็ฟ, ฟาสต์กรีน เอฟซีเอฟ, อินดิโกติน เป็นต้น
และขอให้ใช้ปริมาณตามคำแนะนำบนฉลาก หากใช้เกินปริมาณที่ อย. กำหนด จะมีโทษทางกฎหมาย และอาหารนั้นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
ไม่ว่า สีสังเคราะห์หรือสีธรรมชาติ  ที่แน่ๆ คือ ทำให้ฟันผุทั้งนั้น

สวัสดีค่ะ

หนูไม่ค่อยได้ทำอาหารรับประทานเองค่ะมักต้องพึ่งร้านอาหารตามสั่งเป็นประจำ

หนูเป็นพยาบาลชนบทชั้นผู้น้อยค่ะ(ดูรันทดเนาะ)ขึ้นเวรบ่ายดึก พักผ่อนไม่พอ กินอาหารตามสั่งหนูว่าไม่พ้นมะเร็งใดมะเร็งหนึ่งเป็นแน่

แต่ได้อ่านแล้วรู้สึกฮึดสู้ดูแลตัวเองมาบ้าง จะตามอ่านต่อค่ะ

ขอเมนูง่ายๆได้ประโยชน์เป็นวิทยาทานเยอะๆๆนะคะ

เห็นภาพแล้ว อยากกินมากกว่าครับพี่ ดีจังเลยครับ ถ้าคุณครูเอาไปปรับใช้ในการสอนในชั้นเรียน ขอบคุณครับ

มาอ่านแล้วหิวค่ะ

ไปเที่ยวระยองไหมค่ะ

 

มาอ่านความรู้ค่ะ ภาพอาหารในกล่องความเห็น เห็นแล้วหิวค่ะ เรื่องการปรุงอาหารเองนี้ไม่สามารถเลย แต่ชอบดูภาพดูตำราวิธีการทำอาหาร เกิดความอยากทำเป็นบ่อยๆ แต่ไม่เคยบรรลุว่าน่าจะลองทำเลย ถามคุณแม่ว่าทำไมพวกเราถึงไม่เคยฝึกทำกับข้าวยากๆ บ้าง ได้คำตอบว่าเรามีแม่ครัวและลูกมืออยู่แล้วก็ไม่ได้คิดเรื่องนี้ แต่จากการอ่านตำราและสื่อที่สอนทำอาหารดูไม่น่ายากนะคะ ไว้ให้ว่างและอยากจริงๆ ก่อนค่ะ จะลองดูสักตั้ง ^^ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ อ่านแล้วได้ความรู้มากมายเลยค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะนำไปปฏิบัติได้ไม่หมด แต่ก็ทำให้ชีวิตของเราหลุดพ้นจากสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราไปมากเชียวค่ะ ถ้าหากเรารู้จักหลีกเลี่ยง ใช่ไหมค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ saowanee 77

ยินดี นะคะ ที่คุณอ่านบันทึกนี้แล้ว รู้สึกว่า อยากจะดูแลตัวเองขึ้นมาบ้าง เพราะอาหาร เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ถ้าเราจะเลือกอาหารที่สะอาด มีประโยชน์ และไม่มีสารพิษเจือปน ก็น่าจะดีแก่ตัวเรา ความอร่อยยังเป็นรองนะคะ
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีคนพาดิฉัน ไปทานข้าวต้มเป็ดเจ้าอร่อยแห่งหนึ่ง แต่ไปแล้ว ดิฉันว่า มันไม่อร่อย เพราะเขาแทบไม่ได้ล้างชาม ล้างช้อน ที่ลูกค้าคนก่อนๆกินแล้ว แค่เอาน้ำสาดๆ ก็นำเอามาใช้ใหม่แล้ว   ดิฉันมองด้วยความอึดอัดใจ แต่ก็เกรงใจ คนที่พาไป เลยทานกล้อมแกล้มไปนิดหน่อยพอเป็นพิธี แบบนี้ ต่อให้อร่อยยังไง ก็ขอลาค่ะ

เรื่อง เมนูนี่ อาจต้องขอบอกว่า ดิฉันทำกับข้าวพอได้เท่านั้นเอง ถนัด เป็นคนคิดรายการ ถนัดเลือกซื้อของ   และรู้เรื่องเคมีอาหารบ้างเท่านั้นค่ะ
และก็บอกให้แม่บ้านทำอีกที
อยากจะเล่าเรื่อง สีผสมอาหาร อีกนิดค่

มีข้อมูล จาก อย.ที่อเมริกาค่ะ ว่า
Research Leads to Action Debat about the effects of certain synthetic food colorings on children's behavior began in 1975 after the release of the book, Why Your Child Is Hyperactive by
Ben Feingold, a pediatric allergist
who worked at the
Kaiser Permanente Medical Center in California,, an oft-cited reference in the argument for eliminating the use of synthetic food colorings

คือ สรุปว่า คุณหมอภูมิแพ้เด็กคนนี้ ได้ทำวิจัย และได้เขียนหนังสือออกมาว่า เขาพบว่า พวก สีสังเคราะห์และพวกสารสังเคราะห์ต่างๆ ที่ใส่ลงไปในอาหารนี้แหละ ที่เป็นตัวการมากที่สุด ในการที่ทำให้เด็กๆเป็นเด็ก  hyperactivity  และมีปัญหาการเรียนรู้  และเขายังแนะนำวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงสารต่างๆเหล่านี้ เช่น synthetic additives: colors, flavors, sweeteners, and preservatives ด้วยค่ะ

หนังสือ นี้จะยังไม่มีหลักฐานแน่ๆชัดๆ ในเรื่องที่ผู้เขียนสงสัย  แต่ก็ได้ไปกระตุ้นให้ อย.อเมริกา ตื่นตัวในการเข้มงวดกับ สีผสมในอาหารมากขึ้น

แต่การศีกษาวิจัยหนึ่งที่ใหม่กว่า ใน September 2007 แสดงถึงการเชื่อมโยงระหว่าง สีและสารสังเคราะห์ในอาหาร ที่มีส่วนทำให้เด็กๆ  เป็นเด็ก hyperactive  และแถมยังเรียกร้องให้ the Food Standards Agency (FSA)เรียกคืนอาหารที่ใช้สารดังกล่าวคืนผู้ผลิตด้วย เมื่อ April 2008 สีสังเคราะห์ดังกล่าวมี 6 ตัวด้วยกันคือ....

sunset yellow (E110),  quinoline yellow(E104),  carmoisine (E122),  allura red
(E129), tartrazine (E102), and ponceau  4R (E124);
  ทั้งหมดนี้ ใช้ในอาหารพวก  soft drinks, ice cream, cakes, and sweets.ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ  ขจิต ฝอยทอง 78
ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ อาจารย์ยุ่งตลอดเวลาเลยนะคะ เห็นไปโน่นนี่ ไม่ได้หยุดค่ะ พี่มีอาหารจานสุขภาพมาฝากค่ะ ที่เห็นจานนี้ เป็นสัดส่วนของอาหารที่มีประโยชน์  ที่เราควรกิน ในวันหนึ่งๆ รววมทั้งของว่างด้วย ค่ะ
จะ เห็นได้จากอาหารพวกผักผลไม้ มีปริมาณใกล้เคียงกับอาหารพวกคาร์โบรไฮเดรดเลยนะคะ ถัดมาเป็นอาหารนม ถัดมาเป็นเนื้อสัตว์ ไข่ ปลา  สุดท้ายคือ ไขมันและพวกของหวานต่างๆ
สำหรับพวกผักผลไม้ รวมทั้งผลไม้สด แห้ง น้ำผลไม้ แต่ไม่รวม มันฝรั่งค่ะ

 

สวัสดี ครับ

  • ต่อไปนี้ผมคงไม่กักตุนอาหาร โดยการแช่เอาไว้ในตู้เย็นอีกแล้ว
  • "เพราะอาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอยู่ตลอดเวลา บางครั้งมีจุลินทรีย์ที่สร้างสารพิษเกิดขึ้น เช่น รา และแบคทีเรียต่างๆ ซึ่งจะเกิดสารพิษขึ้น ก่อให้เกิดโรค"
  • จะปฏิบัติตามที่พี่แนะนำ เพื่อสุขภาพ (ที่ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว)

สวัสดีค่ะคุณ berger0123 79

ขอบคุณที่มาอ่านค่ะ สำหรับคนที่ชอบออกกำลังกาย คุณหมอประจำบ้านดิฉัน  ขอแนะนำดังนี้ และตัวคุณหมอ เองก็ปฎิบัติตัวอยู่เป็นประจำ

ก่อนไปออกกำลังกาย ดื่มน้ำไปก่อนหนึ่งแก้ว และเตรียมน้ำติดตัวไปหนึ่งขวด ถ้าหิวน้ำ ดื่มได้ทันที และเมื่อ ออกกำลังเสร็จแล้ว ก็ควรดื่มน้ำมากๆด้วย
ในวันหนึ่งๆ ต้องกินอาหารพวกแป้งให้เพียงพอ ไม่งั้นไม่มีแรงออกกำลังค่ะ  เนื่องจาก ใน 2 ชั่วโมงหลังจากการออกกำลังกาย กล้ามเนื้อ จะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้น อาหารหลังการออกกำลังกาย ควรเป็นคาร์โบรไฮเดรตมากหน่อย 
การที่เรามีคาร์โบรไฮเดรตในรูป   glycogen สะสมเอาไว้มากหน่อยในกล้ามเนื้อ จะทำให้เราออกกำลัง พวก วิ่งทางไกล ถีบจักรยาน เดินไกลๆ ได่้ดี

ส่วนพวกโปรตีน ก็กินอาหารนม เนื้อสัตว์ไม่มีมัน ปลา ไก่เป็นต้น คือ กินให้พอเพียง ที่จะไปออกกำลังตามควรได้ ไม่งั้นจะเหนื่อยเร็ว ออกกำลังไม่ได้ ตามเป้า อาหารพวกนี้ ร่างกายยังไม่ต้องการเท่าอาหารพวกแป้ง สำหรับผู้ที่ชอบออกกำลังกายค่ะ

สวัสดี ครับ คุณ P

ผมแวะมาทานข้าวเช้า ครับ
ธรรมชาติ  ดีต่อสุขภาพ จริง ๆ เลย ครับ

 

ขอบพระคุณ มาก ครับ

สวัสดีค่ะ

อาจารย์คะถ้าเรารับประทานกล้วยตอนท้องว่างไม่ดีจะทำให้ Electrolyteในร่างกาย ไม่สมดุล จริงไหมค่ะ

ไปค้นเมนูง่ายๆ แต่มีประโยชน์มาให้คุณ 77. saowanee มาได้แล้วค่ะ  ไม่ลืมค่ะ ไม่ลืม....

  น.ส.มลฤดี สุขประสารทรัพย์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ   สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภายใต้การควบคุมของ รศ.ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ หัวหน้าฝ่ายพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ อาจารย์ที่ปรึกษา ด้วยการสนับสนุนของสภาวิจัยแห่งชาติ 
พบว่า 22 ตำรับอาหารไทยช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็ง1. คะน้าน้ำมันหอย 
2. ไก่ทอดสมุนไพร 
3. ทอดมันปลากราย 
4. แกงเลียง 
5. ไข่เจียวใส่หอมหัวใหญ่พร้อมมะเขือเทศ 
6. กะเพรากุ้งใส่ถั่วฝักยาว 
7. แกงเผ็ดเป็ดย่าง 
8. แกงจืดตำลึง 
9. ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 
10. ส้มตำไทย 
11. ผัดผักรวมน้ำมันหอย

ส่วนอาหารไทยที่ป้องกันมะเร็งได้ดีในระดับกลาง ตามลำดับได้แก่ 
12. ฉู่ฉี่ปลาทับทิม 
13. น้ำพริกลงเรือ 
14. ห่อหมกปลาช่อนใบยอ 
15. แกงจืดวุ้นเส้น 
16. แกงเขียวหวานไก่
17. แกงส้มผักรวม 
18. ต้มยำเห็ด

และอาหารไทยที่ป้องกันมะเร็งได้ต่ำ มีอยู่ 4 ชนิดตามลำดับ คือ 19. เต้าเจี้ยวหลน 
20. น้ำพริกกุ้งสด 
21. ต้มยำกุ้ง 
22. ยำวุ้นเส้น

  จากวิทยานิพนธ์ข้างต้นชี้ให้เห็นว่าอาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพ ช่วยลดความเสี่ยงหรือป้องกันมะเร็ง มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย

wow! cool เก็บไปเล่าให้น้องทีมฟังดีกว่าค่ะ สอนเคมีจากเรื่องใกล้ตัวแบบนี้ดีจัง เห็นภาพและเข้าใจง่ายด้วย : ) ขอบคุณนะค้า

สวัสดีค่ะคุณ  ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี 80

ดีใจที่เข้ามาอ่าน ตอนนี้ คงจะยุ่งๆเรื่อง ลูกสาวคนสวย สอบเข้าได้แล้ว และกำลังเตรียมตัวเรื่อง หนังสือเรียน เรื่อง การเดินทาง จิปาถะนะคะ น่าภูมิใจค่ะ มีลูกทั้งสวย ทั้งเก่ง ใครจะไม่ภูมิใจ ปลื้มใจ  พี่เคยมีประสบการณ์อย่างนี้มาแล้วค่ะ

พี่เอง ก็คล้ายๆคุณ คือ ครอบครัวเรา ทำกับข้าวไม่เก่ง อาจจะเป็นเพราะ  เรามีแม่ครัว อยู่แล้ว ก็เลยไม่ค่อยได้สนใจเรื่องนี้นัก  แต่พี่ก็พอทำได้  และฝีมือปานกลางค่ะ 
แม้จะทำกับข้าวไม่เก่ง แต่ ก็เอาใจใส่สุขภาพ และนำความรู้ไปบอกต่อกับแม่ครัว  ให้เขาเข้าใจ ว่าธรรมชาติของอาหารเป็นอย่างไร  เพราะแม่ครัว เขาใช้ประสบการณ์ แต่ไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มารองรับค่ะ บางที เขาบอกว่า ไม่ควรทำอย่างนั้น อย่างนี้ แต่พอถามว่า เป็นเพราะเหตุใด เขาตอบไม่ได้ค่ะ

เด็กเล็กๆแค่ 2.5 ขวบ ไปโรงเรียนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าอนุบาล ครูเริ่มสอน เคมีเบื้องต้นแล้วค่ะ โดยผ่านการสอนให้ทำอาหารง่ายๆ  หลานรู้จักวิธีทำแซนด์วิช วาฟเฟิ่ล  ไข่ดาว ไข่เจียว  คั้นน้ำส้มแล้วค่ะ  เป็นการปูพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนุกค่ะ

เมื่อวาน ไปซื้อบล็อกโคลี่มา และให้แม่บ้านทำซุปให้ ผักชนิดนี้ มีประโยชน์มาก
เป็น Super Food อย่างหนึ่ง Broccoli is an excellent source of vitamins C and A, and a good source of folic acid
เป็นผักหนึ่งในครอบครัวกะหล่ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์-ของตระกุลว่า Brassica Oleracea
บร็อกโคลี่ มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี ตอนแรกๆ ผักชนิดนี้ ค่อนข้างแพง แต่เดี๋ยวนี้ ก็ถูกแล้ว
ชอบเอาไปผัดกับกุ้ง หรือลวก ทำเป็นสลัดก็อร่อย แต่ต้องลวกในน้ำเดือดก่อน 2 นาที แล้วเอามาแช่ในน้ำเย็นทันที จะมีสีเขียวสวย น่ากินจริงๆ จะกินสดๆก็ได้ แต่ ถ้าไม่แน่ใจเรื่อง จะมีสารเคมี ตกค้างหรือไม่ ก็อย่าเสี่ยงดีกว่าค่ะ

Broccoli

สวัสดีค่ะคุณ nusara  81
ขอบคุณที่เห็นว่า บันทึกนี้ พอจะมีประโยชน์อยู่บ้าง ตัวเอง เป็นคนค่อนข้างแคร์เรื่องสุขภาพมาก เลยสนใจเรียนรู้เพิ่มเติม ให้มากกว่าที่มีประสบการณ์จากการทำงานค่ะ
ได้ออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม organic honey โดยใช้น้ำผึ้งเป็นสารให้ความหวานแทนที่สารให้ความหวานประเภทอื่นๆ
ปัจจุบัน กระแสอาหารและเครื่องดื่มธรรมชาติกำลังมาแรง กอร์ปกับทางราชการก็เข้มงวดมากขึ้นด้วย ดังนั้น สิ่งที่จะผสมเข้าไปในอาหารและเครื่องดื่ม จึงมีการปรับเปลี่ยน เป็น ให้มาจากธรรมชาติมากขึ้นค่ะ
เครื่องดื่ม organic เติบโตอย่างรวดเร็วในปัจจุบันทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศทางแถบยุโรป  ในส่วนของสารให้ความหวาน  มีการนำน้ำผึ้งที่ได้จากธรรมชาติ   มาทดแทนสารให้ความหวานที่ต้องผ่านกระบกวนการผลิต อย่างเช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง  หรือแม้แต่ HFCS (High Fructose Corn Syrup)

แต่ในประเทศเรา ก็มีเครื่องดื่มธรรมชาติอยู่มากนะคะ เช่น น้ำอ้อย น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะขาม น้ำดอกเกีกฮวย  น้ำขิง น้ำมะนาว น้ำตะไคร้ เป็นต้น แต่เข้าใจว่า ยังใส่ น้ำตาลอยู่นะคะ ถ้าดิฉันดื่ม จะไม่ใส่ น้ำตาลค่ะ นอกจาก น้ำผึ้ง

สวัสดีค่ะคุณชำเลือง  84
เพิ่งไปเยี่ยมที่บล็อกมาค่ะ เห็นด้วย 100% ในสิ่งที่เขียน และอยากให้วัฒนธรรมเพลงอีแซว นี้ อยู่คู่กับประเทศเราตลอดไปค่ะ

เรื่องการเก็บอาหารที่ปรุงสุกแล้วในตู้เย็น พี่แนะนำไปหลายคนค่ะ เพราะมันจะด้อยคุณค่าไปทุกนาทีจริงๆ ทั้งรสชาติและความเสี่ยงที่จะขึ้นรา ต่างๆนานา
ขนาด เด็กปอกมะละกอ ไว้ในตู้เย็น แล้วลืมทาน 3 วัน ราขาวๆ ขึ้นเลยนะคะ

เพราะเนื้อมะละกอ มีลักษณะอ่อนนิ่ม เมื่อปอกแล้วทิ้งไว้นานๆจึงนิ่มเละ และเกิดราได้
แต่ผลไม้ เราต้องกินมากๆค่ะ   ผลไม้เกือบทุกชนิดมีวิตามินซี โดยเฉพาะผลไม้ที่ใกล้จะสุก จะมีวิตามินซีค่อนข้างมาก เช่น มะปราง มะม่วง มะละกอ พุทรา
นอกจากนี้ยังมีมากในผลไม้ประเภท ฝรั่ง มะกอก มะขามเทศ มะขามป้อม
ผลไม้ประเภทส้มทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นส้มเกลี้ยง ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ก็มีวิตามินซีเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ sasinand แวะมาเพิ่มความรู้ค่ะ ดีจังชอบมากบันทึกนี้

สวัสดีค่ะคุณ แสงแห่งความดี 86
 ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ ปัจจุบัน อาหารต่างๆที่วางขายอยู่ มักจะมีสารบางอย่างผสมเข้าไปด้วยเสมอ เพื่อให้อาหารมีสีสวยๆ น่ากิน และอยู่ได้นานๆ ยังขายไม่หมด ก็เก็บไว้ขาย วันต่อๆไปได้
ซึ่ง เป็นเรื่องที่เราต้องเลือกดูเหมือนกันค่ะ...
สารปนเปื้อนที่ ทางอย. เมืองไทย รณรงค์มากคือ .....
- บอแร็กซ์
- สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง
- สารฟอกขาว
- สารกันเชื้อรา (กรดซาลิซิลิค)
- สารฟอร์มาลีน (น้ำยาดองศพ)

พวกเราต้องระวัง พยายามกินอาหารในบ้าน ที่ทำเองสดๆ ดีที่สุดค่ะ
ข้าวคลุกกะปินี่ ก็ทำง่ายๆในบ้านนะคะ


นึกไม่ถึงว่า ถั่วงอก จะมีสารฟอกสีเจือปนอยู่ น่าจะปลอดภัย เพราะ ก็เป็นผักธรรมดามากๆค่ะ อ่านที่นี่แล้ว ต้องระวังมากขึ้นจริงๆ

สวัสดีค่ะคุณ 87. peang

คุณพูดถึงการกินกล้วยตอนท้องว่าง ว่าจะทำให้ electrolite ในร่างกายไม่สมดุลหรือเปล่า
ข้อนี้ คงไม่สามารถให้ความเห็นได้ค่ะ เพราะไม่ได้เชี่ยวชาญทางนี้
แต่ที่สังเกต จากตัวเองคือ จะไม่กินกล้วยหอม ตอนท้องว่างเด็ดขาด เพราะทำให้ท้องอืด แน่น อึดอัด แต่กล้วยอื่นไม่เป็นค่ะ

แต่เมื่อคุยกับ บางคนที่เป็นพอรู้เรื่องนี้ เขาบอกว่า จริงๆแล้ว กล้วยน่าจะดีนะ เพราะกล้วยมี  potassium  สูง (essential electrolyte)  ซึ่งโปตัสเซียม เป็นเกลือแร่ที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ มีมากในผักและผลไม้ โดยเฉพาะ มันฝรั่งและกล้วย
ตัวเองเลยคิดว่า กล้วยน่าจะเป็นแหล่งของโปตัสเซียมที่ดีมากๆ เพราะจะไปช่วยเรื่อง  electrolyte balance แต่ถ้ากินตอนท้องว่างแล้ว จะทำให้ electrolite ในร่างกายไม่สมดุลหรือเปล่า ไม่ทราบจริงๆค่ะ กล้วยมีโปตัสเซียมอยู่ 358 mg 8% ต่อ 100 กรัมค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง 89. Little Jazz

พี่ได้ความคิดว่า จะเขียนเรื่องแบบนี้ จากเจ้าตัวเล็ก ที่ครูสอนการทำอาหารง่ายๆให้
จน บัดนี้ ทำเป็น 4-5 อย่าง ง่ายๆสุดๆ     ซึ่ง ครูเขาไม่ได้อยากจะให้เด็กทำกับข้างเก่งหรอก แต่เขาจะปูพื้นด้านวิทยาศาสตร์ให้เด็กๆนั่นเอง ต้องทำให้เป็นเรื่องสนุก และต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่เข้าใจได้ง่ายๆ ประกอบกับโทรคุยกับกัลยาณมิตรบางท่านที่โกทูโนนี้ด้วย   เลยคิดว่า เราก็พอมีความรู้เรื่องนี้นี่นา  จากชีวิตประจำวันและจากประสบการณ์  ก็เลยมาเขียนเสียหน่อย สนุกดีเหมือนกันค่ะ

น้องทีม คงดื่มนมพาสเจอร์ไรท์บ่อยๆนะคะ น้องซูซาน  ถ้าเปิดถุงแล้ว หากให้เด็กดื่มนม  ควรเทนมนั้นใส่แก้วก่อน
หากพบว่าสีเปลี่ยนไป มีลักษณะเป็นฟอง มียางเหนียวเกิดที่ผิวหน้า หรือมีกลิ่นหืน ให้สันนิษฐานว่านมถุงนั้นเสีย และไม่ควรดื่มเด็ดขาด
อย่าง ไรก็ตาม  ทางที่ดี ควรให้เด็กดื่มนมให้หมดใน ครั้งเดียว ไม่ควรเก็บไว้และนำมาบริโภคภายหลัง หรือนำถุงนมที่ยังไม่ดื่ม วางไว้ภายนอกตู้เย็น   เพราะอาจทำให้นมเสียก่อนวันหมดอายุ
แต่ถ้า  เป็นนมยูเอชที ซึ่งเป็นนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนที่สูงมาก และบรรจุอยู่ในกล่อง สามารถเก็บไว้ได้นานในอุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องแช่เย็น
แต่หากสังเกตมีรอยแยกฉีกขาดและมีคราบสี บนกล่องนม  ก็ต้องนำไปเปลี่ยนที่ร้านค่ะ และถ้าเปิดแล้ว  ต้องให้ดื่มให้หมดภายในสามวันนะคะ
  เรื่องการดื่มนม หมดอายุนี่ พี่มีประสบการณ์มาด้วยตนเอง เข็ดๆ จนบัดนี้เลยค่ะ


สวัสดีค่ะคุณ 93. tukky

คุณชอบกินลูกชิ้นไหมคะ   ดิฉันชอบค่ะ สมัยเด็กชอบมาก ยิ่งก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ยิ่งชอบ แต่ก่อนลูกชิ้นไม่เด้งเท่าไร แต่เดี๋ยวนี้  กินลูกชิ้นเด้งดึ๋ง  ต้องระวัง  อาหารอะไรที่กรุบๆกรอบๆ จะมีโทษจริงๆนะคะ  มักผสมสารบอแรกซ์ หรือน้ำประสานทอง  ทำลายสุขภาพ เช่น ตับไต ค่ะ
เคยมีข่าวว่า  อย.  ได้นำเจ้าหน้าที่อาหารพร้อมรถหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ สุ่มตรวจสอบสารปนเปื้อนในตัวอย่างอาหารสดจากแผงค้า 30 แผง ที่ตลาดสดแสงฟ้า เขตบางแค
ผลการตรวจสอบตัวอย่างอาหารจำนวน 30 ตัวอย่าง ประกอบด้วย หมูบด 22 ตัวอย่าง สไบนางหรือผ้าขี้ริ้ววัว 6 ตัวอย่าง และผักกาดดอง 2 ตัวอย่าง
พบว่า มีสารบอแรกซ์ในหมูบดถึง 7 ตัวอย่าง  ฟอร์มาลินหรือน้ำยาอาบศพในผ้าขี้ริ้วทั้ง 6 ตัวอย่าง

สารบอแรกซ์ในอาหารจะทำเกิดพิษได้ 2 แบบ คือ...
1.แบบเฉียบพลันจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ
2.และแบบเรื้อรัง คือมีอาการเบื่ออาหาร ตับไตอักเสบ โดยเฉพาะในเด็กเล็กจะเกิดอาการพิษได้ง่าย

  ทราบว่า ทางอย. ห้ามนำสารปนเปื้อนอันตรายเหล่านี้มาใส่ในอาหารอย่างเด็ดขาด
หากพบว่ามีการลอบนำอาหารที่ไม่บริสุทธิ์ มีสารปนเปื้อนมาจำหน่าย ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายจะถูกดำเนินคดีทันที มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับต่อไปค่ะ
อ่านรายละเอียดเรื่องสารบอแรกซ์
ได้ที่นี่ค่ะ


สวัสดีค่ะคุณ 95. สกุลรัตน์

เรื่องถั่วงอก "ขาวๆ อวบๆ " มักมี  สารฟอกสีเจือปน  และอาจทำให้อักเสบ เป็นผื่นแดง หรืออาจทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะสัมผัสอาหารได้

สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์  เป็นสารฟอกสีที่มีฤทธิ์ฟอกขาวได้สูง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมฟอกย้อมแห อวน แต่มีผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าบางรายชนิด เช่น ถั่วงอก น้ำตาลปึก ขิงหั่นฝอย หน่อไม้ดอง นำมาผสมในสินค้า เพื่อจูงใจลูกค้า
สำหรับเราเอง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการซื้อ โดยเฉพาะถั่วงอกซึ่งเป็นสินค้าใกล้ตัวและสามารถหาซื้อได้ง่าย ไม่ควรเลือกถั่วงอกที่มีสีขาวผิดปกติ แต่ก็หลีกเลี่ยงถั่วงอกที่มีสีคล้ำ มีส่วนเน่าเสียปนอยู่เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้

ทาง ที่ดี ต้องทำให้ถั่วงอกควรทำให้สุกเสียก่อนค่ะ เพราะสารไฮโดรซัลไฟต์ที่อาจมีอยู่ในถั่วงอกจะถูกทำลายด้วยความร้อน ซึ่งจะปลอดภัยกว่าการนำถั่วงอกดิบมารับประทานสด ๆนะคะ

  • พอดีอ่านเม้นท์ของคุณ Sasinand ในบันทึกหนึ่ง พบว่าผักบร๊อคเคอรี่มีประโยชน์มากมาย  และศิลาก็ชอบทานมากถึงมากที่สุด
  • แต่ก็ทราบว่ามีโอกาสมีสารพิษได้  เราสามารถนำผักแช่เกลือ หรือน้ำยาล้างผักเพื่อแก้ปัญหานี้ได้ไหมคะ  หรือต้องใช้ความร้อนเท่าไรถึงจะช่วยได้...เราจะทราบได้อย่างไรคะว่าผักมีสารพิษ
  • ขออภัยนะคะที่มาถามมากมาย ชอบทานผักมากค่ะ ออกจะไปในทางมังสวิรัติ เว้นแต่ทานนอกบ้านและอยู่ในสถานที่ที่เลือกไม่ได้ค่ะ
  • บันทึกของคุณ Sasinand  มีประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่จริง ๆ ค่ะ ไม่ทราบว่ามีรวบรวมเป็นหนังสือหรือเปล่าคะ
  • ขอบพระคุณนะคะ และมาราตรีสวัสดิ์ นอนหลับสนิทนะคะ

คุณ 98. peangคะ ไม่เป็นไรค่ะ บอกเท่าที่ทราบนะคะ

มาเล่าข่าวเพิ่มนิดหนึ่งค่ะ ว่า เดี๋ยวนี้ มีการสกัด สีผสมอาหารที่มาจากธรรมชาติล้วนๆเพิ่มขึ้นอีกแล้ว คือ สกัดจาก แครอท หรือ กะหล่ำสีม่วงก็มี ค่ะ
แครอท มีสาร carotenoids และ  anthocyanins ที่ทำให้แครอทมีสีสวยๆ มีการสกัดสารสัธรรมชาตินี้ มาใช้กับอาหารและเครื่องดื่มหลายประเภทค่ะ
ผักผลไม้ สีม่วง เช่น ดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง ผิวชมพู่มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอรี่ บลูเบอรี่ มีสาร anthocyanins นี้ ทั้งนั้น
ขอบคุณ รูปจาก  Stephen Ausmus, courtesy of USDA's Agricultural Research Service

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้เพิ่มเติมค่ะ
  • วันก่อนได้คุยกันเกี่ยวกับการปรุงอาหารผัก
  • ได้นำเกร็ดความรู้จากบันทึกนี้ไปคุยกับเพื่อนครู
  • ว่าง ๆพวกเขาคงจะได้มาเรียนรู้ด้วยค่ะ
  • ขอขอบพระคุณอย่างสูง

อาหารในปัจจุบันไม่ว่าจะผลิต
ภายในประเทศหรือนำเข้า มีกระบวนการผลิตที่ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้นเป็นลำดับ
เราซึ่งเป็นผู้บริโภค จะตรวจว่า สินค้าไม่ปลอดภัย ทำได้ยาก
แต่การฟ้องคดีในปัจจุบันเพื่อเรียกค่าเสียหายมีความยุ่งยากด้วย 
พอทราบไหมคะว่า มีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย  หรือไม่คะ

สวัสดีอีกทีค่ะคุณ 101. Sila Phu-Chaya

ดีใจจริงที่สนใจบันทึกนี้นะคะ ตอนแรก คิดว่า จะไม่มีใครมาอ่านเสียแล้ว...

ส่วนตัวก็ชอบ ผักชนิดนี้มากค่ะ...

คำ เรียกว่า broccol เป็นภาษาอิตาเลียน ที่ชาวอิตาเลียนเรียกผักชนิดนี้ มาก่อน มีความหมายว่า  "cabbage sprout"มีรากศัพท์มาจาก คำ ในภาษาละติน ว่า brachium ซึ่ง
แปลว่า แขน หรือกิ่งก้าน   
และจริงๆแล้ว  broccoli  ก็อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ กะหล่ำปลี  cabbage  Brussels sprouts และ  cauliflower ซึ่งผักชนิดนี้มีให้เรากินได้ตลอดปีค่ะ แต่ที่งามที่สุด น่าจะอยู่ช่วง ที่มีอากาศเย็นๆ

เรา สามารถซื้อมา ใส่ตู้เย็นในถุงพลาสติกปิดปากให้แน่นๆ  โดยที่ยังไม่ล้างเสียก่อน ได้ถึง 4 วันค่ะ  ผักชนิดนี้ มี วิตามิน A , C,  riboflavin, calcium  และ iron สูงมากค่ะ
นอก จากนี้  ยังมีีปริมาณเบต้า-แคโรทีนสูง เหมือนๆกับ  ตำลึง ผักบุ้ง ผักกะเฉด ผักคะน้า  และฝรั่ง ด้วยค่ะ  มีคนนิยมทานดิบๆด้วย แต่ส่วนตัว ขอล้างให้สะอาด ด้วยน้ำยาล้างผัก หรือ baking soda  ให้สะอาดก่อนและลวกก่อน ไม่มั่นใจเรื่อง ยาฆ่าแมงลงค่ะ

เมื่อ มีนาคม ปี  2533 มีนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย John Hopkins School of Medicine ที่
เมือง Baltimore ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences 
ว่าสาร   sulforaphane   (
an anticancer, antidiabetic, and antimicrobial compound that can be obtained by eating cruciferous vegetables such as brussel sprouts, broccoli, cabbage, cauliflower, bok choy, kale, collards, broccoli sprouts, chinese broccoli, broccoli raab, kohlrabi, mustard, turnip, radish, arugula, and watercress.)
ในต้นบร็อกโคลีมีความสามารถในการกระตุ้นเซลล์ในร่างกาย ของมนษุ ยห์ รือสัตว์ให้สร้างเอนไซม์ต่อต้านมะเร็ง และสารชนิดนี้ถึงแม้จะได้รับความร้อนจากเตาไมโครเวฟ ก็ไม่เปลี่ยนแปลงคุณภาพ


บันทึก ที่เขียนนี้ เป็นประสบการณ์ส่วนตัวที่ค่อนข้างจะเอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน และเป็นประสบการณ์มาจากการทำงานด้วยค่ะ  รวมทั้ง ค้นคว้ามาเพิ่มเติมด้วยค่ะ ไม่เคยเขียนเป็นหนังสือค่ะ
ขอบคุณ ที่ให้กำลังใจค่ะ เรามีรสนิยม เรื่องอาหารคล้ายกันนะคะ

  • ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ แวะมารับคำตอบก่อนเข้านอนค่ะ
  • ศิลาป่วยซะแล้วค่ะ โรคภูมิแพ้น่ะค่ะ สงสัยทานอาหารดี ๆ แล้วคงต้องออกกำลังกายให้สม่ำเสมอด้วยค่ะ
  • ราตรีสวัสดิ์นะคะ

สวัสดีค่ะคุณ 104. รุจิรา
ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาอ่าน...

จริงค่ะ  ที่อาหารในปัจจุบัน  มีกระบวนการผลิตที่ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูงขึ้นเป็นลำดับ เราซึ่งเป็นผู้บริโภค จะตรวจว่า สินค้าไม่ปลอดภัย ทำได้ยาก
ต้องอาศัย หน่วยงานภาครัฐ คือ อย. กระทรวงสาธารณสุข ที่รับผิดชอบโดยตรง คอยดูแล และประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบอยู่เสอมๆ 


โดยเฉพาะวัตถุดิบต่างๆ ทั้งที่ขายตามท้องตลาด และที่ใช้ในการผลิตยังไม่มีมาตรฐานการควบคุมกำจัดสารเคมีที่ดีพอ  ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข ยังคงควบคุมปัญหาดังกล่าวไม่ได้เต็มที่  แม้จะใช้กฎหมายมาบังคับ   ก็ต้องรอให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพเกิดเจ็บ ป่วยแล้วค่อยเข้ามาร้องเรียน  แต่ยังไม่มีนโยบายเชิงรุกมาควบคุม

รู้สึกจะมี พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยพ.ศ. 2551ใช้บังคับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นวันที่ครบกำหนดการให้มีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551
หลังจากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 มาครบหนึ่งปีพอดีตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งก็ต้องถือว่าให้ระยะเวลาการปรับตัวของผู้ประกอบการนานมากพอควร
ส่วนการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลนั้น หากผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องคดีได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องใช้ทนายความก็ได้ โดยไปติดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาล ณ ที่ทำการศาลแพ่งทุกศาล ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ด้านอายุความที่ผู้บริโภคจะใช้สิทธิฟ้องร้องได้นั้น แต่กฎหมายฉบับนี้กำหนดอายุความไว้ถึง 3 ปี นับแต่วันที่ผู้บริโภครู้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่ต้องรู้ตัวผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิดชอบต่อสินค้านั้นด้วย หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น
  ลองอ่านรายละเอียดดูค่ะ

ขอบคุณคุณครูคิมค่ะ ที่แวะเข้ามาอ่านอีกที 103 . ครูคิม

มีเรื่อง ชาเขียว และน้ำผลไม้อีกนะคะ ที่มีการพบยาฆ่าแมลงอยู่ด้วย....อ่านข่าวพบค่ะ....
ศ. เกษร นันทจิต นักวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับ รศ.ดร.ลัดดา วงศ์พายัพกุล ทำการวิจัยเรื่อง "การวิเคราะห์หาสารตกค้างของยาฆ่าแมลงในน้ำผัก น้ำผลไม้และชาเขียวในภาชนะปิดสนิท" โดยการสุ่มตัวอย่างเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม และน้ำผลไม้ทุกยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายใน จ.เชียงใหม่ นำมาใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจวิเคราะห์หายาฆ่าแมลง

"สำหรับผลการวิเคราะห์และตรวจซ้ำพบว่า ในการตรวจชาเขียวพร้อมดื่มหลายยี่ห้อจำนวน 25 ตัวอย่าง มียาฆ่าแมลงในชาเขียวที่สุ่มตรวจถึง 20 ตัวอย่าง บางตัวอย่างมีปริมาณที่เกินกว่า พ.ร.บ.ควบคุมมาตรฐานอาหาร ปี พ.ศ.2548 กำหนดให้ใช้ และบางตัวอย่างยังมีฆ่าแมลงที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ใช้ด้วย" รศ.เกษร กล่าว

รศ.เกษร กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกันการวิจัยครั้งนี้    ยังได้สุ่มตรวจในน้ำองุ่นซึ่ง น่าเป็นห่วงมาก คือพบว่ามียาฆ่าแมลงที่เป็นสารพิษที่มีอันตรายมาก อย่างอบาเมกติน ซึ่งเป็นสารพิษหรือทอกซินที่ได้จากเชื้อรา อาจมีผลทำให้พันธุกรรมกลายพันธุ์
หากรับประทานเข้าไปต่อเนื่อง อาจส่งผลให้ยีนในร่างกายของคนเกิดกลายพันธุ์ได้ และจากการค้นคว้าพบว่าการที่เครื่องดื่มต่างๆ มีสารตกค้างเช่นนี้จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคคือ ทำให้เป็นมะเร็งได้
ทั้งนี้ อยากให้กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นปัญหา และเข้ามาดำเนินการควบคุมเข้มงวดตรวจสอบ ป้องกันสารพิษที่มากับวัตถุดิบ และผู้ผลิตอย่างจริงจังเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

ไม่ ว่า อะไร ก็ดูว่า จะไม่ปลอดภัยไปหมด แต่ก็คงไม่ต้องกลัวมาก แค่ต้องระวังสักหน่อย และอย่า  รับประทานอะไร  เป็นปริมาณ ที่มากๆและต่อเนื่อง นานเกินไปค่ะ

มีมะยงชิดมาฝากค่ะ ผลไม้ชนิดนี้ ดีหน่อย ที่ต้องปอกเปลือกอย่างเดียวเลย แต่ก็ต้องล้างให้สะอาดมากๆเหมือนกันค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • ปัจจุบันนี้เวลาจะเลือกรับประทานอาหารต้องระวังมาก
  • หรือว่าจะกังวลมากไปหรือเปล่า
  • ทานผักสดก็กลัวสารปนเปื้อนหรือสารพิษตกค้าง
  • ที่บ้านก็ใช้โซเดียวไปคาร์บอเนต มาล้าง เพราะได้อ่านจักเอกสารต่าง ๆ ว่าล้างได้สะอาดประมาณ 95 %
  • ก็ให้ความสำคัญกับธัญพืชค่ะ
  • ได้อ่านบันทึกนี้ก็ได้ประโยชน์มากมายค่ะ
  • ขอบคุณน่ะค่ะ 
  • พี่เขี้ยวขอบคุณมากๆ
  • สำหรับสาระดีๆ
  • กำลังจะค้นหาเรื่องนี้พอดี
  • ขอบคุณอีกครั้งที่บันทึกไว้
  • ขอนำไปอ้างอิงนะคะ

สวัสดีค่ะคุณ 109. สุนันทา

อย่าไปกลัวอะไรมากค่ะ เท่าที่เล่ามาก็เพียงพอแล้วนี่คะ เดินสายกลาง แต่ค่อนไปในทาง เน้นความปลอดภัยเท่านั้นเองค่ะ

ทุกวันนี้ พวกเรา ผู้บริโภค มีความตระหนักถึง เรื่องความปลอดภัย ของอาหารการกินมากขึ้นมากค่ะ    เราเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เราอยากรู้ว่า อาหารที่เราซื้อมา มีส่วนผสมอะไรบ้างหรือเปล่าที่น่าจะเป็นอันตราย    คือ สรุปว่า พวกเรา คำนึงถึง สุขภาพปัจจุบัน และสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ในอนาคตของเราเองและลูกหลาน และที่สำคัญอีกข้อคือ เราต้องการความคุ้มค่า ในเงินที่จ่ายไป เพื่อซื้ออาหารทั้งสด และสำเร็จรูป  ตอนนี้ มีสินค้าอาหาร มากมาย ที่โฆษณาว่า เป็น Natural และ Organic Food ยังไงต้องดูให้ดีก่อนด้วยนะคะ ว่า เป็นอย่างที่เขาโฆษณา จริงหรือไม่
วันนี้ ชวนทานไอศกรีมค่ะ นานๆทานที สดชื่นดีนะคะ เดี๋ยวนี้ ส่วนใหญ่ เขาก็ทำแบบไม่ค่อยหวานจัดแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ศศินันท์

คิดถึงพี่ตั้งแต่เมื่อวานแล้วค่ะ....หลังการเขียนบันทึกสั้น ๆ เรื่องสุขภาพองค์รวม แอบคิดหวังไว้ว่าอยากให้พี่ได้ไปอ่าน แล้วก็สมใจ

...ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ที่พี่นำไปฝากไว้ให้เป็นประโยชน์มาก ๆ เลยค่ะ...^_^...

วันนี้อากาศสดใสแต่เช้า เพราะฝนไม่ตก...แม้จะร้อนบ้าง..แต่วันนี้ดีจังเลยค่ะ

ชงโคฮอลแลนด์...บานรับฝนอีกแล้วค่ะ...^_^...

อ้าวป่วยเสียแล้ว คุณ Sila Phu-Chaya  106  ขอให้หายเร็วๆนะคะ มีผลไม้มาฝากค่ะ

พอดีไปอ่านเรื่อง เลือกใช้ภาชนะอย่างไรให้ปลอดภัย ที่นี่ เลยนำมาฝากค่ะ
เพื่อสุขภาพที่ดี นอกจากจะต้องใส่ใจคัดสรรวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงอาหารแล้ว ยังต้องพิถีพิถันกับการเลือกภาชนะให้ดี และใช้อย่างถูกวิธีด้วย อาทิ เช่น....

อลูมิเนียม   ชาวบ้านส่วนใหญ่มักนิยมใช้ภาชนะที่ทำจากอลูมิเนียม เนื่องจากคงทนและราคาถูก แต่มีคำเตือนจากนักวิจัยว่าหากนำอลูมิเนียมไปใช้กับของเปรี้ยวหรือของที่มีความเป็นกรดสูง เช่น แกงส้มในหม้ออลูมิเนียม อาจมีอลูมิเนียมละลายออกมาปนเปื้อนในอาหาร

เซรามิก ภาชนะเซรามิกที่เคลือบด้วยสีสันลวดลายสวยงาม อาจมีส่วนผสมของสารตะกั่วอยู่ หากมีปริมาณมากเกินไปจะเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะเมื่อนำไปใส่อาหารร้อนจัด เช่น กาแฟร้อน ชาร้อน และอาหารรสเปรี้ยวหรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ซอสมะเขือเทศ น้ำผลไม้ เพราะจะทำให้สารตะกั่วในสีละลายออกมาปนเปื้อนในอาหารได้

ดูๆแล้ว ภาชนะที่เป็น แก้ว ดีที่สุดค่ะ


โอ้โห...เห้นรูปแล้วทำให้หิวข้าวมาทันทีเลยค่ะ(ยังไม่ได้ทานข้าว) อิอิ

แวะมาทักทายค่ะ มีความสุขมากๆนะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ  มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย) 110
ยินดีค่ะ ที่บันทึกนี้ อาจเป็นประโยชน์อยู่บ้าง

มีรายงานจาก IFT Internet Survey (2008) ว่า มีการ surveyความเห็นของประชาชน ในอเมริกาทาง Internet ว่า กรรมวิธีการทำอาหารแบบไหน ที่เขาเชื่อว่า มีระดับ ความเป็นธรรมชาติ มากน้อยเท่าใด ตัวอย่างเช่น
1. จากการทำให้แห้ง 91 %
2.จากการอบ และทำให้สุก 91%
3.ใช้ไอน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อ 90%

4.การทำให้เป็นกรด มากขึ้นหรือน้อยลง 84%
5.ใช้วิธี Pressure cooking 83%
6. การกลั่น 70%
7.กรรมวิธีการฆ่าเชื้อต่างๆ 67%
8.ใช้ระบบสุญญากาศ 61%
9.ใช้วิธี ในเรื่องของEnzymatic process เข้าช่วย 59 %

สรุปคือ คนทั่วไป เชื่อว่า วิธีธรรมดาๆ เก่าๆ ที่มีมานาน น่าเชื่อถือว่าจะเป็นวิธีที่ธรรมชาิติ กินได้สนิทใจมากที่สุดค่ะ
รูปนี้ แสดงถึงอาหารที่ผ่านการอบไอน้ำมาค่ะ

มาเรียนรู้ค่ะ แต่ยังอ่านไม่จบ

ได้นำบล็อกนี้เข้าแพลเน็ตไว้เรียบร้อยแล้วค่ะ

มีเวลาจะเข้ามาศึกเรื่อยๆ

ขอบคุณมากนะคะ ที่นำสิ่งที่ดีมีประโยชน์มาให้

สวัสดีค่ะน้อง  คนไม่มีราก  112
ขอบคุณมากสำหรับดอกไม้ ที่บ้านพี่ก็กำลังบานค่ะ ที่มาปลูกได้ ก็เพราะน้องแนะนำมาค่ะ สวยสมใจเลย...
เรื่องสุขภาพองค์รวม เป็นสิ่งที่พี่เชื่อ และมีประสบการณ์ด้วยตนเองค่ะ
เวลา ตามเข็มนาฬิกาเป็นสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมา เวลาที่แท้จริง เป็นเวลาที่ปรากฏอยู่ในใจคนเรา เวลาจิตนิ่ง เวลาในใจจะเดินช้าๆ เมื่อเทียบกับเวลาภายนอก พอจิตเรานิ่งๆ อัตราการเผาผลาญในร่างกาย ก็ลดต่ำลงด้วยค่ะ ยิ่งเวลานอน คงจะลดต่ำลงเกือบเป็น 0

การดำรงชีวิตอย่างสมดุล ทำให้สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่ายค่ะ
ตอนนี้ นอกจากอาหารสดๆ ปลอดสารพิษ ปลอดสารผสมต่างๆ แล้ว  เครื่องดื่ม ก็มาแรงนะคะ ทั่วโลกเลยค่ะ ไม่ได้แคร์เฉพาะเรื่อง เครื่องดื่ม ไขมันและน้ำตาลต่ำเท่านั้น ยังอยากให้มีสารอาหารที่สำคัญๆใส่ลงไปด้วยค่ะ เช่น ชอบให้มี Calcium  Antioxidants  Added fiber Omega-3s  Ginseng หรือ  Pomegranate  อย่างที่เราก็คุ้นๆกันอยู่ค่ะ
แต่พี่มาชวนดื่มน้ำทับทิมสดๆกันดีกว่าค่ะ ไม่ต้องผสมไปกับอะไร....

สวัสดีค่ะคุณ   กล้วยแขก~natadee~natachoei♥.•°♥ 114

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ อยากให้ดูภาพ น้ำดื่ม 8 ออนซ์ ที่มีแคลเซียมผสมอยู่ด้วย 10% เป็นน้ำดื่ม ที่นิยมกันมาก ที่อเมริกา อยู่ในหมวดทีเรียกว่า functional beverages ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ  116. อรวรรณ

ขอบคุณที่สนใจบล็อกนี้นะคะ ไม่ต้องรีบอ่านก็ได้ค่ะ ค่อนข้าง ยาว

เรื่องสิ่งที่ผสมลงไปในอาหารและเครื่องดื่มของเรา ตอนนี้ ก้าวหน้ามากขึ้นๆค่ะ เช่น Soft drinks ทั้งหลาย ก็พยายามใส่ วิตามิน ใส่เกลือแร่ ใส่สารอาหารที่สำคัญต่างๆเข้าไป เพื่อเพิ่มมูลค่ากันใหญ่  และโฆษณาว่า  "good-for-you" and "functional" 
 เมื่อปี  2007 PepsiCo  ส่ง  Diet Pepsi Ma ผสม  ginseng-a stress reducer ไปยังกลุ่มวัยรุ่น ก็ติดตลาดทีเดียว ในปีเดียวกันนี้ ก็มี Diet Coke Plus มาแข่งค่ะ เป็นโค้ก ไม่ใส่น้ำตาล แต่ใส่ niacin, vitamins B-6 และ  B-12, เกลือแร่ และ magnesium กับ  zinc ดิฉันยังไม่เคยลองดื่มค่ะ และที่เมืองไทย ก็คงยังไม่มีขาย ไม่ทราบรสชาติ จะเป็นอย่างไรเหมือนกัน

ตามมาขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

พี่ศศินันท์คะ

แอบอ่านอนุทินของพี่แล้ว...ยิ้มแก้มตุ่ยเลยค่ะ ถูกใจมาก ๆ ในความ "ตรง" และซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่พี่คิดค่ะ...

....และมองทุกอย่างด้วยความเป็นจริง อย่างมีความหวัง ที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ ไม่ใช่หวัง ลมแล้งๆ แล้วบอกว่า มองโลกในแง่บวก (ส่วนตัว ถ้าเจอคนที่ชอบฝันกลางวัน   ลมๆแล้งๆ ไม่ค่อยอยากคุย  ไม่สนุก)

น้องเห็นด้วยค่ะ การเป็นคนมองโลกแง่บวก คิดบวกนั้น จะบอกได้เมื่อมีสถานการณ์มาทดสอบ ไม่ใช่มาพูดกันปาว ๆ เพื่อสร้างภาพว่า...ฉันนี่ล่ะคนคิดบวกตัวจริง มองโลกแง่ดีที่สุด...

ตรงใจที่สุดตรงนี้เลยค่ะ...ถ้าเจอคนที่ชอบฝันกลางวัน   ลมๆแล้งๆ ไม่ค่อยอยากคุย  ไม่สนุก)

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ใหม่ ๆ ที่พี่นำมาให้ได้เรียนรู้บ่อย ๆ ค่ะ น่าคิดตามดังที่พี่ว่าไว้ค่ะ ... ต่อไปคนน่าจะมีอายุยืนมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ นี่เอง แต่...ที่ห่วงก็คือ สุขภาพด้านจิต อารมณ์ และสังคม... คงต้องหาทางส่งเสริมให้ ก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กันนะคะ...ไม่งั้นสังคมและโลกอาจจะไม่ค่อยน่าอยู่เท่าไหร่ เพราะคนอายุยืน (ทางกายภาพ) แต่อารมณ์หดหู่ สับสน จิตใจเร่าร้อน โลภมาก โกรธมาก และไม่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มสังคมที่ดี ๆ ... แย่เลยค่ะ

(^___^)

ขอบคุณคุณ  berger0123  120 ที่มาเยี่ยมค่ะ
บันทึก พี่ค่อนข้างยาวค่ะ เพราะกะเอาไว้ในใจว่า จะเก็บเป็นข้อมูล สำหรับคนบางคน ที่พี่ต้องเตรียมการให้เขาด้วยค่ะ  พอเขียนแล้ว เลยถือโอกาส เขียนเลย ให้มีข้อมูลเพียงพอ

แม้ว่า ปัจจุบันนี้ Green Products จะมาแรงนะคะ
แต่ที่กำลังเร่งเครื่องตามมาคือ Ethical Food ค่ะ คนเริ่มไม่ค่อยจะเชื่อ ที่โฆษณา และเขียนไว้บนฉลากว่า natural / organic/ no preservatives/ no animal products testing

/recyclable/ no chemicals/no GMOs/ vegetarian
สักเท่าใดแล้ว
เพราะ บางทีไม่ค่อย จริงค่ะ  ผู้คน ชักอยากจะซื้อจากผู้ผลิต หรือ ห้างที่มี จริยธรรม มีคุณธรรม ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือชุมชน แคร์สิ่งแวดล้อม  มากขึ้นทุกทีค่ะ

  น้องคนไม่มีราก 121
ขอบคุณค่ะน้อง  ที่สังเกตว่า พี่เป็นคน"ตรง" และซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่พี่คิดค่ะ
พี่ออกจะเป็นคนที่ค่อนข้างยึดมั่นกับ ความคิดของตัวเอง แต่ไม่ใช่คนดื้อค่ะ บางอย่าง ที่พี่ไม่แน่ใจ หรือ ที่ มีคนอื่นมีเหตุผลมากกว่า พี่ก็ยอมง่ายๆเลย ไม่มีทิฐิอะไร
ความคิดบางอย่างที่พี่ยึดมั่น เพราะพี่ได้พิสูจน์แล้ว ด้วยตัวเองมาแล้ว มากมาย ไม่ได้ ทำตามที่คนอื่นบอกง่ายๆ

ในสภาวะสังคมในยุคปัจจุบันนี้ มนุษย์เราต้องอาศัยอยู่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา  ความจริงใจระหว่างคนที่มีน้อยลงทุกวัน

และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้สภาพจิตใจของคนนั้นตกต่ำลงไปเรื่อยๆ  การหาความสุขทางใจนั้นมิใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป
การมี positive thinking  สำหรับพี่ คือ  การมองสิ่งต่างๆ  ตามความเป็นจริง ไม่ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น เรามักที่จะสามารถมองสิ่งที่เกิดขึ้นได้สองแง่   กล่าวคือแง่บวกและแง่ลบ  แต่ถ้า เราหยุด และใช้ สติ มีใจสงบเป็นกลาง  มากขึ้น   เราจะมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทางบวกหรือทางที่ดีด้วย
เราจะไม่ จมปลักอยู่กับความทุกข์นั้นๆ และพาลให้มองโลกในแง่ร้ายไปเสียหมด เรื่องนี้ เป็นโชคดีของคนไทยที่มีธรรมะตามหลักทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว
ทำให้เข้าใจ ว่า เราจะต้องมีสติในการมองปัญหาที่เกิดขึ้น    สติจะช่วยเตือนให้ใจเรามองสิ่งที่เกิดขึ้นในแง่บวกด้วย  ทำให้ไม่เครียดมากเกินไป   และส่งผลให้เราสามารถใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา  หรือขจัดความทุกข์ และความเครียดออกไปได้ค่ะ แม้บางที อาจจะต้อง ใช้เวลาบ้าง

ขอบคุณมากคะ ที่นำความรู้ดีมาบอก โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่บริโภคทุกวัน อ่านแล้วคิดตาม นึกภาพออกด้วยว่าตนเอง ชอบทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไปแล้วก็ได้แต่ความอร่อย แต่คุณค่ามันหายไป

ได้ความรู้มากมายเลย มีบางอย่างจะนำไปแก้ไข ปรับปรุงตนเอง  การทำอาหาร และการเก็บรักษาอาหาร ถนอมอาหาร

ได้ความรู้จั้งแต่ข้อ 1 ถึง 10 คะ จะติดตามอ่านเสมอนะคะ

และได้อ่านคนไม่มีราก และของท่านเมนท์กัน ได้ความคิดดีๆคะ ในการมองโลกในแง่บวกเป็นเช่นไร  สติมาปัญญาเกิด  ขอบคุณเรื่องราวที่ดีๆPP

 

สวัสดีครับ พี่ศศินันท์ ....

ไม่รู้ยังไง พักหลังผมแทบไม่ทานเนื้อเลยก็ว่าได้  หันมาทานผักมากขึ้น  เพราะรู้ว่าตัวเองร่างกายผุโทรมไปมาก  อันเป็นผลพวงของการไม่ค่อยดูแลตัวเองสักเท่าไหร่

การทานอาหารในแต่ละครั้ง  มันยากยิ่งต่อการสำรวจว่ากระบวนการจัดการ หรือทำอาหารนั้น ผ่านพ้นมาด้วยกรรมวิธีอะไรบ้าง  ความเคยชินอันเป็นนิสัยส่วนตัว ชวนให้เราเลือกทานตาม "ใจและปาก" มากกว่าการทานเพื่อสุขภาพ  ซึ่งนั่นเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผมเลยทีเดียว

ผมเติบโตมาจากชนบท  คุ้นชินกับวาทกรรม "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น" ...อะไรๆ ก็ทำกันง่ายๆ  และเชื่อว่า  ภูมิปัญญาของคนเก่าคนแก่ก็คงมีนัยยะทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง  เพียงแต่อธิบายไม่ได้

ตอนนี้ผมส่งนิสิตหายคนไปฝังตัวเรียนรู้กับชาวบ้าน  หมู่บ้านที่เดินทางไปนั้น เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง  มีการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน  มีการทำเกษ๖รพอเพียงกันหลายครัวเรือน  อาหารในแต่ละมื้อ มีให้เลือกสรรในชุมชนล้วนๆ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงจากตลาดในเมือง  แต่การไปเรียนรู้นี้  เรามีงบประมาณทั้งหมดโดยไม่ให้ชาวบ้านเดือดร้อน  ส่วนหนึ่งยังมีกิจกรรมอาสาฯ ให้กับชาวบ้านด้วยเหมือนกัน  ขึ้นอยู่กับว่าชาวบ้านต้องการอะไร ...

มีภาพมาฝากนะครับ แต่เครื่องโดนไวรัส-
เอาไว้เคลียร์ไวรัสเสร็จ  และนำภาพมาให้ดูอีกรอบ

....

มีความสุขมากๆ นะครับ

สวัสดีค่ะ สุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ราชภัฏพระนคร อ.กระนวน จ.ขอนแก่น  124

นอกจากพวกเราที่เริ่มตระหนักถึง ความปลอดภัยในอาหารมากขึ้นๆ ทางด้านร้านอาหาร ภัตตาคารต่างๆก็หันมาเกาะกระแสอาหารสุขภาพกันเป็นแถวค่ะ

ได้อ่านพบว่า  สมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้สมาชิกสมาคมกว่า 6,000 ราย จากจำนวนสมาชิก 12,000 รายทั่วประเทศ ตื่นตัวเข้าร่วมโครงการเมนูชูสุขภาพ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย หรือ clean food good taste กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสร้างจุดขายให้กับร้าน ภายใต้การแข่งขันสูง และกระแสรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่กำลังได้รับความ นิยม ทำให้แต่ละร้านพยายามผลิตเมนูชูสุขภาพเป็นจุดขายให้ได้ร้านละประมาณ 8-10 รายการ จากรายการอาหารเฉลี่ยร้านละ 100 รายการ ซึ่งขณะนี้ได้ทยอยส่งให้กรมอนามัยวิเคราะห์อาหารแล้ว

 เมนูชูสุขภาพที่ผ่านการรับรองคือ ต้องมีผัก ไม่มันจัด  เค็มจัด หวานจัด เน้นการปรุงโดยการต้ม ปิ้ง นึ่ง ย่าง ยำ อบ หรือทำเป็นน้ำพริก ซึ่งเป็นคุณสมบัติของอาหารไทยส่วนใหญ่อยู่แล้ว และมีส่วนผสมของสมุนไพรด้วยค่ะ

ตอนนี้มีร้าน ที่ผ่านมาตรฐานการรับรองเป็นร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย clean food good taste จำนวน 520 ร้าน ใน 43 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร และตั้งเป้าหมายการดำเนินงานในปีหน้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศทั้งสิ้น 2,200 ร้านค่ะ

สวัสดีค่ะคุณมนัสแผ่นดิน  125
ดีใจที่เข้ามาเยี่ยม และเล่าให้ฟังถึงความเป็นอยู่อย่างวิถีธรรมชาติที่พี่เอง ชอบมากค่ะ
คุณบอกว่า... ผมเติบโตมาจากชนบท  คุ้นชินกับวาทกรรม "กินปลาเป็นหลัก กินผักเป็นพื้น" ...อะไรๆ ก็ทำกันง่ายๆ  และเชื่อว่า  ภูมิปัญญาของคนเก่าคนแก่ก็คงมีนัยยะทางวิทยาศาสตร์อยู่บ้าง  เพียงแต่อธิบายไม่ได้
ใช่ค่ะ มีหลายๆเรื่อง ที่คนเก่าคนแก่ ห้ามกินโน่นนี่ หรือให้กินนั่นนี่ แต่อธิบายทางวิทยาศาสตร์ บางอย่างก็ใช่เลย แต่บางอย่าง ยังไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก ก้ต้องพิจารณาเป็นอย่างๆไปนะคะ
แต่การกินผัก กินข้าว กินปลาเป็นหลัก เป็นของแน่ๆ เป็นของจริงค่ะ

การกินผักผลไม้มากหน่อย ทำให้เราได้วิตามินและเกลือแร่มาก ไม่มีไขมันให้อ้วน ทำให้ความดันไม่สูงและไตไม่ทำงานหนัก
ส่วนการกินข้าวซ้อมมือ ก็ทำให้เราได้วิตามินมากหลายอย่าง ช่วยดูดซึมคอเลสโตรอล ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนปลาก็เป็นแหล่งโปรตีนที่ปลอดภัยที่สุดในเวลานี้นะคะ แต่ที่ต้องระวังคือ พวกปลาเค็มๆทั้งหลาย ไม่ค่อยดีกับไตและความดันเลือดของเราค่

ลืมไปค่ะคุณพนัส ขอแชร์ประสบการณ์หน่อยค่ะ

พี่เองคิดว่า การกินอาหารที่ถูกต้อง ควรกินอาหารที่หลากหลาย มากกว่าจะไปมุ่งเน้นอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งซ้ำๆกัน และไม่ควรเคี่ยวอาหารนานเกินไป เพราะจะเหลือคุณค่ามาให้เราน้อยมาก พยายามให้เป็นอาหารที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แต่ต้องมีการล้างทำความสะอาดเป็นอย่างดี
ทุกๆเช้า พี่จะจิบน้ำชาเขียวร้อนๆ เพื่อทำให้กระปรี้กระเปร่า และยังได้รู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ สามารถเริ่มงานในวันใหม่ได้อย่างมีกำลังวังชา เพราะ L-theanine ที่ทางการแพทย์ค้นพบว่า เป็นตัวทำให้ลดฮอร์โมนความเครียดคือ hormone cortisol ได้ค่ะ และยังช่วยทำให้ เส้นเลือดไม่อุดตันไปด้วยไขมันมากเกินไปด้วยค่ะ  นอกจากนี่ ยังมี  Flavonoid antioxidants ที่จะช่วยให้เส้นเลือดเรา มีความยืดหยุ่นมากขึ้นด้วยค่ะ

.

สวัสดีค่ะ อ.ศศินันท์

       ข้อมูลที่อาจารย์นำมาแบ่งปันมีประโยชน์มากค่ะ  ถ้าต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมและอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลจะต้องทำอย่างไรบ้างคะ  เพราะพยายามหาชื่ออาจารย์จากเว็บไซต์ของ มอ. อย่างไรก็ไม่เจอค่ะ ขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ช่วยแจ้งชื่อหนังสือ หรือตำรา หรือบทความในสื่อสิ่งพิมพ์ที่อาจารย์แบ่งปันข้อมูลทางวิชาการสู่สังคมได้ไหมคะ จะได้ไปหาอ่านค่ะ  สำหรับการอ่านใน Gotoknow นี้ก็มีประโยชน์มากค่ะ ชอบมาก ขอบคุณนะคะที่อาจารย์อธิบายเรื่องยากๆที่พบในชีวิตประจำวันให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดีใจมากค่ะที่ได้พบหน้าเว็บไซต์ที่อาจารย์เขียน

         ด้วยความเคารพอย่างสูง

         วีรวรรณ (เชียงใหม่)

       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท